๐๐ปลาอะโรวาน่าสายพันธุ์ต่างๆ๐๐
|
ความคิดเห็นที่ 1 อะโรวาน่าทองอินโดนีเซีย(RTG)Rad Tail Golden(ทองหางเเดง) พบอยู่ที่อินโดนีเซียที่บังกา กาลิมันตันและสุมาตรา จึงทำให้คนส่วนใหญ่ มักเรียกชื่อสายพันธุ์นี้ ตามแหล่งที่มาของปลา ปลาสายพันธุ์นี้เกล็ด บนลำตัวจะมีสีทองอร่าม บริเวณแผ่นหลัง จะออกสีน้ำตาล แกมดำ โดยปกติสีทอง ของเกล็ดจะขึ้นไม่ถึง เกล็ดแผ่นหลัง ครีบอกโดยทั่วไปจะมีสีเหลืองทองหรือออกเเดงเลือดหมูปนแดง ครีบหาง และครีบทวาร ครีบหลังโดยมากจะออกสีแดงคล้ำ จนออกสีน้ำตาลปนดำ เป็นปลาอะโรวาน่า ที่ได้รับความนิยม เพราะ ราคาที่ไม่สูงมากนัก หากเทียบกับ สายพันธุ์ทางแถบ เอเซียด้วยกัน อุปนิสัย ก้าวร้าว หวงถิ่นมาก ไม่ควรเลี้ยงรวม กับปลาประเภทที่ว่าย อยู่บนผิวน้ำด้วยกัน แต่สามารถเลี้ยงรวมกับ ปลาชนิดที่หากินอยู่ตามผิวดิน ที่มีขนาดใกล้เคียงกัน ได้ .................................... ข้อมูลเฉพาะตัว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scleropages formosus (Muller & Schlegel, 1844) วงศ์ : Osteoglossidae อุณหภูมิ : 24 - 28 pH : 6.5 - 7.5 จำนวนไข่ : 30 - 400 ฟอง ขนาด : โดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ย 90 เซนติเมตร ถิ่นกำเนิด : พบทางแถบลุ่มแม่น้ำ บังการ์, กาลิมันตัง และ สุมาตรา ประเทศ อินโดนีเชีย การขยายพันธุ์ : ขณะที่ปลาตัวเมีย วางไข่ตัวผู้ ก็จะว่ายคลอเคลีย พร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อ ออกมาผสมกับไข่ ที่ตัวเมียเบ่งออกมา ในธรรมชาติ หลังจากพ่อแม่ปลาผสม พันธุ์วางไข่เสร็จแล้ว พ่อปลาจะอมไข่ และฟักลูกในปาก อัตราวางไข่ ระหว่าง 30-400 ฟอง โดยประมาณ อาหาร : ลูกปลา กุ้ง ตะขาบ จิ้งหรีด ลูกกบ

| โดย: ออก้า [14 มิ.ย. 53 19:56] ( IP A:119.42.124.90 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 อโรวาน่าเรดA หรือซุปเปอร์เรด(super red) ปลาเเดง ลักษณะของปลา สายพันธุ์นี้ เกล็ดบนลำตัว จะออกสีส้มอมทอง หรือ สีส้มอมเขียว บางตัวที่มีสีเข้มหน่อย ก็ออกสีทองอมแดง ครีบและหางจะออกสีแดง คล้ายสีเลือดนก ปนแดง ครีบหาง และครีบทวาร ครีบหลังโดยมากจะออกสีแดง อุปนิสัย ก้าวร้าว หวงถิ่นมาก ไม่ควรเลี้ยงรวม กับปลาประเภทที่ว่าย อยู่บนผิวน้ำด้วยกัน แต่สามารถเลี้ยงรวมกับ ปลาชนิดที่หากินอยู่ตามผิวดิน ที่มีขนาดใกล้เคียงกัน ............................ ข้อมูลเฉพาะตัว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scleropages formosus (Muller & Schlegel, 1844) วงศ์ : Osteoglossidae อุณหภูมิ : 24 - 28 pH : 6.5 - 7.5 จำนวนไข่ : 30 - 400 ฟอง ขนาด : โดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ย 90 เซนติเมตร ถิ่นกำเนิด : พบกระจายอยู่ทั่วไป ที่บังกา กาลิมันตัง และเกาะสุมาตราประเทศ อินโดนีเชีย การขยายพันธุ์ : ขณะที่ปลาตัวเมีย วางไข่ตัวผู้ ก็จะว่ายคลอเคลีย พร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อ ออกมาผสมกับไข่ ที่ตัวเมียเบ่งออกมา ในธรรมชาติ หลังจากพ่อแม่ปลาผสม พันธุ์วางไข่เสร็จแล้ว พ่อปลาจะอมไข่ และฟักลูกในปาก อัตราวางไข่ ระหว่าง 30-400 ฟอง โดยประมาณ อาหาร : ลูกปลา กุ้ง ตะขาบ จิ้งหรีด ลูกกบ

| โดย: ออก้า [14 มิ.ย. 53 19:57] ( IP A:119.42.124.90 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 อะโรวาน่าทองมาเลเซีย(Xback)ทองข้ามหลัง พบอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย จึงทำให้คนส่วนใหญ่ มักเรียกชื่อสายพันธุ์นี้ ตามแหล่งที่มาของปลา ปลาสายพันธุ์นี้เกล็ด มีสีสันใกล้เคียง กับปลาอะโรวาน่า ทองอินโดนีเซียมากที่สุด แต่เกล็ดบนลำตัวจะมี สีเหลืองทองสุดใสกว่า และมีเกล็ด ที่เป็นมันแวววาว กว่ามาก เมื่อเวลาที่ปลาแหวกว่าย แลดูคล้ายดั่ง ทองคำเปลวเคลื่อนที่เลยทีเดียว จัดได้ว่า เป็นปลาอะโรวาน่า ที่มีสีสันสวย สะดุดตามากที่สุด อุปนิสัย ก้าวร้าว หวงถิ่นมาก ไม่ควรเลี้ยงรวม กับปลาประเภทที่ว่าย อยู่บนผิวน้ำด้วยกัน แต่สามารถเลี้ยงรวมกับ ปลาชนิดที่หากินอยู่ตามผิวดิน ที่มีขนาดใกล้เคียงกัน ................................. ข้อมูลเฉพาะตัว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scleropages formosus (Muller & Schlegel, 1844) วงศ์ : Osteoglossidae อุณหภูมิ : 24 - 28 pH : 6.5 - 7.5 จำนวนไข่ : 30 - 400 ฟอง ขนาด : โดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ย 90 เซนติเมตร ถิ่นกำเนิด : พบทางแถบลุ่มแม่น้ำ ประเทศ มาเลเซีย การขยายพันธุ์ : ขณะที่ปลาตัวเมีย วางไข่ตัวผู้ ก็จะว่ายคลอเคลีย พร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อ ออกมาผสมกับไข่ ที่ตัวเมียเบ่งออกมา ในธรรมชาติ หลังจากพ่อแม่ปลาผสม พันธุ์วางไข่เสร็จแล้ว พ่อปลาจะอมไข่ และฟักลูกในปาก อัตราวางไข่ ระหว่าง 30-400 ฟอง โดยประมาณ อาหาร : ลูกปลา กุ้ง ตะขาบ จิ้งหรีด ลูกกบ

| โดย: ออก้า [14 มิ.ย. 53 19:57] ( IP A:119.42.124.90 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 อะโรวาน่าเขียว(Green Arowana)ทองอ่อน(yellow tail) โดยปกติปลา อะโรวาน่า สายพันธุ์สีเขียว จะมีลำตัว เป็นพื้นสีเงิน จึงมีชื่อว่า Silver และบางแหล่งก็เรียกว่า Platinum แต่ที่นิยมเรียก มากที่สุดคือ Green Arowana หรือที่คนไทย นิยมเรียกกันว่า ปลาตะพัด มีถิ่นกำเนิด กระจายอยู่ทั่ว ไปตามแถบ เอเซียตะวัน ออกเฉียงใต้ เท่าที่เคยมีการสำรวจ พบในประเทศไทย ที่จังหวัด จันทบุรี ตราด ระยอง และจังหวัดภาคใต้ ที่มีพรมแดนติดกับ ประเทศมาเลเซีย บริเวณแผ่นหลัง จะมีสีน้ำตาลออกเขียว ครีบและหางออกสีเขียว อมน้ำตาลหรือดำ บ้างก็มีเกล็ดสีเงินเหลือบเขียว ความนิยม ในปลาอะโรวาน่า สายพันธุ์นี้สำหรับ ในบ้านเรา ไม่ค่อยได้รับความนิยม เท่าที่ควร เนื่องจากเหตุผล ที่ว่าไม่ค่อยมีสีสันดึงดูดใจ อุปนิสัย ก้าวร้าว หวงถิ่นมาก ไม่ควรเลี้ยงรวม กับปลาประเภทที่ว่าย อยู่บนผิวน้ำด้วยกัน แต่สามารถเลี้ยงรวมกับ ปลาชนิดที่หากินอยู่ตามผิวดิน ที่มีขนาดใกล้เคียงกัน ................................. ข้อมูลเฉพาะตัว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scleropages formosus (Muller & Schlegel, 1844) วงศ์ : Osteoglossidae อุณหภูมิ : 24 - 28 pH : 6.5 - 7.5 ขนาด : โดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ย 90 เซนติเมตร ถิ่นกำเนิด : พบทางแถบลุ่มแม่น้ำ ในประเทศลาว เขมร เวียดนาม พม่า อินโดนีเซีย มาเลเซีย ประเทศไทย ที่จังหวัด จันทบุรี ตราด ระยอง และจังหวัดภาคใต้ การขยายพันธุ์ : ขณะที่ปลาตัวเมีย วางไข่ตัวผู้ ก็จะว่ายคลอเคลีย พร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อ ออกมาผสมกับไข่ ที่ตัวเมียเบ่งออกมา ในธรรมชาติ หลังจากพ่อแม่ปลาผสม พันธุ์วางไข่เสร็จแล้ว พ่อปลาจะอมไข่ และฟักลูกในปาก อัตราวางไข่ ระหว่าง 30-400 ฟอง โดยประมาณ อาหาร : ลูกปลา กุ้ง ตะขาบ จิ้งหรีด ลูกกบ

| โดย: ออก้า [14 มิ.ย. 53 20:16] ( IP A:119.42.124.90 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 อโรวาน่า เรดB ลักษณะของปลา สายพันธุ์นี้ เกล็ดบนลำตัว จะออกสีชมพูอ่อน ไปทางโทนขาวอ่อนอมชมพู หรือออกสีฟ้าที่ขอบเกล็ด หางเเดง ครีบอกเเดงอมส้ม ตอนเล็ก จะดูคล้ายๆกับ เรดa มาก อุปนิสัย ก้าวร้าว หวงถิ่นมาก ไม่ควรเลี้ยงรวม กับปลาประเภทที่ว่าย อยู่บนผิวน้ำด้วยกัน แต่สามารถเลี้ยงรวมกับ ปลาชนิดที่หากินอยู่ตามผิวดิน ที่มีขนาดใกล้เคียงกัน ........................ ข้อมูลเฉพาะตัว ชื่อวิทยาศาสตร์ :Scleropages formosus วงศ์ : Osteoglossidae อุณหภูมิ : 24 - 28 pH : 6.5 - 7.5 จำนวนไข่ : 30 - 400 ฟอง ขนาด : โดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ย 90 เซนติเมตร ถิ่นกำเนิด : พบทางแถบลุ่มแม่น้ำ ประเทศ มาเลเซีย การขยายพันธุ์ : ขณะที่ปลาตัวเมีย วางไข่ตัวผู้ ก็จะว่ายคลอเคลีย พร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อ ออกมาผสมกับไข่ ที่ตัวเมียเบ่งออกมา ในธรรมชาติ หลังจากพ่อแม่ปลาผสม พันธุ์วางไข่เสร็จแล้ว พ่อปลาจะอมไข่ และฟักลูกในปาก อัตราวางไข่ ระหว่าง 30-400 ฟอง โดยประมาณ อาหาร : ลูกปลา กุ้ง ตะขาบ จิ้งหรีด ลูกกบ

| โดย: ออก้า [14 มิ.ย. 53 20:30] ( IP A:119.42.124.90 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 อะโรวาน่าออสเตรเลีย (Northern Barramundi) ปลาอะโรวาน่าชนิดนี้เกล็ดบน ลำตัวจะออกสีเงิน แกมน้ำตาลอมเหลือง ครีบหลัง ครีบทวาร และหางมีสีน้ำตาลจาง ๆ หรือเทาอมน้ำตาลครีบทวารมีลักษณะยาวกว่าครีบหลัง สำหรับใน ประเทศไทย ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากเป็นปลา ที่มีสีสัน และรูปร่าง ไม่ค่อยสวยงาม อะโรวาน่า ออสเตรเลียมี ลำตัวเพรียวยาวแบนข้าง ลำตัวตัวมีสีเงินอมเขียว แผ่นหลังสีน้ำตาล ขอบเกล็ด จะมีมีวงสีส้ม ในปลาที่ สมบูรณ์ วงสีส้ม จะออกแดง เด่นชัด สวย อะโรวาน่าจากทวีปออสเตรเลีย จะมีจำนวนเกล็ด ในแนวตั้ง ที่มากกว่า รวมทั้ง หนวด จะงุ้มลง ไม่เหยียด ยืดตรง เหมือน อะโรวาน่าจากทวีปเอเชีย
อะโรวาน่า ออสเตรเลีย ที่มีขายกันบ้าน เราในช่วงนี้ เป็นอะโรวาน่าออสเตรเลียสายพันธุ์ จากทาง ตอนเหนือ หรือ ที่มี ชื่อ เรียกว่า Northern Barramundi เป็นหนึ่งในสองสายพันธุ์ อะโรวาน่า ที่มาจากทวีปออสเตรเลีย
การเลี้ยงควรเลี้ยงในตู้ขนาดใหญ่ กระจกหนา มีฝาปิดเพื่อกันปลากระโดดออกจากตู้ เป็นปลาที่ค่อนข้างก้าวร้าวไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาขนาดเล็กกว่า แต่สามารถ เลี้ยงรวม กับปลาอื่นๆ ที่มีขนาดไล่เลี่ย กันได้ เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย แม้สีสัน อาจไม่น่าสนใจเท่าอะโรวาน่าเอเซีย แต่ ก็จัดเป็น ปลาที่มีเสน่ห์ ตัวหนึ่ง อีกทั้ง ยังมีราคาที่ถูก ลงกว่า แต่ก่อน มาก ............................... ข้อมูลเฉพาะตัว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scleropages Barramundi วงศ์ : Osteoglossidae อุณหภูมิ : 24 - 28 pH : 6.5 - 7.5 จำนวนไข่ : 30 - 400 ฟอง ขนาด : โดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ย 80 เซนติเมตร ถิ่นกำเนิด : พบทางแถบบริเวณ ตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย หมู่เกาะควีนแลนด์ การขยายพันธุ์ : ขณะที่ปลาตัวเมีย วางไข่ตัวผู้ ก็จะว่ายคลอเคลีย พร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อ ออกมาผสมกับไข่ ที่ตัวเมียเบ่งออกมา ในธรรมชาติ หลังจากพ่อแม่ปลาผสม พันธุ์วางไข่เสร็จแล้ว พ่อปลาจะอมไข่ และฟักลูกในปาก อัตราวางไข่ ระหว่าง 30-400 ฟอง โดยประมาณ อาหาร : ลูกปลา กุ้ง ตะขาบ จิ้งหรีด ลูกกบ
| โดย: ออก้า [14 มิ.ย. 53 20:47] ( IP A:119.42.124.90 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 อะโรวาน่าออสเตรเลียลายจุด (Australian Spotted Arowana) ปลาอะโรวาน่า ชนิดนี้เกล็ดบน ลำตัวจะออกสีเงิน แกมน้ำตาลอมเหลือง เกล็ดแต่ละเกล็ดจะมีจุดสีส้ม ปนแดงสะท้อนแสงอยู่ 1-2 จุด ครีบหลัง ครีบทวาร และหางมีสีน้ำตาลจาง ๆ หรือเทาอมน้ำตาลครีบทวาร มีลักษณะยาวกว่าครีบหลัง ปลาอะโรวาน่าชนิดนี้พบ ทางแถบบริเวณ ตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย บริเวณหมู่เกาะควีนแลนด์เพียงแห่งเดียว สำหรับใน ประเทศไทย ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากเป็นปลา ที่มีสีสัน และรูปร่าง ไม่ค่อยสวยงาม ........................................... ข้อมูลเฉพาะตัว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scleropages jardini วงศ์ : Osteoglossidae อุณหภูมิ : 24 - 28 pH : 6.5 - 7.5 จำนวนไข่ : 30 - 400 ฟอง ขนาด : โดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ย 80 เซนติเมตร ถิ่นกำเนิด : พบทางแถบบริเวณ ตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย หมู่เกาะควีนแลนด์ การขยายพันธุ์ : ขณะที่ปลาตัวเมีย วางไข่ตัวผู้ ก็จะว่ายคลอเคลีย พร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อ ออกมาผสมกับไข่ ที่ตัวเมียเบ่งออกมา ในธรรมชาติ หลังจากพ่อแม่ปลาผสม พันธุ์วางไข่เสร็จแล้ว พ่อปลาจะอมไข่ และฟักลูกในปาก อัตราวางไข่ ระหว่าง 30-400 ฟอง โดยประมาณ อาหาร : ลูกปลา กุ้ง ตะขาบ จิ้งหรีด ลูกกบ
(ภาพจากเน็ท ผมไม่เเน่ใจว่าใช้ ออซซี่จุด หรือเปล่า เเต่น่าจะใช้ครับ ภาพหายาก+กับไม่เคยเห็นตัวจริงๆมาก่อนผิดก็ขออภัยด้วยนะครับ)
| โดย: ออก้า [14 มิ.ย. 53 20:54] ( IP A:119.42.124.90 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 อะโรวาน่าเงิน (Silver Arowana) อะโรวาน่าสีเงิน เหมาะเป็นอะโรวาน่า ที่ผู้คิดจะเลี้ยงปลา ในกลุ่มนี้ ควรเริ่มต้นเลี้ยงมากที่สุด เพราะราคาไม่แพงนัก สวยทั้งรูปร่าง สีสัน สง่าในการว่าย ลักษณะของปลาชนิด นี้คือมีลำตัวยาวลึก และแบนข้างมาก ลำตัวโดยทั่วไปจะมีสีเงิน แวววาว อมชมพู เขียว แต่ละเกล็ด ส่วนหัวมีขนาดใหญ่มาก จัดได้ว่าเป็นปลาอะโรวาน่า ที่มีขนาดปากใหญ่และลำตัว ยาวที่สุด เมื่อเทียบตามสัดส่วน กับปลาอะโรวาน่า ชนิดอื่น ฯ ที่มีขนาดความยาวเท่ากัน บริเวณริมฝี ปากล่างมีหนวด อยู่ 1 คู่ อุปนิสัย หวงถิ่นมาก ไม่ควรเลี้ยวรวม กับปลาประเภทที่ว่าย อยู่บนผิวน้ำด้วยกัน แต่สามารถเลี้ยงรวมกับ ปลาชนิดที่หากินอยู่ตามผิวดิน ที่มีขนาดใกล้เคียงกัน อโรวาน่าดำ ลักษณะของปลา สายพันธุ์นี้ จะมีรูปล่างเหมือนกับ อโรวาน่าเงิน ทุกอย่าง ต่างกันเเค่ สี อโรวาน่าดำสีหาง ครีบต่างๆจะออกสีดำปนฟ้า ม่วงๆ ลักษณะของปลา สายพันธุ์นี้อีกอย่างที่เเตกต่างจากอโรวาน่าเงิน คือ ตัวจะมีขนาดที่เล็กกว่ามาก(ไม่เเน่ใจว่ายาวได้เต็มที่20นิ้วกว่า มั้งไม่เเน่ใจครับ T Tผิดก็ ขออภัยนะครับ) .............................. ข้อมูลเฉพาะตัว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Osteoglossum Bicirrhosum (Vandelli, 1829) วงศ์ : Osteoglossidae อุณหภูมิ : 24 - 28 pH : 6.5 - 7.5 จำนวนไข่ : 30 - 400 ฟอง ขนาด : โดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ย 1 เมตร ถิ่นกำเนิด : พบทางแถบลุ่มแม่น้ำอเมซอน ทวีปอเมริกาใต้ มีถิ่นกำเนิด อยู่ในลุ่มแม่น้ำอะเมซอน และในกิอานาประเทศบราซิล และเปรู การขยายพันธุ์ : ขณะที่ปลาตัวเมีย วางไข่ตัวผู้ ก็จะว่ายคลอเคลีย พร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อ ออกมาผสมกับไข่ ที่ตัวเมียเบ่งออกมา ในธรรมชาติ หลังจากพ่อแม่ปลาผสม พันธุ์วางไข่เสร็จแล้ว พ่อปลาจะอมไข่ และฟักลูกในปาก อัตราวางไข่ ระหว่าง 30-400 ฟอง โดยประมาณ อาหาร : ลูกปลา กุ้ง ตะขาบ จิ้งหรีด ลูกกบ
| โดย: ออก้า [14 มิ.ย. 53 21:06] ( IP A:119.42.124.90 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 อะโรวาน่าแอฟริกา (African Arowana) เป็นปลาที่หายากที่สุด ในตระกูลอโรวาน่า ปลาอะโรวาน่า อาจด้วยไม่เป็นที่นิยมของนักเลี้ยงปลา ด้วยรูปร่าง และสีสันดูไม่ออกเลย ถ้าไม่บอกว่าอยู่ในตระกูลเดียว กับอะโรวาน่า ชนิดอื่นๆ มีลักษณะของลำตัวกลม และแบนที่ส่วนหาง หัวหนาสั้น สีสันออกสีน้ำตาลเทา ไม่มีหนวดเหมือนอะโรวาน่าอื่นๆ ครีบอกเล็ก อุปนิสัย ตื่นตกใจง่าย กระโดดเก่ง และมีพลังมาก ตู้เลี้ยงควรมีฝาปิด ที่แน่นหนา อาหารสามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์
เป็นอะโรวาน่าชนิดเดียวที่พบใน บริเวณลุ่มน้ำ ส่วนกลางของ บริเวณ Sahelo Sandanian และ ในทางตอนบน ของลุ่มแม่น้ำ ไนล์ และไปจนถึงฝั่งตะวันตก ของทวีปอัฟริกา ขนาดใหญ่ที่สุดของปลาชนิดนี้ มีความยาวถึง 4 ฟุต ขนาดใหญ่สุดตามที่มีการบันทึก คือ 1 เมตร น้ำหนักร่วม 10 กิโลกรัม ( Lake Kainji )
ลำตัวค่อนข้างแบนและกว้าง ส่วนหัวค่อนข้างสั้น และหนา ด้านบนโค้งขึ้นเล็กน้อย ลำตัวบริเวณด้านหลังและด้านข้าง มีสีน้ำเงินอมดำ น้ำตาล น้ำตาลอมเทา น้ำตาลอมแดงหรือน้ำตาลอมเขียว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ ปลาอาศัยอยู่ ส่วนบริเวณท้อง จะมีสีซีด จางกว่าด้านข้างลำตัว อาจจะมีสีครีม น้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลอมเหลือง ส่วนครีบต่างๆ จะมีสีคล้ายกับสีลำตัว จงอยปากสั้นและกลม ริมฝีปากหนา
ปากมีขนาดเล็ก แต่มีฟันเต็มปาก ไม่มีหนวด ที่ขากรรไกรล่าง ครีบหลังและครีบท้อง อยู่ค่อนข้างไปทางด้านหาง และมีความยาว เกือบเท่ากัน ครีบทั้ง 2 อันยาวจนถึงโคนหาง แต่ไม่ติดกับครีบหาง ครีบหางมีขนาดเล็กรูปร่างกลม ครีบอกและครีบท้องมี ขนาดเล็ก ครีบอก อยู่ค่อนไปทางด้านล่างของลำตัว ครีบท้องมีก้านครีบเพียง 6 ก้านอยู่ค่อนไปทางด้านหน้าของลำตัว เกล็ดบริเวณลำตัวมีขนาดใหญ่ บริเวณหัวไม่มีเกล็ด เกล็ดตามแนวเส้นข้างตัว 32-38 เกล็ด เส้นข้างตัว เป็น เส้นตรงเริ่มจากจุด เหนือแผ่นปิดเหงือก ไปจรดที่จุดกึ่งกลาง ของโคนหาง ............................... ข้อมูลเฉพาะตัว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Heterotis Niloticus (Cuvier, 1829) วงศ์ : Osteoglossidae อุณหภูมิ : 24 - 28 pH : 6.5 - 7.5 จำนวนไข่ : 30-400 ฟอง ขนาด : โดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ย 80 เซนติเมตร ถิ่นกำเนิด : พบในแถบลุ่มน้ำไนล์ และแอฟริกากลางจนถึงฝั่งตะวันตก การขยายพันธุ์ : สร้างรังวางไข่ โดยนำกิ่งไม้หรือเศษพืช มาทำรัง ไข่ฟักเป็นตัวใช้เวลา 2 วัน อาหาร : กินอารได้ทั้งพืช และเนื้อสัตว์ 
| โดย: ออก้า [14 มิ.ย. 53 21:12] ( IP A:119.42.124.90 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 ปลาอะราไพม่า หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาช่อนยักษ์อเมซอน ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arapaima gigas ในวงศ์ปลาตะพัด (Osteoglossidae) อันดับปลาลิ้นกระดูก (Osteoglossiformes) มีรูปร่างคล้ายปลาช่อน (Channa stiata) มาก เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่มาก เกล็ดมีขนาดใหญ่ มีสีดำเงาเป็นมัน ครีบบน ครีบล่าง มีตำแหน่งค่อนไปทางหาง มีแถบสีแดง-ส้ม ตัดกับพื้นสีดำ มีลำตัวค่อนข้างกลมและเรียวยาว ส่วนหัวมีลักษณะแข็งมาก ส่วนลำตัวด้านท้ายมีลักษณะแบนกว้าง ในขณะที่ปลายังเล็กพื้นลำตัวจะมีสีเขียวเข้ม และลำตัวส่วนที่ค่อนไปทางหางจะเป็นสีดำ และรูปร่างจะออกไปทางทรงกระบอก เมื่อโตขึ้นบริเวณลำตัวและส่วนที่ค่อนไปทางหาง ครีบ และหาง จะปรากฏสีชมพูปนแดงหรือสีบานเย็นประแต้มกระจายอยู่ทั่วไป
ปลาอะราไพม่า ไม่มีหนวดซึ่งแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน และเป็นปลาที่มีอัตราการเจริญเติบโตที่ไวมาก ภายในเวลาเพียง 1-2 ปี สามารถมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นถึง 3-5 เท่าได้ ปลาที่โตเต็มที่เท่าที่มีการบันทึกสถิติไว้คือยาว 4.5 เมตร น้ำหนักกว่า 400 กิโลกรัม พบในแม่น้ำอเมซอนและลุ่มน้ำสาขาในทวีปอเมริกาใต้ โดยชาวพื้นเมืองจะเรียกว่า พิรารูคู (Pirarucu) ขณะที่ชาวพื้นเมืองที่ประเทศเปรูจะเรียกว่า ไพชี่ (Phiche) โดยปลาชนิดนี้เป็นปลาที่ชาวพื้นเมืองใช้บริโภคกันในท้องถิ่น ........................................ ข้อมูลเฉพาะตัว ชื่อวิทยาศาสตร์ :Arapaima gigas วงศ์ : Osteoglossidae อุณหภูมิ : 24 - 28 pH : 6.5 - 7.5 จำนวนไข่ : 180000 ฟอง ขนาด : โดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ย3-4.5 เมตร ถิ่นกำเนิด : พบในแถบลุ่มน้ำอเมซอน การขยายพันธุ์ :ปลาจำนำหญ่าหรือพืชน้ำมาสร้างเป็นรัง พ่อแม่ปลาจะช่วยกันสร้างรัง จากนั้นตัวเมียจะวางไข่ อาหาร :ปลาต่างๆ กุ้ง จิ้งหรีด กบ
| โดย: ออก้า [14 มิ.ย. 53 21:33] ( IP A:119.42.124.90 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 12 ข้อมูล อาจจะไม่ถูกต้องหมดทุกอย่างนะครับ ถ้าผิดอะไรก็ขออภัยไวด้วยนะครับ ^ ^

| โดย: ออก้า [14 มิ.ย. 53 22:08] ( IP A:119.42.124.90 X: ) |  |
|