onninn.pantown.com
บทความดีๆ <<
กลับไปหน้าแรก
#พูดอย่างไรเพื่อเปิดใจลูก...ให้ลูกเชื่อฟังและไว้วางใจเรา
#พูดอย่างไรเพื่อเปิดใจลูก...ให้ลูกเชื่อฟังและไว้วางใจเรา
วันก่อนหมอเล่าเรื่องของผลจากการพูดจารุนแรงกับเด็กจะทำให้เด็กเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าและมีพฤติกรรมก้าวร้าวได้ ก็มีหลายคนสนใจว่าแล้วถ้าไม่พูดแรงๆ จะพูดนุ่มๆบางทีลุกก็ไม่สนใจ ไม่เชื่อฟัง แล้วจะให้พูดแบบไหน...
วันนี้หมออยากจะแนะนำเทคนิคในการพูดอย่างไรในการโน้มน้าวใจให้ลูกฟังและพร้อมจะเปิดใจกับเราค่ะ
1.อย่างแรกคือสร้างบรรยากาศที่ดีในการพูดคุยกัน ลองนึกดูเวลาที่เรากำลังโกรธ อารมณ์เราก็แรง เวลาที่พูดเสียงก็ดัง ลูกอาจจะฟังแต่ฟังด้วยความกลัวบ้าง โกรธบ้าง บางทีลูกก็พูดแรงกลับมา สรุป คุยกันไม่รู้เรื่อง ดังนั้นเวลาที่เราโกรธหรือลูกโกรธ ให้เวลาตัวเองและลูกสักพัก ให้เย็นลงก่อน แล้วค่อยๆคุยกัน
2.ก่อนบอกความต้องการของเรา อย่าลืมรับฟังลูก แสดงให้เขาเห็นว่าเราเข้าใจ เอาใจใส่เขา หมอจะยกตัวอย่างกรณีสมมติ เช่น ครูดทรมาบอกแม่ว่าลูกตีเพื่อนที่โรงเรียน แม่รู้สึกตกใจ โกรธ แต่พยายามระงับอารมณ์ และคุยกับลูกว่า บอกลูกว่า "แม่ได้ยินมาว่าลูกตีเพื่อนที่โรงเรียน แม่อยากฟังจากลูกด้วยว่าเกิดอะไรขึ้น" แล้วให้เขาเล่าเรื่องให้เราฟัง ช่วงที่เด็กเล่าเรื่อง แม้ว่าเราอยากแสดงความเห็นก็อย่าเพิ่งไปแทรกหรือขัด บางทีจะทำให้เด็กหยุดพูดไปเลย เพราะรู้สึกว่าแม่ก็มีธงของแม่ในใจแล้ว
เช่น ลูกเล่าว่า "เพื่อนเค้ามาว่าลูกว่าไอ้หน้าจืด ไอ้เหยิน ลูกก็เลย..."
แล้วแม่ก็ขัดว่า "อ๋อ ลูกเลยไปตีเค้า ทำไมล่ะลูก แม่บอกแล้วว่าไม่ให้ใช้ความรุนแรง เฮ่อ เค้าจะว่าก็ช่างเค้าสิ"
ลองนึกถึงใจเราว่า ถ้าเราเป็นลูกแล้วแม่พูดแบบนี้ แม้ว่าจะเหมือนกับแม่หวังดี แต่ลูกก็จะรู้สึกว่า ทำมั้ย ทำไม แม่ช่างไม่เข้าใจเขาเลย แทนที่จะขัด ให้เราอดทนฟัง ใช้เทคนิค พยักหน้ารับ พูดแสดงความสนใจเป็นคำสั้นๆ เช่น "อืม...จ้ะ...แล้วยังไงต่อลูก..."
3.ช่วงที่ลูกเล่าให้เราฟัง แม้ว่าเราอาจจะไม่เห็นด้วย หรืออยากแนะนำอะไรใจจะขาด ให้อดทนฟังลูกก่อน เทคนิคอีกอย่าง ที่ทำให้เด็กรู้สึกว่าเราเข้าใจเขา และทำให้เขาอยากพูดเล่ามากขึ้นๆ ก็คือ หลักการสะท้อนอารมณ์และความรู้สึก
เช่น ลูกเล่าว่า "เพื่อนเค้ามาว่าลูกว่าไอ้หน้าจืด ไอ้เหยิน ลูกก็เลยตีไปทีหนึ่ง ดันร้องไห้ไปฟ้องครู ทั้งที่เค้ามาว่าลูกก่อน ครูหาว่าลูกตีเพื่อน"
ช่วงนี้เราก็พูดสะท้อนอารมณ์ลูก เช่น "ลูกคงจะโกรธและไม่ชอบใจที่เพื่อนมาว่าลูกแรงๆแบบนั้น"
ลูกก็จะรู้สึกว่าเราเข้าใจเขา พยายามเลือกคำพูดสะท้อนอารมณ์ที่ตรงใจลูก เทคนิคนี้จะช่วยเราเปิดใจลูกได้มากเลยค่ะ เค้าก็จะเล่าอะไรให้เราฟังมากขึ้นเพราะรู้สึกว่าเล่าแล้วมีคนฟัง มีคนเข้าใจ
3.เวลาที่พูดกับลูกเพื่อสื่อสารความต้องการและความรู้สึก พยายามใช้หลักการที่เรียกว่า "I" message คือ การบอกความต้องการ ความรู้สึกของตัวเองที่เกิดขึ้น ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าสามารถสื่อสารความต้องการของเราออกไปได้ตรงไปตรงมาที่สุด ยกตัวอย่างเช่น "แม่ได้ยินเรื่องนี้แล้วรู้สึกเป็นห่วงลูก แม่อยากช่วยกันคิดกับลูกว่า คราวหน้าถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก ลูกจะทำอย่างไร"
4.แม้ว่าเราจะมี"ธง"ในใจว่าเราอยากให้ลูกทำแบบนั้น แบบนี้ พยายามให้เด็กลองหาคิดวิธีแก้ไขก่อน การบอกให้ทำแบบนั้นแบบนี้ อย่างไรก็สู้แรงจูงใจที่เกิดจากการตัดสินใจร่วมกันไม่ได้ การพูดคุยให้ไตร่ตรองในเวลาที่อารมณ์สงบจะทำให้เขานิ่งและเห็นถึงผลดีและผลเสียของการกระทำตัวเองได้มากขึ้น แล้วเราก็ค่อยๆชี้แนะ บางทีอาจลองให้เขาเรียนรู้ด้วยตัวเองบ้าง สุดท้ายเขาก็อาจจะรู้ว่า "เออ จริงๆที่ลูกตีเพื่อนไป มันก็ไม่ได้ทำให้เค้าหยุดว่าลูก บางทีบอกเค้าดีๆว่า ลูกไม่ชอบให้เพื่อนมาว่าลูกแบบนี้ ก็อาจจะได้ผลมั้ยแม่ เดี๋ยวลูกจะลองดูนะแม่"
ลองดูนะคะ
โดย: เจ้าบ้าน
[20 ก.ย. 56 1:37] ( IP A:61.90.125.234 X: )
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม
ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :
แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้
(ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน