= = รู้จักเด็กดื้อ...รับมือยังไง = =
   = = รู้จักเด็กดื้อ...รับมือยังไง = =

มีคุณแม่ท่านหนึ่งปรึกษาผมว่า ลูกชายวัย 9 ขวบเริ่มจะดื้อมากขึ้น
ไม่ค่อยเชื่อฟังทำตามเหมือนเมื่อก่อน
พอเตือนหลายๆครั้งก็หน้างอ บางครั้งก็ตาขวาง จนแม่ต้องดุและตีที่ไม่เชื่อฟัง
แม่กลัวว่าจะติดนิสัยเป็นความก้าวร้าวที่รุนแรงมากขึ้นตอนโต
...ควรจะทำอย่างไรดี

อย่างแรก ผมตั้งคำถามกับคุณแม่กลับไปว่า

คุณแม่คาดหวังว่าลูกจะต้องเชื่อฟัง ว่าง่ายกับทุกเรื่องไปตลอดจนโตหรือไม่

ถ้าคำตอบคือใช่ คุณแม่คงต้องปรับทัศนคติใหม่ เพราะ…

ถ้ามีเด็กคนไหน เชื่อฟัง ว่าง่ายไปจนโต ไม่เคยโต้แย้ง อาจผิดปกติมากกว่า เนื่องจาก

คงน่าสงสัยว่า เด็กมีความสามารถในการคิดที่เป็นตัวของตัวเองหรือไม่
หรือพูดๆง่ายคือ...คิดอะไรเองเป็นมั้ย?
ถ้าโตเป็นผู้ใหญ่จะเอาตัวรอดได้อย่างไร ถ้าคิดอะไรเองไม่เป็น

หรือคงสงสัยว่า เด็กอาจจะคิดได้ แต่ถูกครอบงำความคิดโดยผู้ใหญ่
จนไม่กล้าแสดงออก ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เก็บกดทางอารมณ์
แล้วจะโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะได้อย่างไร

มองในแง่บวกของเด็กดื้อคือ
พัฒนาการด้านความคิดของเด็กได้ก้าวไปอีกขั้นแล้ว
ที่จะเป็นตัวของตัวเอง ยืนหยัดแนวคิดของตัวเองเป็น
เมื่อไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ผู้ใหญ่บอก

แต่อีกประเด็นในกรณีนี้คือ
วิธีการแสดงออกทางความคิดที่เหมาะสม ควรจะทำอย่างไร

เพราะวิธีแก้ ไม่ควรเป็นการปิดกั้นความคิดของลูก จนไม่กล้าคิด
หรือการปล่อยให้ลูกแสดงความคิดเห็นด้วยการใช้อารมณ์และความก้าวร้าว

...............................
...................

ยกตัวอย่าง

แม่เห็นว่าลูกเล่นเกมเลยเวลาที่กำหนดแล้ว ต้องทำการบ้าน จึงเข้าไปเตือน

“เดี๋ยวน่าแม่..อีกแป๊บเดียว!”

…แม่เดินเข้าไปหาลูก ย่อตัว มองหน้าลูก พูดเสียงเข้มว่า

“แม่รู้ว่าลูกคงหงุดหงิด เพราะกำลังสนุกอยู่ (สะท้อนอารมณ์ แสดงความเข้าใจความรู้สึกลูก)
แต่นี่เลยเวลาที่เราตกลงกันแล้ว”

“และแม่ไม่ชอบที่ลูกพูดขึ้นเสียงกับแม่แบบเมื่อกี๊”
(ไม่ยอมรับเมื่อลูกสื่อสารโดยใช้อารมณ์)

หลังจากลูกดูใจเย็นลง

“เอาล่ะ แม่อยากจะเข้าใจลูก ไหนลูกบอกกับแม่ดีๆซิ
ว่าเพราะอะไรลูกถึงไม่ยอมเลิกเล่นตามข้อตกลง”
(บอกลูกให้ใช้เหตุผลแทนอารมณ์)

“ก็แม่มาบอกให้ลูกเลิกตอนกำลังสนุกนี่ครับ”

“อืม..แม่เข้าใจ แล้วลูกอยากให้เป็นยังไง หรือให้แม่ทำยังไง”
(ถามวิธีคิดแก้ปัญหาของลูก โดยไม่ปิดกั้น)

“งั้นลูกขอเพิ่มเวลาเล่นเกมเพิ่มอีก ครึ่งชั่วโมงได้มั้ยครับ”

“อืม..ถ้าลูกมั่นใจว่ารักษาเวลาได้ แม่คิดว่าเพิ่มให้ก็ได้
แต่แม่คิดว่าเพิ่มแค่15 นาทีก็พอนะลูก
เพราะจะไปกินเวลาทำการบ้าน เดี๋ยวลูกจะนอนดึก ตื่นสายได้ ลูกคิดว่ายังไง”
(เป็นแบบอย่างเรื่องการใช้เหตุผล)

“ตกลงตามนั้นก็ได้ครับ”

“แล้วถ้าลูกไม่รักษาเวลาอีก จะให้แม่ทำยังไง”

…….ฯลฯ…….

....ระบบความคิดลูกพัฒนาไปเรื่อยๆจนโต
ถ้าพ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้เหตุผล ไม่ใช้อารมณ์กับลูก
เด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ คิดเป็นแก้ปัญหาเป็นครับ....
โดย: เจ้าบ้าน [5 มี.ค. 57 23:51] ( IP A:171.97.73.179 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน