arowana-club.pantown.com
สาระน่ารู้ <<
กลับไปหน้าแรก
สิ่งที่คุณควรได้ เมื่อซื้อปลาอโรวาน่า ปลามังกร หรือปลาตะพัด "อย่างถูกต้องตามกฏหมาย"
หลายท่านอาจทราบกันแล้ว แต่บางท่านก็อาจยังไม่ทราบ ว่าปลาอโรวาน่า หรือปลามังกร หรือศัพท์ราชการเรียกว่า "ปลาตะพัด" นั้นเป็นสัตว์ป่าสงวน ซึ่งห้ามผู้ใดมีไว้ในครอบครอง แม้แต่ซากก็ไม่ได้
แต่กฏหมายมีข้อยกเว้นให้สามารถครอบครอง(เลี้ยงไว้)ได้ โดยต้องขออนุญาติครอบครองสัตว์ป่าสงวนจากกรมประมงเสียก่อน ซึ่งไม่ยุ่งยากอะไร หากท่านได้ปลาตะพัดมาโดยถูกต้องตามกฏหมาย ท่านก็มีสิทธิที่จะขอใบอนุญาติครอบครองได้
โดย: 88Arowana
[26 ม.ค. 55 21:19] ( IP A:182.53.19.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
การจะขอใบอนุญาติให้มีไว้ในครอบครองฯ หรือสป.๑๔ ได้นั้น ท่านต้องมีเอกสารสำคัญ ยืนยันการได้ปลามาอย่าง "ถูกต้องตามกฏหมาย" คือ ขอใบอนุญาติให้นำสัตว์ป่าเคลื่อนที่เพื่อการค้า หรือ สป.๑๒ (ใบคำขอคือ สป.๑๒ ใบอนุญาติคือ สป.๑๓ )
ซึ่งผู้ค้าปลาตะพัด "ที่ถูกต้องตามกฏหมาย" มีหน้าที่ต้องออกเอกสาร สป.๑๒ ให้แก่ผู้ซื้อทุกครั้งที่ขายปลาตะพัดให้ผู้ซื้อ และต้องระบุที่มาของปลาตะพัด(ตามเอกสารประกอบการนำเข้าปลามาในราชอาณาจักร)
โดย: 88Arowana
[26 ม.ค. 55 21:20] ( IP A:182.53.19.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
จริงๆ หน้าที่ของผู้ซื้อก็มีแต่เลือกปลา จ่ายเงินหรือมัดจำ ยื่นบัตรประชาชนให้ผู้ค้าถ่ายเอกสาร และเซ็นต์รับรองสำเนา
จากนั้นผู้ค้าจะนำสำเนาบัตรประชาชนของผู้ซื้อมาแนบกับคำขอ สป.๑๒ เพื่อให้ผู้ซื้อนำติดตัวระหว่างเคลื่อนย้ายปลาตะพัด และเก็บไว้แสดงต่อเจ้าหน้าที่หากมีการตรวจสอบ
หากผู้ซื้อทำการซื้อปลาตะพัดเพื่อไปเลี้บงเอง ส่วนใหญ่ผู้ขาย "ที่ถูกต้องตามกฏหมาย" จะยื่นเรื่องขอใบครอบครอง สป.๑๔ ให้กับผู้ซื้อเลย (ใบครอบครองคือ สป.๑๕ แต่ใบคำร้องคือ สป.๑๔)
โดย: 88Arowana
[26 ม.ค. 55 21:21] ( IP A:182.53.19.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
เพื่อความสบายใจในการได้ปลาตะพัดมาครอบครองอย่างถูกกฏหมาย อย่าลืมถามผู้ขายว่าสามารถออกเอกสาร สป.๑๒ ให้ได้หรือไม่
ควรถามตั้งแต่ก่อนจะตกลงจ่ายเงิน เพราะอ้อยเข้าปากช้างแล้วจะง้างก็ลำบาก (ผมเคยมาแล้ว เห็นว่าราคาถูก เลยจ่ายเงินเลย พอนึกได้เรื่องเอกสาร กลับไปถามคนขาย "อ๋อ ปลาหิ้ว น่ะน้อง"
ผมเรียบเรียงข้อมูลลงไว้ที่
https://www.facebook.com/88Arowana
เมื่อครู่ เลยนำมาแชร์ครับ
ขอบคุณที่สละเวลาอ่านครับ หวังว่าคงเป็นข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ ให้แก่ท่านครับ
https://www.facebook.com/88Arowana
โดย: 88Arowana
[26 ม.ค. 55 21:22] ( IP A:182.53.19.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
ถ้าถามว่าทางเจ้าหน้าที่เขาเข้มงวดไหม ก็คงจะไม่เข้มงวดถึงกับตรวจทุกบ้านหรอกครับ แต่ว่าตัวกฏหมายเขียนไว้ชัดเจน ถ้าผิด ก็คือผิด และบทลงโทษค่อนข้างสูงทีเดียว พอๆ กับขับรถฝ่าไฟแดง 100 ครั้งเลย
ถ้าท่านใดสบายใจที่จะมีเอกสารครอบครองอย่างถูกต้องตามกฏหมาย อย่าลืมสอบถามผู้ขายปลาตะพัดให้ท่านนะครับ
ส่วนการซื้อขายเป็นการส่วนตัว ทีละตัว คนขายก็สามารถไปขออนุญาติค้าได้นะครับ จะได้ออกใบ เคลื่อนย้ายให้คนซื้อไปขอใบครอบครองได้ (แต่ก็คงวุ่นหน่อยถ้าทำเรื่องเองทีละตัว)
โดย: 88Arowana
[26 ม.ค. 55 21:26] ( IP A:182.53.19.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
มีอยู่10กว่ามังกร..ที่เลี้ยงอยู่..เลี้ยงไปพลางขายไปพลาง..โดนข้อหาหรือเปล่า..ที่เอามาในร้านดังดังไม่เห็นมีใบอณุญาดขนย้ายอะไร..ผู้ขายก็ไม่เห็นบอกอะไร..ผู้ขายโดนข้อหาด้วยหรือเปล่า..เปิดหน้าร้านขายมังกรอยู่นาน..หากโดนปรับเยอะไหม..ไม่รู้เลยเนี้ยะ....ขายอโรมาเลย์อโรอินโดอยู๋..ผู้ไดเสียงดังฟังชัดช่วยบอกไห้รู้ที..
โดย: บังแระ.. [26 ม.ค. 55 21:35] ( IP A:49.49.71.253 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
อันนี้ก็ต้องถามเจ้าหน้าที่เอาครับ ว่าเขาจะออกไปจับไหม
กฏหมายก็เหมือนหนังสือ อยู่ที่ผู้บังคับใช้กฏหมาย ว่าจะเข้มงวดแค่ไหนแหละครับ
แต่โดยส่วนตัว ผมซื้อ/ขายทุกตัว มีเอกสารกำกับครบครับ
ถ้าจำไม่ผิดโทษปรับ 40000 บาทมั้งครับ
โดย: 88Arowana
[26 ม.ค. 55 21:43] ( IP A:182.53.19.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
ปล. ผมตั้งหัวข้อไว้ว่า 'สิ่งที่คุณควรได้ เมื่อซื้อปลาอโรวาน่า ปลามังกร หรือปลาตะพัด "อย่างถูกต้องตามกฏหมาย" '
ผมหมายถึง เอกสารต่างๆ ที่ผมกล่าวถึงเป็นสิ่งที่ควรได้มา แต่ได้มา ไม่ได้มา ก็สุดแท้แต่ละร้านแต่ละคนแหละครับ
โดย: 88Arowana
[26 ม.ค. 55 21:44] ( IP A:182.53.19.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
ขอขอบคุณ ข้อมูลดีๆ นะครับ คือจริงๆแล้วก็อยากทำนะ แต่ซื้อปลาในเว็ป อย่าว่าแต่ใบซื้อขาย หรือเอกสารยืนยันต่างๆ เลย บางที หน้าคนขาย ยังไม่เคยเห็น ด้วยซ้ำ ใบเซอที่ได้มา บางที ยังคิดว่า ตรงหรือเปล่า ก็ไม่รู้ ไอ้จะหิ้วปลาไปเช็ค ก็ยาก คิดว่า ไม่ซื้อของโจรมาก็พอ หรือซื้อมาแล้วก็ไม่รู้ มันยากกกกกก ที่จะรู้ได้
โดย: ผ่านมา แป๊ปนึง [26 ม.ค. 55 21:49] ( IP A:125.24.36.125 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
ไมพี่ไทยขุดบ่อเลี้ยงปลาดุกแล้วมาเลย์ขุดบ่อเลี้ยงมังกร..ไมมังกรมาเลย์ซื้อขายได้เพาะได้..เห็นบอกปลาสงวน.ขายทีมีนั่นมีนี่..แล้วแพงด้วย..ไมไทยเราไม่เอามั่ง..แบ่งแบ่งกันรวยสิ..เอะอะนั่นผิดนู้นถูก....อย่าไห้เป็นประเด็นเลย..มันไม่ใช่..อโรไทยก็ว่าไป..ดูดูไปพี่ไทยเสียเปรียบซื้อของแพง..อีกนานไหม..
โดย: บังแระ.. [26 ม.ค. 55 22:36] ( IP A:49.49.71.253 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
คุยด้วยเหตุผล แบบจริงๆ นะครับ
ปลาตะพัด เป็นสัตว์ป่าสงวน ตามข้อตกลง CITES ซึ่งเป็นองค์กรสากล "ระดับโลก" ทุกประเทศทั่วโลกต้องทำตามกฏกติกานี้เหมือนๆ กัน เพียงบทลงโทษอาจจะต่างกัน มากน้อยไม่เท่ากัน
ในมาเลย์เพาะได้ ขายได้ ภายใต้เงื่อนไขของ CITES
ในอินโดฯเพาะได้ ขายได้ ภายใต้เงื่อนไขของ CITES
ในไทยก็เพาะได้ ขายได้ ภายใต้เงื่อนไขของ CITES
จะพม่า เขมร เปรู ปารากวย ก็เพาะได้ ขายได้ ภายใต้เงื่อนไขของ CITES ครับ
เคลียร์ ชัดเจนแล้วนะครับ เรื่องทำไมที่นี่ไม่ได้ที่นั่นทำได้
สรุสั้นๆ ที่ไหนๆ ก็ต้องปฏิบัติตามกฏของ CITES เพระาปลาตะพัดเป็นสัตว์ป่าสงวน
แน่ๆ อย่างจีน เวลาส่งออกไป เวลาเขานำเข้า ยังเดินเอกสารกันร่วมเดือน นั้นสำหรับจีนนะครับ
ท่านใดสงสัย ข้องใจ มีคำถาม ถ้าไม่อยากเสียเวลาในเนตหน้าจอ หน้าคีย์บอร์ด โทรไปสอบถามที่กรมประมงเลยครับ มีนักวิชาการที่สามารถตอบคำถามท่านได้ดีกว่าผมมากๆ 025620600
โดย: 88Arowana
[27 ม.ค. 55 9:14] ( IP A:125.24.227.242 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
เหมือนกับเคยมีคนถามผมว่า ทำไมมอเตอร์เวย์ประเทศไทยขับเกิน 120 โดนจับ แต่ออโต้บาห์นเยอรมัน ขับเร็วไม่โดนจับ แต่ขับช้ากว่าที่กำหนดกลับโดนจับ
มันก็ไม่เหมือนกับเรื่องรถซะทีเดียว เพราะกฏหมายจราจรสากลนั้นยังไม่มี
แต่สัตว์ป่าสงวน ถือเป็นทรัพยากรของโลก ของประเทศ ของทุกคน จึงจำเป็นต้องมีกฏหมายคุ้มครอง และองค์กรระดับโลกจึงให้ความคุ้มครอง
ง่ายๆ แค่ปลาเสือตอตอนนี้ทางเขมรเองยังเข้มงวดในการจับมาขายเลยครับ
สรุปคือ นานาจิตตังครับ ใครจะสบายใจที่ครอบครองอย่างถูกต้อง ก็อาจได้ดูไว้เป็นแนวทางในการพิจารณาต่อไปครับ
ต้องขออภัยหากทำให้ใครอาจเสียผลประโยชน์นะครับ ผมแค่แชร์ในสิ่งที่ผมพอรู้มาเท่านั้นครับ
โดย: 88Arowana
[27 ม.ค. 55 9:19] ( IP A:125.24.227.242 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
เหมือนกับเคยมีคนถามผมว่า ทำไมมอเตอร์เวย์ประเทศไทยขับเกิน 120 โดนจับ แต่ออโต้บาห์นเยอรมัน ขับเร็วไม่โดนจับ แต่ขับช้ากว่าที่กำหนดกลับโดนจับ
มันก็ไม่เหมือนกับเรื่องรถซะทีเดียว เพราะกฏหมายจราจรสากลนั้นยังไม่มี
แต่สัตว์ป่าสงวน ถือเป็นทรัพยากรของโลก ของประเทศ ของทุกคน จึงจำเป็นต้องมีกฏหมายคุ้มครอง และองค์กรระดับโลกจึงให้ความคุ้มครอง
ง่ายๆ แค่ปลาเสือตอตอนนี้ทางเขมรเองยังเข้มงวดในการจับมาขายเลยครับ
สรุปคือ นานาจิตตังครับ ใครจะสบายใจที่ครอบครองอย่างถูกต้อง ก็อาจได้ดูไว้เป็นแนวทางในการพิจารณาต่อไปครับ
ต้องขออภัยหากทำให้ใครอาจเสียผลประโยชน์นะครับ ผมแค่แชร์ในสิ่งที่ผมพอรู้มาเท่านั้นครับ
โดย: 88Arowana
[27 ม.ค. 55 9:19] ( IP A:125.24.227.242 X: )
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน