ความคิดเห็นที่ 3 1. เกิดจากการวางยาสลบซึ่งเป็นกรณีหลักๆเลย ที่ทำให้ปลามีอาการหลังลอย เนื่องจากปลาอาจจะฮุบเอาอากาศเข้าไปมากในระหว่างวางยา สำหรับหลายๆท่านที่กำลังจะเริ่มหัดย้าย หัดศัลยกรรมนั้น อยากให้ทำด้วยความใจเย็น ค่อยเป็นค่อยไป สังเกตอาการอยู่เรื่อยๆ ดีกว่าการ ใส่ยาลงไปครั้งเดียวแล้วปลาหงายท้อง เพราะปลาแต่ละตัวนั้น ความทนยาสลบนั้นต่างกัน บางตัวโดนเพียงเล็กน้อยก็หงายท้องแล้ว ในขณะ ที่บางตัวใช้ยาเยอะ ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะหงายท้อง จึงควรทำอย่างระวังครับ เพราะเราไม่ใช่มืออาชีพ อาจจะพลาดท่าเอาได้ การวางยาไม่ยากครับ แต่ที่สำคัญคือต้องทำตามขั่นตอน ค่อยเป็นค่อยไป มือใหม่หัดทำก็สามารถทำเองได้
2. เกิดจากสารเคมี ,แพ้ยา ,น็อคน้ำ , น็อคpH ในส่วนนี้ ก็เกิดขึ้นได้บ่อยๆ สำหรับหลายๆท่านที่เปลี่ยนถ่ายน้ำมากกว่า 40 % ต่อครั้ง ควรระวังครับ เพราะมันมีหลายปัจจัยที่ทำให้ปลาน็อคได้ ทั้งอุณหภูมิที่เปลี่ยน ค่าน้ำที่อาจจะไม่เท่ากัน การเปลี่ยนถ่ายน้ำในแต่ละครั้ง จึงไม่ควรเปลี่ยนถ่ายมาก เน้นเปลี่ยนน้อยแต่ถี่ๆ ดีกว่า ซึ่งก็มีหลายท่านที่เคยโทรมาปรึกษา พูดคุยแลกเปลี่ยนว่า ปกติผมถ่ายที่ 50% ปลาผมไม่เป็นอะไรเลย แข็งแรงดีกินดี แต่นั้นไม่ได้หมายความว่า ในอนาคตมันจะไม่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดนะครับ เพราะมีอีกหลายคนที่พอเกิดเรื่องแล้วโทรมาถามว่า ควรทำไง ปกติไม่เป็นแบบนี้ ซึ่งก็ได้แต่แนะนำวิธีดูแลไป จึงอยากแนะนำให้ป้องกัน ดีกว่าแก้ไขครับ เพราะแก้ไขบางครั้งก็ไม่ทันการณ์ ( ขออธิบาย เรื่องการเปลี่ยนถ่ายน้ำสักหน่อยครับ โดยปกติแล้ว การเลี้ยงปลา ปัจจัยที่สำคัญๆในส่วนของน้ำคือ น้ำสะอาด ปราศจากสารเคมีทุกชนิด อุณหภูมิ ,ค่าน้ำต่างๆซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เพื่อนๆสมาชิก สามารถควบคุมได้ การเปลี่ยนถ่ายน้ำที่ละมากๆ ก็ไม่มีปัญหาครับ แต่ถ้าเราไม่สามารถควบคุมได้ ก็ขอให้คิดซะว่า เสียเวลาวันละนิด เปลี่ยนถ่ายน้ำครั้งละน้อยหน่อย แต่บ่อยๆ มันช่วยให้ปลาที่เราเลี้ยงแข็งแรง มีความสุขได้ )
3. เกิดจากแรงกระแทก , พุ่งชน , กระโดด ทำให้เกิดการติดเชื้อภายใน ซึ่งเราจะสังเกตได้ยากหน่อย ในส่วนนี้เป็นอุบัติเหตุที่เราไม่คาดคิด ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ บางส่วนอาจจะเกิดจากการวางยาไม่ดี หรือผลข้างเคียงจากการใช้ยา ทำให้ปลามีอาการตื่น ตกใจง่าย พุ่งชน กระโดดอยู่ตลอดเวลา
|