ความคิดเห็นที่ 3 วิธีการรักษา
การรักษาโรคเกล็ดพองสำหรับอโรวาน่าและปลาอื่นๆ เมื่อปลาที่มีอาการเกล็ดพอง(หากเป็นในระยะเริ่มต้น หรือเกล็ดพองไม่มาก ผมแค่ใช้วิธีคุมอุณหภูมิน้ำในตู้ปลาให้อยู่ที่ 30 องศาเซลเซียลก็พอครับ) แต่หากคุมอุณหภูมิแล้วยังเป็นมากขึ้นหรือกรณีที่มีอาการเยอะขึ้น เกล็ดตั้งชัน เกล็ดอ้า มีเมือกดำและเมือกเทาปกคลุม และทะยอยปกคลุมตามเกล็ดมากขึ้น เราสามารถใช้วิธีรักษาได้ 2 วิธี 1.ใช้ยาแก้อักเสบ ผสมอาหารให้ปลากิน หากปลาตัวนั้นยังกินอยู่ ถ้าปลาใหญ่อาจจะยัดหรือซุกไว้ใต้ปีกจิ้งหรีด หรืออาจผสมยาในอาหาร แต่ส่วนมากปลาพองับเข้าปากและมักจะคายออก ดังนั้นต้องให้ปลาหิวมากๆหรือพยายามอย่าให้อาหารปลาจนอิ่มมาก เพื่อครั้งต่อไปที่จะให้อาหาร และปลาจะยังกินอยู่ 2. วิธีแช่ปลา เราจะรักษาด้วยการใช้ยาแก้อักเสบที่ใช้กับคน ควบคู่กับการคุมอุณหภูมิ(การคุมอุณหภูมิจะทำให้ปลาหายไวยิ่งขึ้น) ซึ่งยาที่ใช้มีอยู่หลายยี่ห้อแต่ที่ผมใช้ประจำและได้รับการแนะนำให้ใช้คือ Amoxy Bencard ขนาด 500 มิลลิกรัม (แค๊ปซูลมีทั้งขนาด250,500มิลลิกรัม) อัตราการใช้ยาคือ 1 เม็ดต่อน้ำ 50 ลิตร(10 มิลลิกรัม=1ลิตร) เมื่อครบ 24 ชม.หลังจากใส่ยา ตัวยาจะหมดฤทธิ์ลง ให้ทำการเปลี่ยนน้ำ 30% ของปริมาณน้ำทั้งหมดในตู้ปลา และทำการใส่ยาใหม่พร้อมกับเปลี่ยนน้ำ ทำแบบนี้ซ้ำๆให้ครบ 7 วัน ถึงแม้ปลาจะหายหรืออาการดีขึ้น เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อ ส่วนอัตราการใส่ยายังเท่าเดิม
ตัวอย่าง การคำนวณปริมาตรยาที่ใช้ในปลาตู้ 60*20*20(ย*ก*ส) ระดับน้ำในตู้ 15 นิ้ว ปริมาตรน้ำในตู้ = 60*20*20*0.016 = 288 ลิตร ใส่ยา Amoxy Bencard 6 เม็ด(500 มิลลิกรัม) สำหรับท่านที่เลี้ยงปลาในตู้ที่มีขนาดใหญ่ เรานิยมลดระดับน้ำในตู้ให้น้อยเท่าที่ปลาตัวโปรดเรายังว่ายไม่ลำบากมากนัก ครั้นนี้เพื่อลดจำนวนการใช้ยาลงและประหยัดค่าใช้จ่ายลง
สุดท้าย การใส่ยาปฎิชีวนะลงในตู้ปลา จะมีผลทำให้แบคทีเรียตาย เพราะจะไปชลอการเจริญเติบโต ฆ่าและทำลายแบคทีเรียส่วนดีในช่องกรองได้ เป็นสาเหตุทำให้กรองล่ม |