ขอวิธีแก้นิสัยลูกชอบเถียง และดื้อ กลัวลูกติดไปใช้ที่โรงเรียน
   ขอวิธีแก้นิสัยลูกชอบเถียง และดื้อ กลัวลูกติดไปใช้ที่โรงเรียน

เถียง, ช่างพูด, เด็กดื้อ, เถียงคำไม่ตกฟาก, ดื้อ, โรงเรียน, ปัญหาพฤติกรรม, เลียนแบบ, พฤติกรรมเลียนแบบ, เพื่อน, เด็กช่างพูด, มารยาทในการพูด,Q : ลูกชายอายุ 4 ขวบ เป็นเด็กช่างพูด แต่ก็แอบดื้อ เวลาบอกให้เขาทำอะไรจะชอบเถียงตลอด กลัวว่าถ้าไปโรงเรียนแล้วจะเถียงครูและเถียงเพื่อน กลัวเขาจะเข้ากับคนอื่นไม่ได้ จะปรับนิสัยหรือแก้ไขอย่างไรดีคะ
คุณแม่น้องโจ/กทม.

A : เด็กช่างพูดเป็นคนที่มีเสน่ห์นะคะ ผู้ใหญ่ที่ได้พูดคุยกับเด็ก จะเกิดความรู้สึกรักและเอ็นดู

โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ถ้ามีลูกหลานที่ช่างพูดช่างคุยอยู่ด้วยจะมีความสุขมากเลยค่ะ เรื่องช่างพูดส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของเด็กผู้หญิงมากกว่าเด็กผู้ชาย แต่ก็ไม่แปลกที่เด็กผู้ชายบางคนมีนิสัยช่างพูด เพราะส่วนหนึ่งของการเป็นเด็กช่างพูดเกิดจากสิ่งแวดล้อมและบุคคลที่อยู่รอบตัวเด็ก

3-4 ขวบ เป็นวัยที่เริ่มมีความคิดและเหตุผลเป็นของตนเอง เด็กๆ มักจะพูดจะทำในสิ่งที่ตรงข้ามกับสิ่งที่ผู้ใหญ่บอก เริ่มด้วยคำปฏิเสธขึ้นต้น “ไม่” “หนูไม่ทำ” “หนูไม่อาบน้ำ” “หนูไม่อยากกิน” หลังจากพูดคำว่าไม่ ภาษาของเด็กจะพัฒนาและเริ่มเรียนรู้มากขึ้น ประกอบกับมีเหตุผลของตนเองเพิ่มมากขึ้น เด็กจึงถ่ายทอดความคิดความต้องการ และความรู้สึกมาเป็นภาษาพูด ถึงตอนนี้การปรับตัวจะมี 2 รูปแบบ คือการพูดแบบมีเสน่ห์ กับ การพูดที่ผู้ใหญ่เรียกว่าเถียง ลูกคงไม่ใช่เด็กดื้อหรอกค่ะ ครูหมูเข้าใจว่าลูกกำลังมีความคิดมีเหตุผล คุณแม่ต้องใจเย็นถ้าลูกเถียงเวลาที่คุณแม่พูดคุยด้วย อย่าดุหรือลงโทษด้วยการตีเพราะลูกยังไม่เข้าใจว่าการพูดต่อปากต่อคำ การพูดปฏิเสธคุณแม่นั้น ทำไมเขาจึงทำไม่ได้ ในทางตรงกันข้าม ถ้าลูกเถียงแล้วคุณแม่หัวเราะชอบใจแล้วพูดโต้เถียงกลับ ลูกก็จะคิดว่าเขาสามารถทำพฤติกรรมนี้กับคุณแม่ได้ค่ะ การปรับหรือแก้ไขนิสัย ครูหมูขอแนะนำดังนี้ค่ะ

ลูกเป็นเด็กช่างพูด คุณแม่ควรส่งเสริมจัดหากิจกรรมเกี่ยวกับการพูดให้เด็กได้ทำบ่อยๆ เช่น ให้ลูกได้พูดเล่าเรื่อง เล่านิทาน ให้คนใกล้ชิดฟัง ลูกจะได้มีโอกาสได้พัฒนาคำศัพท์ใหม่ๆ ที่เขาอยากใช้ และถือโอกาสสอนลูกถึงมารยาทในการพูด บอกลูกให้รู้ว่าคำพูดใดที่ไม่ควรใช้กับผู้ใหญ่ การใช้น้ำเสียงพูดกับผู้อื่นอย่างไรจึงจะน่าฟัง

เวลาที่ลูกเถียง คุณแม่ควรหยุดฟัง โดยมีสีหน้าและท่าทางปกติไม่ต่อปากต่อคำกับลูก เพื่อให้ลูกรู้ว่า พฤติกรรมที่ทำอยู่ไม่ควร เมื่อลูกหยุดเถียงจึงบอกวิธีว่าควรพูดอย่างไร

เมื่อใดที่ความคิดของคุณแม่และลูกไม่ตรงกัน ควรใช้วิธีชวนกันพูดคุยให้ลูกได้แสดงความรู้สึกความคิดเห็นอย่างอิสระ และคุณแม่ควรพูดคุยถึงความคิด ความรู้สึกให้ลูกได้รับรู้ด้วย เด็กๆ จะได้เรียนรู้วิธีแก้ปัญหาที่เรามีความคิดไม่ตรงกัน สามารถพูดคุยกันได้ การเปิดโอกาสให้เด็กได้พูด บางครั้งเป็นการให้สติของผู้ใหญ่ได้เหมือนกัน เหตุผลของเด็กๆ อาจถูกต้องมากกว่าผู้ใหญ่ก็เป็นไปได้ค่ะ

เด็กกำลังเรียนรู้และพัฒนาภาษาของตนเอง เด็กต้องทดลองใช้คำศัพท์ใหม่ๆ ที่ได้ยินได้ฟัง ได้เห็นพฤติกรรมจากสังคมที่เด็กอยู่ จากตัวละครในโทรทัศน์ เด็กเล็กๆ ยังแยกไม่ออกค่ะว่าพฤติกรรมที่รับรู้นั้นทำไม่ได้หรือไม่ควรทำ เขากำลังอยู่ในวัยเลียนแบบ เขาจะพูดเลียนแบบสิ่งที่ชอบหรือได้ยินได้ฟังมา คุณแม่ควรบอกลูกว่าสิ่งไหนทำได้สิ่งไหนทำแล้วไม่ดีไม่ควรทำ

เด็กกำลังเรียนรู้และพัฒนาบุคลิกลักษณะของตนเอง พฤติกรรมที่เด็กทำแล้วได้รับการยอมรับ เขาก็จะพัฒนาต่อไป ถ้าพฤติกรรมใดที่ทำแล้วคุณครูหรือเพื่อนไม่ชอบและไม่อยากเล่นด้วย เด็กจะรู้จักปรับตัวค่ะ ถ้าเขาพูดกับเพื่อนดีๆ มีเพื่อนรักเขา ชอบเล่นด้วย เขาจะไม่เถียงกับเพื่อนหรอกค่ะ ถ้าเขาพูดดีไม่เถียงผู้ใหญ่ คุณครูคุณแม่ชมเชย พฤติกรรมชอบเถียงก็จะค่อยๆ หายไปค่ะ
โดย: เจ้าบ้าน [14 พ.ย. 56 22:18] ( IP A:58.11.8.128 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน