arowana-club.pantown.com
สาระน่ารู้ <<
กลับไปหน้าแรก
การเลี้ยงปลาในช่วงอากาศหนาว
ช่วงนี้เป็นช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงเกือบทุกวันเลยนะครับ บางวันก็ร้อน บางวันก็หนาว บางวันก็ลมแรง แถมบางวันมีหมอกลงหนาในตอนเช้า แต่ที่แน่ ๆ ที่เราทุกคนเห็นความแตกต่างกันแน่ ๆ ก็คือ อุณหภูมิของอากาศบ้านเรานั้นลดลงจากช่วงเมื่อเดือนสองเดือนก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะทางตอนเหนือและอีสานนั้น หนาวเย็นกันไปตาม ๆ กัน ในขณะปลาที่อยุ่ในบ่อหรือในอ่างนั้นหนักเสียยิ่งกว่า เพราะอุณหภูมิน้ำในบ่อหรือในอ่างนั้นแกว่งและลดลงได้ง่ายกว่าตู้ที่มีฝาปิดมิดชิดมาก ๆ ฉะนั้น ในเวลาเช้ามืดของบางวัน อุณหภูมิน้ำในบ่ออาจจะตกลงไปถึง 16-20 เลยทีเดียว
จะสังเกตุเห็นว่าในช่วงเวลานี้ ปลาจะมีอาการซึมและกินอาหารได้น้อยลงกว่าปกติ หลาย ๆ คนอาจจะทราบกันแล้วว่า หน้าหนาวปลากินน้อย ไม่กีปรี้กระเปร่าเหมือนเช่นปกติ ฉะนั้นสิ่งที่อยากจะให้ปฏิบัติหรือรวมไปถึงการให้อาหารปลาในช่วงนี้นั้นควรทำอย่างไร มาลองดูกันครับ
โดย: นายสถานีมิตรภาพ [24 ธ.ค. 53 18:09] ( IP A:124.120.175.200 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
1 อุณหภูมิ ควรจะเตรียม Heater ให้ขนาดพอดีกับขนาดของตู้เพื่อประสิทธิภาพในการปรับอุณหภูมิน้ำไม่ให้ขึ้นหรือลงสูงหรือต่อในเวลาที่เร็วจนเกินไป แต่ในกรณีตู้มีฝาปิดมิดชิดและยังเปิดไฟตู้ไว้ตลอดเวลานั้น จะเห็นได้ว่า อุณหภูมิแทบไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเลย แต่สำหรับบ่อและอ่างน้ำนนั้น จำเป็นอย่างที่สุดครับ เพราะปลาไม่ได้อ่อนแอจากน้ำเย็นหรือร้อน แต่จะอ่าอนแอและเป็นโรคได้จากในช่วงเวลาที่อุหภูมิตกลงอย่างรวดเร็ว เสมือนกับคนที่มักจะไม่สบายในช่วงที่อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลงน่ะครับ ดังนั้นช่วงเวลาเช้าของวันหรือเย็นของวัน รวมไปถึงการถ่ายน้ำทุกครั้ง เป็นช่วงเวลาที่อุณหภูมิตกลงอย่างรวดเร็ว ตรวจเช็คให้ดีว่า Heater ของเราตอบสนองได้ทันมั้ยหรือประคองอุณหภูมิให้นิ่งอยู่หรือแกว่งได้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ครับ
โดย: นายสถานีมิตรภาพ [24 ธ.ค. 53 18:10] ( IP A:124.120.175.200 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
2 น้ำ ผมคงจะไม่พูดว่าให้เราดูแลรักษาน้ำสะอาดอย่างเป็นพิเศษ เนื่องจากการเลี้ยงปลามังกรนั้นเรา ๆ ท่าน ๆ ก็รักษาน้ำกันเป็นพิเศษอยู่แล้วจริงไหมครับ เพียงแต่ขอให้ตรวจเช็ควัสดุกรองหรือเปลี่ยนไยแก้วให้ถี่ขึ้นเป้น 2 เท่าจากปกติก็พอ การเปลี่ยนถ่ายน้ำถี่ขึ้น เน้นดูดคราบสิ่งสกปรกและขัดตู้อยู่เป็นประจำ น้ำที่จะนำมาใช้ในช่วงนี้ควรจะเป็นน้ำประปาที่ผ่านการกรองหรือผ่านการพักไว้แล้วนะครับ น้ำบาดาลน้ำแม่น้ำหรือน้ำฝน ไม่อยากจะให้เอามาใช้ในช่วงนี้นักครับ ถึงแม้จะมีการกักหรือกรองมาก่อนแล้ว เนื่องจากในอากาศหนาวแบบนี้ เพราะการที่อุณหภมิแกว่งขึ้นลงนี้แหละ เป็นโอกาสของเชื้อโรคและแบ็คทีเรียนานาชนิดที่พร้อมที่จะเติบโตและขยายพันธุ์กันอย่างสนุกสนานในช่วงนี้ครับ ฉะนั้นถ้าเรายิ่งเพิ่มโอกาสโดยใช้น้ำที่ไม่สะอาดจริงหรือน้ำที่มาจากแหล่งที่จากต่อการควบคุม โอกาสที่ปลาจะซึมและเป็นโรคก็ง่ายขึ้นมากเลยครับ
โดย: นายสถานีมิตรภาพ [24 ธ.ค. 53 18:12] ( IP A:124.120.175.200 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
3 อาหาร พฤติกรรมการกินของปลาในช่วงนี้จะน้อยลงครับ ปลาตัวใหญ่ ๆ บางตัวนั้นอาจจะไม่กินอาหารเป็นเดือน ๆ เลยด้วยซ้ำ ฉะนั้นขออย่าให้กังวลไปกับอาการไม่กินอาหารของปลาในช่วงนี้ครับ เนื่องจากเป็นปกติของสัตว์เลี้ยงเกือบทุกประเภทครับ ที่จะกินอาหารหรือไม่กินในช่วงอากาศหนาว ๆ แบบนี้ ดังนั้น สิ่งที่อยากจะให้ทำคือ ลดปริมาณอาหารลงในแต่ละวันจากปกติครับ เช่น ถ้าเป็นปลาตัวเล็กที่กินทั้งวัน ก็เปลี่ยนมาเป็นให้เป็นมื้อ ๆ แทน บางตัวให้อาหารเช้าเย็น ก็เปลี่ยนมาให้วันละมือ หรือในปลาตัวใหญ่แล้วเป็นไปได้ที่จะให้อาหารวันเว้นวันเลยก็ได้ครับ เนื่องจากในช่วงนี้ จะสังเกตเห็นระบบการย่อยอาหารของปลาที่จะช้าลงอาจจะเป็นเพราะความร้อนในระบบการเผาผลาญอาหารที่อาจจะน้อยลงไป ประสิทธิภาพคงจะน้อยตามลงไป ปลาจะมีอาการท้องอืดหรือมีอาการป้องป่องจากอาหารที่กินเข้าไปนานกว่าปกติครับ หรือบางที่ถ้าให้อาหารมากเกินไป อาจจะมีการสำรอกออกมา เป็นผลทำให้น้ำเสียง่ายตามมาครับ
การปรับเปลี่ยนประเภทอาหาร ช่วงอากาศเย็น ๆ แบบนี้ อาจจะต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงหรือเศษกากอาหารที่เยอะประเภท หนอนนก หรือ จิ้งหรีดไปก่อนนะครับ เพราอาหารจำพวกนี้จะตามมาด้วยไขมันจำนวนมากที่ลอยอยู่บรอเวณผิวน้ำหรือบริเวณที่ปลาว่ายไปมา กากอาหาร เปลือก จำพวกแมลงนั้นก็จะเน่าเสีย เป็นแหล่งเพราะเชื้อของแบ็คทีเรียในช่วงนี้ได้เป็นอย่างดี ยิ่งถ้าไม่ดูแลอุณหภูมิหรือการดูแลน้ำอย่างดีแล้ว เชื้อราหรืออาการบวมน้ำรวมไปถึงเกล้ดพองสามารถเข้ามาถามหาปลาตัวสวยของท่านแน่ ๆ จากคราบไขมันอาหารชั้นยอดของแบ็คทีเรียที่ผิวน้ำนั่นเองครับ ดังนั้นอาหารที่อยากจะแนะนนำในช่วงนี้ก็คือกุ้งปอกเปลือกหั่นชิ้นครับ หรือกุ้งฝอยเป็น เนื่องจากจะไม่ทอ้งกากหรือไขมันลงน้ำมาก ซึ่งเราจะสามารถช้อนออกได้ทันทีในกรณีที่ปลากินเหลือไว้ครับ
รายละเอียดเพิ่มเติ่มได้ที่
https://www.arowanastation.com/main.php
โดย: นายสถานีมิตรภาพ [24 ธ.ค. 53 18:14] ( IP A:124.120.175.200 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
ได้ความรู้มากๆๆเลยครับ
โดย: เคซี [24 ธ.ค. 53 19:08] ( IP A:223.207.8.62 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
ขอบคุณมากครับ
โดย: ตั้ม สิงห์บุรี [24 ธ.ค. 53 21:03] ( IP A:113.53.101.135 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
ขอบคุณมากครับ
โดย: เกณฑ์คลองลาน [25 ธ.ค. 53 6:02] ( IP A:118.172.202.168 X: )
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน