เสริมรายละเอียดกรองบนในกระทู้กรองรูปแบบต่างๆ
   มาทำความรู้จักกรองบนกันครับ

สำหรับกรองบนตู้นั้น ลักษณะการทำงานมีด้วยกันสองแบบ คือแบบ WET หรือเปียก กับแบบ Dry หรือแบบแห้ง

โดยทั้งสองแบบมีทั้งข้อดีและข้อเสียครับ ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน

กรองบน เป็นระบบกรองที่เหมาะสำหรับเลี้ยงปลาไม่หนาแน่นครับ เนื่องจากข้อจำกัดในการรับน้ำหนัก เพราะต้องวางกรองไำว้บนตู้ เป็นการเพิ่มภาระให้กับตู้ปลาครับ ยิ่งตู้มีขนาดใหญ่ ตู้กรองบนก็ต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับตู้เลี้ยงครับ

ในรูปเป็นกรองบนขนาดเล็ก เหมาะสำหรับตู้ขนาดไม่เกิน 30 นิ้วครับ

โดย: TM69 [26 มิ.ย. 53 23:37] ( IP A:61.90.30.169 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   โดยหลักการทำงานนั้นไม่ต่างจากระบบกรองชีวภาพแบบอื่นๆ คือการให้แบคทีเรียดีช่วยสลายของเสีย แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของกรองบนกับปริมาณปลาภายในตู้ ซึ่งในส่วนนี้คือของเสียของระบบกรองบน หรือเรียกว่า ข้อจำกัดก็ได้ครับ เพราะขนาดของกรองบน + วัสดุกรองนั้น ต้องไม่หนักจนกลายเป็นภาระของตู้ เพราะอาจจะเกิดอันตรายได้

ที่นี้เรามาดูการทำงานของระบบกรองแบบนี้กันครับ เริ่มจาก แบบ Wet กันก่อน ระบบWetนี้พูดง่ายๆก็เหมือนหลักการของกรองล่างทั่วไป คือน้ำต้องท่วมวัสดุกรอง เพื่อให้แบคทีเรียสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ แต่กรองบนแบบนี้น้ำหนักจะมาก การวางควรเสริมคานตู้เพื่อให้สามารถรับน้ำหนักได้เพิ่มขึ้น ถือได้ว่าเป็นข้อจำกัดที่สำคัญ เพราะต้องคำนวณวัสดุกรองที่จะใส่ + น้ำหนักของน้ำที่ท่วมให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้ตู้หลักของเรารับน้ำหนักมากเกินไป ส่งผลเสียทำให้เราใส่วัสดุกรองลงไปได้น้อย ปริมาณปลาในตู้จึงต้องไม่หนาแน่น ถ้าใครชอบเลี้ยงปลาเยอะๆ ก็ถือว่ากรองแบบนี้ไม่ค่อยเหมาะสมกับท่านครับ

ขออนุญาติเจ้าของรูปครับ

โดย: TM69 [26 มิ.ย. 53 23:37] ( IP A:61.90.30.169 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ลักษณะัช่องกรองรวมถึง การเรียงวัสดุกรองไม่ต่างจากระบบกรองล่างแต่อย่างใด แต่ด้วยข้อจำกัดเรื่องน้ำหนัก ทำให้คนนิยมระบบกรองล่างกันมาก เพราะสามารถใส่วัสดุกรองได้มากเท่าที่ต้องการ ทำตู้กรองล่างให้มีขนาดใหญ่ได้ เพราะตู้หลักไม่ต้องรับภาระแต่อย่างใด

โดย: TM69 [26 มิ.ย. 53 23:38] ( IP A:61.90.30.169 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ขออนุญาติใช้รูปกรองบนของพี่เมนะครับ จะเห็นได้ว่า ระบบนี้น้ำจะท่วมวัสดุกรองทั้งหมด ทำให้ตู้กรองบนมีน้ำหนักมาก ถ้าวางไม่ดีหรือมีน้ำหนักมากเกินไป ตู้หลักอาจจะเสียหายได้ อันตรายครับ

โดย: TM69 [26 มิ.ย. 53 23:38] ( IP A:61.90.30.169 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   สำหรับช่องกรองและการจัดวางวัสดุกรอง นั้นขึ้นอยู่กับเจ้าของที่จะนำไปดัดแปลง ให้เหมาะสมกับตู้ของท่านเองทั้งนี้ ต้องดูที่ปริมาณปลาภายในตู้ด้วยครับ

โดย: TM69 [26 มิ.ย. 53 23:39] ( IP A:61.90.30.169 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   ถ้าปลาไม่มาก การให้อาหารไม่หนักมือ เปลี่ยนถ่ายน้ำสม่ำเสมอ ถือว่ากรองชนิดนี้ทำงานได้ดี ค่าของเสียไม่ขึ้นครับ การกำจัดเศษอาหารและขี้ปลาขึ้นอยู่กับการจัดกระแสน้ำภายในตู้

โดย: TM69 [26 มิ.ย. 53 23:39] ( IP A:61.90.30.169 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   มาดูแบบที่สองกันบ้าง แบบนี้เรียกว่าระบบ Dry คือ การปล่อยให้น้ำไหลผ่านวัสดุกรอง โดยน้ำไม่ท่วมวัสดุกรองนะครับ ทำให้เราสามารถใส่วัสดุกรองเพิ่มลงไปได้ เพื่อให้แบคทีเรียมีที่อยู่มากขึ้น

โดย: TM69 [26 มิ.ย. 53 23:41] ( IP A:61.90.30.169 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   หลักการทำงานก็ไม่ต่้างจากแบบแรกเท่าไหร่ครับ ที่สำคัญคือการกระจายน้ำให้ทั่วถึงวัสดุกรองทั้งหมด จึงควรทำเป็นสเปรย์บาร์ เพื่อกระจายน้ำให้ทั่ว

ข้อแนะนำ วัสดุกรองควรใส่เป็นหินพัมมิส , เซรามิกริงค์รูพรุน ,อื่นๆ แต่ไม่ต้องใส่ไบโอบอลครับ เพื่อให้แบคทีเรียมีที่อยู่มากที่สุด

ข้ออนุญาติพี่เจ้าของรูปและตู้นี้นะครับ ผมเซฟไว้นานแล้ว

โดย: TM69 [26 มิ.ย. 53 23:41] ( IP A:61.90.30.169 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   สรุปนะครับ
ระบบกรองทุกชนิด ถ้าเราทำความเข้าใจถึง คุณสมบัติการใช้งานแล้วนั้น เราสามารถใช้งานและทำประโยชน์ได้สูงสุดครับ ทุกชนิดมีทั้งข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน และตัวผู้ใช้ครับ ว่าใช้อย่างเหมาะสมหรือไม่

ข้ออนุญาติเจ้าของรูปครับ

โดย: TM69 [26 มิ.ย. 53 23:42] ( IP A:61.90.30.169 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   ค่อยๆศึกษา ทำความเข้าใจ ประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม เราก็จะสามารถเลือกใช้สิ่งต่างๆได้อย่างเหมาะสมครับ

โดย: TM69 [26 มิ.ย. 53 23:42] ( IP A:61.90.30.169 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน