ทำอย่างไรเมื่อลูกอิจฉาเพื่ิอน
   #ทำอย่างไรเมื่อลูกอิจฉาเพื่ิอน

คำสอนดีๆจากพระอาจารย์ชยสาโรค่ะ

Q : ลูกสาวเป็นลูกคนเดียว อายุ8ปี เวลาเห็นเพื่อนได้อะไร ก็อยากจะได้บ้าง เพื่อนแต่งตัวสวยก็อิจฉา เพื่อนไปเล่นกันกับเด็กคนอื่น ลูกก็จะไม่พอใจ งอน คุณแม่ควรแก้ไขอย่างไรคะ?

A : ขอให้คำแนะนำอย่างนี้ก่อนว่า *ไม่ควรตำหนิ ไม่ควรว่า ไม่ควรสั่งสอน ในขณะที่ลูกมีอาีีรมณ์* ในขณะที่ลูกมีอารมณ์แล้วเราบอกว่านั่นมันไม่ดีนะ เป็นบาปนะ จะไม่ค่อยได้ผล สองก็จะทำให้ลูกรู้สึกว่าเป็นคนไม่ดี เพราะลูกก็ไม่ต้องการมีกิเลส แต่มันเกิดแล้ว และแม่เห็นแล้วแม่ก็ว่าเอา เหมือนกับว่าตัวเองไม่ดี มันจะเกิดเป็นปมด้อย บางครั้งอาจจะกลายเป็นคนปิดบัง ไม่กล้าให้ผู้ใหญ่เห็นก็มี

วิธีหรือหลักที่จะขอฝากไว้ก็คือ *อารมณ์ฺของลูกเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะได้สั่งสอนลูกเรา แต่ต้องมีขั้นตอน*
ในขณะที่ลูกกำลังมีอารมณ์อยู่ สิ่งที่เราอยากจะให้ลูกคือ ให้ลูกรู้จักว่านั่นคืออารมณ์ที่มีชื่ออะไร

อย่างเช่น ลูกกำลังอิจฉา ลูกก็แสดงออก เราก็บอกว่า "ดูเหมือนลูกกำลังอิจฉาใช่ไหม? เวลาอิจฉามันเป็นอย่างนี้ใช่ไหม? เวลาเขาได้อะไรแล้วเราไม่ได้มันเป็นอย่างนี้ใช่ไหม อย่างนี้เขาเรียกว่าอิจฉานะ ลูกอิจฉาใช่ไหม?"
"ค่ะ .. อิจฉา"

แค่นี้.. ยังไม่ต้องไปสอนว่า อย่าเพิ่งอิจฉา

*ใ้ห้ลูกรู้สึกว่าเราเข้าใจเขา* เราไม่ได้ประณาม เราไม่ได้ว่าเขา เราเข้าใจเขาว่าอิจฉานี่มันแย่เนอะ มันทุกข์เนอะ แม่ก็เคยเป็นเหมือนกัน
หรือว่าลูกกำลังงอน ก็ให้เขาสามารถเรียกชื่ออารมณ์ได้ เพราะสิ่งที่จะครอบงำจิตใจเราได้ คือสิ่งที่เราไม่รู้จัก การที่เรารู้จักชื่อนี่ก็ทำให้เรารู้สึกมีอำนาจขึ้นทันที รู้สึกเชื่อมั่นในตัวเอง

อ๋อ นี่กำลังงอน นี่กำลังอิจฉา นี่กำลังโกรธใช่ไหม ให้ลูกเขาเข้าใจว่าเราเข้าใจ เราไม่ว่าลูกมีอารมณ์ยังไง อันนั้นเราไม่ว่า แต่ที่ต้องสั่งสอนคือการแสดงออก

เราแยกออกระหว่างอารมณ์กับการแสดงออก ทุกคนก็มีสิทธิรู้สึก เราเป็นปุถุชนด้วยกัน ไม่ว่าผู้ใหญ่หรือเด็ก ทุกคนก็มีสิทธิจะอิจฉา ที่จะงอน ที่จะน้อยใจ ที่จะเสียใจ แต่เราต้องเป็นโค้ช เป็นโค้ชเรื่องอารมณ์

ขอว่า*อย่าไปว่าเขา อย่าไปตีเขา* คือต้องมีกติกา คนเราจะมีความรู้สึกยังไงก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ว่าการแสดงออกก็มีทั้งที่สมควรและไม่สมควร
ในเวลาอื่นที่ลูกหายจากอารมณ์นั้นแล้ว เราก็มีโอกาสที่จะพูดคุยเรื่องอารมณ์ว่า ความอิจฉามันเป็นอย่างไร มันเกิดเพราะอะไร เวลาเป็นมันเป็นยังไง มันรู้สึกยังไง มันคิดยังไง มันมีโทษยังไง

สั่งสอนเรื่องความอิจฉา เรื่องโทษของความอิจฉา คุณของความไม่อิจฉา วิธีที่จะป้องกันจิตใจหรือที่จะจัดการจิตใจที่มีอารมณ์ เมื่อลูกไม่อิจฉา *ในเวลาที่ทั้งสองคนมีอารมณ์ปกติ*

เวลาลูกกำลังมีอารมณ์ เราให้ลูกเห็นว่าเราเข้าใจ เราเห็นใจ
แต่ถึงจะเห็นใจแล้ว เราก็ยังจะต้องควบคุมพฤติกรรม
โดย: เจ้าบ้าน [2 มิ.ย. 56 2:23] ( IP A:58.9.81.96 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน