1-10 ตัวเลขมหัศจรรย์ ของลูกรัก
   1-10 ตัวเลขมหัศจรรย์ที่ควรรู้เพื่อการเสริมสร้างพัฒนาการและพฤติกรรมของลูกรัก

1: อายุ 1 ปี เป็นอายุที่ควรเลิกขวดนม ใช่แล้วครับหลายๆท่านอาจคิดว่าเร็วไปแต่คำแนะนำทางการแพทย์คือ 1 ปีจริงๆ ครับ นอกจากปัญหาเรื่องฟันแล้วการเลิกขวดนมช้าอาจทำให้เด็กเป็นเด็กขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่กล้าแสดงออกอีกด้วยนะครับ

2: 2 ชั่วโมงต่อวันคือเวลาที่มากที่สุดที่เราชาวกุมารแพทย์ยอมให้เด็กอายุมากกว่า 2 ปี ดู TV + เล่นคอมพ์ + Ipad + Iphone และสารพัดสื่อต่างๆ เวลามากกว่านี้จะมีผลในทางลบกับเด็กครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพัฒนาการทางภาษา หรือความรุนแรงต่างๆที่เด็กได้รับจากสื่อ หากท่านใดที่ให้ลูกจมอยู่กับสื่อต่างๆเหล่านี้เป็น 5-6 ชั่วโมงต่อวันลองปิด หรือจำกัดการเล่นหรือการดูสื่อเหล่านี้ดูสิครับแล้วจะพบว่าพฤติกรรมหลายๆอย่างของลูกจะดีขึ้นมาก จากซนอยู่อาจมีสมาธิขึ้น จากพูดไม่เป็นเรื่องราว อาจเล่าเรื่องได้อย่างสนุก แต่นี่คือสำหรับเด็กอายุมากกว่า 2 ปีเท่านั้นนะครับ ถ้าน้อยกว่า 2 ปี ไม่ควรดูเด็ดขาด

3: 30 นาที คือเวลาที่มากที่สุดที่ใช้กินข้าวของเด็ก ไม่ควรให้เขากินข้าวนานกว่านี้เพื่อเป็นการเสริมสร้างวินัยในการกินของเด็ก ไม่ควรกินโดยดู TV ไปด้วย และควรกินบนโต๊ะเป็นที่เป็นทางไม่ควรกินไปชมวิวไปเพราะจะทำให้เด็กสนใจวิวมากกว่าการกินข้าวและทำให้การกินข้าวเป็นเรื่องยากไปเลย จำไว้ว่าการสร้างวินัยในการกินเป็นการสร้างวินัยขั้นพี้นฐานให้เด็ก

4: 4-6 เดือนคือเวลาเริ่มอาหารตามวัยของลูกน้อย (เดี๊ยวนี้ทางการแพทย์ไม่เรียกว่าอาหารเสริมแล้วนะครับ) โดยอาจเริ่มด้วยข้าวบด กล้วยบดก่อน แต่ต้องเริ่มทีละอย่างนะครับ แล้วก่อน4 เดือนก็ควรเป็นเวลาของนมแม่เท่านั้น และเหตุที่ต้องเป็น 4-6 เดือนไม่ฟันธงลงไปเลยก็เพราะแม่บางคนน้ำนมน้อยไม่เพียงพอก็อนุโลมที่ 4 เดือน แต่ถ้าเหลือเฟือก็เริ่มที่ 6 เดือนได้เลยครับ จำไว้ว่า ช่วงก่อนหน้าที่เป็นช่วงของการกินนมแม่อย่างเดียวนั้นไม่ต้องกินน้ำครับเพราะปริมาณน้ำในนมเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องกินน้ำเพิ่มไปอีก กินน้ำไปอีกจะทำให้กินนมได้น้อยครับ

5: 15 เดือนเป็นอายุที่เด็กควรจะต้องชี้บอกความต้องการได้แล้วครับ การชี้และการแสดงความต้องการต่างๆโดยใช้ภาษาท่าทางเป็นพัฒนาการทางด้านสังคมของเด็กที่สำคัญครับ หากเด็กทำได้ช้าหรือทำไม่ได้อาจต้องระวังโรคที่มีความผิดปกติของพัฒนาการด้านสังคมที่รู้จัดกันดีนั้นคือออทิสติกครับ ไม่ควรรอจนครบสองปีแล้วพบว่าลูกยังไม่พูดแล้วค่อยพามาพบแพทย์ครับหากเริ่มไม่ชี้ชวนหรือไม่ค่อยมีท่าทีสนใจคนรอบข้างอย่างเด็กคนอื่นๆก็ต้องสงสัยแล้วครับ

6: 6 เดือนเป็นอายุที่เหมาะที่สุดที่จะอ่านหนังสือเล่มแรก (book start) ให้เด็กฟังครับ โดยอาจเลือกเป็นหนังสือเล่มเล็กๆรูปสวยๆทำด้วยกระดาษแข็งที่ขาดยากหน่อยเพราะเด็กอาจจะชอบเอาเข้าปากบ่อยๆ การอ่านให้เด็กฟังบ่อยๆจะมีผลโดยตรงต่อพัฒนาการของเด็กทั้งพัฒนาการด้านสติปัญญา และด้านภาษาครับ

7: อันนี้คิดยากมากว่าจะเอาอะไรดี ขอแถหน่อยละกันครับ 7 ในที่นี้คือ 7 นาที ครับ 7 นาทีนี้คือเวลาที่เราใช้สำหรับ Time out หรือการให้เวลาเด็กในการควบคุมสติอารมณ์ เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมโวยวายหรือก้าวร้าวหมอขอยกตัวอย่างเช่น เด็กไปห้างร้องอยากได้ของเล่น และดิ้นลงกับพื้น (Tantrum) ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดได้บ่อยๆกับเด็กอยู่แล้วนะครับ วิธีการจัดการที่เหมาะสมก็คือการแยกเด็กออกมาจากฝูงชนก่อน แล้วให้เด็กนั่งในมูมสงบแม่อาจนั่งอยู่ข้างๆด้วย แต่ไม่ต้องพูดอะไร หรือพูดให้น้อยที่สุด หากเด็กไม่ยอมอาจกอดไว้ นานตามอายุเด็ก ที่หมอได้ยกตัวอย่าง 7 นาทีก็คือถ้าเด็กอายุ 7 ขวบเราก็ทำประมาณ 7 นาที เป็นต้นแต่ทำได้นานที่สุดแค่ 10 นาทีนะครับ จำไว้ว่าการ Time out ไม่ใช้การจับเด็กขังห้องมืด และไม่ใช้การแยกเด็กมาด่า แต่เป็นการให้เด็กฝึกควบคุมอารมณ์ด้วยตนเองครับ

8: 8 เดือนเด็กจะมีพัฒนาการทางสังคมอย่างหนึ่ง ที่อยากให้คุณแม่ทุกท่านสังเกตนะครับนั้นคือ gaze monitoring หรือการมองตามสิ่งที่แม่มอง สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญเริ่มต้นสำหรับพัฒนาการของการมีความสนใจร่วมกันของเด็กกับสิ่งแวดล้อมซึ่งถ้าเด็กบกพร่องไปอาจทำให้สงสัยเรื่อง autistic อีกแล้วครับ หลังจากนั้นเด็กก็จะเริ่มมองตามสิ่งที่แม่ชี้ให้มอง และสุดท้ายให้สมบูรณ์จริงๆเด็กต้องมองตามสิ่งที่แม่ชี้แล้วหันกลับมามองแม่อีกที (อาจคิดในใจว่าเจ๊จะชี้ทำไมเนี้ย) ลองสังเกตดูนะครับว่าลูกท่านทำได้ตามนี้หรือไม่โดยอาจจะทำได้สมบูรณ์ตามที่ผมอธิบายให้ฟังก็ 1 ปีกว่าๆครับ

9: 9 คือลักษณะพื้นอารมณ์ 9 ประการของเด็กที่ทำให้เด็กแต่ละคนแตกต่างกันครับหรือที่เราเรียกว่า temperament ครับถ้าสนใจผมค่อยลงรายละเอียดให้ฟังอีกที่แต่ลักษณะ 9 ประการดังกล่าวทำให้เราแบ่งเด็กได้เป็น 4 ประเภทคือ
1. Easy child เด็กเลี้ยงง่าย
2. Difficult child เด็กเลี้ยงยาก
3. Slow to warm up child เด็กที่ต้องอาศัยเวลาในการปรับตัว
4. Mixed หรือแบบผสม
ผมจะไม่ลงรายละเอียดมากเดี๊ยวจะยาวไปนะครับแต่เอาเป็นว่าเด็กทุกคนมีพื้นอารมณ์ที่แตกต่างกัน ไม่ควรเปรียบเทียบว่าทำไมลูกฉันกว่าจะให้หมอตรวจร้องแล้วร้องอีก ทำไมลูกฉันกินยากแบบนี้ ลูกข้างบ้านทำไมมันเลี้ยงง่ายจัง พื้นอารมณ์ของเด็กเป็นสิ่งที่ติดตัวเด็กมาครับ แม่ๆที่มีลูกเกิน 2 คนก็จะเห็นว่าบางคนเลี้ยงง่ายมาก บางคนก็งอแงอะไรอย่างนี้นะครับ เราควรปรับที่ตัวเราเองเพื่อให้ส่งเสริมลูกตาม Temperament ของเขามากกว่าที่จะบังคับเขาให้เป็นอย่างที่แม่ต้องการครับ

10: ข้อสุดท้ายแล้วนะครับ เป็นข้อที่อยากจะฝากมากที่สุดนั้นคือ 10 นาที เพื่อการ Time in หลายๆท่านในที่นี้คงรู้จักการ Time out ในข้อที่ 7 ที่ผมกล่าวไปนะครับ แต่จริงๆสิ่งที่สำคัญมากกว่าแต่ยังไม่ค่อยรู้กันนั้นคือการ Time in ครับ เคยสงสัยกันป่าวครับว่า ทำไมพ่อ แม่ที่มีเวลาให้ลูกแค่ 1 ชั่วโมงต่อวัน ก็ทำให้ลูกเป็นเด็กที่น่ารักได้ ต่างกับอีกบ้านที่อาจจะอยู่กับลูกทั้งวัน แต่ลูกก็ยังมีปัญหากับแม่ ยังบอกว่าต้องการความรักหรือการดูแลจากพ่อแม่อยู่ ใช่แล้วครับ สิ่งที่สำคัญไม่ใช้เวลา แต่มันสำคัญว่าท่านต้องใช้เวลาที่ท่านมีให้เป็นเวลาคุณภาพจริงๆในการอยู่กับลูก เป็นเวลาที่สนุกด้วยกัน เป็นเวลาที่ลูกได้พูด พ่อแม่ได้ฟังจริงๆ เป็นเวลาที่ตัดสิ่งปวดหัวรอบตัวท่านออกไปและให้เวลากับลูกจริงๆ ถ้าไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร หมอแนะนำว่าอาจเริ่มด้วยการลับมาจากบ้านก็ปิดมือถือ ปิด TV และสื่อต่างๆ มาทำอาหาร หรือทำกิจกรรมเบาๆ หรือกินข้าวร่วมกันกับลูก คุยเรื่องที่รร. หรือเรื่องที่ลูกสนใจอย่างน้อยแค่ประมาณ 10 นาทีต่อวัน แต่ถ้ายิ่งมากกว่านั้นก็จะยิ่งดี แล้วท่านจะเริ่มเข้าใจคำว่าเวลาคุณภาพ หรือการ Time in ที่ผมพูดมันดีอย่างไรกับพฤติกรรมของลูก อย่าลืมว่ามันไม่ได้ขึ้นกับเวลาที่ท่านได้อยู่กับลูก แต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเวลาที่ท่านมีให้ลูกครับ
โดย: เจ้าบ้าน [28 ก.ย. 55 11:49] ( IP A:58.9.95.253 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน