การเลือกซื้อตู้ปลาและการเตรียมตู้ปลาก่อนเลี้ยงครับ
   สำหรับหลายๆท่านที่เป็นมือเก่า+เก๋า ผ่านตู้มาแล้วหลายใบคงไม่ใช่ปัญหาสำหรับการซื้อตู้ใบใหม่เข้าบ้าน ทั้งการเลือกซื้อ และการทำความสะอาดก่อนลงปลา แต่สำหรับมือใหม่หลายๆท่านมักเกิดข้อสงสัยว่า จะทำยังไงกับตู้ใบใหม่ดี ก่อนใส่น้ำเลี้ยงปลา ล้างด้วยอะไรถึจะสะอาด เตรียมยังไงถึงพร้อมใส่ปลาลงไปแล้วไม่ตาย วันนี้เลยจะมาพูดถึงเรื่องนี้กัน ถ้าใครมีวิธีที่ต่างกันไปออกมามาเสริมเพิ่มเติมกันได้นะครับ เพื่อจะได้เป็นประโยชน์กับผู้อ่านครับ

ขออนุญาตภาพพี่ปิติครับ

โดย: TM69 [28 มิ.ย. 53 14:09] ( IP A:183.89.211.248 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   บทความนี้ไม่ไ้ด้เป็นข้อมูลทางวิชาการ แต่เป็นประสบการณ์ของผู้เขียน อาจจะมีผิดพลาด หรือวิธีการที่แตกต่างจากหลายท่านบ้าง ตรงบ้าง ก็สามารถช่วยกันแชร์ประสบการณ์ เพื่อเก็บไว้เป็นประโยชน์ของสมาชิกเว็บทุกคนครับ เรามาเริ่มกันที่การเลือกตู้ปลากันก่อนนะครับ ต้องมาทำความเข้าใจกันเรื่องขนาดตู้ปลากันก่อนครับ เพราะมักมีคำถามเรื่องขนาดกันอยู่บ่อยๆ ว่าตู้ขนาดไหนเหมาะสำหรับการเลี้ยงอะโรวาน่า เช่น 60-20-20 สามารถเลี้ยงอะโรวาน่าได้มั้ย เลี้ยงไปตลอดได้รึเปล่า เป็นต้น


ขออนุญาตหมอเอ็ดด้วยนะครับ แบบว่าชอบตู้เสือของหมอเป็นการส่วนตัว

โดย: TM69 [28 มิ.ย. 53 14:11] ( IP A:183.89.211.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   จึงอยากจะสรุปประมาณนี้ครับ ปลาอะโรวาน่านั้นเป็นปลาที่มีแรงพุ่งชน กระโดด ค่อนข้างสูง การเลือกซื้อตู้จึงควรเลือกด้วยความเหมาะสม การที่เรามีตู้ขนาด 60-20-20 หรือเล็กกว่านี้นั้น กระจก 2-2.5หุนถามว่าสามารถเลี้ยงได้มั้ย ตอบได้เลยครับ เลี้ยงได้แต่ไม่ตลอดครับ อาจจะเลี้ยงได้สักพัก หรือถ้าใครกัดฟันเลี้ยงยาวๆก็น่าจะได้ แต่ในเรื่องความปลอดภัยนั้นละแน่ใจรึเปล่าว่าปลอดภัย
หลายๆคนคิดว่าตู้ที่มีขนาดใหญ่นั้นสามารถเลี้ยงปลาอะโรวาน่าได้ อีกทั้งตู้ที่มีกระจกหนา 2-2.5 หุนนั้นมีราคาที่ถูกกว่ากระจก 3-4 หุนมาก ทำให้หลายคนลังเลในการเลือกซื้อ หรือหลายคนงบน้อยแต่อยากเลี้ยงปลาอะโรวาน่า เพราะเหตุผลข้างต้นที่เชื่อว่าตู้ขนาดใหญ่สามารถเลี้ยงได้ ที่นี้เรามาพูดถึงสาเหตุกันดีกว่า ว่าเหตุใดตู้ที่มีขนาดใหญ่ แต่ความหนากระจกเพียง 2-2.5 หุน ถึงไม่เหมาะที่นำมาเีลี้ยง นั้นก็เพราะว่าเมื่อตู้มีขนาดใหญ่ ความจุของปริมาณน้ำก็มากขึ้นไปด้วย ยิ่งจุน้ำมาก แรงดันน้ำก็มากตาม ซึ่งมันหมายถึงแรงดันมหาศาลที่กระทำต่อกระจก ถ้าเป็นตู้ใหม่กระจกใหม่ก็ดีไป เพราะซิลิโคนและกระจกยังใหม่อยู่ แต่ถ้าเป็นตู้เก่า ซิลิโคนเริ่มเสื่อมคุณภาพละ แรงดันน้ำขนาดนี้ถือว่าอันตรายมากนะครับ แถมยังนำมาเลี้ยงปลาอะโรวาน่าที่มีนิสัยชอบโดด พุ่งชนเป็นบางครั้งอีก กระจกจะทนไหวรึเปล่า ถ้าให้เปรียบก็เหมือนมีระเบิดเวลาอยู่ในบ้านนั้นแหละครับ รอวันระเบิด ถ้าในบ้านที่มีเด็กเล็กชอบวิ่้งไปวิ่งมา ตบตู้ปลาด้วยแล้วไปกันใหญ่ครับ แรงดันขนาดนี้ถ้าระเบิดออกมาตรงๆ เด็กอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้นะครับ จึงอยากให้พิจารณากันให้รอบคอบก่อนซื้อ ถ้าใครงบน้อยก็ซื้อมาใช้เลี้ยงได้ครับ แต่พอปลามีขนาดใหญ่ก็ควรซื้อตู้ใหม่ที่มีความเหมาะสมกับขนาดของปลา และความปลอดภัยของคนในครอบครัวครับ

โดย: TM69 [28 มิ.ย. 53 14:12] ( IP A:183.89.211.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   สำหรับขนาดตู้ที่แนะนำเป็นอย่างน้อยคือ 60-24-24 กรองล่าง หรือกรองนอกครับ กระจก 3 หุนขึ้นไป เพราะสามารถเลี้ยงไปได้ตลอด แต่อาจจะอึดอัดบ้าง ถ้าเป็น 60-30-30 นี้สบายเลยครับกระจก 4 หุน เลี้ยงยาวๆได้ตลอดครับ ส่วนการเลือกซื้อนั้น ควรเดินดูงานตามร้านต่างๆก่อนตัดสินใจซื้อครับ งานดีมั้ย ซิลิโคนยิงเต็ม มีฟองอากาศรึเปล่า การยิงเรียบร้อยไม่เลอะเทอะ คานตู้ เสารับตู้ แข็งแรงแน่นหนา กระจกเป็นรอยมั้ย การติดตั้งอุปกรณ์ภายในตู้เรียบร้อย การประกันสินค้า เมื่อได้ร้านที่ถูกใจก็ตกลงราคาสั่งซื้อกันได้เลยครับ
โดย: TM69 [28 มิ.ย. 53 14:14] ( IP A:183.89.211.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   เมื่อสั่งซื้อแล้วควรสอบถามรายละเอียดต่างๆกับทางร้านให้เรียบร้อย ทั้งเรื่องของการลดระดับหวีน้ำล้นลงมา 3-4 นิ้ว และการจัดส่ง เมื่อได้ตู้มาควรถามกับทางร้านว่าสามารถล้างตู้ได้เลยรึมั้ย เนื่องจากบางร้านประกอบตู้ใหม่ จะยกมาส่งให้โดยทีซิลิโคนอาจจะยังไม่แห้งดี ต้องเอามาตั้งไว้รอให้ซิิลิโคนแห้งเสียก่อน จึงทำการล้างตู้ใส่น้ำได้ ซึ่งในส่วนนี้บางร้านมีบริการล้างตู้ ตั้งระดับน้ำ ใส่น้ำให้เสร็จเรียบร้อย แต่บางร้านก็เพียงมาส่ง หน้าที่ล้าง จึงเป็นของเจ้าของ สำหรับการล้างตู้ใหม่นั้น หลายๆท่าน ใช้วิธีล้างน้ำเปล่าหลายๆรอบ กำจัดคราบสกปรกต่างๆ บางท่านแช่น้ำใส่เกลือลงไปจากนั้นใช้ฟองน้ำชุบน้ำล้างตู้ แล้วจึงล้างด้วยน้ำเปล่าอีกที ก่อนใส่น้ำรันระบบกรอง

โดย: TM69 [28 มิ.ย. 53 14:16] ( IP A:183.89.211.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   เป็นทีี่เข้าใจกันว่าปกติการที่ระบบกรองจะเซ็ตตัวได้นั้นใช้เวลา 30-60 วัน ที่นี้ทำอย่างไรให้ระบบกรองเซ็ตตัวให้เร็วที่สุดกันละ วิธีที่ใช้กันแพร่หลายก็คือการใช้วัสดุกรองและน้ำจากตู้เก่าบางส่วนมาช่วยใน การแพร่พันธุ์ของแบคทีเรียฝ่ายดี ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ระบบกรองเซ็ตตัวเร็วขึ้นหลายเท่าครับ อาจจะใช้เวลาเพียง 7-10 วันในการทำให้กรองเซ็ตตัว แต่ควรเบามือในเรื่องของอาหาร อย่าให้หนักมือเกินไป สำหรับคนที่ใช้วัสดุกรองใหม่ทั้งหมดนั้น อาจจะใช้เวลานานกว่า เริ่มต้นด้วยการรันน้ำสัก 2-3 วันก่อนปล่อยปลาเมทลงไปเทสระบบ เช่นตะเพียน ถ้าผ่านไปวันนึงแล้วตะเพียนยังว่ายได้ปกติ ก็พร้อมลงอะโรวาน่าแล้วครับ ไม่จำเป็นต้องรอให้ระบบกรองเซ็ตตัว เพียงแต่ช่วงแรก ควรให้อาหารเบามือ เปลี่ยนถ่ายน้ำถี่ๆ น้ำที่ใช้เปลี่ยนควรเป็นน้ำพักปราศจากครอรีน ไม่นานระบบกรองก็จะเซ็ตครับ เพียงแค่นี้ก็พร้อมเลี้ยงแล้วครับ

ปล.สำหรับ การรันระบบกรองนั้น น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำพัก หรือน้ำที่ผ่านเครื่องกรองครอรีน ไม่จำเป็นต้องใส่ยาลดครอรีน ยาปรับสภาพน้ำ ลงไปครับ

โดย: TM69 [28 มิ.ย. 53 14:17] ( IP A:183.89.211.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   สุดท้าย การลงปลาครับ ขั้นตอนการปรับอุณหภูมิและค่าน้ำก่อนลงปลา

1. นำถุงปลาลงแช่ปรับอุณหภูมิภายในตู้ 15-60 นาที
2. ควรปรับค่าน้ำด้วยการค่อยๆใส่น้ำเข้าไปในถุงครั้งละ 1 แก้วกาแฟ ทิ้งระยะ 5-10นาที ใส่เพิ่มลงไปอีก ทำแบบนี้สัก 2-3 ครั้ง ค่อยปล่อยปลาออกจากถุง
3.การ ปล่อยปลาออกจากถุงควรให้ปลาว่ายออกจากถุงเอง โดยการอ้าปากถุงกว้างๆ แช่ลงไปในตู้ ไม่ต้องรีบร้อนเทปลาออกครับ

เพียงแค่นี้ปลาก็จะปรับ ตัวเข้ากับสภาพตู้ใหม่ได้ง่ายขึ้น


ปล.ถ้าใครใช้ตู้เป็นกรองข้าง มีฝาควรทำที่กั้นแบบในรูปนะครับ กันปลาโดดเข้าช้องกรอง

โดย: TM69 [28 มิ.ย. 53 14:19] ( IP A:183.89.211.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   การจัดวางท่อเพื่อสร้างกระแสน้ำแบบต่างๆ ขอขอบคุณพี่ปิติที่ทำรูปไว้ให้เป็นความรู้ครับ

โดย: TM69 [28 มิ.ย. 53 14:21] ( IP A:183.89.211.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   ...

โดย: TM69 [28 มิ.ย. 53 14:21] ( IP A:183.89.211.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   ...

โดย: TM69 [28 มิ.ย. 53 14:22] ( IP A:183.89.211.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   ...

โดย: TM69 [28 มิ.ย. 53 14:22] ( IP A:183.89.211.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   หวังว่าจะได้แนวทางในการนำไปปรับใช้กับตู้ที่บ้านนะครับ

ปล.รูปส่วนใหญ่เซฟมาจากในเว็บเก่านี้ละครับ ถ้าไปเจอรูปใดที่ท่านเป็นเจ้าของต้องขออนุญาตด้วยนะครับ เนื่องจากส่วนตัวไม่ค่อยถ่ายรูปตู้ที่บ้าน + ถ่ายรูปไำม่สวย เลยต้องหาภาพมาประกอบครับ
โดย: TM69 [28 มิ.ย. 53 14:25] ( IP A:183.89.211.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 68
    เกี่ยวกับตู้ที่ใช้เลี้ยงปลา Arowana

ผู้เลี้ยงมักจะเลี้ยงปลา Arowana ในตู้ขนาด 60*20*20 และระบบกรองที่ใช้กัน..ก็คือกรองข้าง หรือไม่ก็เป็นตู้ขนาด 48*20*20 หรือเพียงแค่ 36 นิ้วด้วยซ้ำไป

เหตุผลก็คือ...ผู้เลี้ยงหลาย ๆ ท่านในขณะนั้นไม่ได้ศึกษาข้อมูลให้ดีเสียก่อน ทราบแต่ว่า..ปลา Arowana นั้น สามารถโตได้เป็นฟุต และเข้าใจว่า..ตู้ที่ซื้อหามาใช้เลี้ยงกันนั้น มีขนาดเพียงพอ

เพราะถ้าเป็นตู้ที่ใหญ่กว่านี้ ราคาก็จะกระโดดขึ้นไป เรียกว่า..แพงขึ้นไปหลายเท่าตัวกันเลยทีเดียว

เช่น ตู้ขนาด 60*20*20 กระจก 2 หุน(6มิล) มีราคาที่ 1500 บาท ในขณะที่ตู้ 60*24*24 กระจก 3 หุน(10มิล) มีราคา 6200 บาท

ราคาตู้ที่กระโดดขึ้นไปขนาดนั้นก็เพราะ..ราคากระจก(ซึ่งเป็นวัสดุหลักในการประกอบตู้ปลา)ที่มีความหนาเกิน 2 หุนขึ้นไปนั้น..มีราคากระโดดจากราคากระจก 2 หุนเป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม แม้ตู้ 60*20*20 กระจก 2 หุนนั้น เป็นตู้ที่มีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำในตู้ แต่ก็ไม่เหมาะที่จะใช้เลี้ยงปลา Arowana อันเป็นที่รักของเราตลอดชีวิต เพราะเป็นตู้ที่กระจกขนาด 2 หุนต้องรับภาระโหลดจากน้ำอย่างมากสุด ๆ (กระจกมีความเครียดสูงมาก)

เมื่อลองเติมน้ำเต็มตู้ ก็จะเห็นว่า..กระจกในส่วนที่เป็นแผ่นยาวนั้น..มีอาการป่องกลางขึ้นมาเล็กน้อย

ตู้ขนาดนี้...เหมาะใช้เลี้ยงปลาเล็กเสียมากกว่า พวกปลาใหญ่ที่มีแรงชนมหาศาลนั้น..ไม่เหมาะด้วยประการทั้งปวง

รวมทั้ง...ยังมีขนาดเล็กเกินไปที่จะใช้เลี้ยงปลา Arowana ตัวใดตัวหนึ่งตลอดชีวิต


(บ้านไหนมีเด็กเล็กวิ่งเล่นซุกซนอยู่ในบ้าน ก็ไม่แนะนำให้นำตู้ 60*20*20 กระจก 2 หุนไปตั้งไว้ในบ้าน เกิดเหตุการณ์ขึ้นมา ไม่คุ้มเสียหรอกครับ เรืองจริงเกี่ยวกับตู้ใบนี้ที่ถือเป็นตัวอย่างอันคลาสสิกที่สุด ก็ไม่พ้นเรื่องที่เด็กน้อยคนหนึ่ง เอาเหรียญบาทไปเคาะตู้ขนาดนี้ในร้านขายปลาแห่งหนึ่ง ทำเอาตู้แตก เด็กได้รับบาดเจ็บ เย็บไปหลายสิบเข็ม เจ้าของร้านก็ต้องรับผิดชอบค่าพยาบาลทั้งหมดไปในที่สุด)

ตู้ที่พอจะเลี้ยงปลา Arowana ตัวหนึ่งตลอดชีวิต คือ 60*24*24 โดยต้องใช้ระบบกรองที่ไม่กินพื้นที่ในตู้ปลา เช่น กรองนอกสำเร็จรูป เป็นต้น

เป็นข้อมูลของพี่ปิติ ครับ ขอขอบคุณ

(เอามาให้ชนกันครับจะได้ไม่ต้องไปหาไกล) ครับ

โดย: บูม หลังวัง [16 มิ.ย. 53> ( IP A:124.122.180.243 X: )
โดย: [11 มี.ค. 54] ( IP A:58.8.203.224 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน