เมื่อลูกเล็กต้องจากพ่อแม่ ไปเรียน
   หากคุณแม่จะลองสังเกต ช่วงวัยน้อง1-3ขวบ. น้องจะติดหนึบคุณแม่มากเป็นพิเศษ ไปไหนไปด้วย. เข้าห้องน้ำก็ขอนั่งรอหน้าห้องน้ำ (ถ้าทำได้ขอรอในห้องน้ำ^^. ) เกาะแขน. เกาะขาติดหนึบ มิไยที่คุณพ่อ คุณแม่จะบอกว่าไม่ต้องกลัว ไม่มีอะไร. อย่างไรก็ตาม ยังคงแก้ความกลัวตรงนี้ไม่ได้ ยังคงขอติดตามคุณแม่ เกาะตัวกันไปได้ถ้าทำได้^^..

______________________________
ในความเป็นจริง สิ่งที่เกิดขึ้น คือ พัฒนาการของเด็ก "Seperation anxiety". ความกังวลในการพลัดพราก. เนื่องจากเด็กวัยนี้ มีการพัฒนากล้ามเนื้อแขนขา สามารถเดินเองได้แล้ว และมีความสนใจอยากสำรวจโลกภายนอกมากขึ้น จะเดินไปไกลออกจากแม่ได้มากขึ้น. ธรรมชาติจึงได้สร้างความกังวลตัวนี้ขึ้นมา- Seperation anxiety. เพื่อให้เด็ก. เมื่อเดินไปไกลเกินไปแล้ว ไม่เห็นแม่ จะกลับมาหาแม่ เพื่อป้องกันอันตรายจากการที่เด็กจะเดินไกลออกไป จนลืมแม่และไม่กลับมา...

ดังนั้น คุณแม่ที่มีน้องในวัยนี้1-3ขวบ. และคุณแม่ที่พาน้องเล็กเริ่มเข้าโรงเรียน ควรได้เข้าใจธรรมชาติในเรื่องนี้ และช่วยกันฝึก พัฒนา พาน้องผ่านข้ามขั้นพัฒนาการเรื่องนี้ไปได้ด้วยกัน ด้วยการสร้างความมั่นใจ กำลังใจให้กับลูก ...

.เริ่มตอนเล็ก ด้วยการ" เล่นจ๊ะเอ๋" กับลูกบ่อยๆ
เมื่อหน้าแม่หายไป แล้ว..หน้าของแม่ก็จะกลับมาอีก ..ไม่หายไปไหน
เมื่อหน้าแม่หายไป แล้ว..หน้าของแม่ก็จะกลับมาอีก ..ไม่หายไปไหน
ทำแบบนี้ซ้ำๆบ่อยๆ เพื่อให้น้องเกิดการเรียนรู้ และความมั่นใจว่า
แม่ไม่อยู่ เดี๋ยวแม่ก็มา ..แม่ยังคงอยู่ที่นี่....ไม่หายไปไหน...

"การเล่นซ่อนของไว้ในถุง "(ซ่อนให้หาเจอนะคะ^^)
สิ่งของหายไป ..และ.. สิ่งของก็กลับมา..ไม่หายไปไหน
สิ่งของหายไป ..และ.. สิ่งของก็กลับมา..ไม่หายไปไหน
ทำแบบนี้ซ้ำๆบ่อยๆ เพื่อให้น้องเกิดการเรียนรู้ และความมั่นใจว่า
สิ่งของไม่อยู่ เดี๋ยวสิ่งของก็มา ..สิ่งของยังคงอยู่ที่นี่.. ไม่หายไปไหน...
-------------------

และเมื่อถึงวัยที่น้องจะต้องเข้ารร.อนุบาล จะเป็นวัยที่เด็กกำลังรู้สึกกังวลต่อการแยกจากอย่างรุนแรงสูงที่สุด การปฏิบัติตัวของพ่อแม่ที่ถูกต้องจะช่วยให้ลูกรับมือ และลดความกังวลนี้ได้
อีกทั้งยังช่วยเตรียมลูกให้ไปโรงเรียนได้ดี

โดย..

สิ่งที่ไม่ควรทำกับเด็ก. เป็นอย่างยิ่ง คือ
1. ห้ามแอบหนีหาย ไม่แกล้งแอบซ่อน ไม่แกล้งหลบ
ถ้าแม่เป็นนินจา แว่บหาย เดี๋ยวผลุบเดี๋ยวโผล่ เด็กจะยิ่งจับจ้องแม่ไว้


เมื่อแม่ต้องแยกจากเด็ก ก็ให้เดินจากไปให้เด็กเห็น ...
จากกันด้วยรอยยิ้ม....
ความมั่นใจของแม่. จะลดความกังวลของลูกลง ...


เวลาพาลูกมาส่งให้คุณครูก็ให้พามาส่งอย่างสงบ... ยิ้มให้ ...จากกันอย่างมีความสุข
บอกลูกว่า "แม่รักลูกนะ อยู่โรงเรียนกับคุณครูให้สนุก เดี๋ยวเย็นนี้ เราเจอกัน"
แล้วจากไปโดยไม่ละล้าละลัง


หากแม่ไม่มั่นใจ ...
มีสีหน้ากังวล ...
รู้สึกพะว้าพะวัง ...
เดินไปด้วยท่าทีละล้าละลัง คอยหันมามอง
จะยิ่งทำให้เด็กกังวล....และร้องมาก ดังและนานขึ้น


หากจากกันด้วยความรู้สึกไม่ดี มีเรื่องหงุดหงิดกัน
เด็กจะคิดกังวลทั้งวันจนไม่เป็นอันเรียน


อาการนี้จะลดลง
ถ้าหากแม่ได้ปรับความเข้าใจกับลูกก่อนจะมาส่งเขาที่โรงเรียน




ในเวลาเลิกเรียน คุณแม่มาก่อนเวลาโรงเรียนเลิก
ถ้าลูกออกมาแล้วเจอแม่รออยู่ ลูกก็จะมั่นใจมากขึ้น
แม่ยังคงอยู่ ...แม่ไม่หายไปไหน...
แม่ยังคงอยู่ ...แม่ไม่หายไปไหน...

แต่ถ้าออกมาแล้วไม่เจอ เด็กจะเริ่มใจเสีย
และเป็นกังวลมากขึ้นในวันต่อๆ ไป


ดังนั้น ในสัปดาห์แรกของเด็กเล็ก ต้องมารอรับลูกก่อนเวลาเลิก
ให้ลูกออกมาแล้วเจอแม่รออยู่
ไม่ใช่ให้ลูกออกมายืนหาแม่

-----------------

2. ไม่เร้าให้เกิดความกังวล คือ ไม่ขู่ 3 เรื่องนี้กับเด็ก อย่างเด็ดขาด นั่นคือ
การขู่ว่า..
o การขู่ว่า. "แม่จะไม่รัก ถ้า......" ( อย่าเอาความรักมาต่อรอง โดยเด็ดขาด /คำพูดที่ว่า"แม่จะไม่รักหนู ถ้า..." เป็นคำพูดที่ไม่ควรใช้โดยเด็ดขาด"

o การขู่ว่า.".แม่จะทิ้งหนูไว้ตรงนี้เลย ถ้า...."
แม้ว่าเขาเองจะบอกว่า "ไม่รักแม่ ไม่อยากอยู่กับแม่ อยากไปอยู่กับคนอื่น"
แม่ก็ต้องยืนยันว่า “หนูอาจรู้สึกไม่รักตอนนี้ แต่แม่รักหนูนะ"
"หนูอาจรู้สึกไม่อยากอยู่กับแม่ตอนนี้ แต่หนูเป็นลูกแม่ต้องอยู่กับแม่”
เด็กยังอยู่ในช่วงจินตนาการ เมื่อถูกขัดใจเขาก็อาจสงสัยว่า
เขาเป็นลูกของแม่จริงหรือเปล่า


รวมถึงบางบ้านก็เล่นพิเรนทร์
แกล้งหลอกเด็กด้วยความสนุกว่า "ไม่ใช่ลูกของพ่อแม่หรอก"
ก็จะยิ่งทำให้เด็กหวั่นไหวใจ...

ดังนั้น ต้องให้เด็กรู้สึกมั่นใจในความรัก และความปลอดภัย
ได้อยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่อบอุ่น และ สงบ มั่นคง สม่ำเสมอ

o การขู่ว่า. "แม่จะตัดอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดของเขาทิ้ง "
“มือนี้วุ่นวายนัก เดี๋ยวจะตัดทิ้งเสียเลย”
เด็กในวัยนี้จะมีความกลัวต่อการถูกตัดอวัยวะ (castration fear)
ซึ่งในกรณีเด็กที่ต้องได้รับการผ่าตัด ถ้าเราไม่เตรียมเขาให้ดี เขาจะกลัวและกังวลมาก การใช้ role play จะช่วยได้มาก


o ที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ ไม่พูดให้เด็กรู้สึกกังวล หรือรู้สึกผิด
เด็กที่มีความกังวล เศร้า กลัว จะแสดงอาการต่างจากผู้ใหญ่
คือมักไม่แสดงออกตรงๆ แต่จะมัก ซน วุ่นวาย ก้าวร้าว มากขึ้น
การสังเกตของผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดจะช่วยให้เราช่วยเหลือเด็กได้เร็ว

______________________

นอกจากนี้ สิ่งที่พ่อแม่ควรปฏิบัติเพื่อช่วยให้ลูกรับมือ และผ่านพ้นความกังวลในการแยกจาก และเตรียมลูกไปโรงเรียนได้ดีขึ้น คือ

o เล่นจ๊ะเอ๋
o เล่นซ่อนของ ซ่อนให้เด็กหาเจอ
o เล่นซ่อนหา
การเล่นเหล่านี้ เขาจะชอบมาก และอยากเล่นอีก
เด็กเข้าใจเรื่องการคงอยู่ของวัตถุ สิ่งที่มองไม่เห็นนั้น แท้จริงยังคงอยู่


o การฝึกเด็กให้ช่วยเหลือตัวเองได้
เด็กที่รู้ตัวว่าต้องพึ่งพิงการช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ในทุกเรื่อง
ย่อมมีความกังวลมากเมื่อต้องแยกจากผู้ใหญ่
ตรงกันข้ามกับเด็กที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
จะกังวลน้อย และคลายจากการกังวลได้เร็วกว่า








โดย: เจ้าบ้าน [16 ต.ค. 56 1:35] ( IP A:115.87.164.117 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน