onninn.pantown.com
บทความดีๆ <<
กลับไปหน้าแรก
ลี้ยงเด็กแบบพุทธ
ลี้ยงเด็กแบบพุทธ
พระเทพเวที (ประยุทธ ปยุตฺโต)
การเลี้ยงเด็กเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ความใกล้ชิด ความรักและความอบอุ่นจากพ่อแม่เป็นเรื่องสำคัญสำหรับเด็ก ถ้าเด็กไม่ได้สิ่งที่ว่านี้จากพ่อแม่ เด็กก็ต้องแสวงหา เมื่อไม่ได้จากทางที่ถูกต้อง ก็จะเป็นแรงสะท้อนให้เกิดผลเสียขึ้นมาได้ นี้เป็นหลักการเบื้องต้น ปัจจุบันนี้ ปัญหาอยู่ที่พ่อแม่ไม่ค่อยได้ใกล้ชิดลูก ซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐาน แล้วต่อจากนั้นก็เกิดเป็นปัญหาอื่น ๆ ขยายตัวออกไป
พ่อแม่นั้น ตามหลักพระศาสนา เรียกว่า บุพพาจารย์ คือเป็นอาจารย์คนแรกหรืออาจารย์ต้น ถ้าเด็กได้รับความพึงพอใจจากพ่อแม่ดีแล้ว เด็กก็ไม่มีปัญหา ไม่ต้องหาสิ่งชดเชย แกก็จะมีความเต็มอิ่มสมบูรณ์ การเจริญเติบโตก็ดีขึ้นด้วย
แต่เวลานี้พ่อแม่โดยมากปัดภาระรับผิดชอบไปให้ครู ครูเองก็มีปัญหามาก ไม่สามารถจะมาใกล้ชิดเอาใจใส่กับเด็กมากนักทำให้เกิดปัญหาว่าทางบ้านก็ไม่ได้ผลดี มาโรงเรียนก็ไม่ได้ผลดีอีก ก็เลยอยู่ในยุคของการปัดความรับผิดชอบ เพราะครูเองก็ปัดให้พ่อแม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ทุกฝ่ายความรับผิดชอบในส่วนของตัว
พ่อแม่คงหนีไม่พ้นในฐานะของผู้ให้กำเนิดมีหน้าที่รับผิดชอบเอาใจใส่ดูแลลูกให้ได้รับความรักความอบอุ่น พร้อมทั้งสติปัญญา ซึ่งต้องเริ่มให้กันแต่เด็ก ๆ เพื่อให้เด็กรู้จักคิดเป็น รู้จักพิจารณา รู้จักใช้ปัญญา จึงจะเป็นการเจริญงอกงามด้วยดี "เมตตา" อย่างเดียวนั้นไม่พอในการเลี้ยงดูเด็ก ตามหลักพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงให้คุณธรรมข้อ "อุเบกขา" แก่ผู้ใหญ่ไว้ด้วย เพื่อให้ฝึกฝนเด็กได้รู้จักคิดและรับผิดชอบตนเองได้
จุดที่จะใช้อุเบกขานั้น ก็คือเมื่อสมควรที่อีกฝ่ายหนึ่งต้องรับผิดชอบตนเอง รู้จักคิดพิจารณาเขาต้องทำ ไม่ใช่พ่อแม่ทำให้หมด มีพ่อแม่พวกหนึ่งที่ไปสุดโต่งคือไม่สนใจเลย และมีอีกพวกหนึ่งก็โอ๋เกินไปจนลูกทำอะไรไม่เป็น ไม่รู้จักคิดอะไรด้วยตนเอง เราจึงต้องมีความพอดีทั้ง เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ตัวต้นกับตัวท้ายนี้ใช้ทั่วไปในยามปกติ ส่วน ๒ ตัวกลางคือ กรุณาและมุทิตานั้นใช้ในกรณีพิเศษ คือกรุณาเมื่อตกทุกข์ได้ยากหรือเจ็บไข้ มุทิตาเมื่อลูกประสบความสำเร็จ แต่คุณธรรม ๒ อย่างเป็นตัวตน คือ เมตตาและอุเบกขา
เมตตา นั้นพ่อแม่มีเป็นปกติดอยู่แล้ว คือมีความรักความปรารถนาดีอยู่เสมอ เป็นมิตรมีไมตรีกับลูกตลอดเวลา ส่วนอุเบกขาควรต้องใช้เมื่อเห็นว่าเป็นเวลาที่เขาควรรับผิดชอบตัวเอง เมื่อควรคิดพิจารณาก็ให้เขาคิด เมื่อเด็กต้องทำการบ้านก็ให้เด็กทำ ไม่ใช่ไปคิดว่าแหม ลูกเราต้องลำบาก ต้องมาเจ็บตา มาเมื่อยนิ้ว เลยทำการบ้านให้ลูกเสียเลย มีพ่อแม่บางคนคิดเลยเถิดกันขนาดนี้ กลัวลูกลำบาก นี้เป็นตัวอย่างของการมีอุเบกขา คือเมื่อถึงเวลาที่ลูกต้องต้องรับผิดชอบตัวเอง เช่น ถ้าลูกต้องทำการบ้าน ก็อุเบกขา ให้ลูกทำการบ้านด้วยตนเอง ได้ใช้ความคิดของเขาเอง ฝึกหัดพัฒนาตนเอง พ่อแม่เพียงแต่ดูแลเป็นที่ปรึกษา
แต่ที่นี้ เราแปลอุเบกขากันไม่ค่อยถูก ไม่รู้ว่าอุเบกขามีความสำคัญอย่างไรในชีวิตของคนเราอุเบกขานี้นเป็นองค์ธรรมสำคัญมากในระบบการฝึกฝนอบรม เป็นหลักที่จะทำให้รู้จักวางตัวในขณะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้คนนั้น เขาได้พัฒนาตนเอง เมตตานั้นเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงให้คนไม่เถลไถลออกไปนออกทาง ให้อยู่ในแนวที่ดีงาม เพื่อจะได้พัฒนาต่อไปได้ แต่การที่เขาจะพัฒนาได้เขาจะต้องพัฒนาตนเองด้วย ถ้าเรามีเมตตาคอยแต่ให้คอยแต่ช่วยอยู่เรื่อย ๆ เด็กก็พัฒนาตนเองไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องมีอุเบกขาด้วย คือมีเมตตายึดเหนี่ยวไว้เพื่อไม่ให้เขาเถลไถลไปไหน พ่อเรามีอุเบกขา เขาก็จะอาศัยช่องว่างนี้พัฒนาตัวเองขึ้นไป
อุเบกขาจึงเป็นคุณธรรมที่สำคัญมาก และยากกว่าข้ออื่น ๆ เพราะอุเบกขาต้องมากับปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาก็ไม่สามารถมีอุเบกได้ และถ้าไม่มีปัญญาแต่มีอุเบกขาก็เป็นวางเฉยแบบเฉยโง่ เรียกว่า อัญญาณุเบกขา ไม่ถือว่าเป็นธรรม ไม่เป็นกุศลธรรม
แต่การที่จะวางตัวให้พอดีนั้น ต้องมีความสามารถพิเศษถึงจะทำได้ อย่างเช่นสารถีที่วิ่งม้าไปนั้น การที่จะให้ม้าวิ่งเรียบและวางอุเบกขาได้นั้น ตัวต้องชำนาญแล้ว ถ้ายังขับขี่ใหม่ ยังไม่เป็นก็วางอุเบกขาไม่ได้ คนที่จะวางอุเบกขาได้ต้องชำนาญ ต้องมีปัญญา
โดย: เจ้าบ้าน
[30 ต.ค. 56 22:16] ( IP A:58.9.173.62 X: )
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม
ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :
แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้
(ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน