onninn.pantown.com
บทความดีๆ <<
กลับไปหน้าแรก
(( 8 ตัวยา อย่าให้ลูก ))
(( 8 ตัวยา อย่าให้ลูก ))
เด็กๆ มักมีการตอบสนองต่อยาต่างๆ ไวกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้นการให้ยาแก่เจ้าตัวน้อย ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งยาของแพทย์ ยาแก้หวัดที่ซื้อเองจากร้านขายยา หรือกระทั่งยาสมุนไพรที่ใครๆ ว่าปลอดภัยหนักหนา ล้วนถือเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเจ้าตัวน้อย ว่าแต่จะรู้ได้อย่างไรว่ายาชนิดใดปลอดภัยสำหรับคุณหนูวัยเตาะแตะ แต่ข้อมูลต่อไปนี้จะช่วยทำให้คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอายุระหว่าง 1 2 ปี มั่นใจได้ว่า ยาที่คุณให้กับเจ้าตัวน้อยนั้นปลอดภัยหรือไม่อย่างไรค่ะ
1. แอสไพริน
อย่าให้ยาแอสไพริน หรือยาใดๆ ที่มีตัวยาแอสไพรินเป็นส่วนประกอบ แก่หนูน้อยวัย 1-2 ปี หรือถ้าจะให้มั่นใจ ไม่ควรให้ยาชนิดนี้แก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปีเด็ดขาด เพราะตัวยาแอสไพริน อาจทำให้ลูกของคุณไวต่อภาวะที่เรียกว่า Reyes syndrome ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ยาก แต่มีความร้ายแรงถึงชีวิต นอกจากนี้ ไม่ควรมั่นใจว่ายาสำหรับเด็กทุกชนิดจะไม่มีตัวยาแอสไพริน (aspirins free) คุณพ่อคุณแม่ควรอ่านฉลากยาทุกครั้งก่อนป้อนยาให้ลูก สำหรับหนูน้อยที่มีไข้ ควรเลือกใช้ยาประเภท acetaminophen หรือ ibuprofen ในปริมาณที่เหมาะสม จะปลอดภัยกว่า ยกเว้นแต่ว่าเจ้าตัวน้อยมีอาการอาเจียน หอบหืด ไตมีปัญหา หรือมีภาวะป่วยเรื้อรังอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนให้ยาทั้ง 2 ชนิดข้างต้น
2. ยาแก้เมารถ
ควรหลีกเลี่ยง ยาแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน นอกเสียจากว่าเป็นยาที่แพทย์สั่ง เพราะอาการเหล่านี้แม้อาจจะทำให้ลูกอาเจียน แต่ก็เป็นอาการระยะสั้น และร่างกายของลูกก็สามารถรับมือได้เอง โดยไม่ต้องพึงพายาใดๆ ในทางกลับกันหากคุณให้ลูกกินยาเหล่านี้ แทนที่ลูกจะหาย อาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้
3. ยาสำหรับทารก และยาสำหรับผู้ใหญ่
การให้ยาสำหรับผู้ใหญ่แก่เด็กวัย 1-2 ปี แม้จะให้ในปริมาณที่น้อยลง แต่ก็มีอันตรายพอๆ กับการให้ยาสำหรับทารกแก่หนูน้อยวัยเตาะแตะในปริมาณที่มากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่อาจไม่ทันคิดว่ายาสำหรับทารกที่ให้ในปริมาณน้อยนั้น ในความเป็นจริงแล้วอาจมีตัวยาที่เข้มข้นมากกว่ายาน้ำสำหรับเด็กวัยเตาะแตะ ดังนั้น การนำยาสำหรับทารกมาให้เด็กวัยเตาะแตะ ในปริมาณที่มากขึ้น อาจทำให้เจ้าตัวน้อยได้รับยาเกินขนาดได้ หากฉลากยาไม่ได้ระบุอายุ น้ำหนัก และปริมาณสำหรับวัยของลูกคุณ ก็ไม่ควรกะปริมาณยาให้ลูกรับประทานด้วยตัวคุณเองเด็ดขาด
4. ยาที่ระบุชื่อคนอื่น
ยาที่คุณหมอสั่งให้สมาชิกคนอื่นๆ ในบ้าน แม้จะวัยใกล้เคียงกัน หรือป่วยด้วยโรคเดียวกัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะนำมาป้อนให้ลูกของคุณได้โดยปลอดภัย ดังนั้น ไม่ควรให้ลูกรับประทานยาที่ระบุชื่อคนอื่นเด็ดขาด
5. ยาหมดอายุ
ยาหมดอายุ ยาที่เปลี่ยนสภาพ ซองขาด เก็บไว้นานจนไม่แน่ใจ ควรนำไปทิ้งมากกว่าจะนำมาป้อนให้ลูกค่ะ ซึ่งการทิ้งยาที่ถูกวิธีคือ ดูฉลากยาว่าระบุวิธีทิ้งไว้หรือไม่ ยาบางชนิดสามารถทิ้งลงชักโครกได้เลย แต่หากไม่มีระบุในกรณีที่เป็นยาน้ำ ควรเทใส่ขวดแก้วที่มีฝาปิด เช่น ขวดกาแฟที่ไม่ใช่แล้ว ปิดฝาให้สนิท สำหรับขวดยาเปล่าๆ ควรขีดชื่อ และทำลายข้อมูลส่วนตัวก่อนทิ้งลงถังขยะ
6. ยาอื่นๆ ที่มีตัวยา อะเซตามีโนเฟน
อะเซตามีโนเฟน หรือที่รู้จักกันในชื่อพาราเซตามอน มักเป็นส่วนประกอบในยาหลายชนิดสำหรับเด็ก ดังนั้นก่อนจะให้ลูกกินยาแต่ละชนิดควรมั่นใจว่า ยาแต่ละอย่างไม่ได้มีส่วนประกอบของยาที่ซ้ำกัน เช่น ในยาแก้ไข้ก็มีตัวยาพาราฯ ในยาแก้ปวด ก็มียาพาราฯ อีก ไม่เช่นนั้นหนูน้อยอาจได้รับปริมาณ อะเซตามีโนเฟน มากเกินไป
7. ยาชนิดเคี้ยว
สำหรับหนูน้อยวัยเตาะแตะ ยาชนิดเคี้ยวสามารถติดคอ และเป็นอันตรายต่อลูกได้ หากจำเป็นต้องใช้ยาชนิดเคี้ยวกับลูก ควรถามแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนว่าสามารถบดยาก่อนให้ลูกรับประทาน หรือผสมในอาหารอ่อนๆ ได้หรือไม่ นอกจากนี้ควรมั่นใจว่าเจ้าตัวน้อยจะกินยาที่บดจนหมด เพื่อให้ได้รับยาในปริมาณที่เหมาะสมด้วย
8. น้ำเชื่อม ipecac (syrup of ipecac)
แม้ชื่อจะฟังดูหวานๆ น่ารับประทาน แต่ยาตัวนี้มีไว้สำหรับการทำให้อาเจียน ในกรณีที่กินกลืนสารพิษเข้าไป แต่ในระยะหลังๆ แพทย์มักไม่แนะนำให้ใช้ยาตัวนี้เพื่อกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย เพราะไม่มีผลพิสูจน์แน่ชัดว่าน้ำเชื่อม ipecac ช่วยรักษาร่างกายจากการได้รับสารพิษได้ ในทางกลับกัน น้ำเชื่อมนี้อาจส่งผลเสียมากกว่าผลดี โดยอาจทำให้ลูกมีอาเจียนไม่หยุดได้
แหล่งรวมข้อมูล บทความ คำแนะนำจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญใน การดูแลเด็ก
โดย: เจ้าบ้าน
[5 มี.ค. 57 23:42] ( IP A:171.97.73.179 X: )
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม
ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :
แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้
(ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน