อยากให้เพื่อนสมาชิก Aroclub Pantown รู้จักกับ Hyper Jumping
   ปลาอโรวาน่ากับ “การกระโดด” ถือเป็นของคู่กันที่เราเหล่าผู้เลี้ยงมักจะเห็นอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นกระโดดกินเหยื่อ กระโดดเพราะตื่นตกใจ กระโดดเพราะเล่นหรือฟัดกับ Tank Mate และอื่นๆ ซึ่งการกระโดดเหล่านี้เราก็จะได้เห็นอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายตั้งแต่วันแรกๆ ที่ได้มาจนเขาเติบใหญ่นับถึงปัจจุบัน แต่ทว่าการกระโดดดังกล่าวข้างต้นถือเป็นการกระโดดปกติธรรมดาซึ่งจะกระโดดเพียงครั้งหรือสองครั้งเท่านั้น เรียกได้ว่าเป็นการกระโดดที่ไม่รุนแรง ดังนั้นจึงไม่ค่อยมีความเสียหายเกิดขึ้น หรือถ้าจะเกิดก็มีเพียงเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้นเอง อย่างเช่น รอยถลอก หนักหน่อยก็เกล็ดหลุด นานๆ ถึงเจอแบบขึ้นรุนแรงอย่างครีบหัก หางขาด ซึ่งก็น้อยรายที่จะโชคร้ายพบเจอ

โดย: หนุ่มไทยใจดี [26 ส.ค. 53 12:03] ( IP A:203.156.6.181 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   แต่การกระโดดของปลาอโรวาน่ามีการกระโดดชนิดหนึ่งที่ถือได้ว่ามีความรุนแรงมากที่สุด ส่งผลกระทบในด้านลบที่ก่อให้เกิดความเสียขั้นรุนแรงมากที่สุดนั่นก็คือ Hyper Jumping (ระห่ำโดด) ซึ่งครั้งหนึ่งเมื่อนานมาแล้ว เคยมีบทความเกี่ยวกับ Hyper Jumping ซึ่งให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบและผลกระทบของการกระโดดในลักษณะนี้ แต่เพื่อให้ทุกท่านได้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นอีกครั้ง วันนี้ขอเขียนกระทู้เกี่ยวกับ Hyper Jumping พร้อมภาพประกอบนะครับ

โดย: หนุ่มไทยใจดี [26 ส.ค. 53 12:04] ( IP A:203.156.6.181 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   Hyper Jumping คือการกระโดดของปลามังกรอันมีสาเหตุหลักมาจากการตกใจโดยฉับพลัน (เปลี่ยนสภาพแวดล้อม, ลบกวนตัวปลา, เปิดไฟ/ปิดไฟ ฉับพลัน, มีบางอย่างตกกระแทกตู้ และอื่นๆ) ซึ่งการตกใจนี้จะส่งผลทำให้ปลาอโรวาน่ากระโดดอย่างรุนแรงและไม่เป็นทิศเป็นทางในลักษณะพุ่งขึ้นต่อเนื่องกันหลายครั้ง (ปกติประมาณ 10 ครั้ง เสียงน้ำกระจาย เสียงชนคาน ชนฝา ชนตู้โครมครามจนผู้เลี้ยงตกใจแทบจะทำอะไรไม่ถูก) โดยในช่วงที่ปลากระโดดเหมือนเขาจะไม่รู้สึกเจ็บ เขายังกระโดดได้ต่อเนื่องเรื่อยๆ เมื่อเหนื่อยแล้วจึงหยุด (ช่วงที่หยุดปลาจะลอยคอ และหอบ) อย่างไรก็ตามในขณะที่หยุดนั้น หากเราเข้าไปใกล้ๆ หรือมีเหตุการณ์อื่นที่ทำให้ตัวปลาตกใจต่อเนื่อง เขาจะกระโดดในลักษณะเดิมอีก ผมอธิบายเพื่อให้เพื่อผู้อ่านเห็นภาพ แต่สำหรับท่านใดที่เคยเจอมาแล้ว แน่นอนว่าต้องจำภาพนั้นได้เป็นอย่างดี

โดย: หนุ่มไทยใจดี [26 ส.ค. 53 12:05] ( IP A:203.156.6.181 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   และเนื่องจาก Hyper Jumper เป็นกระโดดพุ่งขึ้นที่รุนแรง ไม่เป็นทิศเป็นทาง และกระโดดอย่างต่อเนื่องหลายครั้ง ดังนั้นผลกระทบที่ได้รับก็คือ... ความเสียหายของตัวปลาขั้นรุนแรงแบบที่เจ้าของปลาไม่อยากรับรู้ ไม่อยากเห็น และไม่อยากมอง

Hyper Jumping ทำให้ปลาอโรวาน่าหลายๆ ตัวต้องหน้าแหก ปากแตก เกล็ดถลอก เกล็ดหลุด มีริ้วรอยเต็มตัว เต็มหน้า สภาพบอบช้ำยับเยินเกือบจำไม่ได้

Hyper Jumping ทำให้ปลาอโรวาน่าหลายๆ ตัวต้องหนวดขาด ครีบเดาะ ครีบหัก หางขาด และเสียศูนย์ เสียการทรงตัว รวมถึงการเป็นปลาที่มีอาการตื่นกลัวยาวนาน (กว่าจะหายต้องเยียวยาใจกันนานเป็นเดือน)

Hyper Jumping ทำให้ปลาอโรวาน่าหลายๆ ตัวต้องได้รับเสียหายรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต (จากการแทกที่ให้กระดูกสันหลังหัก โดยปลาจะเสียการทรงตัวในช่วงแรก หลังโค้งงอ และลอยน้ำ ก่อนจะค่อยๆ หงายท้องแล้วเสียชีวิต)

ทั้งนี้ทั้งหมดแล้วก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการกระโดด ขนาดของตัวปลา จำนวนครั้งที่กระโดด และ วัตถุที่ตัวปลากระทบกระแทก

โดย: หนุ่มไทยใจดี [26 ส.ค. 53 12:06] ( IP A:203.156.6.181 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   แม้ Hyper Jumping จะเป็นอาการที่เกิดไม่บ่อย เรียกได้ว่าพบเห็นน้อย แต่ก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับปลาทุกตัว ทุกขนาด (ไม่ว่าจะปลาเล็ก หรือปลาใหญ่) และทุกสายพันธุ์ แล้วก็ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นกับเราตอนไหน ? หรือเมื่อไหร่ ? ดังนั้นสิ่งที่พอทำได้คือการลดโอกาสที่จะเกิดความรุนแรงในการกระทบกระแทก นั่นคือ

- การลดระดับน้ำเลี้ยงภายในตู้ที่มาตรฐานขั้นต่ำควรห่างอย่างน้อย 4 นิ้ว

- การห่อหุ้มคานกระจกด้วยแผ่นโฟม รวมถึงการห่อหุ้มสันกระจกด้วยสายยาง หรือท่อแอร์

- ลดการกระทำที่อาจจะส่งผลทำให้ตัวปลาตกใจ เช่น การปิด/เปิดไฟโดยฉับพลัน, การกระแทกตู้ปลาอย่างรุนแรง ฯลฯ

ทั้งหมดนี้แม้ไม่สามารถช่วยให้ไม่เกิด Hyper Jumping ได้ แต่อย่างน้อยก็ช่วยลดความรุนแรงได้ แล้วก็ช่วยลดได้มาก ส่วนตัวมั่นใจว่าหากเราเตรียมการไว้แบบนี้แล้ว ความเสียที่เกิดขึ้นจากการ “ระห่ำโดด” นี้... เต็มที่ก็แค่รอยถลอก หรือเพียงเกล็ดหลุดเท่านั้น ซึ่งใช้เวลาไม่นานในการเยียวยา ก็ขอฝากไว้เป็นข้อมูลสำหรับเพื่อนสมาชิก Arowana Club Pantown ทุกท่านด้วยนะครับ smile

โดย: หนุ่มไทยใจดี [26 ส.ค. 53 12:07] ( IP A:203.156.6.181 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   ผมเคยมีตัวนึง...ต้องเปิดไฟไว้ตลอด ไฟดับ จะโดดทันที ไม่หยุด

จับไปลงบ่อ...ฟาปิด 2ชั้น อย่างแน่นหนา

ผ่านไปไม่กี่วัน....มันแอบกระโดด ตอนกลางคืน จนทะลุ ฝาปิด ออกมาตากแห้ง
โดย: ก๊อก.pantown [26 ส.ค. 53 12:24] ( IP A:210.1.59.38 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   เห็นแล้วเสียวแทนจัง.....ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ....

โดย: indara_arowana [26 ส.ค. 53 12:36] ( IP A:125.25.208.209 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   เห็นแผลแล้วคงแทบร้องเลย ถ้าเป็นปลาผมนะ ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
โดย: แบ้งค์เขาใหญ่ [26 ส.ค. 53 12:49] ( IP A:117.47.103.35 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ
โดย: มีท [26 ส.ค. 53 12:51] ( IP A:125.26.13.31 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   สภาพยังงี้เรียกว่า ปลาโดดกระชากมิติ ได้มั้ยครับเนี่ย ขอบคุณสำหรับความรู้ และข้อเตือนใจดีๆครับ
โดย: เก่ง คลองสาม [26 ส.ค. 53 12:56] ( IP A:124.122.227.166 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   อุณหภูมิน้ำเปลี่ยนฉับพลัน ก็เป็นสาเหตุเหมือนกันครับตัวที่บ้านเคยเป็น
โดย: <0> [26 ส.ค. 53 13:07] ( IP A:124.120.156.74 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   ขอบคุณครับ นำภาพและความรู้มาให้ชม

ของผมเมื่อคืนก็โดดเอาซะหนวดหายไปข้าง เลยไม่อยากหันไปมองเลยครับ เพราะความขยันไม่เข้าเรื่อง เอาไม้บรรทัดไปวัดความสูงของกรองข้างตู้

ว่าแต่มังกรที่แขนเจ้าของกระทู้ ไม่เคยโดนแฟนข่วนบ้างเลยหรือครับ 555
โดย: ภูรัตน์ [26 ส.ค. 53 13:48] ( IP A:125.25.238.216 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   ของผมก็เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้กับปลามังกรเขียว ขนาดประมาณ 15 นิ้ว ผมสัณนิฐานว่าน่าจะเกิดมาจากแสงสะท้อนของแดดที่ส่องลงมาที่รถยนต์ที่วิ่งผ่านหน้าร้าน แล้วสะท้อนเข้าที่ปลา ทำให้ปลาเกิดตกใจครับ สุดท้ายก็คือ หลังหัก งอเป็นตัวเอสเลยครับ พยายามใส่ยาช่วยแล้ว และอีกประมาณ 10 วันก็เสียชีวิต เพราะฉะนั้นสมาชิกท่านใดเลี้ยงปลาแถวหน้าร้าน หรือมีแสงสะท้อนแบบนี้ ก็ควรจะป้องกันไว้ก่อนน่ะครับ (ปลอดภัยไว้ก่อน)
โดย: Atheptecha [26 ส.ค. 53 14:18] ( IP A:180.183.147.99 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   สุดจะบรรยายเลยครับ อภิมหาเยิน

ขอบคุณครับ ทั้งภาพและเรื่องราว
โดย: Tong [26 ส.ค. 53 14:58] ( IP A:113.53.58.109 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   ของผมก็โดดครับ โดดๆๆๆๆๆๆๆๆ

โดดจนผมมีความรู้สึก ท้อแท้ และเริ่มหมดกำลังใจ ในการเลี้ยงเลยครับ

แต่ทุกสิ่งทุกอย่าง ก็ดีขื้นครับ ถ้าเราได้รู้สาเหตุ และกำลังใจ จาก

พี่ๆ ในบ้านหลังนี้

ปล. ปลามังกร เป็นปลาที่ยากที่จะเข้าใจ ถ้าจะให้เข้าใจ ต้องใช้เวลา

ประสบการณ์ และ การสังเกตุ
โดย: เกณฑ์คลองลาน [26 ส.ค. 53 15:44] ( IP A:125.25.213.186 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
   อะไรจะสะบักสะบอมขนาดนั้น เจ็บแทน
โดย: golf_oo [26 ส.ค. 53 16:50] ( IP A:124.157.238.56 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
   ขอบคุณมากๆครับๆ น่ากลัวจริงๆ

-ทุกๆครั้งที่ผมจะปิดไฟ/เปิดไฟ ผมจะดูตำแหน่งของปลาก่อนตลอด ว่าว่ายมาสนใจเราหรือยัง ถ้ากำลังเพลินๆ ว่ายไปเรื่อยเปือย ก็จะรอให้เขาว่ายมาเห็นเราเข้าก็จะได้ใจจดใจจ่อว่า เจ้าของมาแล้ว เตรียมตัวเจออะไรบางอย่างได้เลย พอเปิด หรือ ปิดไฟปลาก็จะไม่ตกใจ แต่อาจจะมีสะดุ้งเล็กน้อย
โดย: Bassie_Gar [26 ส.ค. 53 17:32] ( IP A:124.122.1.217 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
   ขอผมก็พึ่งเป็นครับ

กลัวการจุดเทียนกระโดดจนปัจจุบันนี้เกือบ3อาทิตย์แล้วยังมีอาการตกใจง่ายอยู่เลย

ไม่รู้จะแก้ไงดีเด๋วนี้เดินผ่านก็กระโดดละเซ็งขนาดมีฟิวเจอร์บอร์ดปิดแล้วเดินผ่านยังกระโดดเลยเซ้งเป็ดเลยครับ
โดย: แชมป์ รังสิต [26 ส.ค. 53 17:35] ( IP A:58.8.89.179 X: )
ความคิดเห็นที่ 21
   ขอบคุณมากๆครับ น่ากลัวจริงๆ
โดย: ตั้ม สิงห์บุรี [26 ส.ค. 53 21:50] ( IP A:180.180.14.176 X: )
ความคิดเห็นที่ 23
   โดดเหมือนกัน แค่นี้ก็ใจหายแล้วครับ

โดย: สิทธิ์สามมุข [27 ส.ค. 53 9:42] ( IP A:222.123.125.233 X: )
ความคิดเห็นที่ 24
   ขอบคุณสำหรับกระทู้ครับ
โดย: Maxim [27 ส.ค. 53 18:59] ( IP A:58.10.74.29 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน