ความคิดเห็นที่ 1 ต้องขอท้าวความมาจาก บทเรียนเรื่องอาณาเขตของสัตว์ครับ เราต้องเข้าใจก่อนว่าสัตว์แต่ละชนิดจะมีพื้นที่ทั้งหมดที่จะในชีวิต ซึ่งหมายถึงทั้งที่พัก(รัง)และพื้นที่ที่สัตว์จะออกไปหากินในแต่ละวัน ปลามังกรก็เช่นกันครับ ดังรูป จะเห็นว่าผมแสดงพื้นที่วงกลมทั้งหมดคือพื้นที่ที่มังกรว่ายหาอาหารและพัก ผ่อนในทั้งชีวิตครับ รูปดาวแสดงตัวปลามังกร ท่านจะเห็นว่าจากจุดที่ปลามังกรอยู่(คือตรงกลางวงกลม) ปลามังกรจะใช้เวลาทั้งชีวิตในพื้นที่วงกลมนี้ ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกเรียกว่าอาณาเขตครอบครอง ในพื้นที่นี้ บริเวณที่เป็นสีเหลือง ซึ่งอยู่ริมๆนั้น เป็นส่วนที่ปลามังกรไม่ได้สนใจหากจะมีปลาอะไรมายุ่งครับ แต่ในบริเวณสีม่วงซึ่งถือว่าอยู่ใกล้ตัวปลานั้นจะถูกเรียกว่าเขตหวงแหน ซึ่งความหมายว่าไม่ว่าตัวอะไรเข้ามาในเขตนี้ จะโดนปลามังกรเจ้าของพื้นที่ไล่ให้ออกไปจากเขตนี้
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:04] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 ในธรรมชาติพื้นที่มีมากมายครับ น้ำในแม่น้ำก็มีเป็นแสนเป็นล้านๆลิตร พื้นที่ครอบครองแบ่งกันได้สมานฉันท์ แต่ในชีวิตของปลามังกรในตู้นั้น พื้นที่ไม่มากพอให้ปลามังกรแบ่งให้ปลาชนิดอื่นครับ ดังรูป กรอบสี่ เหลี่ยมแสดงพื้นที่ตู้ปลา จะเห็นว่าพื้นที่ของปลามังกรที่ต้องการนั้นกว้างกว่าพื้นที่ตู้มาก จึงไม่แปลกครับที่ปลาอโรวาน่าของทุกท่านจะตีความพื้นที่ในตู้ทั้งหมดเป็น "พื้นที่หวงแหน" แน่นอนว่าเมื่อเป็นพื้นที่หวงแหนแล้ว โดยไม่ต้องไตร่ถามความเป็นมา หากมีใครล่วงล้ำเข้ามาก็สามารถไล่ออกไปได้ในทันที ซึ่งพอถึงจุดนี้หากว่าเมทเป็นปลาที่ว่องไว หลบทันก็ว่ายหลบกันไป หรือถ้าเมทเป็นพวกมีพื้นที่หวงแหนเหมือนกัน ก็จะเกิดศึกแย่งพื้นที่ขึ้นครับ เริ่มจากว่ายกางใส่กันจนถึงขั้นกัดกัน แต่ปัญหาต่อมาก็คือมวยคู่นี้เราต้องการให้มังกรชนะ ถูกมั้ยครับ? เราต้องการให้มังกรเป็นฝ่ายชนะในทุกกรณีเพื่อลดโอกาสเสี่ยงที่มังกรจะมี ตำหนิ ดังนั้นขั้นตอนการเลือกเมทมาใส่ตู้อโรวาน่าจึงเกิดขึ้น หลักการคงไม่มีอะไรมานอกจาก "เลือกเมทที่อยู่กับอโรได้โดยไม่ตายซะก่อนและไม่มีทางทำให้อโรบาดเจ็บ" ถ้าจะแซวกันคงต้องบอกว่าแบบนี้ไม่เรียกเพื่อนร่วมตู้แล้ว ใส่ไปให้โดนกระทำอยู่ฝ่ายเดียว น่าจะเรียกว่าปลานางบำเรอมากกว่า
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:04] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 ปัญหาทั้งหมดก็ดูเหมือนวนเป็นกลมครับ 1. ไม่ใส่เมท อโรวาน่าว่ายไม่กาง กินไม่ดี 2.ใส่เมท เมทโดนกัดตาย สูญเสีย 3.ใส่เมท เมทกัดกับอโร เกิดตำหนิ 4.ใส่เมท อโรว่ายกัด ไปชนตู้ เกิดตำหนิ
ถ้า มองว่าอโรไล่เมทเรื่อย คงต้องบอกว่ามันต้องมีซักวันละวะที่อโรจะไปชนตู้หรือชนคานเข้าให้ แต่ความจริงเป็นแบบนี้ครับ หลังจากที่มีเพื่อนมีร่วมใช้พื้นที่พักนึง หลังจากดูฟอร์มแล้วว่าเพื่อนใหม่กลุ่มนี้ จะไล่กัดก็ไล่ไม่ทัน หรือเพิ่อนใหม่ออกแนวล่ำๆหน้าดุๆ ลองว่ายท้าตีท้าต่อยดูแล้ว ไม่แน่ใจว่าจะชนะมั้ย ปลามังกรก็จะพยายามสร้างสันติแบบชั่วคราวครับ นั่นก็คือจะเลิกแสดงอาการก้าวร้าว สันติสุขนี้จะเกิดไปเรื่อยๆจนกระทั่งเหตการต่อไปนี้เข้ามาครับ 1. ในอานาคตที่มังกรตัวโตขึ้นกว่าเมท ดูแล้วถ้าสู้ไหว มังกรก็จะเริ่มออกศึกครับ 2. ช่วงฮีทครับ เพราะสัณชาตญาณบอกให้สร้างรัง ต้องดูแลลูกครับ เลยต้องสร้างความปลอดภัยให้กับพื้นที่ 3. จำนวนเมทลดลงครับ เพราะจำนวนปลาที่อยู่ในตู้เปลี่ยนมีผลให้พื้นที่ในการครอบครองเปลี่ยนแปลงครับ 4. อารมณ์ปลาครับ แต่ละตัวไม่เหมือนกัน คาดเดาไม่ได้ครับข้อนี้
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:05] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 จากทุกข้อสรุป รวมทั้งเทรนสมัยนี้ ก็ต้องตอบแบบกำปั้นทุบดินเลยว่า "ต้องมีเมทครับ" เหตผลก็ยกกันมาอ้างได้มากมาย คราวนี้มาดูกันซิว่ามีปลาชนิดไหนมีสเปคเข้าตาที่จะหามาร่วมตู้กันบ้าง
เริ่มจากอักษร ก.ไก่ ตัวนี้ครับ "กระทิงไฟ" ชื่อวิทยาศาสตร์: Mastacembelus erythrotania ชื่อสามัญ: RED SPINY EEL,FIRE SPINY EEL,FIRE EEL ปลา กระทิงไฟเป็นปลาไทยอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากนักเลี้ยงปลาทั่วทุก มุมโลก จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นสินค้าส่งออกที่ติดอันดับของวงการปลาสวยงามของเมืองไทย เนื่องจากเป็นปลาที่มีรูปร่างแปลกประหลาดและมีสีสันสวยสดงดงาม โดยพื้นลำตัวมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำสนิทและประแต้มด้วยแถบสีแดงสดเป็นเส้นๆ และเป็นจุดๆ ลักษณะคล้ายกับเส้นประ โดยลายนี้จะคาดตามความยาวจากหัวจรดหาง ลำตัวไม่มีเกล็ดปกคลุม (เป็นปลาหนัง) ส่วนหัวค่อนข้างแหลม ปากมีขนาดเล็กและปลายยื่นแหลม จะงอยปากมีลักษณะคล้ายกับงวงช้าง โดยจะงอยปากด้านบนจะยื่นยาวกว่าด้านล่าง ซึ่งช่วยทำหน้าที่คุ้ยเขี่ยหาอาหารตามพื้นและส่งอาหารเข้าสู่ปาก สำหรับครีบหลัง ครีบทวาร และหางจะเชื่อมต่อติดกันเป็นครีบเดียว โดยครีบหลังตอนหน้าจะมีขนาดเล็กมากและลักษณะเป็นหยักคล้ายกับฟันเลื่อย หากไม่สังเกตจะมองไม่เห็น โดยปลายหางมีลักษณะมนโค้ง ปลายค่อนข้างแหลม ซึ่งสีของครีบจะกลมกลืนกับสีพื้นลำตัวและบริเวณขอบครีบด้านนอกเป็นสีแดงหรือ สีส้ม บริเวณแนวโคนครีบมีจุดกลมสีแดงประแต้มตลอดแนวซึ่งจุดและลายแถบสีแดงเหล่านี้ ขณะที่ปลายังเล็กจะเป็นสีน้ำตาลอมส้มหรือเหลือง เมื่อปลาโตขึ้นจุดและแถบลายเหล่านี้สีก็จะเข้มขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นสีแดงหรือสีแดงอมส้มในที่สุด แต่ปลาส่วนใหญ่สีแดงสดจะเข้มจัดเฉพาะบริเวณลำตัวส่วนที่อยู่ค่อนไปทางหัว ส่วนลาย ที่อยู่ค่อนไปทางหางโดยมากจะเป็นสีแดงส้มหรือสีน้ำตาลส้ม พบน้อยตัวมากที่มีลายสีแดงเพลิงทั้งตัว
ลักษณะการว่ายน้ำของปลา กระทิงไฟจะไม่เหมือนกับปลาทั่วไป คือจะว่ายเลื้อยลักษณะเหมือนกับงูและปลาไหลมากกว่า ปกติมักกบดานซ่อนตัวอยู่ตามก้นน้ำที่มีไม้น้ำ ซอกหินหรือตามซากปรักหักพังต่างๆ โดยจะอยู่รวมเป็นฝูงและรอดักจับกินเหยื่อที่พลัดหลงเข้ามาในถิ่น ในธรรมชาติมักออกหากินยามค่ำคืน ในขณะที่ปลาหรือเหยื่อหรือเหยื่อกำลังเผลอก็จะค่อยๆ ว่ายเลื้อยเข้าไปหาอย่างช้าๆ ลักษณะเช่นเดียวกับงูที่เลื้อยเข้าหาเหยื่อ หรือบางครั้งก็ซุ่มรอให้เหยื่อว่ายเข้ามาใกล้ พอได้จังหวะก็จะฉกกัดอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่วนใหญ่การล่าเหยื่อมักไม่ค่อยพลาด
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:05] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นปลาพื้นตู้จึงมีโอกาสโดนอโรทำร้ายลดลง ความสวยงามจากลายสีเหลืองทอง และชื่อ"กระทิง"ก็ดูดุดัน จนน่าเอามาเป็นเพื่อนกับ"มังกร" หมายเหต : ขนาดต้องไม่เล็กกว่าปากอโรเพราะลักษณะลำตัวยาวทำให้ง่ายต่อการกลืนกิน และปลากระทิงไฟจัดเป็นปลาที่ชอบหลบซ่อนตัว ต้องใช้เวลาปรับตัวพักใหญ่จึงจะคุ้นคนและกล้าว่ายออกมาขออาหาร
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:06] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 2. กระเบน ในที่นี้ขอกล่าวโดยรวมทั้งโม,โพ,เพิร์ล,จากัวร์และอื่นๆนะครับ
ใน ตลาดปลาสวยงามบ้านเรา จะมีกระเบนที่พบเห็นได้บ่อยๆ ราวๆ 7-8 ชนิด จากทั้งหมด 30 กว่าชนิดในธรรมชาติโดยชนิดที่มีราคาถูก เลี้ยงง่ายที่สุด เหมาะสำหรับ ผู้ที่เริ่มต้นสนใจเลี้ยงกระเบน คือ กระเบนโมโตโร่ (Potamotrygon motoro) สามารถเพาะ พันธุ์ได้ง่าย สามารถเพาะกระเบนโมโตโร่ออกมาได้แทบทุกเดือนเลยครับ เรื่องของลวดลายนั้นค่อนข้างหลากหลายมาก เพราะเป็นปลาที่ถูกรวมรวมจากธรรมชาติในหลายประเทศแถบ อเมซอน ซึ่งปลาในแต่ละประเทศก็จะมีลวดลายที่แตกต่างกันออกไปเล็กน้อย ปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการดูแลกระเบนให้มีสุขภาพแข็งแรงตลอด เวลา คือ เรื่องคุณภาพน้ำ กระเบนต้องการน้ำที่สะอาด มาก ระบบกรองที่มีคุณภาพและมีขนาดใหญ่เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะกระเบนนั้นขับถ่ายเยอะ บวกกับการเปลี่ยนน้ำบ่อยๆสม่ำเสมอ ทยอยเปลี่ยนทุกวันวันละนิดก็จะดี แต่โดยรวมแล้ว แนะนำให้เปลี่ยนน้ำบ่อย ในหนึ่งอาทิตย์ควรจะมีน้ำใหม่ๆลงไป 50% ครับ กระเบนมักจะเริ่มมีปัญหาสุขภาพ ไม่ยอมกินอาหาร หรือกินน้อยลง และมักมีอาการโรคผิวหนังเปื่อยตามมา เมื่อผู้เลี้ยงไม่ได้ถ่ายน้ำเป็นระยะเวลานานครับ (ถึงแม้ว่าจะมีระบบกรองที่ดีแล้ว ก็ยังขอแนะนำให้ถ่ายน้ำบ่อยๆครับ กระเบนชอบน้ำใหม่ๆครับ)สถานที่ใช้ ควรมีฝาปิด อย่างมิดชิด กันปลาแฉลบ ออกนอกตู้ กระเบน เป็นปลากินเนื้อ อาหารหลักในธรรมชาติคือ สิ่งมีชีวิตหน้าดินขนาดเล็ก พวกกุ้งฝอย หอย หนอนแดง ไส้เดือนต่างๆ กระเบนจะชอบกินอาหารสดที่มีชีวิตที่สุด แต่สามารถฝึกให้กินอาหารแช่แข็งได้ง่ายเพราะเป็นปลาที่ตะกละ ครับ ลูกปลาแรกเกิด ขนาดประมาณ 3-5 นิ้วอาจต้องกินไส้เดือนฝอยและหนอนแดงสดๆ กระเบนเป็นปลากินเนื้อ อาหารหลักในธรรมชาติคือ สิ่งมีชีวิตหน้าเมื่อ ปลามีขนาดโตขึ้นมาจึงสามารถฝึกให้กินกุ้งฝอยทั้งเป็นและ ตายได้ครับ โดยมากแล้วกระเบนมักจะตายจากสาเหตุของการที่ปลา ไม่ยอม กินอาหาร เพราะปลายังมีขนาดเล็กเกินไป ต้องการความ เอาใส่สูง
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:06] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 ลักษณะที่น่าสนใจ : ด้วยรูปร่างแล้วยากที่ปลามังกรจะกัด อีกทั้งเป็นปลาพื้นน้ำจึงช่วยเก็บเก็บอาหาร(บางชนิด) สำหรับตู้ที่เกิดปัญหาตะกอนค้างที่ก้นตู้ กระเบนเวลาว่ายก็จะตีน้ำทำให้ตะกอนฟุ้งลงกรองได้ง่ายขึ้น หมายเหต : กระเบนชอบน้ำเย็นและต้องการการเปลี่ยนน้ำบ่อยกว่าอโร รวมทั้งเงี่ยงจากปลากระเบนอาจทำอันตรายมังกรได้ หากมังกรซุกซน ในรูปอโรโดนเงี่ยงกระเบนครับ
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:07] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 อันนี้ของคุณโม่ เป็นเสือตอครับ โดนกระเบนเหมือนกัน
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:07] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 3. กระพงแดง ปลากะพงแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lutjanus argentimaculatus, อังกฤษ: Mangrove Jack , the Mangrove red snapper) ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่งที่สามารถอาศัยอยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ อยู่ในวงศ์ปลากะพงแดง (Lutjanidae) รูปร่างลำตัวหนาและด้านข้างแบน หัวโตแหลมยาว มีส่วนหัวและลำตัวที่ยาวกว่า มีฟันเขี้ยวแหลมคมโง้งเห็นชัดเจน 2 ซี่ในปาก ริมฝีปากหนา คอดหางมีขนาดใหญ่และแข็งแรง เกล็ดใหญ่มีขอบหยักเป็นหนามเมื่อลูบจะสากมือ เส้นข้างลำตัวติดต่อกันเป็นแถวยาวโค้งอยู่บริเวณค่อนไปทางลำตัวด้านบน ครีบหลังอันแรกมีก้านครีบเป็นหนามแข็ง ปลายแหลม อันที่สองเป็นครีบอ่อนมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบใหญ่ปลายกลมมน พื้นลำตัวสีแดงหรือแดงสด พบใหญ่สุดถึง 1.5 เมตร นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูงในป่าชายเลน, ปากแม่น้ำ หรือบริเวณทะเลชายฝั่งกรมประมงสามารถเพาะพันธ์ได้แล้ว แต่ยังไม่แพร่หลายนัก ปลาที่เห็นแว่บๆในเจเจตอนนี้ก็เป็นปลาที่ทางกรมประมงเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว ไม่ได้จับจากธรรมชาติ อาจจะเป็นสาเหตุให้ปลาชุดนี้สามารถปรับตัวอยู่ในตู้เลี้ยงได้เป็นอย่างดี
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:07] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 ลักษณะที่น่าสนใจ : สีสันสวยงาม(ตามความชอบส่วนบุคคล) สำหรับผู้ที่ชอบกลุ่มนี้ ถือว่ากระพงแดงราคาเอื้อมถึง และขนาดตัวที่ใหญ่สามารถเลี้ยงรวมกันได้จนมังกรโตเต็มที่ หมายเหต : เป็นปลาน้ำกร่อยต้องนำมาปรับน้ำ อาจเกิดอาการครีบเปื่อยได้ในน้ำจืดสนิท ในรูปเป็นขนาดเล็ก
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:08] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 11 4. กระพงแม่น้ำไนล์ ปลากะพงแม่น้ำไนล์ (อังกฤษ: Nile perch) หรือชื่อในภาษาพื้นเมืองว่า อิมพิวทา (Imputa)[1> เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lates niloticus อยู่ในวงศ์ปลากะพงขาว (Latidae) มีรูปร่างคล้ายปลากะพงขาว (L. calcarifer) ซึ่งเป็นปลาอยู่ในวงศ์เดียวกัน สกุลเดียวกัน ต่างกันที่ปลากะพงแม่น้ำไนล์มีครีบหลังที่ยกสูงกว่า และมีขนาดตัวเมื่อโตเต็มที่ได้ใหญ่กว่ามาก โดยยาวได้ถึง 2 เมตร หนักได้ถึง 200 กิโลกรัม หนักสุดพบ 230 กิโลกรัม จัดเป็นปลาที่มีความใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้อาศัยอยู่ในแม่น้ำไนล์ ในทวีปแอฟริกา พบในอียิปต์, ชาด, เซเนกัล, คองโก, เคนยา เป็นต้น นิยมตกเป็นเกมกีฬา โดยถูกจัดให้เป็นปลาที่สามารถตกด้วยเบ็ดได้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใช้เนื้อบริโภคเป็นอาหารขึ้นชื่อในท้องถิ่น และส่งออกต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เป็นต้น
นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ด้วยความใหญ่ในรูปร่าง ในแง่ของปัญหาสิ่งแวดล้อม ปลากะพงแม่น้ำไนล์ถือเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่คุกคามสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ ในทะเลสาบแทนกันยีกาและทะเลสาบวิกตอเรีย โดยเพาะอย่าง ปลาในวงศ์ปลาหมอสี เพราะเป็นปลาขนาดใหญ่ที่กินปลาและสัตว์น้ำชนิด อื่นที่เล็กกว่าเป็นอาหาร และกินเป็นจำนวนมาก จึงเป็นต้นเหตุที่ทำให้หลายชนิดต้องอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ เพราะปลากะพงแม่น้ำไนล์มิได้เป็นปลาพื้นถิ่นของทะเลสาบทั้งสองแห่งนี้ แต่ทว่าถูกนำไปปล่อยโดยเมื่อทศวรรษที่ 50
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:08] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 12 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นปลากระพงขนาดใหญ่มาก เป็นที่สุดของผู้ชื่นชอบกลุ่งกระพงแล้วมั้ง หมายเหต : ขนาดใหญ่เกินตู้ ในระยะยาวไม่สามารถอยู่ในตู้ได้ (ลงบ่อเท่านั้น) ในรูปลูกปลาวัยเด็ก
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:08] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 13 5. กระพงลายสมอง
ชื่อสามัญ mandarin fish or Chinese perch (Siniperca chuatsi)
เป็น ปลาน้ำจืดที่มีแหลางอาศัยในประเทศจีน มีลวดลายเป็นสีเหลือง,เขียวและน้ำตาลสลับกับสีดำ เป็นลายสมอง โดยลวดลายที่เกิดขึ้นจะพบในปลาที่โตแล้วเท่านั้น
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:09] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 14 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นปลากะพงน้ำจืดสนิท,ลวดลายแปลกตาต่างจากกะพงชนิดอื่น หมายเหต : ไม่แพร่หลายในไทยหายากนิดนึง(แต่หาได้)
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:09] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 15 6. กระสูบขีด & กระสูบจุด กระสูบขีด ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hampala macrolepidota อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Systomi มีรูปร่างคล้ายกระสูบจุด (Hampala dispar) แต่ด้านข้างลำตัวมีแถบขวางบริเวณใต้ครีบหลังลงมาถึงท้อง ในปลาขนาดเล็กมีแถบ 2 แถบที่กลางลำตัวและโคนหาง และมีแถบใต้ตาด้วย ครีบมีสีคล้ำแดงเรื่อ ขอบบนและขอบล่างของครีบหางมีแถบสีคล้ำ มีขนาดใหญ่กว่ากระสูบจุดซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน (Genus) คือ สามารถยาวได้ถึง 30 ซ.ม. หรือ 60 ซ.ม.พบมากในแม่น้ำโขง และพบบ้างในแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะพบได้มากกว่ากระสูบจุดเป็นปลากินเนื้อ จัดเป็นปลานักล่าชนิดหนึ่ง มักไล่จับปลาขนาดเล็ก เช่น ปลาซิว ปลาวัยอ่อน รวมถึงแมลงน้ำต่าง ๆ ทั้งแม่น้ำและหนองบึง เป็นที่นิยมของนักตกปลาทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นโดยใช้เหยื่อปลอม บริโภคด้วยการปรุงสด หรือทำปลาร้า ปลาส้ม เป็นต้น และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย
กระสูบจุด ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hampala dispar อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Systomi มีลักษณะรูปร่างค่อนข้างยาว แบนข้างเล็กน้อย หัวยาว ปากกว้างมาก มีหนวดสั้น 1 คู่ที่ริมฝีปาก ครีบหลังค่อนข้างเล็ก ครีบหางเว้าลึก เกล็ดค่อนข้างใหญ่ ตัวมีสีเงิน ด้านหลังสีคล้ำอมน้ำตาล ด้านท้องสีจาง ด้านข้างลำตัวมีจุดสีคล้ำข้างละหนึ่งดวง ครีบมีสีแดงเรื่อ ครีบหางมีสีแดงไม่มีแถบสีคล้ำ พบทุกภาคของประเทศ และพบได้ถึงมาเลเชียและบอร์เนียว มีขนาดประมาณ 25 ซ.ม. พบใหญ่สุด 35 ซ.ม.เป็นปลานักล่า กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร บริโภคโดยปรุงสด และทำปลาร้า ปลาส้ม นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:10] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 16 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นปลาพื้นบ้านไทย,เป็นปลาฝูงเลี้ยงเป็นฝูงดูสวยงาม การล่าเหยื่อเป็นฝูงทำให้ได้ฉายา "หมาไนแห่งสายน้ำ", ราคาไม่แพง หมายเหต : ไม่มี
ในรูป อโรบังกระสูบนิดหน่อย
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:10] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 17 7. กระแห กระแห ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus schwanenfeldii อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Poropunti รูปร่างคล้ายปลาตะเพียนทอง (B. altus) แต่รูปร่างป้อมสั้นกว่า ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูง หัวค่อนข้างเล็ก ตาโต มีหนวด 2 คู่ที่ริมฝีปาก ปากเล็กอยู่สุดของจะงอยปาก เกล็ดเล็กมีสีเงินวาวเหลือบเหลืองทอง ครีบหลังสีส้มมีแต้มสีดำชัดที่ด้านบนสุด ครีบอื่น ๆ มีสีส้มสดยกเว้นขอบบนของครีบอกและขอบล่างของครีบหางที่มีแถบสีดำยาว มีขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร ถึง 25 เซนติเมตร พบอาศัยอยู่เป็นฝูงในแม่น้ำและหนองบึงทุกภาคของประเทศไทย หรือตามหน้าวัดที่อยู่ติดริมแม่น้ำต่าง ๆ โดยมักจะอาศัยอยู่รวมกับปลาตะเพียน (B. gonionotus), ตะเพียนทอง, แก้มช้ำ (Systomus orphoides) หรือปลาในตระกูลปลาตะเพียนชนิดอื่นด้วยกันเสมอ นิยมบริโภคโดยการปรุงสด รมควัน ตากแห้ง ทำปลาร้า ปลาส้ม และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วยกระแห ยังมีชื่ออื่น ๆ อีกว่า "กระแหทอง" หรือ "ตะเพียนหางแดง" ในภาษาอีสานเรียก "ลำปำ" ในภาษาใต้เรียก "เลียนไฟ" ภาษาเหนือเรียก "ปก" เป็นต้น
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:10] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 18 ลักษณะที่น่าสนใจ : ปลาพื้นบ้านไทยหนึ่งในแทงค์เมทยอดฮิตเก็บเศษอาหารเก่ง,ว่ายล้ออโรดี,ไวพอที่จะไม่โดนงับและไม่ใช่ปลาที่งับอโรกลับ หมายเหต : ไม่มี
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:11] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 19 8. กราย&ตองลาย ปลากราย ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala ornata อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยขอบหลังลูกตา ในตัวเต็มวัยส่วนหน้าผากจะหักโค้ง ส่วนหลังโก่งสูง ในปลาวัยอ่อนมีสีเป็นลายเสือคล้ายปลาสลาด แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินและมีจุดกลมใหญ่สีดำขอบขาวที่ฐานครีบก้นตั้งแต่ 3 - 20 ดวง ซึ่งมีจำนวนและขนาดแตกต่างกันออกไปในแต่ละตัว มีขนาดโดยเฉลี่ย 60 ซ.ม. ใหญ่สุดที่พบคือ 1 เมตร หนักถึง 15 ก.ก.มักอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีกิ่งไม้ใต้น้ำหรือพืชน้ำค่อนข้างหนาแน่น อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในแหล่งน้ำทั้งแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำทั่วประเทศไทย แต่ปัจจุบันพบน้อยลงมาก ปลากรายนับเป็นปลาน้ำจืดอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมบริโภค โดยเฉพาะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตทอดมันหรือลูกชิ้น ราคาขายในตลาดจึงสูง ส่วนบริเวณเชิงครีบก้น เรียกว่าเชิงปลากราย ก็เป็นส่วนที่นิยมรับประทานโดยนำมาทอด แม้ว่าเนื้อจะมีก้างมาก แต่ก็เป็นที่นิยมเพราะมีรสชาติอร่อย นอกจากใช้เป็นอาหารแล้ว ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น เลี้ยงในท้องร่องสวน และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ที่เลี้ยง ง่าย อดทน และจะมีราคาแพงยิ่งขึ้นในตัวที่จุดเยอะ หรือตัวที่สีกลายเป็นสีเผือก หรือสีทอง ขาว ตองลาย ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala blanci อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีรูปร่างเหมือนปลาทั่วไปในวงศ์นี้ แต่มีส่วนหลังและหน้าผากลาดชันน้อยกว่าปลากราย สีลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ลำตัวด้านท้ายมีลายจุดและขีดจำนวนไม่แน่นอนคาดเฉียงค่อนข้างเป็นระเบียบ มีขนาดประมาณ 60 ซ.ม. ใหญ่สุด 1 เมตรพบเฉพาะแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาที่ไหลสู่แม่น้ำโขง โดยมีรายงานพบเมื่อปี พ.ศ. 2510 และมีรายงานพบที่แม่น้ำน่านด้วย เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งถือว่าเป็นมีแค่เพียงสองแหล่งนี้ในโลกเท่านั้น เป็นปลาที่หายากชนิดหนึ่ง แต่ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:11] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 20 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นปลาทรงแบนซึ่งว่ากันว่า อโรไม่ค่อยก้าวร้าวใส่ และขนาดที่ใหญ่จึงสามารถอยู่เป็นเพื่อนอโรได้นาน บางท่านแนะนำให้เลี้ยง 4-5 ตัวจะเกาะกลุ่มอยู่เป็นฝูงสวยงาม หมายเหต : บางตัวอาจหัดให้กินเหยื่อตายยาก
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:11] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 21 9. กะโห้ ปลา กะโห้ ( Catlocarpio siamensis ) มีชื่อสามัญว่า Giant carp เป็นปลาน้ำจืดตระกูลคาร์พที่ใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่ง มีเกล็ดใหญ่ ลำตัวมีสีเทาปนดำ หรือชมพูปนขาว ครีบมีสีแดง เป็นปลาที่อาศัยในแม่น้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่น้ำในภาคกลางของประเทศไทย เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำก่ำ แม่น้ำน้อย แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำท่าหลวง แม่น้ำมูล และแม่น้ำโขง แต่แหล่งน้ำที่สามารถรวบรวมปลาชนิดนี้ได้มากนั้นได้แก่ ในแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ขึ้นไป จนถึงเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท โดยเฉพาะในแหล่งน้ำลึกที่เรียกว่า" วัง " เป็นปลารักสงบ ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาที่มีขนาดใหญ่กว่าปากได้ เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก จะขึ้นไปกับน้ำแล้วหากินกับแหล่งน้ำตื้น เมื่อถึงคราวจับคู่วางไข่ ตัวเมียจะว่ายน้ำนำหน้าตัวผู้แล้วจะหงายท้องขึ้น ตัวผู้จะเข้าประกบแล้วฉีดน้ำเชื้อมาผสมกับไข่
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:12] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 22 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นปลาขนาดใหญ่ที่มีนิสัยไม่ก้าวร้าว, เป็นปลาไทยแท้ ปัจจุบันมีกะโห้ช็อตบอดี้ ทำให้สามารถเลี้ยงในตู้ได้นานขึ้น หมายเหต : ปลากะโห้ปกติมีขนาดใหญ่ ไม่สามารถเลี้ยงในตู้ได้ตลอดชีวิต ในรูป กะโห้สั้นช็อตบอดี้
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:12] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 23 10. กาดำ ปลากาดำ เป็นชื่อของปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epalzeorhynchos chrysophekadion อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Labeonini มีรูปร่างป้อม แต่หลังป่องออก ครีบหลังสูง ไม่มีก้านครีบแข็ง มีหนวดค่อนข้างยาว 2 คู่และมีติ่งเล็ก ๆ เป็นชายครุยอยู่รอบบริเวณริมฝีปาก เกล็ดเล็กมีสีแดงแซมอยู่ในแต่ละเกล็ด ครีบหางเว้าลึก ลำตัวสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม อันเป็นที่มาของชื่อ ในปลาวัยอ่อนบริเวณโคนหางมีจุดดำเด่น เมื่อโตขึ้นมาจะจางหาย มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 90 เซนติเมตรมักหากินตามพื้นท้องน้ำ โดยการแทะเล็มตะไคร่หรือสาหร่าย พบในแม่น้ำขนาดใหญ่และแหล่งน้ำนิ่งต่าง ๆ ทั่วประเทศ ยกเว้นภาคใต้บริโภคโดยการปรุงสด เช่น ลาบหรือน้ำยา เนื่องจากเป็นปลาขนาดใหญ่มีเนื้อมาก และยังทำเป็นปลาร้าได้อีกด้วย อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่มีนิสัยก้าวร้าวชอบระรานปลาตัวอื่นโดยเฉพาะจะใช้ปากไปดูดแทะเนื้อตัวปลา ตัวอื่น
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:12] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 24 ลักษณะที่น่าสนใจ : ปลาไทยแท้ขนาดใหญ่สามารถเลี้ยงในตู้ได้ตลอด,เก็บเศษอาหารและตะไคร่ได้ดี หมายเหต : มีนิสัยก้าวร้าวและชอบไล่ปลาอื่นๆรวมทั้งหางอโร
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:13] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 25 11. คราวเตตร้า คราวน์เตตร้าคือปลาขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่ อาศัยอยู่ในแม่น้ำคองโกและทะเลสาบทังกันยิกา ชื่อวิทยาศาสตร์ของมันคือ Distichodus sexfasciatus (อ่านว่า “ดิสทิโคดัส เซ็กส์ฟาสเซียตัส”) ฝรั่งตั้งชื่อทางการค้าให้ว่า Six-Barred Distichodus แต่นักเลี้ยงปลาบ้านเราถนัดเรียกมันว่า “คราวน์เตตร้า” ซึ่งเรียกกันมาหลายสิบปีแล้วตั้งแต่นำเข้ามาใหม่ ๆ คราวน์เตตร้ามีรูปร่างหน้าตาแปลกประหลาด กล่าวคือมีรูปทรงยาวลำตัวกว้างโดยเฉพาะช่วงกลางตัว ในขณะที่ส่วนหัวเล็ก ปากเรียวเล็กงุ้มลงเป็นจะงอยคล้ายปากนก มีฟันคมแข็งแรงสำหรับกัดจิกแทะพืชเหนียว ๆ แข็ง ๆ หรือแม้กระทั่งใช้ขบเปลือกของสัตว์มีกระดองต่าง ๆ เพื่อกินเนื้อข้างในเป็นอาหาร ครีบของคราวน์เตตร้ามีสีแดงสด ครีบหลังแบ่งเป็นครีบกระโดงที่ตั้งสูงชันมีขนาดใหญ่กับครีบไขมันที่อยู่ถัด ไปทางหางซึ่งมีขนาดเล็กมากแต่ก็ยังคงสีแดงสดไว้ได้อย่างสวยงาม จุดเด่นของปลาชนิดนี้นอกจากสีแดงของครีบทุกครีบแล้วยังมีลายสีดำพาดเป็นแนว ตั้งบนพื้นลำตัวสีเหลืองอีก 6 ลาย (นี่คือที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ว่า sexfasciatus โดยคำว่า sex แปลว่า 6 และ fasciatus แปลว่าลาย) แต่ก็มีบ้างที่พบคราวน์เตตร้า 7 ลาย ทว่าไม่บ่อยนัก ใครที่เห็นปลาคราวน์เตตร้าที่เขาขายตามร้านขายปลาก็มักคิดว่ามันคงไม่โตเท่า ไหร่นัก ซึ่งคิดผิดครับ ปลาชนิดนี้เป็นปลาใหญ่มาก ๆ ทีเดียว ในธรรมชาติปลาคราวน์เตตร้าขนาดเกินฟุตถูกพบเห็นบ่อยมาก และขนาดใหญ่ที่สุดของมันที่เคยวัดกันก็มีความยาวถึง 76 ซ.ม.! ทว่าปลาที่เลี้ยงในตู้มักไปได้ไม่ถึงครึ่งของขนาดจริง โดยส่วนใหญ่จะอยู่ราว ๆ 30-40 ซ.ม. ซึ่งก็ถือว่าใหญ่มากแล้วสำหรับปลาเลี้ยงสวยงามในตู้กระจก ธรรมชาติ ของปลาคราวน์เตตร้าจะว่ายหากินเป็นฝูงตามพื้นน้ำ จิกกินพืชและสัตว์ขนาดเล็ก ๆ กินเป็นอาหารตลอดทั้งวัน ขนาดที่ใหญ่โตของมันจึงไม่ค่อยมีศัตรูมากเท่าไหร่นัก นอกจากปลานักล่าขนาดยักษ์กับมนุษย์อย่างเรา ๆ นี่แหละ อุปนิสัยของคราวน์เตตร้าเรียกได้ว่าโครตดุ ใครที่เคยเลี้ยงจะรู้ว่ามันไล่กัดปลาแทบทุกชนิดแม้กระทั่งปลาที่ใหญ่กว่ามัน เพราะฉะนั้นการเลี้ยงเดี่ยวคงจะเหมาะสุดสำหรับปลาชนิดนี้ ยกเว้นผู้เลี้ยงมีตู้ใหญ่ยักษ์ก็สามารถเลี้ยงคราวน์เตตร้าเป็นฝูงหรือรวมกับ ปลาขนาดใหญ่อื่น ๆ เช่นปลาหมอสี ปลาอะโรวาน่า ปลาไบเคอร์ ปลาแคทฟิชชนิดต่าง ๆ ฯลฯ การจัดตู้สำหรับเลี้ยงคราวน์เตตร้าเน้นให้มี พื้นที่โล่งค่อนข้างมาก ใช้ทรายหรือกรวดเป็นวัสดุปูพื้นได้ แต่ไม่ควรปลูกพืชน้ำใบอ่อนเพราะปลาจะจิกแทะเป็นอาหารจนเกลี้ยง ควรประดับตกแต่งตู้ด้วยขอนไม้และหินประดับจะทำให้ตู้ดูเป็นธรรมชาติมีชีวิต ชีวา เนื่องจากในธรรมชาติปลาคราวน์เตตร้าจะกินได้ทั้งพืชและสัตว์ อาหารที่เหมาะสมกับมันเมื่อนำมาเลี้ยงในตู้คือผักชนิดต่าง ๆ เช่นกะหล่ำปลี ถั่วลันเตา ผักขม แครอท ก่อนนำมาให้ควรแช่น้ำนาน ๆ และลวกด้วยน้ำร้อนเพื่อให้ผักนิ่มและจมเนื่องจากปลาคราวน์เตตร้าชอบกินอาหาร ตามพื้นมากกว่าจะกินบนผิวน้ำ นอกจากนั้นควรให้อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ด้วย เช่นเนื้อกุ้ง ปลา หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรืออาจใช้ไส้เดือนน้ำ หนอนแดง ที่มีขายตามร้านปลาสวยงามก็ได้เช่นกัน แต่ควรระวังเรื่องความสะอาด ก่อนนำไปให้ปลากินควรแช่น้ำสะอาดทิ้งไว้สักระยะก่อน ปลาคราวน์เตตร้าที่เริ่มเชื่องจะสามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ เริ่มแรกแนะนำให้ใช้อาหารชนิดจมของปลาทองหรือปลาหมอสี เพื่อให้ปลากินง่าย ใช้เวลาไม่นานปลาจะเริ่มคุ้นและกล้าขึ้นมากินบนผิวน้ำได้จึงค่อยเปลี่ยนเป็น อาหารที่เหมาะสมต่อไป คราวน์เตตร้ากินเก่งมีของเสียมาก ดังนั้นต้องให้ความสำคัญกับระบบกรองน้ำและเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นประจำ หากปล่อยน้ำทิ้งไว้นานปลาอาจเจ็บป่วยได้ง่าย และเป็นเช่นเดียวกับปลาในกลุ่มเตตร้าทั้งหลายทั้งปวงคือพวกมันแพ้สารเคมีทุก ชนิด เมื่อจะทำการรักษาด้วยยาจึงต้องเพิ่มความระมัดระวังอย่างมาก ดีที่สุดคือพยายามเลี้ยงดูอย่างถูกต้องเพื่อไม่ให้มันเจ็บป่วยครับ มันเป็นปลานิสัยดุร้ายก้าวร้าว การจะเอาไปเลี้ยงรวมกับปลาอื่นในตู้ที่ท่านมีอยู่เป็นไปได้ยากยิ่ง ประการที่สอง คราวน์เตตร้ามีขนาดใหญ่มากและอายุยืนเกินสิบปี หากจะเลี้ยงในระยะยาวต้องมีตู้ใหญ่มาก ๆ ประการสุดท้าย คราวน์เตตร้าในวัยเด็กจะมีสีสวยสะดุดตา สีเหลืองสดบนพื้นลำตัวตัดกับลายสีดำฉึบฉับ และสีแดงสดของครีบทุกครีบนั้นก็แสนจะน่าอัศจรรย์ ทว่าเมื่อเวลาผ่านพ้นไปหลายปีเข้า ปลาคราวน์เตตร้าในวัยโตสีจะเริ่มเลือนและเข้มคล้ำ ดูไม่สวยสดอย่างปลาเล็ก ท่านที่คาดหวังว่าปลาคราวน์เตตร้าจะมีสีอย่างตอนซื้อมาตลอดไปคงต้องคิดอีก ครั้ง
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:13] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 26 ลักษณะที่น่าสนใจ : ขนาดตัวพอดีที่จะเลี้ยงเป็นเมทตลอด,สีสันสวยงาม หมาย เหต : ดุทั้งกับปลาที่เล็กกว่าและกับคราวน์เตตร้าด้วยกัน,ฟันยาวทำให้สร้างบาดแผล ที่รุนแรง,สีสันไม่นิ่งตอนเล็กอาจสดใสแต่เมื่อโตอาจหม่นลง
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:13] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 27 12. คาร์ฟ ปลาคาร์พ หรือปลาแฟนซีคาร์พ (Fancy Carp) นับ เป็นปลาที่สวยงามชนิดหนึ่ง ซึ่งได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะมันเลี้ยงง่าย โตไว อีกทั้งยังมีสีสันสวยงามอีกด้วย และเป็นปลาที่มีอายุยืนที่สุดในโลก เช่น ปลาคาร์พ ชื่อ "ฮานาโกะ" ของนายแพทย์ผู้หนึ่ง ที่ เมืองกูฟี ประเทศญี่ปุ่น มีอายุยืนถึง 266 ปี ปลา คาร์พ จัดอยู่ในประเภทปลาน้ำจืดกลุ่มปลาตะเพียน (Carp) ชาวญี่ปุ่นเรียกกันว่า โต่ย (Koi) นิชิกิกอย (Nichikigoi) มีต้นกำเนิดมาจากปลาไนธรรมดา ซึ่งพบในแหล่งน้ำจืดต่างๆ ทั่วโลก สำหรับถิ่นกำเนิดที่แท้จริงก็คือ ประเทศอิหร่านในปัจจุบัน แต่ชาวจีนเป็นกลุ่มแรกที่ได้ศึกษาเรื่องปลาไนมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว ส่วน น้ำที่จะใช้เลี้ยงปลาคาร์พ เป็นน้ำประปาจะดีกว่าน้ำชนิดอื่น เพราะน้ำประปามีสภาพเป็นกลาง ถ้าใช้น้ำฝนจะทำลายสีของปลาและปลาอาจเกิดโรคได้ง่าย ส่วนน้ำจากแม่น้ำลำคลองก็ไม่เหมาะ เพราะอาจมีเชื้อโรคติดมาเป็นอันตรายกับปลาได้ หากไม่มีน้ำประปา ต้องใส่ยาฆ่าเชื้อและเติมปูนขาวเพื่อปรับสภาพน้ำจากกรดให้เป็นกลางเสียก่อน แล้วค่อยนำมาเลี้ยงปลาได้ ทางที่ดีต้องติดตั้งระบบหมุนเวียนของน้ำ และเครื่องพ่นน้ำ เป็นการเพิ่มออกซิเจนให้น้ำในบ่อถ่ายเทอยู่ตลอดเวลา และมีออกซิเจนเพียงพอกับปลาด้วย
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:14] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 28 ลักษณะที่น่าสนใจ : มีความสวยงามเนื่องจากมีการพัฒนาสายพันธุ์ตลอด , กินตะไคร่ก้นตู้ได้เป็นอย่างดี หมายเหต : พันธุ์ดีๆราคาแพงกว่าอโรอีก, ขนาดใหญ่เลี้ยงในตู้ได้ไม่ตลอด
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:14] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 29 รูปนี้อันนี้ลงบ่อครับ แยกไม่ออกว่าใครเป็นเมทใคร
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:14] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 30 14A. แค้ยักษ์ ปลาแค้ยักษ์ (อังกฤษ: Goonch, ชื่อวิทยาศาสตร์: Bagarius yarrelli) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์ปลาแค้ (Sisoridae) มีรูปร่างคล้ายปลาแค้วัว (B. bagarius) ที่อยู่ในสกุลเดียว กันมากจนสังเกตได้ยาก ที่แตกต่างกันคือ ครีบท้องของปลาแค้ยักษ์จะอยู่เยื้องด้านท้ายของครีบหลัง สีสันก็คล้ายกันมาก แต่อาจมีสีน้ำตาลเข้มหรือคล้ำกว่าในปลาตัวเต็มวัย รวมทั้งมีกระตามผิวหนังมากกว่าด้วย เมื่อปลาโตยิ่งขึ้นยิ่งมีมากขึ้น มีขนาดประมาณ 60-70 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 2 เมตร อาศัยอยู่ในสายใหญ่ตั้งแต่แม่น้ำสาละวินจนถึงแม่น้ำโขง พบน้อยในภาคใต้ แต่พบมากในแม่น้ำโขง เนื้อมีรสชาติดีและมีสีเหลืองอ่อนรวมถึงหนังและไขมัน ซึ่งต่างจากปลาแค้วัวซึ่งมีเนื้อสีขาว โดยทั้ง 2 ชนิด มักถูกปรุงเป็นอาหารด้วยวิธีเดียวกัน และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:15] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 31 ลักษณะที่น่าสนใจ : เหมาะสำหรับคนชอบปลาแปลก,เป็นปลาไทยที่หาได้เรื่อยๆชนิดหนึ่ง หมายเหต : ไม่มี
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:15] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 32 14B. ฉลาด Notopterus notopterus เป็นปลาน้ำจืดที่มีรูปร่างคล้ายปลา กรายแต่มีขนาดเล็กกว่า ไม่มีจุดสีดำที่ครีบก้น ลำตัวมีสีขาวปนเทา ครีบหลังและครีบอกมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก ครีบก้นและครีบหางเชื่อมติดกันเป็นแผ่นเดียว โดยทั่วไปมีขนาดความยาว 15 - 20 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดเท่าเคยพบมีความยาวถึง 30 เซนติเมตร พบในแม่น้ำคลองทั่วไปของทุกภาคของไทย อาหารได้แก่ ลูกปลา ลูกกุ้ง ขี้อาย ตื่นตกใจง่าย ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ และหลบพักตามตอไม้หรือซอกหิน ไม่ชอบแสงสว่างมาก ออกหากินในเวลากลางคืน โดยชอบผุดขึ้นมาฮุบอากาศทำเสียงที่ผิวน้ำและม้วนตัวกลับให้เห็นด้านข้างขาว คล้ายสีเงิน ในรูปเป็นฉลาดเผือก
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:15] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 33 ลักษณะที่น่าสนใจ : ปลาไทยไซน์เล็กไม่ทำร้ายใคร,เหมือนปลากรายแต่หน้าไม่หัก หมายเหต : ไม่มี
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:16] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 34 15. ฉลามหางไหม้ ฉลามหางไหม้, หางไหม้ ชื่อไทย : ฉลามหางไหม้, หางไหม้ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Balantiocheilos melanopterus innesi ถิ่นอาศัย : เกาะสุมาตรา บอร์เนียวประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ขนาด : โตเต็มที่ตามแหล่งน้ำในธรรมชาติ มีขนาดถึง14 นิ้ว ลำตัวมีลักษณะแบนข้างเล็กน้อย ลำตัวมีสีเงิน หางเว้าเป็นสองแฉก ครีบมีสีเหลืองอ่อน ขอบครีบทุกครีบมีสีดำยกเว้นครีบอก ปากมีขนาดเล็กสามารถยืดหดได้ ริมฝีปากบนยื่นยาวกว่าริมฝีปากล่าง อุปนิสัยของปลาชนิดนี้เป็นปลาที่รักสงบ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ตื่นตกใจง่าย ชอบกระโดดออกนอกอ่างหรือตู้ มักจะว่ายอยู่ตลอดเวลา การเพาะพันธุ์อาศัยการวางไข่ครั้งประมาณ 6,000 – 7,000 ฟอง ฟักออกเป็นตัวใช้เวลาประมาณ 12 ชั่วโมง การสังเกตุเพศของปลาดูได้จากลักษณะลำตัว โดยปลาตัวเมียลำตัวจะกว้างกว่าตัวผู้ และในช่วงวางไข่ท้องจะอูมกว่า อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาชนิดนี้ใช้ได้ทั้งอาหารสาเร็จรูปและอาหารสดประเภท ลูกน้ำ หนอนแดง ตัวอ่อนแมลง ฯลฯ
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:17] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 35 ลักษณะที่น่าสนใจ : ว่องไวหลบอโรได้ดี,กินง่ายเก็บเศษอาหารได้,ตัวโตพอที่จะอยู่กับอโรได้ตลอดชีวิต หมายเหต : เลี้ยงหลายตัวอาจไล่กันเอง
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:17] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 36 16. ช่อนข้าหลวง ปลาช่อนข้าหลวง เป็นชื่อของปลาช่อนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa marulioides อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีลักษณะคล้ายปลาช่อนงูเห่า (C. aurolineatus) แต่ลำตัวสั้นป้อมกว่า ลำตัวสีเขียวอ่อน และมีลายสีเหลืองทองส้มสลับกับแต้มสีดำ ครีบมีจุดประสีเหลืองสด ท้องสีจาง ขนาดโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 90 เซนติเมตร ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้เท่านั้น โดยพบชุกชุมบริเวณเขื่อนรัชชประภา และพบไปจนถึงมาเลเซีย มักอาศัยตามแม่น้ำสายใหญ่หรือลำธารขนาดใหญ่ในป่าหรือพรรณไม้ชายฝั่งหนาแน่น โดยจะหลบอยู่ใต้ร่มเงาของไม้นั้น เป็นปลาที่พบได้ไม่ยาก แต่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าจะนำมาบริโภค และมีราคาขายที่ค่อนข้างสูง
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:17] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 37 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นปลาช่อนที่สีสันสวยงาม,ขนาดใหญ่พอที่จะเลี้ยงกับอโร ,กินง่ายอยู่ง่าย หมายเหต : ชอบ pH ต่ำนิดๆ, มีโอกาสก้าวร้าวกับเมท
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:18] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 38 17. ช่อนจุดอินโด ปลาช่อนจุดอินโด (อังกฤษ: Green Spotted Snakehead, Ocellated Snakehead, Eyespot Snakehead) เป็นปลาช่อนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa pleurophthalma ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีรูปร่างเพรียวยาวในวัยอ่อน แต่เมื่อปลาโตขึ้นแล้วจะเปลี่ยนเป็นหัวแหลมแต่ส่วนลำตัวกลับป้อม คล้ายปลาชะโด (C. miropeltes) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน ปลาขนาดเล็กจะมีลำตัวสีเขียว, สีน้ำเงินหรือแกมน้ำตาลในบางตัว ส่วนท้องสีขาว เมื่อโตขึ้นจะมีลักษณะเด่น คือ มีจุดสีดำที่ล้อมด้วยวงสีส้มกลมคล้ายดวงตาขนาด ใหญ่อันเป็นที่มาของชื่อ เรียงกันบริเวณข้างลำตัว โดยจุดแรกจะพบบนแก้มหรือกระดูกปิดเหงือก จุดสุดท้ายจะพบบริเวณคอดหาง โดยจะมีประมาณ 3-7 จุด ในปลาแต่ละตัวอาจมีไม่เท่ากัน หรือข้างสองก็ไม่เท่ากัน และเมื่อปลาโตเต็มวัยจุดเหล่านี้จะกลายเป็นกระจายเป็นจุดกระสีดำตามตัวแทน มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะสุมาตรา และยังพบในแถบตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะบอร์เนียว และในจังหวัดกาลีมันตัน
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:18] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 39 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นปลาช่อนลายสวยงามอีกชนิดหนึ่ง,ราคาไม่แพง,กินง่าย,ขนาดโตเต็มที่ไม่ใหญ่เกินไป หมายเหต : แพ้น้ำง่าย
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:18] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 40 18. ชะโด ปลาชะโด (อังกฤษ: Great Snakehead, Giant Snakehead) เป็นชื่อปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa micropeltes อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ โดยมีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร หรือ 1.5 เมตร หนักถึง 20 กิโลกรัม มีรูปร่างลำตัวค่อนข้างกลมยาว พื้นลำตัวสีน้ำตาลอมเขียว มีลายประสีดำกระจายทั่วตัว ภายในปากมีฟันแหลมคม เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กจะมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาลและมีแถบสีดำ ส้ม และเหลืองพาดตามความยาวลำตัว 2 แถบ บริเวณหางสีแดงสด เมื่อเริ่มโตขึ้นมาสีและลายจะเริ่มจางหายไปกลายเป็นสีเขียวอมน้ำตาลคล้ายสี ของเปลือกหอยแมลงภู่แทน โดยการที่สีของปลาเปลี่ยนไปตามวัยนี้ ชะโดจึงมีชื่อเรียกต่างออกไปตามวัย เมื่อยังเป็นลูกปลาจะถูกเรียกว่า "ชะโด" หรือ "อ้ายป๊อก" เมื่อโตเต็มที่แล้วจะถูกเรียกว่า "แมลงภู่" ตามสีของลำตัว นอกจากจะเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้แล้ว ยังมีอุปนิสัยดุร้ายมากที่สุดด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้ซึ่งเป็นผู้ดูแลไข่และลูกอ่อน จะกัดและทำร้ายสัตว์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาใกล้รัง ไม่เว้นแม้กระทั่งมนุษย์ จึงมักมีผู้ถูกชะโดกัดทำร้ายบ่อย ๆ ในช่วงนี้ ฤดูผสมพันธุ์ของปลาชะโดจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคม-กันยายน รังมีการตีแปลงใกล้ชายฝั่ง เรียกว่า "ชะโดตีแปลง" เป็นปลาที่พบได้ทุกภาคของประเทศ และพบในประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซีย, อินเดีย, อินโดนีเชีย ตอนใต้ของจีน และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:19] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 41 ลักษณะที่น่าสนใจ : สำหรับคนชอบปลากินโหดของแท้, เป็นปลาไทยที่ห้ามปล่อยลงแแหล่งน้ำในไทย(งงมั้ย?) หมายเหต : โตเต็มที่ไม่สามารถเลี้ยงในตู้ได้, ฟันแหลมคมอาจทำอันตรายอโรได้
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:19] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 42 19. ซัคเกอร์ ปลาซัคเกอร์ หรือ ปลาเทศบาล มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypostomus plecostomus ในวงศ์ปลาซัคเกอร์ (Loricariidae) เป็นปลาตู้ชนิดหนึ่งที่คนไทยคุ้นเคยกันดี มีหัวโต ตามีขนาดเล็ก ปากอยู่ด้านล่างมีขนาดใหญ่และมีกล้ามเนื้อแข็งแรงสามารถใช้ดูดเกาะติดเป็น สูญญากาศกับตู้กระจกหรือวัสดุต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี มีลำตัวสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวสากและหยาบกร้านมาก หนังมีลักษณะแข็งจนดูเหมือนเกราะ มีลวดลายสีเขียวตามครีบหลังและครีบหาง ตัวผู้มีเงี่ยงแหลมบริเวณครีบอกและข้างหัว ปลาซัคเกอร์ชนิดนี้ถูกนำเข้าประเทศไทยในฐานะเป็นปลาสวยงามที่ใช้ทำความสะอาด เศษอาหารหรือคราบตะไคร่ภาย ในตู้ ซึ่งในบางครั้งพฤติกรรมของปลาซัคเกอร์ธรรมดา ถ้าหากอาหารไม่เพียงพอก็จะก้าวร้าวไล่ดูดเมือกของปลาอื่น จนถึงแก่ความตายก็มี และเนื่องจากเป็นปลาที่มีความสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี แม้ในภาวะที่เป็นพิษ หรือแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนละลายในน้ำต่ำกว่ามาตรฐานปกติที่ปลาทั่วไปจะอาศัย อยู่ได้ จึงทำให้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในขณะนี้
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:19] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 43 ลักษณะที่น่าสนใจ : กินตะไคร่ตามตู้ได้ดีเยี่ยม, มีความอดทนต่อสภาพน้ำต่างๆได้ดี หมาย เหต : รูปร่างไม่น่าคบหา,อโรบางตัวแพ้เมือกของซัคเกอร์ทำให้บริเวณหน้ามีตุ่มขรุ ขระหากแพ้มากตุ่มจะมีมากจนตายออกรวมทั้งบริเวณลำตัวจะเกิดอาการแพ้เพิ่มขึ้น อีกด้วย ในรูป ขนาดที่จะเลี้ยงควรสัมพันธ์กับขนาดปลามังกรด้วย ป้องกันมังกรกินและเงี่ยงซัคเกอร์อาจติดคออโรได้
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:19] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 44 20. ซีบร้าไทเกอร์แคทฟิช ซีบร้าไทเกอร์ มีชื่อวิทย์ว่า Merodontotus Tigrinus จัดอยู่ในครอบครัว Pimelodidae อ่านออกเสียงว่า pim-a-low-di-deeนะครับ จัดเป็นแคทฟิชขนาดกลาง ประเภทหนวดยาว(Long whiskered ) มีหนวดอยู่ทั้งหมด 3คู่ด้วยกัน โดยมีลักษณะเด่นอยู่ที่ ลวดลายบนลำตัว หางที่มีเปียยาว สีสันบนแก้ม ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 80 ซม. มีถิ่นอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหล ทางตอนใต้ของอเมริกา หรือในแม่น้ำที่คุ้นหูกันนั่นคือ แม่น้ำอเมซอนนั่นเอง
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:20] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 45 ลักษณะที่น่าสนใจ :ลวดลายสวยงามเป็นหนึ่งในในที่สุดของคนชอบปลาดุก หมายเหต : หลายท่านเจอปัญหาช็อคน้ำตายโดยไม่มีสาเหต, ราคาไม่ถูก
รูปจากคุณอาสามบั้ง
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:20] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 46 21. แซมบ้า ปลาบ้า เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Leptobarbus hoevenii อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อยปลาซิว Danioninae - Danionini จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์ย่อยนี้ มีรูปร่างยาว ลำตัวค่อนข้างกลม หัวโต นัยน์ตาค่อนข้างโต ปากกว้างมีหนวดขนาดเล็ก 2 คู่ เกล็ดมีขนาดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนของหลังสีดำปนเทา ท้องสีขาวจาง ครีบหางสีแดงสดหรือชมพู ครีบอื่นสีแดงจาง ๆ มีขนาดความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 80 เซนติเมตร อาหารได้แก่ เมล็ดพืช แมลง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ปลาบ้า อาศัยอยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำโขง แม่น้ำน่าน แม่น้ำมูล รวมถึงลำธารในป่าดงดิบ มักอยู่รวมเป็นฝูง โดยปลาชนิดนี้จะกินลูกลำโพงเข้าไป แล้วสะสมพิษในร่างกาย เมื่อมีคนนำไปกินจึงมีอาการมึนเมา อันเป็นที่มาของชื่อ จึงไม่เป็นที่นิยมรับประทานมากนัก แต่ที่มาเลเซียนิยมรับประทานมาก จนได้ชื่อว่า "ปลาสุลต่าน" มีฤดูวางไข่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 15-18 ชั่วโมง
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:20] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 47 ลักษณะที่น่าสนใจ : กลุ่มปลาตะเพียนอีกชนิดหนึ่ง,กินง่ายเลี้ยงง่ายเก็บเศษอาหารได้ดี,ว่ายล้อมังกรเก่ง,ราคาจัดว่าถูก,เป็นปลาไทยแท้ หมายเหต : ไม่มี
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:21] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 48 22. ดุกหนามไนเจอร์ Oxydoras niger(อ็อกซิโดรัส ไนเจอร์) Oxy แปลว่า ร่างกาย doras แปลว่า ผิวหนัง niger แปลว่า สีดำ ชื่อทั่วไป: ริปซอลแคทฟิช ถิ่นกำเนิด:แม่น้ำอเมซอน เนื่องจากเป็นปลาหน้าดิน หากินกลางคืน อาหารที่เหมาะคือพวก กุ้งฝอยตาย หนอนแดง อาหารเม็ดจม ฯลฯ สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับปลาตระกูล Doradidae คือหนามครับ
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:21] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 49 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นปลาพื้นตู้ที่เก็บเศษอาหารได้ดี, หน้าตาแปลก หมายเหต : กินเยอะ(ตะกละ)ทำให้ของเสียเยอะ , โตเร็วและโตเกินที่จะเลี้ยงในตู้
ในรูป ดุกหนามไนเจอร์สั้น ตู้พี่ปิติ
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:21] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 50 23. ดุกหนามเออร์วิน ดุกหนามเออร์วิน Megalodoras uranoscopus (เมกาโลโดรัส เออราโนสโคปัส) หรือ Megalodoras irwini (เมกาโลโดรัส เออร์วิน) โตเต็มที่ 70 เซนติเมตร
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:22] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 51 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นปลาพื้นตู้ที่เก็บเศษอาหารได้ดี, หน้าตาแปลก, ขนาดโตเต็มที่ 70 เซนติเมตรทำให้เลี้ยงในตู้ได้ตลอดชีวิต หมายเหต : ราคาแพงกว่าดุกหนามไนเจอร์
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:22] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 52 24. โดราโด้แคทฟิช โดราโด้แคทฟิช Brachyplatystoma rousseauxii (Castelnau, 1855) คำ ว่า โดราโด้ทองคำ คงเป็นชื่อที่ร้านขายปลาชื่อดังร้านหนึ่งตั้งไว้ แต่จริงๆแล้ว คำว่า โดราโด้ แปลว่าทองคำอยู่แล้วครับ ถ้าเราเรียกว่า โดราโด้ทองคำ ก็จะแปลว่า ทองคำทองคำ ฟังแล้วไม่ได้ความครับ เรียกโดราโดแคทฟิชดีกว่า ที่มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก สีลำตัว มีสีเงินแวววาว คล้ายๆแพลตินั่ม หรือทองคำ ทั้งตัวครับ สวยงามมาก ปลาชนิดนี้ อาศัยอยู่ในน้ำไหล ในแม่น้ำอเมซอน และโอริโนโค อเมริกาใต้เช่นเคย ขนาดโตเต็มที่ เกือบๆสองเมตรครับ แต่เป็นปลาโตช้า ไม่โตเร็วเหมือนเรดเทลนะครับ ชอบกินกุ้ง ทั้งเป็นและตาย ลูกปลาก็กินครับ
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:23] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 53 ลักษณะที่น่าสนใจ : สีแพลตินั่มตามธรรมชาติ,หนึ่งในสุดยอดปลาดุกสำหรับคนที่สนใจกลุ่มนี้ หมายเหต : ราคาไม่ถูก,ไวต่อน้ำเหมือนซีบร้าแคทฟิช
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:23] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 54 25. ตะพาก ปลาตะพาก เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยที่เรียกปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) สกุล Hypsibarbus จัดเป็นปลาขนาดกลาง มีรูปร่างลักษณะทั่วไปคล้ายปลาตะเพียนในสกุล Barbonymus ซึ่งอยู่วงศ์และวงศ์ย่อยเดียวกัน แต่ปลาตะพากจะมีลำตัวที่ยาวกว่า และขนาดจะใหญ่ได้มากกว่า แพร่กระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และทางตอนใต้ของประเทศจีน พบอาศัยในแม่น้ำสายใหญ่รวมถึงลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือป่าดิบชื้น โดยมีขนาดลำตัวประมาณ 60-80 เซนติเมตร มีทั้งหมด 8 ชนิด (ดูในตาราง) โดยมีชนิดที่รู้จักกันดีที่สุดคือ ปลาตะพากเหลือง (Hypsibarbus wetmorei)
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:23] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 55 ลักษณะที่น่าสนใจ : หนึ่งในกลุ่มปลาตะเพียนกินง่าย กินไว ช่วยแย่งอโรกิน เก็บอาหารก้นตู้,ว่ายเร็วพอจะหลบอโรวาน่า บางคนเชื่อว่าเป็นปลาที่กล้าเข้าไปหยอกล้ออโรมากกว่าตะเพียน หมายเหต : ไม่มี
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:23] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 56 26. ตะเพียน ปลาตะเพียน (อังกฤษ: Java Barb) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus gonionotus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Poropunti มีรูปร่างเหมือนปลาในตระกูลปลาตะเพียนทั่วไป ตัวมีสีเงินแวววาว ด้านหลังมีสีคล้ำเล็กน้อย ด้านท้องสีจาง ครีบอื่น ๆ มีสีเหลืองอ่อน ปลาตะเพียนชนิดนี้นับเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยรู้จักดี และอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาแต่โบราณ เช่น ปลาตะเพียนใบลาน มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้ในประเทศมานานกว่า 30 ปี และถูกนำพันธุ์ไปเลี้ยงยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย, บอร์เนียว, อินโดนีเซีย แม้ว่าในประเทศเหล่านี้จะมีปลาชนิดนี้อยู่ในธรรมชาติแล้วก็ตาม ขนาดโดยเฉลี่ย 36 เซนติเมตร พบชุกชุมในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน อยู่กันเป็นฝูง ชอบที่น้ำไหลเป็นพิเศษ เป็นปลากินพืช แมลง สัตว์หน้าดิน บริโภคโดยการปรุงสด โดยเฉพาะตะเพียนต้มเค็ม หรือปลาส้ม นับว่าเป็นตำรับที่มีชื่อมากของปลาชนิดนี้ แต่เป็นปลาที่มีก้างมาก นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะตัวที่เป็นปลาเผือก ซึ่งเรียกกันว่า "ปลาตะเพียนอินโด" นิยมเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์เก็บกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือหรือเก็บ ตะไคร่น้ำและปรสิตในตู้
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:24] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 57 ลักษณะที่น่าสนใจ : ราคาถูก,ไวต่อคลอรีนจึงเอามาเทสน้ำ, กินง่ายกินไวกินเก่งกินเศษอาหาร,ว่ายล้ออโรวาน่า,กินพลานาเรียในตู้ หมายเหต : ไม่มี
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:24] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 58 27. (ปลา)ทอง ปลาทอง บางครั้งนิยมเรียกว่า ปลาเงินปลาทอง (อังกฤษ: Goldfish) เป็นปลาน้ำจืด อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carassius auratus เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น ต่อมาได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์มาไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี จนกลายเป็นปลาสวยงามหลากหลายสายพันธุ์ในปัจจุบัน ปลาทองมีรูปร่างอ้วน ป้อม มีเกล็ดแบบบางเรียบ ครีบอกกลมแบน ครีบหางเป็นรูปพัด เป็นปลากินพืช และแมลงน้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เป็นปลาที่ตะกละสามารถกินอาหารได้ตลอดทั้งวัน ตัวผู้เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มสิวขึ้นตามครีบอกและใบหน้า ปลาตัวท้องช่องท้องจะอูมเป่งออก วางไข่ตามพืชน้ำ ไข่ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 วัน
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:25] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 59 ลักษณะที่น่าสนใจ : สีสันสวยงาม, คนที่ชอบก็ชอบจริงๆ หมายเหต : อ่อนแอในทุกสถานการณ์, เมือกเยอะมีผลต่อประสิทธิภาพของระบบกรอง, อาจกลายเป็นอาหารอโรได้ถ้าวันไหนอโรอยากกินขึ้นมา
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:25] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 60 อีกรูป
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:25] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 61 28. ทาร์ปอน (แปซิฟิก) แปซิฟิก ทาร์ปอน หรือปลาตาเหลือก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Megalops cyprinoides) เป็นชื่อปลาทะเลชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อยู่ในวงศ์ปลาตาเหลือก (Megalopidae) มีรูปร่างป้อม ปากกว้าง ที่ใต้คางระหว่างกระดูกกรามล่างมีแผ่นกระดูกแข็ง 1 ชิ้น และมีก้านครีบหลังอันสุดท้ายยื่นยาวเป็นเส้น เกล็ดเป็นสีเงินแวววาวตลอดทั้งลำตัว ตามีขนาดโต จึงเป็นที่มาของชื่อ ขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1.5 เมตร น้ำหนักเต็มที่ประมาณ 15 กิโลกรัม อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก แถบทะเลแดง ชายฝั่งทวีปแอฟริกาและเอเชีย และยังสามารถปรับตัวให้อยู่น้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ด้วย โดยบางครั้งพบว่ายเข้ามาในลำคลองที่ติดกับทะเลหรือนากุ้ง นาเกลือของชาวบ้าน ปลาจะผสมพันธุ์ วางไข่ และลูกปลาวัยอ่อนจะเติบโตที่บริเวณปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน เป็นปลากินเนื้อ อาหารได้แก่ ลูกปลา ลูกกุ้งขนาดเล็ก นิยมตกเป็นเกมกีฬา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:26] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 62 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นปลาฝูงที่ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงกับปลาใหญ่กว่าได้ดี หมายเหต : เป็นปลาน้ำกร่อย หากนำมาจากธรรมชาติต้องมีการปรับสภาพน้ำก่อนเลี้ยง
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:26] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 63 29. เทพา & สวาย & บึก ปลาเทพา (อังกฤษ: Chao Phraya giant catfish)Pangasius sanitwongsei มีส่วนหัวและปากกว้างกว่าปลาในสกุลเดียวกันและชนิดอื่น ๆ มีฟันแหลมคม รูปร่างป้อม ลำตัวลึก ส่วนหลังยกสูงปลายครีบหลัง ครีบอก ครีบท้องยื่นเป็นเส้นยาว ครีบหางเว้าลึก เมื่อว่ายน้ำจะตั้งชั้นเหมือนปลาฉลาม ปลาวัยอ่อนมีสีเทาคล้ำ ข้างลำตัวมีแถบสีคล้ำแนวเฉียง ท้องสีจาง ครีบมีแต้มสีดำ ปลาตัวเต็มวัยมีลำตัวสีเทาคล้ำ ท้องสีจาง ครีบสีคล้ำ ครีบก้นตอนหน้ามีแถบสีคล้ำตามแนวยาว ครีบหางมีแถบสีจางตามแนวยาวทั้ง 2 แฉก มีขนาดประมาณ 1 - 1.25 เมตร ใหญ่สุดพบยาวได้ถึง 3 เมตร ปลาสวาย Pangasius hypophthalmus หัวค่อนข้างเล็ก แนวบริเวณหัวถึงครีบหลังลาดตรง ตาอยู่เสมอหรือสูงกว่ามุมปาก ปากแคบกว่าปลาบึก (Pangasianodon gigas) รูปร่างเพรียวแต่ป้อมสั้นในปลาขนาดใหญ่ ก้านครีบท้องมี 8 - 9 เส้น ครีบก้นยาว ปลาขนาดเล็กมีสีคล้ำเหลือบเงิน ด้านข้างลำตัวสีจางและมีแถบสีคล้ำตามยาว ครีบสีจาง ครีบหางมีแถบสีคล้ำตามแนวยาวทั้งตอนบนและล่าง ปลาขนาดใหญ่มีสีเทาหรือคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างลำตัวสีจาง มีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร ใหญ่สุด 1.5 เมตร ปลาบึก Mekong Giant Catfish : Pangasianodon gigas) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ไม่มีเกล็ด อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงบริเวณประเทศลาว เป็นปลาที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากการจับปลามากเกินไป คุณภาพน้ำที่แย่ลงจากการพัฒนาและการสร้างเขื่อนบริเวณต้นน้ำ ปัจจุบัน IUCN จัด ปลาบึกไม่มีฟันและเกือบจะไม่มีหนวด โดยที่ปลาวัยอ่อนมีฟันและกินปลาอื่นเป็นอาหาร แต่เมื่อโตขึ้นฟันจะหลุดไป และตาซึ่งจะอยู่ต่ำกว่ามุมปากเมื่อมองจากด้านหน้าตรง ๆ จะไม่เห็น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการใช้หากินตามพื้นน้ำ อีกทั้งปลาบึกมีซี่กรองเหงือกเล็กกว่า และ ปลายถุงลมจะลงถึงบริเวณช่วงท้องไม่เกินครีบก้น อีกทั้งความกว้างของปากและส่วนหัวของปลาบึกก็มีมากกว่า
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:26] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 64 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นกลุ่มปลาที่มีลักษณะคล้ายฉลามจนได้ฉายาเป็นฉลามน้ำจืด , กินง่ายกินดี , ว่ายน้ำตลอดคอยล้ออโรวาน่าได้ดี หมายเหต : ไม่ค่อยจะไล่ตอดเมท แต่ถ้าเมทเล็กกว่าปลาก็จะกินเข้าไปเลย, ขนาดโตเต็มที่ใหญ่มากไม่สามารถเลี้ยงในตู้ตลอดไปได้ ในรูปเป็นปลาสั้นทำให้สามารถเลี้ยงในตู้ได้นานขึ้น
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:26] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 65 30. เทวดา ปลาเทวดา (อังกฤษ: Angel fish) ชื่อสามัญเรียกชื่อปลาน้ำจืดในสกุล Pterophyllum ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีรูปร่างโดยรวมเป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว ลำตัวแบนข้างมาก มีปากขนาดเล็ก ครีบหลังเป็นกระโดงสูงอยู่ค่อนไปทางด้านหาง ครีบหลังบานยาวออกมาจากลำตัว ครีบท้องมีอยู่หนึ่งคู่เรียวเล็กและปลายชี้แหลม พบในลุ่มแม่น้ำอเมซอนและแม่น้ำโอริโนโคในทวีปอเมริกาใต้และลุ่มแม่น้ำใกล้ เคียง โดยนิยมอยู่เป็นฝูงในถิ่นที่มีพืชพรรณไม้น้ำขึ้นหนาแน่น และสภาพน้ำมีความเป็นกรดประมาณ 5-5.5 ปลาเทวดาได้รับความนิยมในแง่ของการเป็นปลาตู้สวยงามมาช้านาน โดยผู้เลี้ยงนิยมเลี้ยงในตู้ไม้น้ำ ซึ่งปลาเทวดาเป็นปลาที่มีอุปนิสัยเรียบร้อย แต่ถ้าหากก้าวร้าวแล้วก็จะค่อนข้างยากที่จะเลี้ยงรวมกับปลาประเภทอื่น ๆ โดยมนุษย์นั้นได้พัฒนาสายพันธุ์ของปลาเทวดาชนิด P. scalare ให้มีสีสันแตกต่างจากเดิมไปมาก เช่น เทวดาหินอ่อน ที่มีสีสันเป็นสีดำสลับกับขาวทั้งตัว, เทวดาดำ ที่เป็นสีดำทั้งตัว, เทวดาแพล็ตตินั่ม ที่มีทั้งสีขาวสะอาดตา ดวงตาสีดำ และสีทองเหลือบเป็นประกายทั้งตัว ดวงตาสีแดง, เทวดามุก ที่เป็นสีเหลืองอ่อน ๆ ดูสะอาดตาทั้งตัว เป็นต้น
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:27] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 66 ลักษณะที่น่าสนใจ : ทั้งสีสันและลักษณะก้านครีบต่างๆดูสวยงาม , เป็นกลุ่มปลาแบนซึ่งอโรวาน่าไม่ค่อยจะก้าวร้าวใส่ หมายเหต : ว่ายไล่ปลาเทวดาด้วยกันเอง
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:27] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 67 31. ไทเกอร์แคทฟิช ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pseudoplatystoma fasciatum (Linnaeus, 1766) วงศ์ : Pimelodidae ถิ่นกำเนิด : ลุ่มน้ำอเมซอน อเมริกาใต้ การขยายพันธุ์ : วางไข่ อาหาร : ปลาเล็ก สัตว์เล็กกว่า เนื้อหมู เนื้อไก่ ปลา ไทเกอร์ โชเวลโนส(Tiger Shovelnose Catfish) เป็นปลาหนัง ไม่มีเกล็ด ปลาหนังไม่มีเกล็ด ลำตัวเรียวยาว ส่วนหัวแบน ปากยื่นออกมามาก มีหนวด 3 คู่ ใช้คลำทางหาอาหาร เนื่องจากมีสายตา ที่ไม่ค่อยดีครีบอกมีเงี่ยงแข็ง พื้นลำตัวสีน้ำตาล เทา มีลายสีดำคาดขวางลำตัว คล้ายลายเสือ บริเวณครีบและหาง มีจุดสีดำกระจายทั่วไป มีอุปนิสัย ก้าวร้าว หวงถิ่น ชอบกินปลา ที่มีขนาดพอดี หรือใหญ่กว่า ปาก เป็นอาหารได้ กินจุ โตไว ถ้าจะเลี้ยงรวมกับปลาอื่น ควรเป็นปลาขนาดใหญ่ด้วยกัน อาทิ อะโรวาน่า หรือ ปลายักษ์ ขนาดอื่นๆ ที่ ว่ายน้ำ อยู่ในคนละชั้นโซน เนื่องจาก ปกติ ปลาชนิดนี้ มักจะอยู่ตามพื้นตู้
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:27] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 68 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นปลาเก็บเศษอาหารพื้นตู้ขนาดใหญ่,ราคาถูก หมายเหต : เมทอื่นๆต้องมีขนาดใหญ่กว่าปลาไทเกอร์แคทฟิช,ขนาดใหญ่มากไม่สามารถเลี้ยงในตู้ได้ตลอดชีวิต
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:28] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 69 32. (ปลา)บู่ ปลาบู่ทราย หรือ ปลาบู่ทอง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oxyeleotris marmorata ในวงศ์ปลาบู่ทราย (Eleotridae) มีลักษณะลำตัวกลมยาว ความลึกลำตัวประมาณ 1 ใน 3.5 ของความยาวมาตรฐานลำตัว ส่วนหัวยาวเป็น 1 ใน 2.8 ของความยาวมาตรฐานของลำตัว หัวค่อนข้างโต และด้านบนของหัวแบนราบ หัวมีจุดสีดำประปราย ปากกว้างใหญ่เปิด ทางด้านบนตอนมุมปากเฉียงลงและยาวถึงระดับกึ่งกลางตา ขากรรไกรล่างยื่นยาวกว่าขากรรไกรบน ทั้งขากรรไกรบนและล่างมีฟันแหลมซี่เล็ก ๆ ลักษณะฟันเป็นฟันแถวเดียว ลูกตาลักษณะโปนกลมอยู่บนหัวถัดจากริมฝีปากบนเล็กน้อย รูจมูกคู่หน้าเป็นหลอดยื่นขึ้นมาอยู่ติดกับร่องที่แบ่งจงอยปากกับริมฝีปากบน ครีบหูและครีบหางมีลักษณะกลมมนใหญ่ มีลวดลายดำและสลับขาว มีก้านอ่อนอยู่ 15-16 ก้าน ครีบหลัง 2 ครีบ ครีบอันหน้าสั้นเป็นหนาม 6 ก้าน เป็นก้านครีบสั้นและเป็นหนาม ครีบอันหลังเป็นก้านครีบอ่อน 11 ก้าน ครีบท้องหรือครีบอกอยู่แนวเดียวกับครีบหูและมีก้านครีบอ่อน 5 ก้าน สีลำตัวสีน้ำตาลเหลืองมีรอยปื้นสีดำกระจายไปทั่วตัว ในบางตัวสีอาจกลายเป็นสีเหลืองทองได้ จึงทำให้ได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า "ปลาบู่ทอง" มีขนาดลำตัวประมาณ 30 เซนติเมตร ใหญ่ที่สุด 60 เซนติเมตร จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุล Oxyeleotris พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำจืดทุกประเภทของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ อาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยด้วย สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค มีพฤติกรรมชอบอยู่นิ่ง ๆ กับพื้นน้ำเพื่อล่าเหยื่อ อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง โดยนิยมใช้เนื้อบริโภคกันมาช้านาน มีราคาขายที่แพง ปัจจุบัน นิยมเพาะเลี้ยงกันอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้แล้วในตัวที่มีสีกลายไปจากสีปกติ เช่น สีทองหรือสีเงิน พบมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:28] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 70 ลักษณะที่น่าสนใจ : หากได้ตัวที่มีสีพิเศษเช่นสีทองหรือสีขาวจะมีความสวยงามมาก, เป็นปลาพื้นตู้ที่ไม่ก้าวร้าวกับเมทอื่น(แต่ถ้ากินได้ก็กินเลย) หมายเหต : เป็นปลาที่ปากกว้างและตะกละ เมทที่เลี้ยงรวมควรมีขนาดใหญ่กว่าปากปลาบู่
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:28] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 71 33. ไบเคอร์จุด Polypterus ornatipinnis (Boulenger, 1902) Ornate bichir โตเต็มที่ 60 ซม. สภาพแวดล้อม 26 - 28°C แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ ทวีปแอฟริกา: ลุ่มแม่น้ำ Congo (ประเทศ Congo, Angola, Cameroon) ; ทะเลสาป Rukwa ทะเลสาป Tanganyika ไบเคอร์ เป็นปลาที่มีลักษณะโบราณ และมีเอกลักษณ์อย่าชัดเจน ทำให้เป็นที่น่าสนใจในการศึกษาทางโครงสร้างและวิวัฒนาการของมัน ด้วยไบเคอร์มีลักษณะบางอย่างที่แตกต่างไปจากปลากระดูกอ่อน และ พวกปลากระดูกแข็ง คือในส่วนของกระดูกแข็งนั้นพบว่ามีการค้นพบกระดูกออกเป็นจำนวนมาก และภายในลำไส้มี spiral valve และ spiracles 1 คู่ ซึ่งจะเป็นลักษณะเฉพาะของปลาในกลุ่มฉลามและกระเบน ทั้งยังมีเหงือกแบบพิเศษอยู่หลังตาแต่ละข้าง ซึ่งนับว่าค่อนข้างน่าทึ่งกับการพัฒนาในส่วนต่างๆของเจ้าไบเคอร์ อีกทั้งมันยังมีความพิเศษอีกอย่างคือสามารถปรับตัวให้มีชีวิตรอดในสภาพแวด ล้อมที่แห้งล้อมได้อีกด้วย ดูๆไปแล้วไบเคอร์เหมือนกับเป็นรอยต่อระหว่างปลาโบราณกับปลายุคปัจจุบันเลย
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:29] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 72 ลักษณะที่น่าสนใจ : เกล็ดแข็งแรงทนต่อแรงกัดของอโร, เป็นปลาพื้นตู้ไม่รบกวนอโร, ขนาดโตเต็มที่ 2 ฟุตทำให้อยู่ในตู้ได้ตลอดชีวิต, เก็บเศษอาหารดี หมายเหต : ไม่สามารถอยู่ร่วมกับปลาที่มีนิสัยชอบตอดได้เช่น กาดำ,อินซิกนิส
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:29] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 73 34. ไบเคอร์ทอง,เผือก Polypterus senegalus senegalus (Cuvier, 1829) Gray bichir โตเต็มที่ 50.5 ซม. สภาพแวดล้อม อาศัยในน้ำจืด pH : 6.0 - 8.0 climate : 25 - 28°C แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ ทวีปแอฟริกา: ลุ่มน้ำ Nile และ แอฟริกาตะวันตก รวมไปถึง Senegal, Gambia, Niger, Volta ทะเลสาป Chad ไบ เคอร์ หรือที่นิยมเรียกกันในประเทศไทยว่า บิเชียร์ (อังกฤษ: Bichir) เป็นปลากระดูกแข็งในอันดับ Polypteriformes จัดเป็นปลาน้ำจืดที่มีโครงร่างแตกต่างไปจากปลากระดูกแข็งและปลากระดูกอ่อน ทั่วไป โดยเป็นปลาที่มีพัฒนาการมาจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ คือ ในส่วนของกระดูกแข็งนั้นพบว่ามีกระดูกอ่อนเป็นจำนวนมาก มี spiracles 1 คู่ และภายในลำไส้มี spiral valve ซึ่งจะเป็นลักษณะเฉพาะของปลาในกลุ่มฉลามและกระเบน ทั้งยังมีเหงือกแบบพิเศษอยู่หลังตาแต่ละข้าง เกล็ดเป็นแบบ ganoid ซึ่งเป็นเกล็ดที่พบในปลามีกระดูกสันหลังในยุคแรก มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมรูปว่าวและมีส่วนยื่นรับกับข้อต่อ ระหว่างเกล็ดแต่ละชิ้น ซึ่งปัจจุบันจะพบปลาที่มีลักษณะเช่นนี้ ได้แก่ ปลาในอันดับปลาเข็ม ปลาฉลามปากเป็ด และปลาสเตอร์เจียน เป็นต้น หัวมีขนาดเล็กแต่กว้าง ช่วงลำตัวรวมกับส่วนอก ลำตัวมีลักษณะเรียวยาวคล้ายกับงูมากกว่า จะเหมือนปลาทั่วไป ส่วนอกนั้น มีครีบที่ค่อนข้างแข็งแรง มีลักษณะเป็นฐานพูเนื้อคลุมด้วยเกล็ด คอยช่วยยึดเส้นครีบทั้งหลายที่แผ่ออกมาเป็นแฉก ๆ เหมือนจานพังผืด ซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหวในพื้นน้ำเหมือนกับการเดินคล้ายกับปลาซีลาแคนท์ ในส่วนท้องจะมีถุงลม 2 ถุง ช่วยในการหายใจทำหน้าที่คล้ายกับปอด ถุงลมด้านซ้ายมีการพัฒนาน้อยกว่าด้านขวา เช่นเดียวกับปลาปอด ตั้งอยู่บริเวณช่องท้องโดยยึดติดกับหลอดอาหาร โดยที่ทำงานร่วมกับเหงือก ทำให้สามารถอยู่โดยปราศจากน้ำได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง ส่วนหลังจะมีชุดครีบ ประกอบไปด้วย 5-18 ครีบ ซึ่งรวมกันเป็นครีบหลัง แต่ละครีบนั้นจะมีแกนครีบเดี่ยว 1 แกน รองรับด้วยพังผืดเล็ก ๆ ในแต่ละครีบ ครีบหางมีลักษณะกลมใหญ่ปลายแหลม
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:30] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 74 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นไบเคอร์ชนิดที่แพร่หลายในไทย มีราคาถูกที่สุด หมายเหต : มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 50 เซนติเมตร ซึ่งเสี่ยงที่จะถูกอโรวาน่าขนาดใหญ่ทำร้าย
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:30] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 75 35. ไบเคอร์ไทเกอร์ ไบเคอร์ไทเกอร์ ชื่อวิทยาศาสตร์Polypterus endlicheri endlicheri (Heckel, 1847) Saddled bichir โตเต็มที่ 63 ซม. แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ ทวีปแอฟริกา: แม่น้ำ Nile , ลุ่มน้ำ Chad , แม่น้ำ Niger , แม่น้ำ Volta , แม่น้ำ Bandama , แม่น้ำ Comoé ตอนบน และ แม่น้ำ Ouémé ขนาดโตเต็มที่ มากกว่า 60 เซนติเมตร
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:30] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 76 ลักษณะที่น่าสนใจ : ลวดลายสวยงามเป็นที่นิยมของคนไทย, ขนาดโตเต็มที่ราว 2 ฟุต ทำให้อยู่กับอโรวาน่าได้ตลอดชีวิต, เก็บเศษอาหารได้ดี หมายเหต : ปลาเมทควรมีขนาดโตกว่าปากไบเคอร์
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:30] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 77 36. ไบเคอร์บั้ง ไบเคอร์บั้ง ชื่อวิทยาศาสตร์Polypterus delhezi (Boulenger, 1899) ชื่อสามัญBarred bichir โตเต็มที่ 44 ซม. climate : 26 - 28°C แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ ทวีปแอฟริกา: ลุ่มน้ำส่วนกลางของแม่น้ำCongo
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:31] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 78 ลักษณะที่น่าสนใจ : ปลาพื้นตู้ เก็บเศษอาหารได้ดี หมายเหต : ขนาดเล็กโตเต็มที่เพียง 1 ฟุต มีโอกาสถูกอโรทำร้ายได้ค่อนข้างสูง
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:31] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 79 37. ปล้องอ้อย ปลาปล้องอ้อย Banded Leporinus ถิ่นที่อยู่อาศัย ปลาชนิดนี้ไม่ได้กำเนิดในประเทศไทย มีแหล่งกำเนิดที่อเมริกาใต้ รูปร่างลักษณะ ปลาลีโปรินัสเป็นปลาที่มีสีและลวดลาย สวยงาม แปลกตา ปลาชนิดนี้มีลวดลายดำพาดขวางลำตัว เช่นเดียวกับปลาปล้องอ้อยของไทยสีของลำตัวเป็นปล้อง ๆ เหมือนกัน ปลาลีโปรินัสมีลำตัวค่อนข้างยาว มีลายดำพวดขวางประมาณ 10 ลาย ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 ซม. อุปนิสัย ปลาลีโปรินัสเป็นปลารูปทรงดี แข็งแรง ปราดเปรียว ปลาชนิดนี้ค่อนข้างตื่นตกใตง่ายและกระโดดเก่ง เป็นปลาที่ได้รับความนิยมค่อนข้างสูง ในตลาดปลาสวยงามวงการตลาดของเราได้สั่งจากต่างประเทศเข้ามาเลี้ยง และกำลังศึกษาเรื่องการเพาะขยายพันธุ์อยู่จากความว่องไวปราดเปรียวของปลาลี โปรินัสนี้มีคำแนะนำว่า ไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น ซึ่งอ่อนแอหรือเชื่องช้า เพราะอาจจะถูกมันทำร้ายได้ การเลี้ยงดู ปลาลีโปรินัส กินอาหารทั้งพืชและเนื้อสัตว์ อาหารที่มันชอบ ได้แก่สาหร่าย พืชน้ำบางชนิด ไรน้ำ ไส้เดือน หนอนแดง ลูกน้ำ สำหระบในตู้กระจกที่เลี้ยงปลาชชนิดนี้ ควรมีฝาปิด เพื่อป้องกันการกระโดด
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:32] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 80 ลักษณะที่น่าสนใจ : ลายเหลืองสลับดำมีความสวยงาม,ตัวเล็กแต่ว่องไว หมายเหต : หุและหวงถิ่นอาศัยต้องเลือกเมทที่จะอยู่รวมกันให้เหมาะสม
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:32] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 81 38. ปอมปาดัวร์ ปลาปอมปาดัวร์ (อังกฤษ: Pompadour, Discus) ชื่อสามัญของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งในสกุล Symphysodon ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ซึ่งเป็นปลาวงศ์ใหญ่มาก มีรูปร่างทรงกลมเป็นรูปไข่คล้ายจาน ลำตัวแบนข้างมากเหมือนปลาเทวดา (Pterophyllum spp.) ครีบหลังและครีบท้องเรียงเป็นแถวยาวตลอดจนถึงโคนครีบหาง มีลวดลายและสีสันบนลำตัวหลายหลากสีสวยงามตามชนิด มีถิ่นกำเนิดในลุ่มแม่น้ำอเมซอนในทวีปอเมริกาใต้ มีขนาดใหญ่เต็มที่ไม่เกิน 7 นิ้ว มักอาศัยรวมกันเป็นในระดับกลางน้ำที่ไหลเอื่อย ๆ มีพุ่มไม้น้ำขึ้นหนาแน่น มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำราว 6.4-7.5 ปลาปอมปาดัวร์เป็นปลาที่มีสัสันสวยงามมาก จนได้รับฉายาว่า "ราชินีแห่งปลาตู้" ปัจจุบันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีสีสันที่สวยงามหลากหลายกว่าสีสันตาม ธรรมชาติมากมาย เช่น หนังงู, ห้าสี, เจ็ดสี, บลู ไดมอนด์, ปอมฯฝุ่น เป็นต้น แต่ปลาปอมปาดัวร์เป็นปลาที่มีความอ่อนไหวง่ายมากกับสภาพน้ำและสภาพอากาศ จึงจัดเป็นปลาชนิดหนึ่งที่เลี้ยงยากมาก จำเป็นต้องใช้ฮีตเตอร์เพื่อควบคุมอุณหภูมิ จึงไม่เหมาะกับนักเลี้ยงปลามือใหม่
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:33] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 82 ลักษณะที่น่าสนใจ : ความสวยงามระดับฉายาราชินีปลาตู้, ปลาแบนซึ่งไม่ค่อยโดนอโรวาน่าก่อกวน หมายเหต : ต้องการน้ำสะอาด,ชอบการถ่ายน้ำบ่อยๆ อาจไม่เหมือนกับอโรวาน่า
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:33] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 83 39. ปักเป้าเอ็มบู ปลาปักเป้าเอ็มบู หรือ ปลาปักเป้ายักษ์ ปลาน้ำจืดจำพวกปักเป้าชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tetraodon mbu อยู่ในวงศ์ปลาปักเป้าฟัน 4 ซี่ (Tetraodontidae) มีรูปร่างเหมือนกับปลาปักเป้าชนิดอื่น ๆ ในวงศ์นี้ทั่วไป แต่ลำตัวจะแบนยาวกว่า และมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่ามาก ตาโต ครีบทั้งหมดมีขนาดใหญ่กว่าปลาปักเป้าชนิดอื่นโดยเฉพาะครีบหาง เมื่อยังเล็กมีจุดสีดำกระจายทั่วลำตัว พื้นลำตัวสีเขียว ท้องสีเหลืองเข้ม เมื่อโตขึ้นลายจุดสีดำนั้นจะขยายเป็นเส้นคล้ายตาข่ายครอบคลุมทั้งตัวช่วงบน ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ประมาณ 2 ฟุต จัดเป็นปลาปักเป้าที่พบในน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พบในลุ่มแม่น้ำคองโก ในทวีปแอฟริกาตอนกลางและทะเลสาบแทนกันยีกา มีอุปนิสัยที่ไม่ดุร้ายก้าวร้าวเมื่อเทียบกับปลาปักเป้าชนิดอื่น ๆ และด้วยความใหญ่ สีสันที่สวยงาม และนิสัยที่เรียบร้อยจึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม แต่ก็จัดเป็นปลาที่มีราคาแพง
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:33] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 84 ลักษณะที่น่าสนใจ : ลวดลายสวยงาม, ขนาดใหญ่สะดุดตาถือว่าใหญ่สุดของตระกูลปักเป้า, เชื่องและว่ายขออาหารจากผู้เลี้ยงซึ่งถือเป็นความน่ารักของMBU หมายเหต : ดุน้อยสุดในตระกูลปักเป้าแต่บางตัวก็อาจดุอยู่ ประกอบกับฟันคู่หน้าแล้ว หากอโรวาน่าโดนกัดจะได้รับแผลขนาดใหญ่
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:34] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 85 40. เปคูแดง&เปคูดำ ปลาคู้แดง หรือ เปคูแดง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Piaractus brachypomus ในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) วงศ์ย่อย Serrasalmidae มีรูปร่างเหมือนกับปลา *** แดง (Pygocentrus nattereri) แต่ปลาคู้แดงมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า กรามล่างไม่ยื่นยาวออกมาและลักษณะของฟันไม่แหลมคมเหมือนกับปลา *** แดง เกล็ดมีขนาดเล็กละเอียด มีสีสันแวววาวเหมือนกับปลา *** แดง แต่ในส่วนของสีแดงไม่เข้มเท่า แต่ลูกปลาวัยอ่อนมีจุดกลมสีแดงเหมือนกัน และจุดเหล่านี้จะค่อย ๆ เล็กลงและหายไปเมื่อปลาโตขึ้น ปลาคู้แดง มีขนาดโตเต็มที่ยาวได้ 80 เซนติเมตร น้ำหนักหนัก 25 กิโลกรัม มีถิ่นกำเนิดในลุ่มแม่น้ำอเมซอนและแม่น้ำโอริโนโคในประเทศอาร์เจนตินา
ปลา คู้ดำ หรือ ปลาเปคูดำ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Colossoma macropomum อยู่ในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายปลา *** ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน หากแต่ปลาคู้ดำจะมีส่วนเว้าของหน้าผากเว้าเข้ามากกว่า โคนหางจะคอดเล็ก ฟันภายในปากมีสภาพเป็นหน้าตัดคล้ายฟันมนุษย์ไม่แหลมคม เมื่อเทียบกับส่วนของลำตัว ลำตัวและปลายหางจะมีสีเงินปนดำ และเมื่อปลาโตยิ่งขึ้นในส่วนของสีดำนี้ก็จะเห็นชัดขึ้นด้วย มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร หนักได้ถึง 40 กิโลกรัม มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ในลุ่มแม่น้ำอเมซอนและแม่น้ำโอริโนโคซึ่งเป็น แม่น้ำสาขา มีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่รวมเป็นฝูง กินได้ทั้งพืชและสัตว์ ซึ่งแตกต่างไปจากปลา *** ที่จะกินเพียงสัตว์อย่างเดียว และยังสามารถกินเมล็ดพืชที่ตกลงน้ำได้อีกด้วย โดยมักไปรอกินบริเวณผิวน้ำ
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:34] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 86 ลักษณะที่น่าสนใจ : เลี้ยงง่าย อดทน เก็บอาหารดี หมายเหต : โตเต็มที่ใหญ่เกินที่จะเลี้ยงในตู้ได้
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:35] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 87 41. พลวง ปลาพลวง (อังกฤษ: Mahseer Barb) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Neolissocheilus stracheyi อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Cyprinini จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวยาว ด้านข้างแบน มีเกล็ดขนาดใหญ่ หัวเล็ก มีหนวด 2 คู่ อยู่ปากบนและมุมปาก ครีบหางเว้าเป็นแฉกลึก กระโดงหลังค่อนข้างสูงมีก้านแข็ง 1 อัน ครีบหูมีขนาดเล็ก ครีบท้องและครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกัน ลำตัวมีสีน้ำตาล ปนเขียว สีของปลาชนิดนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม บางแหล่งอาจจะมีสีน้ำตาลปนดำเข้ม มีแถบสีคล้ำพาดกลางลำตัวตามยาวไปใกล้โคนหาง ด้านท้องสีจาง ขนาดโดยประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1.5 เมตร อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่นับ 100 ตัวขึ้นไป ตามแม่น้ำขนาดใหญ่ที่มีน้ำใสสะอาด เช่น บริเวณแหล่งน้ำเชิงภูเขา หรือตามลำธารน้ำตกต่าง ๆ ทั่วประเทศ มีการรวบรวมลูกปลาจากธรรมชาติเพื่อขายส่งเป็นปลาสวยงาม
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:35] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 88 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นปลาในกลุ่มตะเพียน กินง่ายกินเก่งกินไวกินเศษอาหารดี เลี้ยงเป็นฝูงช่วยว่ายล้ออโรวาน่าได้ หมายเหต : ไม่มี
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:35] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 89 42. ฟลอริด้า ชื่อไทย ฟอริดา ชื่อวิทยาศาสตร์ Lepisosteus platyrhincus ชื่อสามัญ florida Gar ถิ่นกำเนิด ทางใต้ของเเหลมฟอริดา ขนาด ในที่เลี้ยง ประมาณ 30 นิ้ว
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:35] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 90 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นกลุ่มการ์(ปลาเข็ม)ที่มีขนาดเหมาะที่จะเลี้ยงในตู้ หมายเหต : หากตกใจอาจว่ายชนตู้จนปากเกิดแผลได้ง่าย , หากตู้เล็กจะกลับตัวยาก และการว่ายที่ผิวน้ำจะทำให้ปะทะกับอโรวาน่าบ่อยครั้ง
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:36] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 91 43. มาเบิลแคทฟิช มาเบิลแคทฟิช ชื่อวิทยาศาสตร์ของมันคือ Leiarius marmoratus ชื่อ สามัญ Achara Catfish, Marbled Pim พบตัวในแถบลุ่มน้ำอเมซอน นิสัยไม่ก้าวร้าว น่ารัก และเหมือน catfish อื่นๆ คือจะนอนในเวลากลางวัน ดังนั้น ถ้าอยากดูมันกินอาหารอย่างร่าเริง การให้อาหารในเวลากลางคืนก็เป็นเรื่องเหมาะสม
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:36] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 92 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นปลาพื้นตู้เก็บอาหารได้ดี ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 1 ฟุตกว่าๆ ทำให้เลี้ยงในตู้ได้ตลอดชีวิต และมีราคาถูก หมายเหต : ตระกูลปลาหนังทั้งหมดค่อนข้างแพ้ยาบางกลุ่มได้ง่ายเช่นมาลาไคลกรีน
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:36] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 93 44. แมวกระโดงสูง แมวกระโดงสูง Corydoras leopard ชื่อวิทย์คือ Synodontis eupterus แต่จริงๆจะคล้ายปลาแพะมากกว่า เลี้ยงง่าย โตเร็ว ไม่ดุ น่ารัก แถมยังไม่แพงอีก
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:37] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 94 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นกลุ่มปลาพื้นตู้เก็บเศษอาหาร นิสัยดีไม่ก้าวร้าว หมายเหต : ตระกูลปลาหนังทั้งหมดค่อนข้างแพ้ยาบางกลุ่มได้ง่ายเช่นมาลาไคลกรีน
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:37] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 95 45. ยีราฟแคทฟิช ยีราฟแคทฟิช Giraffe Catfish - Auchenoglanis occidentalis เป็น แคทฟิชที่มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกา ลายบนลำตัวออกสีโทนน้ำตาลประปราย ลักษณะหัวและลวดลายโดยรวมดูคล้ายยีราฟเป็นอย่างมาก มีนิสัยชอบคุ้ยหาอาหารที่พื้นตู้จึงควรระวังหากในตู้มีการปลูกไม้น้ำ ยีราฟแคทฟิชโตเต็มที่ได้ประมาณ 46 เซนติเมตร และไม่ก้าวร้าวต่อเพื่อนร่วมตู้
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:37] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 96 ลักษณะที่น่าสนใจ : ปลากลุ่มพื้นตู้ช่วยเก็บเศษอาหาร,ไม่ก้าวร้าวต่อเพื่อร่วมตู้ หมายเหต : ไม่ควรเลี้ยงรวมกับเมทที่มีขนาดเล็กกว่าปากของมัน
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:37] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 97 46. ยี่สก ยี่สก เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Probarbus jullieni อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Cyprinini เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ หัวค่อนข้างโต มีหนวดสั้น 1 คู่ อยู่มุมปากบน ปากเล็กยืดหดได้ อยู่คล้อยลงมาใต้ส่วนหัว สีของลำตัวเหลือง มีแถบสีดำ 7 แถบ พาดไปตามความยาวของ ลำตัว แถบสีดำเหล่านี้จะพาดอยู่ระหว่างรอยต่อของเกล็ด ตาสีแดง ครีบทุกครีบสีชมพู อยู่ตามแม่น้ำที่พื้นที่เป็นกรวด หินหรือทราย ในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้จะเปลี่ยนสีลำตัวเป็นสีคล้ำอมม่วงและมีตุ่มสิวขึ้น บริเวณข้างแก้มและครีบอก วางไข่ในฤดูหนาว โดยจะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ฝูงละ 30 - 40 ตัว บริเวณที่วางไข่อยู่ท้ายเกาะกลางน้ำ กินหอยและตัวอ่อนแมลงน้ำที่อยู่บริเวณพื้นดิน ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่พบมีความยาว 1 เมตร และมีน้ำหนักถึง 40 กิโลกรัม พบตามแหล่งน้ำใหญ่ของภาคกลาง ภาคเหนือและอีสาน เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำน่าน แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:38] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 98 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นปลาไทยแท้กลุ่มตะเพียน กินเก่งกินง่ายกินไวกินเศษอาหารก้นตู้ได้ดี, อยู่รวมกันเป็นฝูงไม่ก้าวร้าว หมายเหต : ไม่มี
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:38] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 99 47. เรดเทลแคทฟิช ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phractocephalus Hemioliopterus (Schneider, 1801) วงศ์ : Pimelodidae ถิ่นกำเนิด : ลุ่มน้ำอเมซอน อเมริกาใต้ อุณหภูมิ : 22 - 28 pH : 6.8 - 7.0 ขนาด : โดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ย 1.5 เมตร การขยายพันธุ์ : วางไข่ อาหาร : ปลาเล็ก สัตว์เล็กกว่า เนื้อหมู เนื้อไก่ เรด เทลแคทฟิช (Redtailed Catfish) จัดเป็น ปลาหนังไม่มีเกล็ด ผิวด้านสาก ลำตัวใหญ่ ปากกว้าง ใหญ่ ส่วนหัวแบนโตและแข็ง มีหนวด 3 คู่ ใช้คลำทางหาอาหาร เนื่องจากมีสายตา ที่ไม่ค่อยดี ครีบอกมีเงี่ยงแข็ง พื้นลำตัวสีดำ คาดขาวยาวตั้งแต่ ปากจดปลายหาง มีจุดดำบริเวณส่วนหัว ครีบหางเป็นสีแดง มีอุปนิสัย ก้าวร้าว หวงถิ่น ชอบกินปลา ที่มีขนาดพอดี หรือใหญ่กว่า ปาก เป็นอาหารได้ กินเก่ง โตไว ถ้าจะเลี้ยงรวมกับปลาอื่น ควรเป็นปลาขนาดใหญ่ด้วยกัน อาทิ อะโรวาน่า หรือ ปลายักษ์ ขนาดอื่นๆ ที่ ว่ายน้ำ อยู่ในคนละชั้นโซน เนื่องจาก ปกติ ปลาชนิดนี้ มักจะอยู่ตามพื้นตู้
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:38] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 100 ลักษณะที่น่าสนใจ : สีสันสวยงาม โดยเฉพาะพวกสีแปลกๆที่ผสมได้ในช่วงนี้, กินง่ายกินเศษอาหารได้ดี,กินเก่งโตไว หมายเหต : ขึ้นชื่อเรื่องการเขมือบเมทขนาดไล่เลี่ยกัน ดังนั้นควรเลี้ยงกับเมทที่ใหญ่กว่าและปลาทรงกว้างจะถูกกินยากกว่า
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:39] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 101 48. เรดฮุคบาร์เล็ก & บาร์ใหญ่
Myleus schomburgki แต่เดิมจะเรียกชื่อทับศัพท์ชื่อสปีชีย์ไปเลยว่า สคอมเบอกี้ แต่ตอนนี้ เราเรียกกันติกปากว่า แบล็คบาร์เรดฮุค ในตลาดปลาสวยงามบ้านเรา จะมีแบล็คบาร์เรดฮุคอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ 1.1 แบล็คบาร์เรดฮุคยักษ์ หรือ แบล็คบาร์เรดฮุคบาร์ใหญ่ ชนิดนี้จะมีจุดเด่นคือ - แถบดำข้างลำตัวหนาปึ้ก - โตเต็มที่ได้มากกว่า 1 ฟุตขึ้นไป - มีเปียยาวๆตามครีบต่างๆเมื่อมีขนาดใหญ่ - มีฮุคสีดำ - พบเห็นได้น้อย
1.2 แบล็คบาร์เรดฮุคบาร์เล็ก ชนิดนี้จะมีจุดเด่นคือ - แถบดำข้างลำตัวบางๆ - โตเต็มที่ได้มากกว่า 6 นิ้ว - มีฮุคสีแดง
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:39] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 102 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นปลาที่นิสัยดีไม่ก้าวร้าว ว่ายเป็นฝูงให้บรรยากาศอเมซอน กินง่ายกินอาหารเกือบทุกประเภท หมายเหต : ราคาค่อนข้างแพงถ้าจะเลี้ยงทีละฝูงและมักจะว่ายไล่กันเองในฝูง
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:39] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 103 49. (ปลา)แรดดำ&เผือก&แดง ปลาแรดธรรมดา หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า ปลาแรด หรือ ปลาแรดดำ (อังกฤษ: Giant Gourami-แปลตรงตัว "ปลากระดี่ยักษ์") เป็นปลาน้ำจืดในสกุลปลาแรด ในวงศ์ Osphroneminae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae นับเป็นปลาแรดชนิดที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด มีลักษณะลำตัวป้อมและแบนข้าง เกล็ดสากมือเป็นรูปหยัก มีก้านครีบท้องคู่แรกเป็นเส้นเรียวยาวคล้ายหนวด ใช้สำหรับสัมผัส ปลายหางมนกลม ปากแหลม ริมฝีปากหนา ภายในปากมีฟันซี่เล็ก ๆ แหลมคมเรียงอยู่ภายใน ส่วนหัวเล็กและป้าน เมื่อโตขึ้นมาโดยเฉพาะในปลาตัวผู้จะมีโหนกนูนขึ้นมาเรื่อย ๆ จนดูคล้ายนอแรด อันเป็นที่มาของชื่อในภาษาไทย โคนหางมีจุดสีดำคล้ำอยู่ทั้ง 2 ข้าง เมื่อโตขึ้นจุดดังกล่าวจะหายไป เป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์น้ำ แต่นิยมกินพืชมากกว่า มีการกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ และที่เป็นหมู่เกาะ ในประเทศไทยพบได้ในพื้นที่ภาคกลางและบางส่วนของภาคใต้ มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 90 เซนติเมตร จึงนับว่าเป็นปลาชนิดที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์ Osphronemidae แต่ว่าขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไปจะมีขนาดประมาณ 30-40 เซนติเมตร ปลาแรดแดง หรือ ปลาแรดแดงอินโด (อังกฤษ: Giant red tail gourami, ชื่อวิทยาศาสตร์: Osphronemus laticlavius) เป็นปลาแรดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างเหมือนปลาแรดชนิดอื่น ๆ แต่ทว่าปลาแรดแดงนี้จะพบเฉพาะในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียเท่านั้น มีลำตัวสีแดงสด ยิ่งเมื่อปลาโตขึ้นเท่าไหร่ สีดังกล่าวจะยิ่งเข้มตามด้วย จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ปลาแรดแดงจะมีการเจริญเติบโตช้ากว่าปลาแรดชนิดอื่น ๆ และขนาดเมื่อโตเต็มที่จัดว่าเป็นปลาแรดชนิดที่เล็กที่สุดด้วย กล่าวคือมีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตรเท่านั้น และมีนิสัยดุร้ายก้าวร้าวน้อยที่สุด
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:40] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 104 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นปลาที่มีความอดทนสูง, กินง่ายกินไม่เลือก เก็บเศษอาหารได้ดี, อายุยืนพอๆกับมังกรสามารถเป็นเพื่อนร่วมตู้ได้ตลอดอายุขัยของอโรวาน่า หมาย เหต : มีความก้าวร้าวสูงโดยเฉพาะแรดดำ โดยความก้าวร้าวจะลดลงเมื่อโตเต็มวัย แต่ถึงกระนั้นปลาแรดก็ได้ชื่อว่าเอาแน่เอานอนไม่ได้ หากวันดีคืนดีจะไล่เมทตัวอื่นก็จะเกิดความสูญเสียขึ้นได้
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:40] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 105 50. ลูโซโซ่ ปลาลูโซ่โซ่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Distichodus lusosso (ดิสทิโชดัส ลูโซโซ) มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า Longsnout distichodus หรือ Long Nosed Distichodus หรือ LONG-NOSED CLOWN TETRA ซึ่งก็แปลง่ายๆว่า ปลาดิสทิโอดัสจมูกยาว หรือคราวน์เตทตร้าจมูกยาว นั่นเอง ซึ่งปลาในสกุล ดิสทิโอดัสนี้ มีสมาชิกในตอนนี้ถึง 22 ชนิดเลยทีเดียวครับ ส่วนชื่อภาษาไทย เราเรียกทับศัพตามชื่อชนิดไปเลยว่า ปลาลูโซโซ่ นี่แหละครับ จำง่ายดีด้วย ปลาลูโซโซ่ มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอาฟริกาครับ...จากประเทศในแถบลุ่มน้ำคองโก ระบบนิเวศน์ป่าฝนขนาดใหญ่ยักษ์อันดับสองของโลกใบนี้ ปลาลูโซโซ่ เป็นปลาแม่น้ำครับ จัดเป็นปลาที่อาศัยอยุ่กลางน้ำไปจนถึงพื้นท้องน้ำ จะอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเดียวกัน หรือ รวมฝูงกับปลาคาราซินชนิดอื่นๆได้บ้าง ชอบน้ำไหลเอื่อยๆ ตอนเล็กๆจะอาศัยอยู่ตามพืชน้ำ ต่างๆ และจะชอบน้ำไหลแรงขึ้นเมื่อปลามีขนาดใหญ่ พร้อมออกสู่แม่น้ำ เป็นปลาที่ว่ายน้ำเร็ว มีความแข็งแรงว่องไว และ กระโดดเก่งมากครับ แหล่งน้ำที่อาศัยโดยทั่วไปจะมีอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 22 – 26 องศาเซลเซียส pH ก็อยู่ที่ประมาณ 6.5-7.0 เรียกได้ว่า นำมาเลี้ยงในบ้านเราได้สบายๆ ปลาลูโซโซ่ มีรูปร่างเพรียวสมส่วน มีความแข็งแรง เป็นนักว่ายน้ำ และนักกระโดดตัวยงครับ เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาด 45-50 เซนติเมตร ลำตัวมีสีพื้นเป็นสีน้ำตาลทอง ครีบต่างๆมีสีแดง โดยเฉพาะหางจะสีแดงจัดกว่าครีบอื่น มีแถบบนลำตัว 7 แถบ มีสีดำลากบางๆ จากบนสู่ด้านล่างของข้างลำตัว ส่วนหัวและจงอยปาก มีลักษณะ เรียวยาว แหลมยื่นออกมาด้านหน้าชัดเจน ช่องเปิดของปากมีขนาดเล็กๆ นิสัยของปลาชนิด นี้ รักสงบ แต่ก็มีความดุร้ายลึกๆ ซ่อนอยู่บ้างภายใน ชอบอยู่รวมฝูงกันได้เป็นอย่างดี ว่ายน้ำตามกันอย่างรวดเร็ว ตื่นตกใจง่ายเมื่อยังเล็ก ชอบกระโดด เมื่ออันตรายจวนตัว หรือหลบซ่อนตามกอไม้ ขอนไม้จมน้ำต่างๆ อาหารของปลาลูโซโซ่ ส่วนใหญ่แล้ว จะกินพวก พืชน้ำต่างๆเป็นหลัก โดยจัดอยู่ในพวกปลากินพืช (Herbivore) พืชที่ชอบกินก็จะเป็นพวกพืชน้ำใบอ่อนต่างๆ โดยจะกัดแทะเล็มๆไปเรื่อย ไม่ชอบกินพืชน้ำใบแข็งต่างๆโดยไม่จำเป็น นอกจากนั้น ยังกินพวก ตัวอ่อนแมลงน้ำ หนอน ไส้เดือนน้ำ และ สัตว์น้ำขนาดเล็กอื่นๆเป็นอาหารอีกด้วยครับ โดยปลาจะหากินทั้งบริเวณกลางน้ำ และคุ้ยเขี่ยบริเวณพื้นท้องน้ำเพื่อหาสัตว์เล็กๆกินด้วยเช่นกันครับ
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:40] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 106 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นปลาที่มีสีสันใกล้เคียงกับคราวน์เตทตร้า แต่มีความก้าวร้าวน้อยกว่า รวมทั้งปากที่เป็นจงอยขนาดเล็กทำให้บาดแผลของคู่กรณีเมื่อเกิดการปะทะไม่รุน แรงเท่าคราวน์เตทตร้า และเมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดเกือบ 2 ฟุตทำให้เหมาะที่จะนำมาเป็นเมทของอโรวาน่าครับ หมายเหต : เป็นปลาที่ชอบแทะไม้น้ำครับเช่นเดียวกับตระกูลตะเพียนและแรด จึงไม่สามารถเลี้ยงในตู้ที่มีไม้น้ำเช่นอนูเบียสได้
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:41] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 107 51. โลมาน้อย โลมาน้อยหรือปลางวงช้างจมูกสั้น Elephant-snout fish ปลาชนิดนี้ จัดเป็นปลาโบราณชนิดหนึ่งโดยจัดอยู่ในอันดับ ปลาลิ้นแข็ง Order: Osteoglossiformes (bony tongues) กลุ่มเดียวกับ อโรวาน่า และ ปลากราย และ จัดอยู่ในครอบครัว Family: Mormyridae ซึ่งมีสมาชิกมากมาย ปลางวงช้างจมูกสั้น มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร เรียกได้ว่า น้องๆอบาอบา เลยล่ะครับ แต่ความดุร้ายจะน้อยกว่ามาก เนื่องจากปากมีขนาดเล็ก และสามารถฝึกให้เชื่องกับผู้เลี้ยงได้อีกด้วย ปลาชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในทวีป อาฟริกา เช่น ทะเลสาปวิคตอเรีย Kyoga และแม่น้ำไนล์ และอาจพบได้ในแม่น้ำ Athi ในประเทศ เคนย่า ในประเทศไทย ปลาในกลุ่มนี้ที่มีขายอยู่ ก็ได้แก่ อบาอบา แบลคโกส ปลาไหลไฟฟ้า โลมาน้อย แต่จริงๆยังมีอีกหลายชนิดมากๆครับ ปลาชนิดนี้ในธรรมชาติจะเป็นปลาหากินกลางคืน โดยจะคุ้ยเขี่ยกินตัวอ่อนแมลง และสัตว์เล็กๆกินบริเวณพื้นท้องน้ำ ด้วยปากที่งุ้มลงด้านล่าง ดวงตามีขนาดเล็ก ไม่ค่อยได้ใช้งานนัก เมื่อนำมาเลี้ยง ก็สามารถปรับตัวได้โดยง่าย กินอาหารพวกหนอนแดง ไส้เดือนน้ำ เมื่อโตขึ้นก็ให้กินกุ้งฝอยตายได้ กินเก่งและโตเร็ว ปลาชนิดนี้ชอบกัดกันเองมาก ไม่ควรเลี้ยงรวมกันหลายตัวในระยะยาวครับ ปลาขนาดเล็ก ยังค่อนข้างอ่อนแอ ไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาขนาดใหญ่อื่นๆที่ดุร้าย ก้าวร้าว หรือชอบ ก่อกวนปลาอื่นครับ
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:41] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 108 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นปลาที่มีนิสัยซุกซนน่ารัก คุ้ยหาอาหารกินตามพื้นตู้ หมายเหต : กับเมทขนาดไล่เลี่ยกันมีแนวโน้มว่าจะก้าวร้าว เช่นไล่ตอด
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:41] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 109 52. เวียน ปลาเวียน (อังกฤษ: Thai Mahseer, Greater Brook Carp) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tor tambroides อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Cyprinini เป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง รูปร่างลักษณะคล้ายปลาพลวง (Neolissocheilus soroides) ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียว กัน เว้นแต่ริมฝีปากบนมีแผ่นหนังยื่นออกมาทำให้ดูคล้ายจงอยปากงุ้มลง และรูปร่างลำตัวที่เพรียวกว่า ขนาดเฉลี่ยโดยทั่วไปประมาณ 60 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดที่พบ 1 เมตร อาศัยตามแหล่งน้ำสะอาดตามต้นน้ำลำธาร มีพฤติกรรมในอพยพย้ายถิ่นลงมาทางปากน้ำในฤดูฝน ตามรายงานพบว่า ปลาที่อาศัยในแม่น้ำแม่กลอง เมื่อถึงฤดูฝนจะว่ายตามกระแสน้ำลงไปจนถึงปากนี้ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "ปลาเหล แม่น้ำ" นานประมาณ 4-8 สัปดาห์ จากนั้นจะหวนกลับไปยังต้นน้ำ แสวงหาสถานที่อันเหมาะสมเพื่อผสมพันธุ์ จะวางไข่ในช่วงเดือนมิถุนายน และกรกฎาคม
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:42] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 110 ลักษณะที่น่าสนใจ : ปลาในกลุ่มตะเพียนกินเก่งกินง่ายกินไวกินเศษอาหารได้ดี หมายเหต : ไม่มี
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:42] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 111 53. สายน้ำผึ้ง ปลาน้ำผึ้งมีลักษณะลำตัวเรียวคล้ายทรงกระบอก (fusiform)ตาค่อนไปทางด้านบนของหัวครีบทุกครีบไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหลังมีก้านครีบอ่อน มีช่องเปิดให้น้ำผ่านเพื่อการหายใจแลกเปลี่ยนออกซิเจน เรียกว่า spiracles (ภาพที่ 2) อยู่บริเวณหลังตาตอนบนของแผ่นปิดเหงือก (operculum) มีตุ่ม (tubercles) รวมกันเป็นกลุ่มอยู่บริเวณจะงอยปากปลาน้ำผึ้งเป็นปลามีเกล็ดที่มีขนาดเล็ก ปากเปลี่ยนแปลงไปเป็นอวัยวะสำหรับดูดเกาะ ช่องเปิดเหงือกมี 2 ช่อง ช่องบนอยู่ในแนวหลังตาเรียกว่า spiracles สำหรับ ให้น้ำเข้าแทนปากขณะที่ใช้ปากดูดเกาะติดกับหินหรือวัตถุใต้น้ำ ส่วนช่องเหงือกด้านล่างมีแผ่นปิดเหงือกคลุมเหมือนปลาทั่วไปซี่กรองเหงือก สั้นจำนวนมากเรียงติดกันเป็นแถว กินเศษอาหาร ตะไคร่ พืชน้ำ
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:42] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 112 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นปลากินตะไคร่อันอับต้นๆ ราคาไม่แพง หมายเหต : ขนาดโตเต็มที่ไม่ใหญ่นักทำให้เสี่ยงต่อการถูกอโรวาน่าขนาดใหญ่ทำร้าย
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:43] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 113 54. เสือตอเขมร,เสือตอเวียดนาม ปลาเสือตอลายใหญ่ (อังกฤษ: Siamese tigerfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Datnioides pulcher เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ปลาเสือตอ (Datnioididae) มีรูปร่างแบนข้าง ปากยาวสามารถยืดได้ ครีบก้นเล็กมีก้านครีบแข็ง 3 ชิ้น ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็งมีเงี่ยง 13 ชิ้น ตอนหลังเป็นครีบอ่อน พื้นลำตัวสีเหลืองน้ำตาลจนถึงสีส้มอมดำ มีแถบสีดำคาดขวางลำตัวในแนวเฉียงรวมทั้งสิ้นประมาณ 5-6 แถบ หรือ 7 แถบ ส่วนหัวมีลักษณะลาดเอียงมาก เกล็ดเป็นแบบสาก (Ctenoid) มีลักษณะนิสัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ใต้น้ำ โดยมักจะอาศัยบริเวณใกล้ตอไม้หรือโพรงหินด้วยการอยู่ลอยตัวอยู่นิ่งๆ หัวทิ่มลงเล็กน้อย หากินในเวลากลางคืน โดยกินอาหารแบบฉกงับ อาหารได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็กและแมลงต่างๆ มีขนาดลำตัวโตสุดประมาณ 40 เซนติเมตร หนักถึง 7 กิโลกรัม เป็นปลาที่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายในประเทศไทย เป็นสัตว์น้ำจืดคุ้มครองของกรมประมงร่วมกับปลาชนิดอื่น อีก 3 ชนิด (ปลาตะพัด (Scleropages formosus), ปลาหมูอารีย์ (Yasuhikotakia sidthimunki) และ ปลาค้างคาวดอยอินทนนท์ (Oreoglanis siamensis)) ซึ่งหากใครจะค้าขายหรือเพาะเลี้ยงต้องได้รับการอนุญาตก่อน เป็นปลาที่ได้รับความนิยมมากจากนักเลี้ยงปลาสวยงาม เพราะมีสีสันและลวดลายที่สวยงาม เมื่อเวลาล่าเหยื่อจะกางครีบทุกครีบ ก่อนจะฉก แม้จะมีราคาที่แพง เพราะหายาก ปลาที่มีขายในตลาดปลาสวยงามทุกวันนี้ นำเข้าจากประเทศกัมพูชาและเวียดนาม
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:43] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 114 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นปลายอดนิยม หายากและทรงคุณค่า หมายเหต : ราคาเมทตัวนี้อาจแพงกว่าอโร, ปลาใหญ่กินเยอะถ่ายเยอะระบบกรองต้องเหมาะสม, ทั้งอโรและเสือตอต้องการอ๊อกซิเจนตลอดควรระวังเรื่องไฟฟ้าดับ
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:43] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 115 55. เสือตอปาปัวนิวกีนี เสือตอปาปัวนิวกินี (Datnioides campbelli) ขนาดลำตัวโตเต็มที่ประมาณ 36 เซนติเมตร พบในแหล่งน้ำบริเวณชายฝั่งในนิวกินีมี ซี่เหงือกน้อยกว่า ปลาชนิดอื่นๆ ในสกุลเดียวกัน และมีแถบลายที่ไม่ชัดเจน มีแถบขนาดเล็กแทรกระหว่าง แถบที่ 3 ขนาดใหญ่กลางลำตัว และแถบที่ 4 สีค่อนไปทางสีเงิน น้ำตาล จนไปถึงเหลืองอ่อนๆ เกล็ดมีขนาดใหญ่และหยาบ พบได้ในแหล่งน้ำกร่อยปากแม่น้ำ บึงใกล้ชายฝั่งเหนือระดับน้ำขึ้นน้ำลงแถบเกาะปาปัวนิวกีนี ประเทศอินโดนีเซีย
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:44] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 116 ลักษณะที่น่าสนใจ : สีเหลืองเข้มกว่าเสือตออินโด หมายเหต : ราคาแพงกว่าเสือตออินโดประมาณ 2-3 เท่า, ขนาดโตเต็มที่เพียง 1 ฟุตและโตช้าที่สุดในบรรดาเสือตอทั้งหมด
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:44] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 117 56. เสือตอลายเล็ก ปลาเสือตอลายเล็ก (อังกฤษ: Northeastern Siamese tigerfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Datnioides undecimradiatus อยู่ในวงศ์ปลาเสือตอ (Datnioididae) มีรูปร่างคล้ายและพฤติกรรมคล้ายเสือตอลายใหญ่ (D. pulcher และ D. microlepis) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียว กัน แต่ว่ามีรูปร่างที่เล็กกว่า หัวมีส่วนลาดกว่า มีลายเส้นที่เล็กกว่ามาก เกล็ดมีขนาดใหญ่กว่า พื้นลำตัวค่อนข้างไปทางสีเหลืองอ่อนหรือขาว ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร พบในแม่น้ำโขงและสาขา ใช้บริโภคในท้องถิ่น แต่ปัจจุบันพบน้อยลง มีแนวโน้มว่าใกล้สูญพันธุ์ในอนาคต และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:44] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 118 ลักษณะที่น่าสนใจ : ราคาถูกที่สุดในบรรดาเสือตอทั้งหมด ,บางตัวลายสีเหลืองขนาดใหญ่ดูสวยงาม หมายเหต : ขนาดเล็กโตเต็มที่ประมาณ 1 ฟุต, ส่วนใหญ่จับมาจากธรรมชาติทำให้บอบช้ำและหากปรับน้ำไม่ได้ก็จะตาย
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:45] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 119 57. ปลาเสือตออินโด ปลาเสือตออินโด ไม่ว่าจะเป็นลายใหญ่ ลายคู่ หรือลายแปลกต่างๆ ล้วนมีชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกันคือ Datnioides microlepis งงอ่ะท่าน(เดิม ชื่อนี้จะเป็นชื่อของปลาที่มาจากแหล่งน้ำในไทย เขมร เวียดนาม ลาว พม่า ปัจจุบันปลาจากแหล่งดังกล่าวได้ใช้ชื่อ Datnioides pulcher )ซึ่งจากการแยกชนิดและจำแนกปลาเสือตอในปัจจุบันทำให้สายพันธุ์ ของปลาเสือตอของไทยกับประเทศเพื่อนเป็นคนล่ะชนิดกับปลาที่มาจากอินโดนีเซีย ลักษณะของปลาเสือตออินโด โดยส่วนมากที่ปรากฎจะเป็นปลาที่มีลักษณะเป็นลายคู่ สัมผัสการเคลื่อนไหว แต่บางส่วนก็มีลักษณะเหมือนปลาลายใหญ่บ้านเรา ต่างกันเพียงปลาลายใหญ่บ้านเราจะมี 6 ลาย แต่ปลาลายใหญ่อินโดจะมี 7 ลาย โดยลายที่ 5 จะแตกออกจากกันไม่ชนกัน ทำให้เกิดลายที่ 5/6/7 บริเวณข้อหาง (โดยส่วนมากเป็นดังเช่นกล่าวแต่ก็น้อยมากที่ปลาอินโดจะมี 6 ลาย) ที่ สำคัญอีกประการคือปลาสือตออินโดจะเป็นปลาที่สีสันค่อนข้างจะไม่นิ่ง คือสีจะเปรอะๆ ในบางครั้งและขึ้นอยู่กับการปรับตัวของปลาในตู้ด้วย สุดท้าย ปลาเสือตออินโดเป็นปลาที่มีการผสมพันธุ์กันแล้วเกิดเป็นปลาที่มีลายแตกต่าง ประหลาดกันไปหลายแบบ อาทิเช่น ปลาเสือตอลายคู่ข้างใหญ่ข้าง หมายถึงข้างหนึ่งลายคู่อีกข้างเป็นลายใหญ่ บางตัวก็เป็นลายแซมด้านบนบ้างด้านล่างบ้า ลายใหญ่อินโดฯ จะมีลำตัวที่เพรียวยาวกว่า หน้าจะลาดกว่า ส่วนนิสัยจะชอบหลบมากกว่าและดิ้นมากกว่าเมื่อพ้นผิวน้ำ ลักษณะลายของอินโดฯ จะเป็น 7 ขีด สองด้านทุกตัว 100 เปอร์เซนต์ ลายกลางด้านล่างส่วนใหญ่จะเว้มมาด้านหน้า ทำให้ช่องไฟระหว่าง ลายกลาง(ลาย3)และลายที่สี่ ทางด้านล่างกว้างกว่าลายใหญ่เขมร และจุดสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ส่วนใหญ่ ลายที่สี่ด้านบนของอินโดฯจะมีส่วนที่ยื่นเกินมาด้านหน้ามากกว่าของเขมร ชัดเจน ส่วนใหญ่ลายโดยรวมของลายใหญ่อินโดฯนั้น จะตรง ปลายด้านล่างไม่แหลมเหมือนของเขมร เสือตออินโดฯ ก็เหมือนเขมร ก็คือ มีทั้งลายใหญ่ลายคู่ ลายคู่ข้างใหญ่ข้าง ลายแซม และลายแปลกๆมากมายหลากหลายเช่นเดียวกัน แต่เนื่องจากปลามีจำนวนน้อย ในท้องตลาด จึงทำให้มีผู้เข้าใจผิดเยอะพอสมควร ว่าอินโดฯไม่มีลายใหญ่ ซึ่งจริงๆแล้ว มีลายหลากหลายเหมือนปลาเขมรทุกประการ
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:45] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 120 ลักษณะที่น่าสนใจ : ขนาดโตเต็มที่เท่าๆกับเสือตอเขมรในราคาเริ่มต้นไม่เกินหลักพัน ,หาได้ง่ายกว่าเสือตอเขมรและพบลายคู่มากกว่าลายใหญ่(สำหรับคนชอบลายคู่) หมายเหต : สีไม่นิ่งตลอดชีวิต, ในลายใหญ่มีโอกาสเกิดลายแซมได้
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:45] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 121 58. เสือพ่นน้ำ ปลาเสือพ่นน้ำ : Archer Fish ในวงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ (วงศ์: Toxotidae) คำว่า "Toxots" เป็นภาษากรีกหมายถึง นักยิงธนู ปลาจำพวกนี้จัดอยู่ในกลุ่ม ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) ในสกุลนี้มีทั้งสิ้น 7 ชนิดครับ ปลาในวงศ์นี้มีขนาดตั้งแต่ 15 เซนติเมตร (เสือพ่นน้ำนครสวรรค์)ถึง 40 เซนติเมตร (ชนิดอื่นๆ) ปากยาว จะงอยปากยืดได้ มีลำตัวป้อม แบนข้าง ตากลมโต ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็งเป็นเงี่ยง 4-5 ชิ้น ตอนหลังเป็นครีบอ่อน เกล็ดเป็นแบบสาก(Ctenoid) อาศัยเป็นฝูง หากินบริเวณผิวน้ำ เป็นปลากินเนื้อ อาหารได้แก่ แมลง ลูกปลา ลูกกุ้งขนาดเล็ก มีความสามารถพิเศษคือ พ่นน้ำได้ไกลถึง 1-2 เมตร เพื่อยิงแมลงให้ตกลงน้ำเป็นอาหาร สมชื่อภาษาอังกฤษว่า "ปลานักยิงธนู" (Archer Fish) ถ้าแมลงยังไม่ตก จะยิงซ้ำสำเร็จ สามารถเปลี่ยนพิกัดมุมยิงได้อีกด้วย ทั้งนี้เป็นเพราะปลาในวงศ์นี้มีลิ้นที่ยาว และมีร่องลึกที่ลิ้น ประกอบกับจะงอยปากที่กว้างพอดีที่จะพ่นน้ำออกมาได้ในลักษณะเดียวกับปืนฉีดน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถกระโดดขึ้นงับเหยื่อเหนือน้ำได้สูงถึง 1 ฟุต วางไข่ในฤดูฝนแถบชายฝั่งทะเลหรือปากแม่น้ำ โดยมีจำนวนตั้งแต่ 20,000-150,000 ฟอง ไข่มีขนาด 0.4 มิลลิเมตร โดยวางไข่แบบปล่อยลอยไปตามกระแสน้ำ พ่อแม่ปลาไม่ดูแลไข่
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:46] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 122 ลักษณะที่น่าสนใจ : สีเหลืองคาดดำสวยงามมาก ชอบลอยตัวนิ่งๆที่ผิวน้ำช่วยล่ออโรให้ว่ายเข้าหา, ราคาไม่แพง(นอกจากเสือพ่นน้ำพม่า) หมาย เหต : มีหลายชนิดที่เป็นปลาน้ำกร่อย หากจะนำมาเลี้ยงต้องมาการปรับสภาพน้ำก่อน , ปลาเสือพ่นน้ำแพ้น้ำง่ายโดยจะเกิดอาการครีบเปื่อย ต้องคอยดูแลคุณภาพน้ำให้ดี
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:47] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 123 รูปนี้แสดงเสือพ่นน้ำพม่าครับ ลวดลายจะสวยงามกว่าเสือพ่นน้ำชนิดอื่น ราคาตอนนี้ยังสูงอยู่ครับ
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:48] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 124 59. ปลาหมอเซเวรัส, ปลาหมอเซวาลุ่ม ปลาหมอเซเวรัส บ้านเราเรียก ปลาหมอเซวาลุ่ม ชื่อ วิทย์ตายตัวที่ใช้กันคือ Heros severusปลาในสกุลนี้จะมีรูปร่างออกไปทาง วงรี ลักษณะตัวแบนข้างหน้าผากลาดโค้งลงมากถึงปาก ปากมีขนาดเล็ก ภายในปากมีฟันเรียงรายอยู่มากมายในตัวโตเต็มวัยหน้าผากจะมีลักษณะโหนกนูน นิดๆ ดวงตาใหญ่อยู่ด้านข้างของส่วนหน้า หากมองด้านตรงจะเห็นดวงตาปูดออกมาหน่อยๆ ในบ้านเราน่าจะมีมาขายเป็นสิบปีได้มั้งครับ ในอดีตเคยมีมาขายหลายสายพันธุ์ เช่น เซเวรัสเขียว เซเวรัสทอง (ทั้งแบบเหลืองทั้งตัวและเหลืองแต่มีลวดลาย) และยังมีพวก sp. ผลุบๆ โผล่ๆ ให้เห็นกันบ้างเล็กน้อย ปลาในสกุลนี้ถือว่าเป็นปลาใหญ่ทีเดียว ด้วยขนาดโตเต็มที่จะมีขนาดราวๆ 10-12 นิ้วในธรรมชาตินั้นเหล่าลูกปลาจะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เต็มไปด้วยวัสดุใต้ น้ำเช่นขอนไม้ หิน รากไม้ริมตลิ่ง กระแสน้ำจะไหลเอื่อยๆ แต่ เมื่อเริ่มโตขึ้นเหล่าปลาหนุ่มสาวทั้งหลายจะแยกย้ายไปอาศัยในแหล่งน้ำที่ อุดมไปด้วยพรรณไม้น้ำ สภาพน้ำจะนิ่ง ลึก พื้นน้ำจะเป็นดินโคลน กรวดทรายอะไรก็ว่ากันไป ในการเลี้ยงนั้นควรจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับปลาโดยมีวัสดุใต้น้ำบ้าง ในปลาที่มีโทนมืด เช่นเซเวรัสเขียวนั้นควรปูวัสดุที่มีสีอ่อน เช่นกรวดแม่น้ำสีอ่อน กรวดแก้วสีขาวเป็นต้นจัดวางหิน ขอนไม้ให้ปลาได้หลบซ่อนบ้างเพื่อลดความเครียดในระยะแรก วัสดุที่นำมานั้นไม่ควรมีปลายแหลมคม เพราะเห็นรูปร่างอ้วนๆ แบบๆ แบบนี้ แต่เซเวรัสยามตกใจกลับเป็นปลาที่พุ่งหนีอย่างไม่คิดชีวิต ทั้งแรง ทั้งเร็ว จึงอาจเกิดบาดแผลได้
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:48] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 125 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นหมอสีที่นิสัยไม่ก้าวร้าว เลี้ยงกับเมทอื่นได้หรือเลี้ยงรวมฝูงได้เป็นอย่างดี หมายเหต : เวลาตกใจอาจพุ่งหนีแบบไม่คิดชีวิตจนไปชนตู้ทำให้บาดเจ็บได้
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:48] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 126 60. หมอนกแก้ว ปลาหมอสีนกแก้ว (Parrot Cichlid) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cichlasoma วงศ์ : Cichlidae ถิ่นกำเนิด : เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ อุณหภูมิ : 22 - 28 pH : 6.5 - 7.0 การขยายพันธุ์ : ผสมข้ามสายพันธุ์ สืบพันธุ์โดยการวางไข่ ติดกับก้อนหิน อาหาร : อาหารสำเร็จรูป อาหารสด พวก หนอนแดง ไรทะล รวมทั้ง ไส้เดือนน้ำ ปลา หมอนกแก้วมีดวงตากลมโต ลูกตาดำใหญ่ ปากครุท คล้ายนกแก้ว ลำตัวกลม ป้อม สั้น อุปนิสัยเป็นปลาที่ค่อนข้างเกเร ต่อปลาอื่นๆ เพราะหวงถิ่น มักไล่ชนปลาเล็กกว่า หรือปลาอื่นๆ แต่สามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นที่ ขนาดเท่ากันได้ เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ทน และแข็งแรง การเลี้ยงควรจัด สถานที่เลี้ยง หรือตู้ ให้โล่งๆ ตกแต่งด้วยหินขนาดใหญ่ และขอนไม้ เพราะปลานกแก้วเป็น ปลาที่ชอบขุดคุ้ย สร้างโพรง จึงควรใส่ภาชนะดินเผา ประเภทหม้อ ไห เพื่อให้ปลาได้อาศัย การให้อาหาร ให้กุ้งฝอย หรือ ไรทะเล อาหารที่มีโปรตีนสูง จะทำให้สีปลาสด กินอาหารได้ทุกอย่าง ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นอาหารเม็ด หรืออาหารสด โตไว สีของปลาหมอนกแก้ว มีหลายสีแตกต่างกันออกไป ทั้งเกิดจากการฉีดสี และสีธรรมชาติ สีแดงสด เรียกว่า เรดบลัดแพรอท สีแดงอมม่วง เรียกว่า เพอเพิลบลัดแพรอท ส่วนนกแก้วที่มี การตัดต่อสายพันธุ์ ทีไม่มีหางลักษณะ รูปหัวใจเรียกว่า เลิฟฮาร์ดแพรอท (นกแก้วเลิฟ)
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:49] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 127 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นปลากลางน้ำถึงพื้นตู้ มีการกางอาณาเขตทำให้นกแก้วชอบไล่ปลาอื่นที่เข้ามายังบริเวณที่นกแก้วอยู่ ช่วยให้มังกรว่ายกางขึ้น และเก็บเศษอาหารได้ดี หมายเหต : ควรเลือกเมทอื่นๆให้มีขนาดไล่เลี่ยกับนกแก้ว เพื่อลดกรณีการโดนทำร้าย
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:49] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 128 61. หมอแจ๊คเดมซี่ & บลูแจ๊คเดมซี่ หมอแจ๊คเดมซี่ jack dempsey (Archocentrus octofasciatum) เป็นปลาจอมโหดอีกชนิดหนึ่ง อาศัยในแม่น้ำ Hondurian Ulua ของอเมริกากลาง ชอบอยู่ตามแอ่งน้ำที่พื้นเป็นโคลน หรือทรายที่มีการไหลของน้ำช้าๆ จึงเป็นไอเดียที่ดีอย่างหนึ่งในการจัดตู้เลี้ยงปลาชนิดนี้ การเลี้ยงดู...เลี้ยงง่ายและทนทานเหมือนปลาหมอกลุ่มอเมริกากลางทั่วๆไป และมีนิสัยดุร้ายเหมือนกัน ด้วยความก้าวร้าวของมันเมื่อโตเต็มวัยจึงควรแยกเลี้ยงเดี่ยว หรือเป็นคู่ผัวเมียมากกว่าเลี้ยงในตู้รวมปลาชนิดอื่น สามารถเลี้ยงกับปลาหมอกลุ่มอเมริกากลางขนาดเท่ากันหรือใหญ่กว่าได้หลายๆตัว อุณหภูมิในตู้ทั่วไปให้ keep อยู่ที่ 22-30 องศาเซสเซียส แต่นักเลี้ยงปลาส่วนใหญ่ตั้งให้ไม่เกิน 25.5 องศาเนื่องจากยิ่ง temp สูงขึ้นปลายิ่งเพิ่มความก้าวร้าวมากขึ้น หวงถิ่นมากขึ้นจนไม่มีปลาไหนกล้าไปยุ่งบริเวณรังมันเลย(ไม่ทราบสาเหตุ) ส่วน pH ให้อยู่ที่ 7.0-8.0 ไม้น้ำ ถ้ามีในตู้ให้เอาออกเพราะโดนกัดกินหมด หินก้อนใหญ่ๆวางให้เสถียรเนื่องจากเวลาปลาขุดมันจะล้มทับตู้แตก อาหาร : ในธรรมชาติกินพวกกุ้ง แมลง ปลาขนาดเล็ก กินพืชผักบ้าง(omnivore) แต่ในที่เลี้ยงฝึกให้กินอาหารเม็ดได้ เมื่อซื้อมาเลี้ยงก้อปรับตัวกินง่ายอยู่ง่าย ใช้อาหารปลาหมอเลี้ยงเหมือนหมอแนวๆเดียวกันทั่วไป ถ้าให้อาหารเม็ดสลับอาหารสดปลาจะโตเร็วและมุกวาวขึ้น บลูแจ็ค คาดว่าเป็นยีนด้อยด้านสี 'Blue Gene' ที่แสดงออกมาจากการผสมพันธุ์ของแจ็คเอง
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:49] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 129 ลักษณะที่น่าสนใจ : สำหรับบลูแจ๊คเดมซี่ถือว่าเป็นหมอสีพันธุ์แท้ ที่มีสีจัดจ้านมาก หมาย เหต : พื้นฐานมีนิสัยดุร้ายแม้กับหมอสีด้วยกันเอง แต่เนื่องจากขนาดที่ไม่ใหญ่มาก จึงอาจอยู่ร่วมกับอโรได้ เพราะอโรตัวใหญ่จนไม่กล้าเข้าไปยุ่ง
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:49] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 130 62. หมอฟรอนโตซ่า ปลาหมอฟรอนโตซ่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyphotilapia frontosa อยู่ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีรูปร่างแบนข้าง ริมฝีปากหนา ลำตัวสีขาวคาดด้วยแถบสีดำเป็นปล้อง ๆ ตลอดลำตัว ครีบต่าง ๆ ปลายครีบยาวแหลมโดยเฉพาะตัวผู้ เมื่อโตขึ้นหัวของตัวผู้จะโหนกนูนเห็นได้ชัดเจน มีความยาวเต็มที่ราว 30 เซนติเมตร มักอาศัยอยู่รวมเป็นฝูง อาศัยอยู่ในบริเวณน้ำลึก มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาบริเวณแอฟริกาตอนกลางและแอฟริกาตะวันออก โดยเฉพาะในทะเลสาบแทนกันยีกา อาหารหลักได้แก่ ลูกปลาขนาดเล็กกว่า ปลาหมอฟรอนโตซ่าจัดเป็นปลาที่มีความสวยงามมากชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามมาช้านาน จนอาจกล่าวได้ว่า เป็นราชาของปลาหมอสี เช่นเดียวกับปลาปอมปาดัวร์ที่ถูกจัดเป็นราชินีแห่งปลาตู้
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:50] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 131 ลักษณะที่น่าสนใจ : รูปร่างและสีสันที่สวยงาม การยืนท้องน้ำที่นิ่งสงบชวนให้น่าดู หมายเหต : เป็นปลาที่ขี้ตกใจ หากจะเอามาเป็นเมทอโรต้องคอยสังเกตว่าอยู่กันได้สงบหรือไม่
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:50] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 132 63. หมอฟลาวเวอร์ฮอร์น ปลาฟลาวเวอร์ฮอร์น (Flowerhorn ) ปลาฟลาวเวอร์ฮอร์น หรือในภาษาจีนที่เรียกว่า ของปลาฮัวหลอฮั่น เป็นปลาที่เพาะขึ้น โดยการผสมข้าม สายพันธุ์ระหว่างปลาหมอ นกแก้วกับปลาหมอสี สายพันธุ์ใหญ่จากอเมริกาไต้ มันมีลำตัวที่สวยงาม อันเป็นที่สนใจ ของนักสะสมพันธ์ปลาทั่วไป ปลาฟลาวเวอร์ฮอร์น เป็นปลาที่มีความอดทนมาก เพราะสามารถทนต่อทุกสภาวะน้ำ ซึ่งอาจเป็นสภาวะ ที่ไม่เหมาะสม สำหรับพันธุ์ปลาส่วนมาก เนื่องจากปลาฟลาวเวอร์ฮอร์น มีเชื้อสาย Cichlid จากแถบอเมริกาใต้ จึงมีนิสัย ก้าวร้าว หวงถิ่น ปลาฟลาวเวอร์ฮอร์น จึงเป็นปลาที่ดุ ไม่แนะนำให้เลี้ยงปลาอื่น ๆ ร่วมกับ ปลาฟลาวเวอร์ฮอร์น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปลาที่มีขนาดเล็กกว่า ควรเลี้ยงในตู้ที่มีระบบกรอง เพื่อให้ปลามีความแข็งแรง โตเร็ว ทั้งนี้ เพราะตู้ระบบกรอง จะมีน้ำหมุนเวียนตลอดเวลา และควรรองกรวด สีเหลืองอมแดง และปะการังปนบ้าง (กรวดสีแดง จะช่วยให้ปลามีสีตามสิ่งแวดล้อม ปะการัง จะเป็นที่เพาะจุลินทรีย์ ที่จะทำให้น้ำใส ค่า PH คงที่)
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:50] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 133 ลักษณะที่น่าสนใจ : หนึ่งในปลาที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งลักษณะที่แสดงถึงความมีโชคลาภของผู้ครอบครอง หมายเหต : ดุร้ายและหวงถิ่นอย่างรุนแรง ต้องพิจารณาใช้เป็นเมทปลาอโรเป็นตัวๆไป
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:51] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 134 64. หมอริวูเลตัส หมอริวูเลตัสหรือปลาหมอกรีนเทอร์เรอร์ (Green Terror Cichlid) คงเนื่องจากมันมีนิสัยก้าวร้าวไม่กลัวใคร และชอบทำลายร้างอย่างที่สุดนั่นเอง ตอนที่ได้มาเลี้ยงครั้งแรกผมก็ว่ามันเป็นอย่างนั้นเช่นกัน ทว่าพอได้ศึกษามากเข้าประกอบกับได้สอบถามพูดคุยกันในหมู่เพื่อนนักเลี้ยงปลา หมอสีก็พบว่า แท้จริงแล้วหากเราเลี้ยงมันในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีพื้นที่กว้างขวางและจัดตกแต่งให้สอดคล้องกับความต้องการตามธรรมชาติของมัน ปลาหมอริวูเลตัสก็ไม่ได้ดุอะไรไปกว่าปลาตะเพียนตัวโตๆ ตัวหนึ่งเลยล่ะครับ นิสัยอย่างหนึ่งซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเสน่ห์ของริวูเลตัสคือเวลาเห็นคนจะปรี่ เข้ามา หาพร้อมพองเหงือกอ้าปากขู่เหมือนกิ้งก่า ดูแล้วตลกมากกว่าน่ากลัว ปลาบางตัวดูคลุ้มคลั่งมากถึงขนาดเอาปากเบียดกับกระจกสะบัดหางเร่าๆ ไม่ว่าเราจะขยับย้ายไปทางไหน มันก็จะพุ่งทะยานตามไปไม่มียอมแพ้ พฤติกรรมเช่นนี้คงเกิดมาจากอาการหวงถิ่นอาศัยของปลา เพราะเมื่อทดลองนำไปเลี้ยงรวมกับปลาอื่นในตู้ขนาดใหญ่กลับไม่พบลักษณะนิสัย แบบนี้อีกเลย ริวูเลตัสกินเก่งมากครับ แถมยังกินได้สารพัดไม่เลือก ทั้งอาหารสด อาหารสำเร็จรูป สิ่งที่เหมาะสมที่สุดคือความหลากหลายของชนิดอาหาร ปลาที่กินแต่เนื้อสัตว์อย่างเดียวถึงแม้จะเติบโตรวดเร็วแต่ความสวยงามและ ความแข็งแรงย่อมเทียบไม่ได้กับปลาที่ได้รับสารอาหารจากพืชและสารอาหารอย่าง อื่นๆ ด้วย ในธรรมชาติ ริวูเลตัสเป็นปลาใหญ่หนาบึกบึนที่อุดมไปด้วยความสวยสง่ากล้าแกร่ง
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:51] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 135 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นปลาหมอสายพันธุ์แท้สำหรับผู้ชอบแนวนี้ หมายเหต : ความดุต่อเมทชนิดอื่นเป็นเรื่องที่ควรหมั่นสังเกต แต่ขนาดลำตัวที่เล็กจึงไม่น่าทำอันตรายอโรวาน่าได้มากนัก
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:51] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 136 65. หมอสุรีนัม ปลาหมอซูรินัม - Surinum Geophagus - ชื่อทางวิทยาศาสตร์ GEOPHAGUS SURINAMENSIS ถิ่นอาศัย ประเทศบราซิล กิอานา และอุรุกวัย ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 12 นิ้ว อุณหภูมิน้ำที่มี เหมาะสม 23 - 26 องศาเซลเซียส ลักษณะรูปร่างแบนข้างเล็กน้อย ส่วนหัวโต นัยน์ตาโต จะงอยปากยาวปาก เล็ก และอยู่ในระดับเดียวกับท้อง ครีบกระโดง และครีบก้นใหญ่ ตะเกียบ มีปลายเรียวยาวเป็นสายระยางค์ ครีบอกมีขนาดเล็กและครีบหางมีปลาย ตัดตรง ขอบบนและขอบล่างมีก้านครีบยื่นออกมาเป็นสายระยางค์ ลำตัวสี สีเหลืองเขียว หัวสีน้ำตาล ครีบอกขาวใส ปลายตะเกียบที่ยื่นออกมาเป็น สายระยางค์นั้นมีสีเหลือง ครีบทวารมีสีเหลืองแซม และครีบหางมีสีฟ้าปน เขียว การแพร่พันธุ์โดยการวางไข่ แต่ละครั้งแม่ปลาจะวางไข่ครั้งละประมาณ 250 ฟอง อาหารของปลาชนิดนี้ได้แก่อาหารสำเร็จรูปต่างๆ ลูกน้ำ ไรทะเล หนอนแดง ไส้เดือนน้ำ สัตว์น้ำประเภทกุ้ง และแมลงน้ำ
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:52] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 137 ลักษณะที่น่าสนใจ : ปลาหมอขนาดปานกลาง เครื่องครีบสวยดีครับ หมายเหต : ต้องระวังเมทอื่นๆ ควรมีขนาดที่ไม่เล็กเกินจนสุรีนัมทำร้ายเอาได้
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:52] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 138 66. หมอหมาป่า&จากัวร์ หมอจากัวร์หรือมานาเกวนเซ่ Nandopsis managuense เป็นปลาที่จัดอยู่ในตระกูล Nandopsis อันเป็นตระกูลปลาหมอสีใหญ่อีกสายพันธุ์หนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นสายพันธุ์ ที่มีขนาดใหญ่อันดับต้นๆ ของตระกูลปลาหมอสีเลยทีเดียว ถิ่นกำเนิดในแหล่งน้ำของประเทศ ฮอนดูรัส นิคารากัว และคอสตาริก้า ค่า pH ที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 7-8.5 ขนาดใหญ่สุดกว่าครึ่งเมตร ในแต่ละตัวของมานาเกวนเซ่นี้ จะมีลวดลายที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว เรียกได้ว่าเป็นปลาที่มีลวดลายไม่ซ้ำกันในรายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละตัว อันเป็นเสน่ห์ในตัวมันเอง
หมอหมาป่า ,ปลาหมอโดวิอาย, ปลาหมอโดวี่, Wolf Cichlid โดวิอาย ถือเป็นพี่ใหญ่ของปลาในสกุลนี้เลยก็ว่าได้ครับ ด้วยขนาดที่ได้รับการบันทึกเอาไว้ว่า
เคยมีคนลากมันขึ้นมาจากน้ำ ด้วยขนาดกว่า 75 ซม. น้ำหนักร่วม 10 กิโลกรัม คนพื้นเมืองนิยมกินกันมาก ส่วนคนต่างถิ่นอย่างเราท่านก็นิยมเลี้ยงไว้ดูเล่นกันไป โดวิอายอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ในประเทศ คอสตาริก้า ฮอนดูรัส โดยในปลาขนดเล็กมักอาศัยตามกอวัชพืช รากไม้ ส่วนในปลาใหญ่มักท่องไปตามลำน้ำสาขาต่างๆ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ทะเลสาบ เพื่อสูบกินสัตว์น้ำชนิดอื่น รวมไปถึง งู เป็ด นกน้ำที่พอจะกินได้ปลาตัวผู้มีขนาดใหญ่โตกว่าปลาตัวเมียมาก เนื้อตัวจะเป็นสี น้ำตาลเทา เหลือบม่วง มีจุดกระจายเต็มตัวเมื่อปลาโตขึ้น ส่วนปลาตัวเมียจะมีเพียงแถบดำแนวนอนที่ลำตัว ครีบต่างๆ จะมีเหลือบ ฟ้าเขียวสวยงาม เมื่อปลาตัวผู้มีอายุมากขึ้น จะมีโหนกที่หน้าผากยื่นขึ้น
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:53] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 139 ลักษณะที่น่าสนใจ : ทั้ง 2 ชนิดถือว่าเป็นหมอสีที่มีขนาดหญ่สุดในกลุ่มเดียวกัน ทั้งสีสันและรูปร่างก็มีความเฉพาะตัวต่างกันไป หมายเหต : มีความก้าวร้าวต่อเพื่อนร่วมตู้ ควรพิจารณาให้ดีก่อนเลี้ยง
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:53] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 140 67. หมูกระโดงสูง ชื่อไทย หมูกระโดงสูง ชื่อวิทยาศาสตร์ Myxocyprinus asiaticus ชื่อสามัญChinese Loach, Chinese High fin Sucker ถิ่นกำเนิด แม่น้ำแยงซี ประเทศจีน ขนาดประมาณ 90 เซนติเมตรในธรรมชาติ ประมาณ 30 เซนติเมตรในที่เลี้ยง ลักษณะรูปร่าง ดูจากชื่อแล้วอาจจะนึกว่า หมูกระโดงสูงเป็นปลาในกลุ่ม ปลาหมู แต่ จริงๆ แล้ว เป็นปลาใน อันดับ cypriniformes กลุ่ม เดียวกับ ปลาคาร์พ ปลาตะเพียน หมูกระโดงสูงมีพื้นลำตัวสีขาวอมชมพู คาดด้วยแถบสีดำหนา 3 เส้นเป็นแนวตั้ง ร่างกายดูเด่นด้วยครีบหลังที่ปลายแหลมสูงและมีขนาดใหญ่ ใน ปลาขนาดเล็กกว่า 4 นิ้วจะมีสีสันสดใสและลำตัวทรงสั้นมีครีบหลังใหญ่มองดูคล้ายใบเรือ แต่เมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้นสีขาวบนลำตัวจะเริ่มหายไป สีจะซีดจาง ขนาดของครีบหลังจะมีขนาดเล็กลงและ ความยาวลำตัวจะออกไปทางทรงยาวมากกว่าทรงสูง ปลา หมูกระโดงสูงเป็นปลาเลี้ยงง่าย ปรับตัวเข้ากับที่เลี้ยงในสภาพต่างๆได้ดี หมูกระโดงสูงเป็นปลาที่ชอบใช้ปากอมกรวดทรายคุ้ยเขี่ยตามพื้นตู้เพื่อหาอาหาร ผู้เลี้ยงจึงอาจเลือกปูพื้นด้วยกรวดแม่น้ำขนาดเล็กเพื่อสังเกตอุปนิสัยการหา อาหารตามธรรมชาติ ในที่เลี้ยงสามารถทนช่วงอุณหภูมิที่ค่อนข้างกว้าง คือได้ระหว่าง 22-30 องศาเซลเซียส และไม่เรื่องมากเรื่องค่าความเป็นกรด-ด่าง ระบบกรองนั้นสำคัญเพราะเป็นปลาที่ sensitive ต่อค่าไนไตรท์สูง ระบบกรองที่แนะนำ คือกรองข้าง กรองนอก และควรเปลี่ยนน้ำสม่ำเสมอ ทุกสัปดาห์
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:53] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 141 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นปลาเก็บเศษอาหารพื้นตู้ที่ดีและไม่ก้าวร้าวต่อเมทอื่นๆ หมายเหต : เป็นปลาที่โตช้ามาก และชอบน้ำเย็นซึ่งต่างจากอโร
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:54] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 142 68. หมูอินโด ปลาหมูอินโด ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chromobotia macracanthus ในวงศ์ปลาหมู (Cobitidae) ลำตัวมีลักษณะกลมยาวรี แบนข้างเล็กน้อย ปกคลุมด้วยเกล็ดขนาดเล็กละเอียด มีปากขนาดเล็กแหลม มีหนวดสั้น ๆ ที่ริมฝีปาก 2 คู่ มีตาขนาดเล็ก ใต้ตาจะมีหนามแหลมสั้นทั้งสองข้าง สามารถกางออกมาป้องกันตัวได้ ลำตัวมีสีเหลืองอมส้ม มีแถบสีดำขนาดใหญ่ขอบสีขาวพาด ขวางลำตัว 3 แถบ คือ พาดผ่านลูกตา 1 แถบ พาดลำตัวช่วงต้นคอรอบอก 1 แถบ ใกล้โคนหาง โดยพาดจากครีบหลังถึงครีบทวาร 1 แถบ ครีบว่ายและครีบหางมีสีแดง ครีบนอกนั้นมีสีดำ จากสีสันที่สวยงามสะดุดตา รวมทั้งอุปนิสัยที่ไม่ดุร้ายสามารถอยู่รวมกับปลาชนิดอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามกันมาก โดยจะเลี้ยงเป็นปลาที่เก็บเศษอาหารที่ปลาอื่นกินเหลือในตู้ เนื่องจากเป็นปลาที่หากินตามพื้นน้ำ เป็นปลาที่แยกเพศได้ยากมาก การเพาะพันธุ์สำเร็จได้จากการผสมเทียมและจัดบ่อเลี้ยงให้คล้ายธรรมชาติมาก ที่สุด และนำพ่อพันธุ์แม่พันธุ์จำนวนมากลงไปเพื่อให้ผสมพันธุ์กันเอง จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ในวงศ์นี้ชนิดหนึ่ง คือ สามารถโตเต็มที่ได้ราว 1 ฟุต
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:54] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 143 ลักษณะที่น่าสนใจ : สีสันสดใส, โตเต็มที่มีขนาดใหญ่ทำให้เลี้ยงรวมกับอโรได้ตลอดชีวิต, เก็บเศษอาหารเก่ง หมายเหต : ชอบน้ำเย็นจึงง่ายที่จะเป็นจุดขาว โตช้ามาก ช็อคน้ำง่ายถ้าไม่ระวัง
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:54] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 144 69. อโรวาน่าเงิน ปลาอะโรวาน่าเงิน หรือ ปลาตะพัดอเมริกาใต้สีเงิน ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Osteoglossum bicirrhosum ในวงศ์ปลาตะพัด (Osteoglossidae) มีรูปร่างคล้ายอะโรวาน่าดำ (O. ferreirai) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน โดยมีถิ่นกำเนิดในลุ่มน้ำอเมซอนในเกียนา บราซิลและเปรู มีลำตัวยาวลึกและแบนข้างมาก ลำตัวด้านท้ายจะเรียวเล็กกว่าส่วนหัวมากจนมองเห็นได้ชัด ส่วนท้องมีลักษณะแบนจนใต้ท้องเป็นสันคม ขณะที่ยังเล็กจะมีจุดสีน้ำเงินและล้อมรอบด้วยวงแหวนสีชมพูที่บริเวณหลังแผ่น เหงือก ตัวตัวโดยทั่วไปสีขาวออกเหลือบเงิน แต่ปลาในบางแหล่งน้ำเกล็ดอาจมีหลายเหลือบสี เช่น เหลือง เขียว ฟ้า บริเวณครีบและหางโดยมากจะเป็นสีฟ้าหม่น หัวและปากมีขนาดใหญ่และกว้างมาก โดยเป็นปลาในวงศ์นี้ที่หัวและปากใหญ่ที่สุด มีหนวด 1 คู่ ซึ่งก็เป็นปลาที่มีหนวดยาวที่สุดด้วยเช่นกัน ขนาดโตเต็มที่ราว 1-1.5 เมตร จัดว่าเป็นปลาที่มีความยาวที่สุดในวงศ์นี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งโดยมากแล้ว เมื่อปลาโตเต็มที่กรามล่างจะยื่นออกมาเลยกรามบน และลูกตาก็มักจะตกลงมามองข้างล่าง ปลาอะโรวาน่าเงิน จัดเป็นปลาอะโรวาน่าที่โตเร็วที่สุด แพร่ขยายพันธุ์ง่ายที่สุด รวมทั้งอุปนิสัยในสถานที่เลี้ยงไม่ดุร้ายเมื่อเทียบกับปลาอะโรวาน่าชนิดอื่น ๆ จึงสามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นหรือเลี้ยงรวมกันได้หลาย ๆ ตัว อีกทั้งการที่แพร่ขยายพันธุ์ง่าย ซึ่งทำให้เป็นปลาที่มีราคาถูก จึงเป็นที่นิยมสำหรับนักเลี้ยงปลา สำหรับในธรรมชาตินิยมบริโภคในพื้นถิ่น
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:55] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 145 ลักษณะที่น่าสนใจ : เอามาทำเมทอโรเอเชียพันธุ์อื่นได้เป็นอย่างดี เพราะขนาดเท่าๆกัน แต่ไม่ดุ มักจะโดนทำร้ายอยู่ฝ่ายเดียว หมายเหต : เลี้ยงอโรวาน่ามากกว่า 1 ตัว ต้องคอยดูแลระบบกรองและอ๊อกซิเจนในน้ำให้ดี
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:55] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 146 70. ออสก้า ปลาออสการ์ (อังกฤษ: Oscar fish) ,มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Astronotus ocellatus ชื่อสามัญว่า Oscar, Red Belvet, Velvet Cichlid, Marbled Cichlid, Peacock-Eyed Cichilld, Tiger Oscar, Peacock Cichilld อยู่ในครอบครัว Cichlidae เป็นปลาพันธุ์พื้นเมืองของลุ่มแม่น้ำโอริโนโก แม่น้ำอะเมซอน และแม่น้ำ La Plata ในทวีปอเมริกาใต้ เดิมพลในลำคลองแถบ ไมอามี่ และ Dade country ที่ฟลอริด้า มักเลี้ยงในฟาร์มปลาเพื่อเป็นอาหารและกีฬา ต่อมาได้มีการนำเข้ามาเพื่อเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม พบในแถบทวีปอเมริกา แอฟริกา และเอเซียปลาออสการ์มีนิสัยค่อนข้างดุ โตเต็มวัยมีความยาวขนาด 12 - 14 นิ้ว ชอบกินอาหารเช่น แมลง ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ พืชน้ำ และเมล็ดพืชอื่น ๆ และสามารถกินอาหารเม็ดได้เป็นปลาอาศัยอยู่ได้ทั้งบนผิวน้ำ กลางน้ำและท้องน้ำ ถ้าเลี้ยงดูอย่างดีสามารถมีชีวิตอยู่ได้เป็น 10 ปี สามารถแบ่งปลาออสการ์ได้เป็น 5 ชนิดคือ ออสการ์สีพื้น ลายเสือ สีแดง สีเผือก หางยาว อาจจะพบประเภทอื่น ๆ อีก ได้แก่ เผือกตาแดง สีฟ้า (อาจจะมาจากการย้อม) และลายหินอ่อน นอกจากนั้นยังมี เผือกทอง เผือกเสือแดง หรือมีตั้งแต่สีขาว น้ำตาลจนกระทั่งสีดำ มีลายสีแถบแดงที่ด้านข้างลำตัว สีของปลาขนาดเล็กพบว่ามีสีแดงสลับกับสีดำ เมื่อโตขึ้นสีจะเปลี่ยนไปเป็นสีเทาและสีส้มแดง ส่วนครีบมีสีดำหรือทองมีรูปร่างแบนปากใหญ่ ปากล่างยาวกว่าปากบน เติบโตเร็วมาก
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:55] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 147 ลักษณะที่น่าสนใจ : จัดเป็นหมอสีจากอเมซอนกลุ่มแรกๆที่เข้าไทย เกล็ดสีทองบนพื้นดำมีสีสันเฉพาะตัว หมายเหต : มีความก้าวร้าว ต้องระวังเมทร่วมตู้ให้ดี
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:56] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 148 71. ออสเซลาริส Peacock Bass ชื่อไทย: กระพงลายเสือ, ปลาเสือ, ออสเซราลิส (ปลาตู้) ชื่อวิทยาศาสตร์: Cichla ocellaris แหล่งกำเนิดบราซิล (ลุ่มแม่น้ำ อเมซอน และ โอริโนโค)การ ทำรังวางไข่: พ่อแม่ปลาทำรังวางไข่ในแหล่งน้ำนิ่งที่พื้นเป็นดินกรวด วางไข่ครั้งละ 2000-3000 ฟอง พ่อแม่ปลาจะดูแลไข่ และลูกเป็นเวลาประมาณ 90 วัน ก่อนที่ลูกปลาจะโตขึ้น และกระจายตัวกันหาอาหารตามแหล่งที่มีสาหร่ายขึ้นรกชายฝั่ง อาหาร: กุ้ง หอย ปู ปลา ทุกอย่างที่เคลื่อนไหว และเข้าปากได้
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:56] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 149 ลักษณะที่น่าสนใจ : กลุ่มปลาหมอสีขนาดใหญ่ ลายสวยงาม กินเก่งกินง่าย อดทนต่อสภาพน้ำต่างๆได้ดีครับ หมายเหต : ปากกว้างและพร้อมจะกินเมทที่ตัวเล็กกว่าปาก
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:56] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 150 72. อัลลิเกเตอร์ ปลา อัลลิเกเตอร์ หรือ ปากไอ้เข้ ชื่อทางการว่า Atractosteus spatula ถิ่นอาศัย อเมริกาเหนือ และ ใต้ (อเมซอน) สภาพแวดล้อม น้ำจืด อุณภูมิ 28-30 องศา ท้องน้ำกว้างๆ อาหาร สัตว์น้ำทุกชนิดที่เล็กกว่าปากมัน อาจยกเว้นพวก เต่า ขนาด โตเต็มที่ 3 เมตร หนักราว 130 กิโลกรัม
ปลา อัลลิเกเตอร์ เข้ามาบ้านเรานานมากแล้ว มีลักษณะเด่นที่ปากคล้ายจรเข้มาก มีฟันแหลมคม และ ขากรรไกรอันทรงพลัง นิยมเลี้ยงกันในบ่อ หรือ ตู้ใหญ่ๆ เพราะมันโตเร็วมาก การเลี้ยงดูไม่ยากเย็นนัก อาหารเป็นพวก ลูกปลา ลูกกุ้งตลอดจน เนื้อปลา เนื้อกุ้ง ทั่วไป ไม่นิยมเลี้ยงรวมกับแทงค์เมท ที่มีขนาดเล็ก กว่า เพราะปลาตัวนี้นิสัยค่อนข้างดุร้าย กัดไม่เลือก หรือ บางทีก็กินเลย คนทางอเมริกา นิยมใช้ปลาพวกนี้ เป็นเกมส์ตกปลา ล่าเหยื่อด้วยความเร็วสูง ชอบลอยตัวนิ่งๆพอเหยื่อมาไกล้ก็ ฮุบเต็มๆ
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:57] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 151 ลักษณะที่น่าสนใจ : เลี้ยงง่าย,กินง่าย,โตไว,หน้าตาคล้ายจระเข้ดูแปลกตา หมายเหต : โตเต็มที่เลี้ยงไม่ได้ในตู้และโตไวมากๆด้วย
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:57] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 152 73. อาฟริกันไพค์ อาฟริกันไพค์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Hepsetus odoe ชื่อสามัญ Kafue pike ลักษณะ มีฟันที่แหลมคม มองเห็นได้ชัดเจน และขากรรไกรที่แข็งแรง ลำตัวอ้วนกว่า หน้าโหดกว่าซิลเวอร์ไพค์ หลายเท่าตัว สภาพแวดล้อมพบแถบแอฟริกา อยู่ตามแม่น้ำ ทะเลสาป ชอบที่เงียบ น้ำลึก Ph 6.0 - 7.5 อุณหภูมิ 26°C - 28°C โตเต็มที่ประมาณ 50 เซนติเมตร
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:57] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 153 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นปลาผิวน้ำได้อารมณ์อัลลิเกเตอร์แต่ขนาดเล็กกว่า สามารถเลี้ยงได้ตลอดชีวิตในตู้ หมายเหต : ตกใจง่ายทำให้เกิดการพุ่งชนตู้และได้รับบาดเจ็บ
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:58] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 154 74. อินซิกนิส อินซิกนิสเป็นปลาที่มีลักษณะคล้ายปลาตะเพียนมากมาก แต่มันอยู่ในวงษ์คาราซิน (แตกต่างจากตะเพียนซึ่งอยู่ในวงษ์ไซปรินิส) ซึ่งเป็นวงษ์ที่ข้อนข้างใหญ่เพราะมีขนาดเล็กเช่นปลาเตทตร้าทั่วไป ถึงขนาดใหญ่เช่นโกไลแอต อินซิกนิสนี้มีลักษณะปากที่ใหญ่และขยับตลอดเวลา เพราะฉะนั้นปลาตัวนี้จึงเป็นเมทชนิดที่สามารถทำให้ตู้สะอาดขึ้นมากทีเดียว สีครีบ และหางของปลาชนิดนี้ก็ขึ้นชื่อว่าสวยงามมากมากเช่นกัน สีของครีบมีสีแดงสดในปลาขนาดใหญ่ ส่วนหางก็จะมีลายพาดดำแดง เช่นกัน แต่ปลาบางตัว หางด้านในจะมีสีเหลืองอยู่ด้วยเล็กน้อย อุปนิสัยเป็นปลาที่ไม่ค่อยอยู่นิ่งส่วนมากจะว่ายน้ำหาของกินอยู่ตลอด เวลา ชอบตอดกันทั้งกันเอง และปลาที่มินิสัยชอบอยู่นิ่ง เช่นกระเบน หรือแคทฟิชที่อยู่ตามพื้นตู้ต่างๆ โตเต็มที่ได้ประมาณ 1ฟุต แต่เคยมีพบว่าใหญ่ได้กว่านั้น สภาพแวดล้อมพีเอช 5.5 – 7.2 อุณหภูมิ 22°C - 26°C
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:58] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 155 ลักษณะที่น่าสนใจ : มีลวดลายที่กระโดงและหางสวยงามอีกทั้งเป็นปลาที่มีปากแบบขูดกินจึงคอยกินตะไคร่ตามตู้และเก็บเศษอาหารได้ดี หมายเหต : ไม่สามารถอยู่ร่วมกับปลาที่นอนนิ่งๆหรือตระกูลแคทฟิชได้เพราะอินซิกนิสจะไปดูดเมือกจนปลาตัวนั้นๆอ่อนแอลงและอาจถึงตายได้
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:58] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 156 75. กุ้งเครฟิช กุ้งเครย์ฟิช หรือกุ้งล็อบสเตอร์น้ำจืด มีถิ่นกำเนิดทั้งในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชียตะวันออก และออสเตรเลีย ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 500 สายพันธุ์ มักอาศัยอยู่ตามโขดหินหรือใต้ขอนไม้ตามหนองน้ำ หรือลำธาร กุ้งเครย์ฟิช สามารถนำมาเลี้ยงในตู้ปลาได้ แต่หากเลี้ยงรวมกันหลายตัว ควรจะเลี้ยงในตู้ปลาขนาดใหญ่ ที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 24 นิ้ว เพราะกุ้งเครย์ฟิช มีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าว และหวงถิ่นที่อยู่ เมื่อ มีเนื้อที่กว้างจะทำให้กุ้งแต่ละตัวสามารถสร้างอาณาเขตของตนเองได้ หากนำมาเลี้ยงรวมกันอย่างหนาแน่นจะพบว่า กุ้งเครย์ฟิช ขนาดเล็กมักถูกรังแกและมีโอกาสที่จะถูกกุ้งเครย์ฟิชที่มีขนาดใหญ่กว่ากิน เป็นอาหารได้ นอกจากนี้ ควรใส่ขอนไม้ กระถางต้นไม้แตกๆ หรือท่อ พีวีซี ตัดเป็นท่อนๆ เพื่อให้กุ้งเครย์ฟิชได้หลบอาศัยในเวลากลางวัน เพราะปกติช่วงกลางวันเป็นเวลาที่มันจะอยู่เงียบๆ แต่จะออกมาหาอาหารในเวลากลางคืนมากกว่า สำหรับการตกแต่งตู้เลี้ยง กุ้งเครย์ฟิชนั้น หากชอบให้ตู้โล่งก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน แต่ควรใส่ท่อพีวีซีลงไปด้วย เพื่อให้กุ้งได้ใช้ในการหลบซ่อนตัว แต่หากต้องการให้ตู้เลี้ยงมีความสวยงามก็สามารถใช้กรวดปูพื้นตู้ได้ แต่มักพบว่า กุ้งเครย์ฟิชมีนิสัยชอบขุดคุ้ยกรวดเพื่อสร้างเป็นที่กำบังในเวลากลางวัน จึงทำให้ไม่เป็นเหมือนครั้งแรกที่แต่งไว้ ทั้งนี้ จึงควรจะปูกรวดให้หนา ไม่ต่ำกว่า 5 เซนติเมตร เพื่อให้กุ้งเครย์ฟิชขุดกลบลำตัวได้ แต่ไม่ควรปูพื้นตู้ด้วยทราย เพราะมีความหนาแน่นสูง หากกุ้งเครย์ฟิชมุดลงไปแล้วอาจทำให้ขาดอากาศหายใจได้
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:59] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 157 ลักษณะที่น่าสนใจ : ของแปลกประจำตู้ หมายเหต : เป็นกุ้งล่าปลาตามชื่อ ต้องคอยระวังเมทที่นอนก้นตู้ตอนกลางคืน เจ้ากุ้งจะไปตามหนีบจนเกิดบาดแผล อ่อนแอและตายลง ในทางตรงข้ามตอนกุ้งลอกคราบจะอ่อนแอจนปลาอะไรก็กินมันได้ และถ้าอโรไปกินตอนปกติก็มีโอกาสที่เปลือกกุ้งจะติดคอกลายเป็นตายคู่ได้
จากรูป แสดงว่ามีคนเคยทำสำเร็จ . . .
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:59] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 158 76. เต่าคองู เต่าคองู หรือเรียกอีกชื่อว่า เต่าคอยาว มีลักษณะเด่นอยู่ที่คอ ยาวเหมือนงู จึงเป็นที่มาของชื่อ มีประโยชน์ไว้ชอนไชหาอาหาร เวลาเห็นเหยื่อ จะฉกได้เร็วเหมือนงู จึงหาอาหารเก่งกว่าเต่าทั่วไป แต่คอที่ยาวไม่สามารถหดกลับเข้าไปในกระดองได้ มันจะใช้วิธีพาดไปด้านหลัง เมื่อโตเต็มที่ กระดอง และคอ มักยาวเท่ากัน อยู่ที่ประมาณ 25 - 30 เซนติเมตร มีกรงเล็บที่แข็งแรงมาก ไว้ฉีกอาหาร เต่าคองู มีถิ่นกำเนิดอยู่ในลุ่มน้ำอะเมซอน จึงใช้ชีวิตส่วนมากอยู่ในน้ำเป็นหลัก ประกอบกับ ขาที่มีลักษณะเป็นพังผืด ทำให้เดินบนบกไม่ค่อยถนัด ยกเว้นเวลาฟักไข่เท่านั้น ที่จะขึ้นมาอยู่บนบก เต่าชนิดนี้ ชอบกินปลา ลูกอ๊อด และ กุ้งตัวเล็กๆ แต่ไม่กินผักเหมือนเต่าที่เรารู้จักกันว่า กินผักบุ้ง
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:59] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 159 ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นเต่าน้ำที่ขึ้นบกเฉพาะตอนวางไข่ครับ และขนาดโตเต็มที่ไม่ใหญ่มากนักสามารถเลี้ยงในตู้ได้ตลอดไป , ช่วยเสริมฮวงจุ้ยครับ เลี้ยงเต่าเลี้ยงมังกร หมายเหต : ของเสียจากเต่ามีปริมาณมากต้องมีระบบกรองที่เหมาะสม
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 10:59] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 160 77. เต่าบิน,หมูบิน เต่าบินหรือเต่าจมูกหมูมีชื่อสามัญว่า FLY RIVER TURTLE, PIG NOSE TURTLE มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ เกาะปาปัวนิวกินี ของ ประเทศปาปัวนิวกินีและประเทศออสเตรเลีย ในแถบตอนเหนือของประเทศ รูปลักษณะของเต่าบินเป็นที่แปลกตาแปลกใจให้แก่ผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก... แม้กระดองของเต่าบินจะแข็งคล้ายเต่าทั่วๆ ไป แต่กลับ มีแผ่นหนังสีดำหุ้มตลอดกระดอง ทำให้ดูลักษณะคล้ายกับ ตะพาบ ซึ่งดูแล้วกระดองไม่แข็งแรง...แต่ตรงข้ามมันแข็งแรงแบบอ่อนนอกแข็งใน นอกจากนี้...ส่วนขาหน้าของเต่าบิน ยังเปลี่ยนรูปเป็นแผ่นครีบคล้ายปีกนก... เวลาว่ายน้ำ จึงดูคล้ายว่า กำลังบินเหินเหมือนนกอยู่บนฟากฟ้า จึงเป็นที่มาของชื่อ...เต่าบิน ส่วนที่มีอีกชื่อหนึ่งว่า เต่าจมูกหมู...เพราะจมูกของมันยังป้าน และบานออกมาเป็นหลอดคู่คล้ายจมูกหมู จึงขออนุญาตเรียกรวมกันไปเลยว่า...เจ้าเต่าบินจมูกหมู...!!! เต่าบินเป็น สัตว์ตัวหนึ่งที่คนนิยมนำมาเลี้ยงกัน เพราะมันอายุยืนและสร้างความแปลกตาให้กับผู้พบเห็น และมันยังเป็นสัตว์เลี้ยงง่ายกินอาหารได้ทุกอย่าง... ทั้งผักและเนื้อสัตว์ รวมทั้งอาหารเม็ดที่ใช้เลี้ยงสัตว์น้ำหลายชนิดมันกินได้เกลี้ยง อาหารโปรตีนก็มีความจำเป็นสำหรับเต่าไม่น้อย ฉะนั้นก็ต้องหาเนื้อสัตว์ จำพวกปลา กุ้ง และ แมลงให้กินบ้าง เมื่อโตเต็มที่มีขนาดกระดองยาวกว่า 50 เซนติเมตร ความกว้างประมาณ 28 เซนติเมตร ความสูงของกระดองประมาณ 15-16 เซนติเมตร อุปนิสัยของมันเมื่อโตขึ้นมันจะชอบแสดงอาการก้าวร้าวกับพวกเดียวกัน ก็อย่านำมันเลี้ยงรวมกันปริมาณมากๆ
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 11:00] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 161 ลักษณะที่น่าสนใจ : เต่าน้ำที่หน้าเหมือนตะพาบ, อยู่ในน้ำตลอด, เลี้ยงเต่าเสริมฮวงจุ้ย หมายเหต : เต่าบินเป็นสัตว์ที่ของเสียเยอะต้องมีระบบกรองที่เหมาะสม, ระวังปลาเมทขนาดเล็กอาจโดนล่าเป็นอาหาร
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 11:00] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 162 จบแล้วครับ กระทู้แนะนำแทงค์เมทอโรวาน่า สำหรับรูปภาพและเนื้อหาทั้งหมดในกระทู้นี้ผมรวมรวบมาจากเว็บต่างๆทั้งไทยและเทศนะครับ ขอกล่าวอ้างอิงไว้ ณ ที่นี้ด้วย
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 11:03] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 163 สำหรับท่านที่ต้องการจะหาแทงค์เมทให้ปลามังกรของท่าน ผมขอบอกว่ากระทู้นี้เป็นเพียงสารบัญเบื้องต้น ว่ามีเมทอะไรบ้างที่เคยมีคนใช้เป็นเมทอะไร "แต่การที่เขาใช้ได้ ไม่ได้หมายความว่าเราจะใช้ได้" และ"ของที่คนอื่นใช้ไม่ได้เราอาจจะใช้ได้ก็เป็นไปได้"
นั่นก็เนื่องจากปลาต่างๆมีนิสัยของตัวเอง แม้ภาพรวมจะดูเหมือนกันแต่ทุกตัวก็มีความแตกต่างอีกเล็กน้อยให้ต้องสังเกตและเอาใจใส่ แต่ อย่างน้อย กระทู้นี้จะได้เป็นไกด์นำทาง ให้ทุกท่านได้เริ่มต้นเล็งเป้าหมาย ว่าจะเริ่มที่เมทตัวไหนดี ท่านจะสังเกตได้ว่าเมทแต่ละตัวนั้น ผมจะพยายามใส่ภาพที่ถ่ายทั้งมังกรและเมทไว้ด้วยกัน เพื่อเป็นการยืนยันว่าเคยมีคนเอามันมาอยู่รวมกัน แล้วได้ผล เพื่อเป็นกรณีตัวอย่างให้ทุกท่านได้ทดลองทำตามแนวที่ท่านชอบดูครับ สุดท้ายนี้ขอให้ทุกท่านมีความสุขในการเลี้ยงปลาครับ ^^
| โดย: จักรภัทร [16 มี.ค. 54 11:03] ( IP A:58.8.202.97 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 164 ปลามังกรไม่ยอมกินอาหารและนอนพื้น | โดย: ter2541hotmail [24 มิ.ย. 54 20:33] ( IP A:125.25.36.214 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 168 เพิ่งเข้ามาอ่าน เริ่ดมากค่ะ | โดย: พรางพราวพรรณราย นภดล (pp ) [7 เม.ย. 56 16:49] ( IP A:115.67.5.181 X: ) |  |
|