arowana-club.pantown.com
สาระน่ารู้ <<
กลับไปหน้าแรก
กรองชีวภาพคืออะไร....(ในนี้มีคำตอบ)
กรองชีวภาพคือ ระบบการบำบัดน้ำ ที่เราสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นที่อยู่ของเเบททีเรีย ที่เป็นเเบททีเรียที่ไม่เป็นอันตรายกับปลาของเรา เเบททีเรีย ตัวดีนี้จะทำให้ตู้ปลาของเรา ลดความเป็นพิษจาก สิ่งสรกปรกจาก อาหาร ขี้ปลา ให้เปลี่ยนรูปเเบบ เป็นรูปเเบบที่เป็นพิษน้อยมากๆได้
โดย: ออก้า [20 มิ.ย. 53 9:33] ( IP A:61.7.185.228 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
จะให้ บอกเเบบ วิชาการเลย จะงงๆหน่อยนะครับ เเต่ถ้าอ่านหลายๆรอบเเล้ว จะเข้าใจได้มากขึ้นเยอะครับ
จัดไปครับ.......
หากเราแรกเริ่มจากตัวสิ่งมีชีวิต หรือ ก็คือ ปลา ที่เราเลี้ยง ตลอดจนถึงอาหารที่เราให้ปลา สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะประกอบไปด้วย โปรตีน ซึ่งโปรตีนเอง จะมีส่วนประกอบเป็นกรดอะมิโนหลาย ๆ ชนิดต่อกัน ในกรดอะมิโนเหล่านี้เอง มีส่วนประกอบสำคัญคือ
"หมู่ อะมิโน"( Amino Group = NH2- )ที่ประกอบไปด้วยไนโตรเจน ( N )
เมื่อสิ่งมีชีวิต ทำการย่อยสลายโปรตีน และนำกรดอะมิโนไปย่อยสลาย และนำไปใช้แล้ว กรดอะมิโนส่วนเกิน รวมถึง ไนโตรเจนที่เหลือค้างจากกรดอะมิโนที่ถูกย่อยสลายไป จะถูกจับรวมกับออกมาเป็น ยูเรีย ( Urea = NH2-CO-NH2) และยูเรียจะถูกขับถ่ายออกมา จากร่างกายผ่านทางปัสสาวะและอุจจาระ ต่อมา ยูเรียจะเกิดปฏิกริยาทางเคมี และ ปฏิกริยาจากจุลินทรีย์ทางชีวภาพ ออกมาเป็น แอมโมเนีย ( NH3 ) แอมโมเนียในน้ำ สามารถเปลี่ยนรูปไปเป็น แอมโมเนียมไอออน ( Ammonium ion = NH4+ ) และสารประกอบอื่น ๆ ได้ ซึ่งแอมโมเนียนี้ เป็นพิษต่อปลาและสิ่งมีชีวิต การจะเปลี่ยนจากแอมโมเนียให้ลดความเป็นพิษลง จึงอาศัยกระบวนการไนตริฟิเคชั่น Nitrification ซึ่งอาศัย แบคทีเรีย 2 จำพวก คือ แบคทีเรียกลุ่มไนโตรโซโมแนส Nitrosomonas ที่เปลี่ยนแอมโมเนียเป็นไนไตรต์ ( Nitrite = NO2 ) และ แบคทีเรีย กลุ่ม ไนโตรแบคเตอร์ ( Nitrobacter sp. ) ที่เปลี่ยนจากไนไตรต์เป็นไนเตรท ( Nitrate = NO3 ) แม้ไนไตรต์เองจะมีพิษต่อสิ่งมีชีวิตน้อยลงแต่ก็ยังมีความเป็นพิษอยู่ ส่วนไนเตรตเอง มีความเป็นพิษต่ำ แต่หากมากเกินไปก็จะทำให้สิ่งมีชีวิตในระบบมีอาการเครียด และสิ่งมีชีวิตบางชนิดก็ตายได้
เมื่อเกิดไนเตรตแล้ว ตามปกติ พืชจะสามารถนำไนเตรตไปใช้เป็นปุ๋ยได้ ขณะเดียวกัน พืชก็สามารถนำไนโตรเจนชนิดอื่นเข้ามาเป็นปุ๋ยเพื่อการเจริญเติบโตได้เช่นกัน และพืชเอง กลับชอบที่จะใช้แอมโมเนียมากกว่าไนเตรตเสียอีก แต่ความจำกัดในธรรมชาติ เพื่อให้ความเป็นพิษในสิ่งแวดล้อมมีน้อย ร่วมกับการอยู่รอด พืชจึงสามารถใช้ไนเตรตได้เช่นเดียวกัน
หากไนเตรตไม่ถูกพืชใช้ไป หรือ มีปริมาณไนเตรตสร้างใหม่มากกว่าไนเตรตที่พืชดึงไปใช้ จะเกิดการสะสมของไนเตรต จนถึงจุด ๆ หนึ่ง ทำให้เกิดความเป็นพิษต่อระบบอีกเช่นกัน อาการเหล่านี้จะเริ่มต้นด้วยการมีตะไคร่สีแดง แพร่กระจายเต็มตู้ หรือมีสาหร่ายเจริญเติบโตเร็วขึ้นจนคุมไม่อยู่ และสีของปลาคล้ำขึ้น ปะการังที่มีการสังเคราะห์แสง จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล น้ำมีสีเขียวแกมเหลืองมากขึ้น และปลาหรือสัตว์ก้นตู้หลายชนิดเริ่มทยอยตายอย่างช้า ๆ ด้วยสาเหตุแตกต่างกัน
โดย: ออก้า [20 มิ.ย. 53 9:39] ( IP A:61.7.185.228 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
ถ้าจะให้อธิบาย เเบบ บ้านๆ ก็จะเข้าใจได้นะครับไม่งงมากครับ
จัดไปครับ....
เริ้มเเรก จาก ปลาเราที่ กินอาหารที่เราให้ไป จะย่อยจนมาเป็น ขี้ปลาเป็น
ยูเรีย ( Urea = NH2-CO-NH2)
(ยูเรีย ( Urea = NH2-CO-NH2) จะเกิดได้ไม่ใช้เเค่ จากขี้ปลาอย่างเดียวนะครับ เศษอาหารตกค้าง ซากพืชซากสัตว์ ก็ทำให้เกิด เหมือนกัน ครับ)
ต่อมา ยูเรียจะเกิดปฏิกริยาทางเคมี จนมาเป็น แอมโมเนีย(NH3)เเละแอมโมเนียมไอออน (Ammonium ion = NH4+)ตัวนี้ไม่เป็นพิษอะไรครับไม่ต้องไปจำ
ตัวปัญหาก็มีเเต่ เเอมโมเนีย NH3
การจะเปลี่ยนจากแอมโมเนียให้ลดความเป็นพิษลง จึงอาศัยกระบวนการไนตริฟิเคชั่น Nitrification ซึ่งอาศัย แบคทีเรีย 2 ชนิด เเบททีเรียตัวดี นี้เองครับ สองตัวนี้เเหละที่ เรา สร้างพื้นที่ให้มันอยู่ จากระบบกรองของเรา พวกนี้จะไปอาศัยอยู่ให้ วัสดุกรอง ของเราที่ใส่ลงไปในระบบกรองของเราครับ เเบททีเรีย2ตัวนี้จะเกิดเอง ตามธรรมชาติครับ ที่ไหนมีเเอมโมเนีย เจ้าเเบบทีเรีย2ตัวนี้จะตามมาด้วย ครับ(ถ้าไม่มีเเอมโมเนีย เเบททีเรีย2ตัวดีก็จะไม่ออกมาครับ)
ตัวที่1Nitrosomonas ที่เปลี่ยนแอมโมเนียเป็นไนไตรต์(Nitrite=NO2)
ตัวที่2Nitrobacter sp.ที่เปลี่ยนจากไนไตรต์เป็นไนเตรท(Nitrate=NO3)
ท้ายสุดก็จะเหลือเพียง ไนเตรท เป็นพิษน้อยมากๆ เเต่ถ้ามีปริมาณมากๆก็เป็นอันตรายได้นะครับ
วิธีการกำจัด เจ้า มารร้ายตัวสุดท้าย(NO3)ง่ายๆได้ก็คือ การถ่ายน้ำเติมน้ำใหม่ครับ (วิธีนี้ง่ายที่สุด นิยมที่สุด)
หรืออีกวิธีก็จะเป็น การปลูกต้นไม้น้ำ ครับ ต้นไม้น้ำจะ ดูดเอาไนไตรต์ ไปใช้ครับ เเต่ต้องปลูกปริมาณมากๆจริงๆถึงจะได้ผลดี
หวังว่าคงไม่งงนะครับ
Urea=ขี้ปลา ซากพืช ซากสัตว์ อาหารปลา
(NH3)=แอมโมเนีย
(NO2)=ไนไตรต์
(NO3)=ไนเตรท
ตอนเเรก มาจาก Urea ปลากิน ขี้เป็น NH3 เจอเเบททีเรีย2ตัวดีตัวเเรกย่อยNH3มาเป็นNO2เเล้วก็เจอเเบททีเรียตัวดีตัวที่2ย่อยNO2 ไปเป็นNO3
NO3 เจอเราถ่ายน้ำ ออกไป น้ำก็ใสปิ้ง ครับ
กระบวนการทั้งหมดจะก่อตัวขึ้น30-40วัน เเล้วเเต่ปริมาณพื้นที่วัสดุกรอง
โดย: ออก้า [20 มิ.ย. 53 10:10] ( IP A:61.7.185.228 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
ดังนั้น การเซตระบบกรอง หรือการรันน้ำ จากตู้ใหม่
จึงต้องหาปลา อะไรก็ได้มาปล่อยไวซัก1-2ตัว ให้เกิด วัฏจักรของไนโตรเจน
30-40วัน ระบบจึงเซตตัวได้เต็มที่
เเต่ถ้าบางคนรอไม่ไหวถามว่าจะลงปลาได้เลยหรือเปล่ารอไม่ไหวจะได้ไหม
ได้ครับ ไม่มีปัญหาถ้าน้ำปลอดคอรีน เเต่ระว่างการเลี้ยงปลาโดยที่ระบบกรองไม่เซตตัว ต้องดูเเลเรื่องการถ่ายน้ำเติมน้ำอย่างมีระเบียบวินัยครับ
ต้องถ่ายน้ำ บ่อยๆถี่ๆ เว้นระยะเวลาได้น้อย น้ำก็จะดูไม่ใส่ปิ้งซักเท่าไหร
เเต่ เมื่อถึงจุดนึงเเล้ว ระบบก็จะเข้าที่เองครับ
โดย: ออก้า [20 มิ.ย. 53 10:16] ( IP A:61.7.185.228 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
การเซตระบบกรองตู้ใหม่ ส่วนตัวผมนะครับ
ส่วนมากผม จะใช้ปลาตะเพียน ตัวเล็กๆซัก2ตัว ให้อาหารทุกวันนะครับ เปลี่ยนถ่ายน้ำ ตามปกตินะครับ ซัก2วัน ปลาตะเพียนไม่เป็นอะไร ผมก็ลงปลามังกรของเราเลย เเล้วก็ ถ่ายน้ำตามปกติ เเต่ช่วงเเรกๆผมจะถ่ายน้ำ วันเว้นวันครั้งละ5-10เปอร์เซน ซัก1เดือน ผมก็จะ ยืดการถ่ายน้ำไปเป็น อาทิตย์ละ1ครั้ง ครั้งละ20-30เปอร์เซน ครับ น้ำใสปิ้ง ^ ^
โดย: ออก้า [20 มิ.ย. 53 10:22] ( IP A:61.7.185.228 X: )
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน