เสือตอตาบอดตอนที่ 1
   วันนี้เราจะพูดคุยกันเรื่องสีสันและนิสัยรวมๆของเสือตออินโดกันครับ หลังจากที่ผ่านมาระยะนึงแล้วสำหรับการศึกษาปลาเสือตอตาบอดที่ได้รับมาเลี้ยง ดูแลและสังเกตพฤติกรรมต่างๆ โดยที่ผมเองก็ได้ทำกระทู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มาบางแล้ว ทั้งเรื่องการฝึกให้กินอาหารตาย และการดูแลเบื้องต้น ก่อนอื่นอย่างจะขอกล่าวไว้ก่อนเลยคือ การศึกษาที่ทำนี้ ผมทำคนเดียว และตัวผมเองก็ไม่ได้จบสาขาที่เกี่ยวข้องกับสัตว์น้ำแต่อย่างใด การศึกษานี้จึงไม่ได้เน้นในส่วนของวิชาการต่างๆ ซึ่งผมเองคงอธิบายไม่ได้เหมือนกัน แต่เป็นการหมั่นสังเกต ทำความคุ้นเคยอยู่หน้าตู้ วันละ1-2ชั่วโมง เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

โดย: TM69 [19 ม.ค. 54 16:07] ( IP A:183.89.182.193 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 2
   ซึ่งที่ผ่านมาก็พอที่จะได้ข้อมูลมาบ้างแล้ว โดยจะชี้เป็นจุดๆกันไปเป็นเรื่องๆครับ โดยวันนี้ จะมาพูดถึง นิสัยใจคอ การดูแลต่างๆ เพื่อที่ปลาจะสามารถดำรงชีวิตอยู่กับเราได้ไปนานๆ โดยจะเริ่มจาก นิสัยของปลาเสือตออินโดทั้งตาดีและตาบอด

เป็นที่รู้กันดีว่า เสือตออินโดนั้น เป็นปลาที่มีสีสันที่ไม่แน่นอน วันนี้ดี แต่อนาคตก็บอกไม่ได้ว่าจะดีหรือเปล่า จนเป็นที่มาของการจัดสภาพแวดล้อมขาวๆ สว่างๆ เพื่อให้ปลามีสีสันที่ดี ซึ่งบางคนก็ได้ผล บางคนก็ไม่ได้ผล นอกจากวิธีดังกล่าวแล้ว ยังมีอีกหลายวิธีเช่น หาปลามาข่ม เพื่อช่วยให้ปลาของเราขับสีสัน ซึ่งก็ได้ผลดีสำหรับบางตัวอีก ที่นี้จะทำยังไงดีละ ปลาที่เรารักสีสันถึงจะดีได้ตลอด จากการสังเกต จัดสภาพแวดล้อม และปลาเมทที่จะช่วยมาขับสีสันปลานั้น ปัจจัยอีกอย่างที่สำคัญไม่แพ้กันคือ น้ำที่สะอาด สภาพแวดล้อมที่รู้สึกว่าปลอดภัย

โดย: TM69 [19 ม.ค. 54 16:18] ( IP A:183.89.182.193 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ที่นี้มาพูดกันในเรื่องของน้ำครับ ซึ่งมันก็เป็นเรื่องพื้นฐานทั่วๆไปอยู่แล้ว สำหรับหลายๆท่านที่เข้าใจกันดีเกี่ยวกับน้ำที่ปราศจากสารเคมีต่างๆ แต่มันมีอะไรมากกว่านั้นครับ สำหรับปลาตาขุ่น หลายๆตัว ที่ได้มานั้น นอกจากตาด้านนอกจะขุ่นแล้ว ตาด้านใน ยังขุ่นอีกด้วย โดยในส่วนนี้ มักเป็นเหตุบ่งชี้เบื้องต้นเลยว่าน้ำกำลังมีปัญหา ถ้าเป็นมากก็รักษายาก บางครั้งอาการอาจจะลุกลามไวจนตาดำด้านในขุ่นเป็นเม็ดสาคู ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันว่า ตาบอด รักษาไม่หายซะส่วนใหญ่ วันนี้ผมเลยจะมาแนะนำวิธีการดูแลรักษาเบื้องต้น สำหรับปลากลุ่มนี้ครับ
โดย: TM69 [19 ม.ค. 54 16:25] ( IP A:183.89.182.193 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   สำหรับแนวทางในการดูแลรักษานั้น ถ้ามาถึงจุดนี้ที่ตาเป็นเม็ดสาคูแล้วนั้น หลายๆท่านอาจจะหมดกำลังใจที่จะรักษาต่อไป จนนำไปสู่การเลี้ยงแบบตามมีตามเกิด สุดท้ายปลาก็อ่อนแอและตายในที่สุด การศึกษาวิธีดูแลจึงเกิดขึ้น

เริ่มต้นเลยนั้น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนนะครับว่า อาการมีหลายระดับ แต่ละระดับก็ดูแลต่างกันออกไป สังเกตได้จากการมองเห็น และการปรับตัวของปลาโดย

1. ระดับการมองเห็น และอาการตาขุ่นตาฝ้า ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ตามองเห็นบางส่วน กับ ตามองไม่เห็นเลย ซึ่งในส่วนของตาที่มองเห็นบางส่้วนนั้น รวมเอาประเภทที่ตาเป็นเม็ดสาคูเข้าไปด้วยนะครับ ซึ่งบางท่านอาจจะเข้าใจผิดว่า มันบอดมองไม่เ้ห็นแล้ว ซึ่งไม่เป็นความจริง

ในส่วนของรูปภาพ ผมอาจจะลงน้อยหน่อย เพราะปกติ จะจดบันทึกซะมากกว่าถ่ายรูปเก็บไว้
โดย: TM69 [19 ม.ค. 54 16:48] ( IP A:183.89.182.193 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   สำหรับปลาตาขุ่้นทุกประเภทนั้น ตาสามารถรับภาพและแสงได้นะครับ ไม่ใช่ว่าจะบอด 100% เลย ถึงเราจะเห็นว่าตาดำมันกลายเป้นเม็ดสาคูแล้วก็เถอะ ซึ่งพฤติกรรมในกลุ่มนี้นั้น จะพึ่งพาประสาทสัมผัส 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ แสงเงา กลิ่น และการเคลื่อนไหวของน้ำรอบๆตัว(คลื่นเสียง) ไม่ว่าจะล้างตู้ ให้อาหาร ปลาสามารถรับรู้การเคลื่อนไหวได้ทั้งหมดนะครับ และโดยความที่ว่าเสือตออินโด เป็นปลาขี้ระแวง พอตาบอดแล้วจะยิ่งระแวงหนักกว่าเดิม ส่งผลถึง การกิน การเติบโตของร่างกายเป็นอย่างมากครับ ในระยะแรกที่ทำการเลี้ยงนั้น ทุกวันผมจะเปลี่ยนถ่ายน้ำ 10-15% ซึ่งปกติก็ทำแบบนี้กับทุกตัว และจะขัดตู้เอาตะไคร่ออกอาทิตย์ละครั้งครับ และทุกครั้งที่ทำการขัดตู้ ปลาจะมีอาการตื่นง่้าย หยุดกิน สีดร๊อป และแอบ ซึ่งในปลาปกตินั้นอาจจะเป้นบ้าง ผ่้านไปสักระยะ ก็จะหาย และทำความคุ้ยเคยได้ แต่กับปลาตาบอดนั้น การเปลี่ยนแปลง 1 ครั้ง ส่งผลกับตัวปลาในระยะเวลาที่นานกว่าปลาปกติมาก พูดง่ายๆ เหมือนเริ่มต้นนับ 1 ใหม่ ปลาหยุดกิน หยุดว่าย และดำสนิท
โดย: TM69 [19 ม.ค. 54 17:01] ( IP A:183.89.182.193 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   สำหรับการเลี้ยงปลาในกลุ่มนี้ จึงต้องใช้ความอดทนมากพอสมควร เพราะช่วงแรกที่เริ่มศึกษานั้น กลับมานับ 1 ใหม่เป็น 10 รอบ กว่าจะรู้ว่าควรทำอย่างไร หลายๆท่านที่มีปลาเป็นแบบนี้จะเข้าใจดีครับ ว่้่ามันจะดุ ตื่นง่าย และต้องการการดูแลมากกว่าปกติ เพราะต้องคอยโยนอาหารให้ใกล้ตัวมันที่สุด เพื่อที่มันจะได้กินอาหารได้ ซึ่งเมื่อปลาเริ่มกินได้ จะสังเกตได้ว่าสีสันจะดีึขึ้นจากเดิมมากๆ

ที่นี้มาพูดถึงการดูแลเบื้องต้น เพื่อให้ปลามีสีสันดีำไม่แพ้ปลาตาดีครับ นั้นคือ

1. ควรแยกเลี้ยงถ้าสามารถทำได้ครับ เพราะปลากลุ่มนี้ จะดุกว่าปกติ อาจจะมีผลทำให้โดนตัวอื่นรุมทำรังแกได้

2. เปลี่ยนถ่ายน้ำสม่ำเสมอ ไม่ต้องใส่ยา ใส่เกลือ หรือสารเคมีใดๆ ลงไปทั้งสิ้น

3. สังเกตว่าปลาทุกตัวที่เป้นแบบนี้ได้กินอาหารจนอิ่ม

เมื่อทำตาม 3 ข้อที่ว่าได้ ปลาจะมีีสีสันที่ดี กินได้ และโตได้ แต่อัตราการโตนั้น ต้องบอกเลย ทำใจเลยครับ ว่ามันช้ากว่าปกติหลายเท่าแน่ๆ
โดย: TM69 [19 ม.ค. 54 17:13] ( IP A:183.89.182.193 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   และสิ่งสำคัญที่สุดคือ อย่าวุ่นวายภายในตู้ครับ อย่าขัดตู้ ถ้าไม่จำเป็น เพราะนั้นหมายถึงความอดทนที่แล้วมาจะต้องนับ 1 ใหม่ เพราะปลาจะกลับมาตื่นง่าย หยุดกินอีกครั้ง

สำหรับหลายๆท่านที่สอบถามมาว่า ดูแลยังไง ตู้เป้นตะไคร่ ทำไมถึงไม่ทำความสะอาด ผมจึงอยากจะชี้แจงสักนิดว่า ตะไคร่น้ำมีหลายประเภทครับ หลักๆมีคุณสมบัติคล้ายกันคือ มันกินไนเตรทเป้นอาหาร รวมถึงฟอสฟอรัสในน้ำที่เป้นอันตรายสำหรับปลา คายอ๊อกซิเจนออกมาเหมือนไม้น้ำทั่วไปในเวลากลางวัน และคายคาร์บอนออกมาในเวลากลางคืน จึงไม่ควรมีตะไคร่ภายในตู้มากเกินไป เพราะอาจจะส่งผลต่อระดับอ๊อกซิเจนในเวลากลางคืนได้

นอกจากประโยชน์และโทษของตะไคร่ที่กล่าวมาแล้วนั้น สำหรับหลายๆท่าน ตะไคร่คือสิ่งที่ทำให้รำคาญตา ดูตู้ไม่้สะอาด ซึ่งผมเองก้ไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ และขัดทุกครั้งที่เห็น แต่กับตู้เสือตาบอดนั้น ผมจำเป็นต้องเลี่ยงไว้ ไม่สามารถทำได้ และไม่สามารถลงปลาชนิดอื่นได้เลย ทั้ง น้ำผึ่ง และัอินซิกนิส เพราะปลากลุ่มนี้มันดุกว่าปกติครับ ตลอดเวลา 4-5 เดือนที่่ผ่้า่นมา เสียน้ำผึ้ง อินซิกนิส หรือแม้กระทั่งซัลเกอร์มาแล้ว หลายสิบตัวครับ จนสุดท้ายทำใจ ตู้มันเลยเขอะอย่างที่เห็น

โดย: TM69 [19 ม.ค. 54 17:24] ( IP A:183.89.182.193 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   แต่สิ่งที่ได้กลับมาเป็นผลที่น่าพอใจครับ คือ สำหรับปลาในระดับที่ไม่ถึงกับตาดำขุ่นเป้นเม็ดสาคูนั้น สามารถหายเองได้ โดยไม่ต้องใช้ยาใดๆ ทั้งสิ้น จะพูดว่าธรรมชาติบำบัดก็ได้ เพราะผมจะไม่วุ่นวายกับตู้เลยนอกจากเวลาให้อาหาร การเปลี่ยนถ่ายน้ำก็ใช้น้ำที่ผ่านการพัก หรือผ่านกรองแล้วเท่านั้น ซึ่งในปลาที่เป้นแบบนี้ 100% สามารถหายสนิทครับ และ ในกลุ่มที่ตาเป้นเม็ดสาคูนั้น 35-40% สามารถทุเลา และกลับมาหายได้ แต่ต้องใช้เวลา 3-4 เดือน โดยที่ระหว่างรักษานั้น ไม่ได้ใส่ยา หรือลองยาใดๆทั้งสิ้นครับ

หลักการมีแค่ ใส่ใจดูแล อาหารถึง น้ำสะอาด สุขภาพจิตดี เพียงแค่นี้ ปลาบางส่วนก็สามารถกลับมามองเห็นได้อีกครั้งครับ ซึ่งวันหลังผมจะมาพูดถึงการเติบโต และและปลาตาบอดในกลุ่มที่ตาบอด 100%


ปล.... เนื้อหาทั้งหมดผมคิดว่ามันเป้นข้อมูลพื้นๆทั่วไปอยู่แล้ว เพียงแต่บางท่านอาจจะมองข้ามไป และการดูแลรักษาจำเป็นต้องใช้เวลาที่ค่อนข้างนาน ในภาพคห.1 ปลาตัวนี้ใช้เวลา 4 เดือน จากที่ตาดำเป็นเม็ดสาคู ค่อยๆจางลงในเดือนที่ 2 และ 3 จนเม็ดสาคูมีขนาดเล็กลงจนมองเห็นตาดำอีกครั้งครับ
โดย: TM69 [19 ม.ค. 54 17:36] ( IP A:183.89.182.193 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   โดยส่วนตัวขอชี้แจงว่า สิ่งที่ทำลงไปไม่ได้หวังผลตอบแทน เพียงแต่อยากศึกษาถึงวิธีดูแล รักษาปลาที่เป็นแบบนี้ ให้อยู่กับเราไปได้นานๆ เป็นแนวทางให้กับผู้เลี้ยงทุกท่าน ที่ประสบปัญหาเดียวกัน ว่าไม่ควรทิ้งขวาง หรือปล่อยปละละเลย เพียงเพราะปลามันพิการลงไป เพราะบางครั้ง ถ้าเราใส่ใจสักนิด ปลาอาจจะกลับมาหายได้ และผมเองก็หวังว่าการศึกษาในระดับต่อๆไป จะช่วยให้ปลาที่เป้นแบบนี้มีโอกาสหายเพิ่มขึ้น จาก 35-40% เป็น 50-60% ในอนาคตครับ


สำหรับท่านใดที่สงสัย สามารถโทรมาพูดคุย นัดเข้ามาดูปลาตัวเป้นๆ และปลาที่กำลังจะหายได้ ที่้บ้านผมตลอดเวลา และ สามารถเอาข้อมูลทั้งหมดไปเผยแพร่ได้ โดยไม่ต้องบอกผม หรือให้เครดิตแต่อย่างใด เพื่อประโยชน์ของปลาที่เลี้ยง และผู้เลี้ยงทุกๆท่านครับ

0854454572 M
โดย: TM69 [19 ม.ค. 54 17:43] ( IP A:183.89.182.193 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน