กองกำลังป้องกันตนเองทางบก ของญี่ปุ่น (JGSDF)
    กองกำลังป้องกันตนเองทางบก ของญี่ปุ่น
Japan Ground Self-Defense Force (JGSDF)


อย่างที่ได้เกริ่นไว้ในตอนแรกว่า กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่น แบ่งออกเป็น 3 กอง(ทัพ) ก็ขออนุญาตเริ่มจากกองกำลังป้องกันตนเองทางบกหรือภาคพื้นดินของญี่ปุ่น จะเรียกชื่ออย่างไรมันก็ไม่แตกต่างจากกองทัพบกของประเทศต่างๆนั่นแหละครับ ซึ่งรูปแบบการจัดกำลังก็คล้ายๆกันกับกองทัพบกคือ มีกองพลทหารราบ กองพลรถถังและยานเกราะ กองพลทหารปืนใหญ่ และหน่วยต่างที่สนับสนุนการรบและการส่งกำลังบำรุง และกองทัพบกแต่ละประเทศก็จะจัดวางและแบ่งกำลังตามยุทธศาสตร์หรือสภาพภูมิศาสตร์พื้นที่ต่างๆตามความเหมาะสมในแต่ละประเทศ

กองกำลังป้องกันตนเองทางบกของญี่ปุ่น หรือ JGSDF ที่ย่อมาจาก Japan Ground Self-Defense Force มีการจัดวางกำลังให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ เพราะอย่างที่ทราบว่าประเทศญี่ปุ่นมีสภาพเป็นเกาะ ซึ่งประกอบด้วยเกาะขนาดใหญ่อยู่ 4 เกาะด้วยกัน ถ้าเรียงจากขนาดของพื้นที่เกาะฮนชูเป็นเกาะใหญ่ที่สุด รองมาคือเกาะฮกไกโด ถัดมาเกาะคิวชู และชิโกกุที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาทั้งสี่เกาะ เพราะฉะนั้นกองกำลังป้องกันตนเองทางบกของญี่ปุ่น หรือ JGSDF จึงจัดวางและแบ่งกำลังกองทัพในการรับผิดชอบในแต่ละพื้นที่ออกเป็นภาคได้ทั้งหมด 5 ภาคซึ่งก็คือ

โดย: ดร.เซมเป้ (เจ้าบ้าน ) [28 ม.ค. 55 23:33] ( IP A:124.121.168.90 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
    กองทัพภาคเหนือ มีกองบัญชาการอยู่ที่ ซัปโปโร บนเกาะฮกไกโด มีพื้นที่รับผิดชอบคือเกาะฮกไกโดทั้งหมดซึ่งอยู่ทางเหนือของประเทศญี่ปุ่น มีหน่วยขึ้นตรงทั้งหมด 6 หน่วยได้แก่ กองพลทหารราบที่ 2 ,กองพลทหารรถถังและยานเกราะที่ 7 ,กองพลน้อยที่ 5 และกองพลน้อยที่ 11 ซึ่งจัดเป็นกองพลทหารราบ แต่ขนาดเล็กกว่าระดับกองพล ,กองพลทหารปืนใหญ่ที่ 1, กองพลป้องกันภัยทางอากาศที่ 1

กองทัพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีกองบัญชาการอยู่ที่ เซนได บนเกาะฮนชู ซึ่งที่เกิดสึนามึเมื่อต้นปี 2011 มีพื้นที่รับผิดชอบทางเหนือค่อนไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะฮนชู มีหน่วยขึ้นตรงทั้งหมด 5 หน่วยได้แก่ กองพลทหารราบที่ 6 ,กองพลทหารราบที่ 9 ,กองพลทหารปืนใหญ่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, กองพลทหารช่างที่ 2 และมีกรมป้องกันภัยทางอากาศที่ 5 ซึ่งเป็นแค่ระดับกรมทหารที่รับผิดชอบในพื้นที่นี้

กองทัพภาคตะวันออก มีกองบัญชาการอยู่ที่ เนริมะ โตเกียว ซึ่งอยู่บนเกาะฮนชู มีพื้นที่รับผิดชอบคือทางภาคตะวันออกของเกาะฮนชู มีหน่วยขึ้นตรงทั้งหมด 4 หน่วยได้แก่ กองพลทหารราบที่ 1 ,กองพลน้อยที่ 12 และกองพลทหารช่างที่ 1 และมีกรมป้องกันภัยทางอากาศที่ 2 จะดูว่าทำไมมีหน่วยทหารไม่มากทั้งที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เมืองหลวง เพราะอย่างที่ทราบเกาะฮนชูเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดจึงมีการจัดกองทัพภาคอยู่ถึง 3 กองทัพภาคในการรับผิดชอบ

กองทัพภาคกลาง ซึ่งมีขนาดกองทัพใหญ่พอๆกับกองทัพภาคเหนือ มีกองบัญชาการอยู่ที่ อิทามิ มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งใต้ของเกาะฮนชู และเกาะชิโกกุ ซึ่งถือว่าต้องรับผิดชอบมาก จึงมีหน่วยขึ้นตรงทั้งหมด 6 หน่วยได้แก่ กองพลทหารราบที่ 3 ,กองพลทหารราบที่ 10 ,กองพลน้อยที่ 5 และกองพลน้อยที่ 13 และกองพลน้อยที่ 14 ,กองพลทหารช่างที่ 4 และ กรมป้องกันภัยทางอากาศที่ 8

กองทัพภาคตะวันตก มีกองบัญชาการอยู่ที่ คุมาโมโต มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งใต้ของเกาะคิวชู และโอกินาวาซึ่งอยู่ห่างจากเกาะญี่ปุ่นพอสมควร มีหน่วยขึ้นตรงทั้งหมด 5 หน่วยได้แก่ กองพลทหารราบที่ 4 ,กองพลทหารราบที่ 8 ,กองพลน้อยที่ 15 ,กองพลทหารปืนใหญ่ภาคตะวันตกและกองพลป้องกันภัยทางอากาศที่ 2

โดย: ดร.เซมเป้ (เจ้าบ้าน ) [28 ม.ค. 55 23:36] ( IP A:124.121.168.90 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   จากการที่ กองกำลังป้องกันตนเองทางบกของญี่ปุ่น หรือ JGSDF จัดวางกองทัพภาคต่างๆให้ดูแลภูมิภาคที่รับผิดชอบนั้น ซึ่งนอกจากจะเป็นเกาะใหญ่แล้ว แต่อย่าลืมว่า เกาะ นอกพื้นที่ที่เหลือก็เป็นทะเลล้อมรอบ ถึงแม้จะมีกองกำลังป้องกันทางเรือและกองกำลังป้องกันทางทางอากาศคอยรับผิดชอบก็ตาม แต่กองกำลังป้องกันตนเองทางบกของญี่ปุ่น ก็จัดให้แต่ละหน่วยมีศักยภาพที่สามารถทำการรบหรือป้องกันตนเองได้ทั้ง 3 มิติทั้งภาคพื้น ทางอากาศและทางทะเล จะสังเกตว่า

ในส่วนระดับกองพลทหารราบ ซึ่งเป็นกำลังหลักจะมีทหารอยู่ในระดับกองพลประมาณ 7,000 ถึง 9,000 คน มีกรมทหารราบอยู่ 2 หรือ3 กรม มีกรมทหารยานเกราะหรือรถถัง 1 กรม มีกรมทหารปืนใหญ่ 1 กรมและ 1 กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานหรือป้องกันภัยทางอากาศ นอกจากนี้ยังมีหน่วยทหารระดับกองพันอย่าง กองพันลาดตระเวนยานเกราะ,กองพันทหารช่าง,กองพันทหารสื่อสาร,กองพันอาวุธชีวเคมีหรืออาวุธทำลายล้างสูง และยังมีกองร้อยบินสนับสนุนทางอากาศทั้ง เฮลิคอปเตอร์โจมตีและเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง และยังมีอีก 1 กรมสนับสนุนและช่วยรบในการส่งกำลังบำรุงและด้านอื่นๆ ซึ่งอาจจะถือว่าพอสมควรแต่เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและกำลังอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่

โดย: ดร.เซมเป้ (เจ้าบ้าน ) [28 ม.ค. 55 23:46] ( IP A:124.121.168.90 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
    ในส่วนกองพลน้อย ซึ่งเป็นกองพลทหารราบขนาดย่อมลงมาทหารอยู่ในระดับกองพลประมาณ 3,000 ถึง 4,000 คน มีกรมทหารราบหรือกรมทหารราบยานเกราะอยู่ 2 ถึง 3 กรม มีกองพันทหารยานเกราะหรือรถถัง กองพันทหารปืนใหญ่ อย่างละ 1 กองพัน ส่วนอื่นๆจะมีกองร้อยทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานหรือป้องกันภัยทางอากาศ กองร้อยลาดตระเวนยานเกราะ,กองร้อยทหารช่าง,กองร้อยทหารสื่อสาร,กองร้อยอาวุธชีวเคมีหรืออาวุธทำลายล้างสูง และยังมีกองร้อยบินสนับสนุนทางอากาศทั้ง เฮลิคอปเตอร์โจมตีและเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง และยังมีอีก 1 กองพันสนับสนุนและช่วยรบในการส่งกำลังบำรุงและด้านอื่นๆ

โดย: ดร.เซมเป้ (เจ้าบ้าน ) [28 ม.ค. 55 23:49] ( IP A:124.121.168.90 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
    สำหรับกองพลรถถังและยานเกราะ ซึ่งมีอยู่กองพลเดียวก็คือ กองพลรถถังและยานเกราะที่ 7 ที่อยู่ในส่วนของกองทัพภาคเหนือ ซึ่งจะมี 3 กรมรถถังหลัก คือรถถังแบบ 90 ที่ญี่ปุ่นพัฒนาใช้เอง ซึ่งคาดว่าแต่ละกรมจะมีรถถังแบบ 90 อยู่ประมาณ 5 กองร้อย นอกจากนี้ยังมีกรมทหารราบยานเกราะ 1 กรม ซึ่งมียานเกราะแบบ73 ,89 และแบบ 96 ใช้งานอยู่ ที่สำคัญกองพลรถถังและยานเกราะที่ 7 นี้ยังมีกรมทหารปืนใหญ่และกรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานหรือป้องกันภัยทางอากาศอย่างละ 1 กรม แถมมีกองพันลาดตระเวนยานเกราะ,กองพันทหารช่าง,กองพันทหารสื่อสาร อย่างละ 1 กองพัน นอกจากนี้ยังมีกองร้อยบินสนับสนุนทางอากาศและอีก 1 กรมสนับสนุนและช่วยรบในการส่งกำลังบำรุงและด้านอื่นๆ

โดย: ดร.เซมเป้ (เจ้าบ้าน ) [28 ม.ค. 55 23:52] ( IP A:124.121.168.90 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
    ส่วนกองพลทหารปืนใหญ่ที่ 1 และอีก 2 หน่วยคือกองพลทหารปืนใหญ่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันตก อย่างชื่อก็บอกแล้วว่าจะต้องใช้ปืนใหญ่เป็นหลัก ในระดับกองพลการจัดกำลังจะมี กรมทหารปืนใหญ่อยู่ 2 กรมซึ่งจะใช้ปืนใหญ่อัตราจรอย่างแบบ M 203 ขนาด 203 มม.และเครื่องยิงจรวดแบบ M 270 ซึ่งจัดหามาจากอเมริกา แต่เชื่อมั๊ยครับว่ามีกี่ประเทศที่อเมริกาขายอาวุธแบบนี้ให้ หรือให้ลิขสิทธิ์มาผลิตเอง ถ้าไม่ซี้ปึ๊กกันจริงๆ นอกจากนี้ยังมีหน่วยยิงขีปนาวุธต่อต้านเรือรบในระดับ กรม (ถ้าเรียกชื่อดูแล้วทะแม่งๆอย่าว่ากันนะครับ) ซึ่งใช้ขีปนาวุธต่อสู้เรือรบ เพราะอย่างที่ทราบว่ารอบๆเกาะญี่ปุ่นเป็นทะเล เพราะฉะนั้นจึงมีหน่วยนี้ขึ้นมา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้อาวุธนำวิถีต่อสู้เรือรบ (surface - to - Ship Missile) หรือที่เรียกว่า SSM แบบ 88 ซึ่งในกองพลปืนใหญ่ที่ 1 นี้จะมีอยู่ถึง 3 กรมด้วยกัน

โดย: ดร.เซมเป้ (เจ้าบ้าน ) [28 ม.ค. 55 23:56] ( IP A:124.121.168.90 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   ในส่วนของหน่วยทหารปืนใหญ่ที่อยู่ภายใต้กองพลทหารราบหรือกองพลน้อย ซึ่งจะจัดกำลังในระดับกรมและกองพันนั้นจะใช้ปืนใหญ่อัตราจรแบบ Type 75 ขนาด 155 มม และปืนใหญ่อัตราจรแบบ Type 90 ขนาด155 มม.ซึ่งญี่ปุ่นพัฒนามาจากรุ่น Type 75 นอกจากนี้ยังมีปืนใหญ่ลากจูงและขับเคลื่อนเองได้แบบ FH-70 ขนาด 155 มม.ซึ่งเป็นปืนใหญ่ที่ผลิตจากการพัฒนาของสามประเทศในยุโรปคือ อังกฤษ,เยอรมันและสวีเดน

โดย: ดร.เซมเป้ (เจ้าบ้าน ) [28 ม.ค. 55 23:59] ( IP A:124.121.168.90 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
    ในระดับกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานหรือป้องกันภัยทางอากาศ ซึ่งมีอยู่ 2 กองพล (ภาคเหนือและภาคตะวันตก) จะมีการจัดกำลังในระดับกองพลนั้นจะมี 2 กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานหรือป้องกันภัยทางอากาศ ส่วนอีก 3 ภาคที่เหลือจะมีภาคละ 1 กรมปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานหรือป้องกันภัยทางอากาศ ที่ขึ้นตรงในแต่ละภาค สำหรับอาวุธที่อยู่ในระดับกองพลจะใช้อาวุธนำวิถีปล่อยพื้น-สู่-อากาศ(medium range surface-to-air missile )หลักแบบ MIM 23 HAWK ส่วนที่เป็นกรมปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานหรือป้องกันภัยทางอากาศ ที่ขึ้นตรงกับกองทัพภาคจะใช้อาวุธนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ(medium range surface-to-air missile )แบบ 03 Chū-SAM ซึ่งญี่ปุ่นได้พัฒนาขึ้นมาใช้งานเอง

โดย: ดร.เซมเป้ (เจ้าบ้าน ) [29 ม.ค. 55] ( IP A:124.121.168.90 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   สำหรับในระดับกองพันและกองร้อยที่ขึ้นตรงกับกองพลทหารราบและกองพลน้อยจะใช้อาวุธนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ(short range surface-to-air missile ) หรือที่เราเรียกติดปากว่า SAM นั่นเองครับ ซึ่งมีแบบ Type 81 ซึ่งติดตั้งบนฐานยิงเคลื่อนที่ติดตั้งบนรถยนต์ทหารขนาดกลางและ Type 93 ที่ติดตั้งบนรถยนต์ทหารขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังมีอาวุธนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ(short range surface-to-air missile ) แบบทหารราบนำติดตัวไปด้วยแบบ Type 91 ซึ่งญี่ปุ่นได้พัฒนามาจาก สติงเจอร์ ของอเมริกาที่โด่งดังในสงครามอัฟกานิสถานและสงครามอ่าว

โดย: ดร.เซมเป้ (เจ้าบ้าน ) [29 ม.ค. 55] ( IP A:124.121.168.90 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   ที่สำคัญยังมีกองพลบินสนับสนุนคล้ายๆกับกองบินทหารบกและกองบินปีกหมุนที่มีอากาศยานทั้ง เฮลิคอปเตอร์และเครื่องบิน สนันสนุนกำลังทหารราบเพิ่มเติมจากที่มีอยู่ตามคำเรียก อย่างเช่น

เฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบ AH-64DJP อาปาเช่ หรือ AH 1 S คอบบร้า รวมไปถึงเฮลิคอปเตอร์โจมตีรุ่นใหม่แบบ OH-1 ซึ่งทั้งสามแบบญี่ปุ่นได้ผลิตใช้งานเองทั้งสิ้น และยังมีเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงขนาดใหญ่อย่างเจ้าช้างบิน CH-47J/JA ชินุค รวมถึงอากาศยานอีกหลายแบบ ถึงแม้ว่ากองพลทหารราบและกองพลน้อย(ทหารราบ)รวมไปถึงกองพลทหารปืนใหญ่ก็จะมีหน่วยบินให้การสนับสนุน ซึ่งเป็นหน่วยบิน(ระดับกองร้อย) จะขึ้นตรงอิสระและคำสั่งโดยตรงที่สังกัดอยู่แล้วก็ตาม ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้อากาศยานในการลำเลียงทหารเข้าพื้นที่รบก็คือ เฮลิคอปเตอร์ แบบ UH-60 JA แบล็คฮอวค์ และ เฮลิคอปเตอร์แบบ OH-6 D จะเห็นว่ากองกำลังป้องกันตนเองทางบกของญี่ปุ่น JGSDF เป็นกองทัพที่สมบูรณ์แบบว่ากันง่ายรืออาจจะสามารถทำการรบได้ทั้ง 3 มิติเลยครับ ที่สำคัญอาวุธยุทโธปกรณ์ส่วนใหญ่ผลิตขึ้นใช้เองภายในประเทศ ถึงแม้ต้องได้ลิขสิทธิ์และสัญญาจากอเมริกาก็ตาม มีบางส่วนที่ซื้อนำมาใช้งาน

โดย: ดร.เซมเป้ (เจ้าบ้าน ) [29 ม.ค. 55] ( IP A:124.121.168.90 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
    กำลังรบหลักของกองกำลังป้องกันตนเองทางบกของญี่ปุ่น (JGSDF)

ประกอบด้วย
8 กองพลทหารราบ
6 กองพลน้อย(ทหารราบ)
1 กองพลรถถัง-ยานเกราะ
1 กองพลทหารปืนใหญ่ และ 2 กองพลทหารปืนใหญ่ประจำภาค
2 กองพลปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานและป้องกันภัยทางอากาศ
1 กองพลบินสนับสนุน
4 กองพลทหารช่าง

กองกำลังพิเศษ เช่น กองบัญชาการเตรียมความพร้อมภาคกลาง,กองพลทหารราบทางอากาศ,กองพลน้อยเฮลิคอปเตอร์,หน่วยเรนเจอร์ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของกองทัพภาคกลาง

หน่วยสนับสนุนการรบ เช่น กองบัญชาการฝึกอบรม,กองพลทหารสื่อสาร,กองพลสนับสนุนและช่วยรบซึ่งรับผิดชอบในการลำเลียงและส่งกำลังบำรุง,กรมแพทย์ทหารซึ่งประจำในแต่ละพื้นที่ รวมไปถึงกรมทหารที่ดูแลด้านอาวุธเคมีหรือาวุธทำลายล้างสูง

โดย: ดร.เซมเป้ [29 ม.ค. 55] ( IP A:124.121.121.113 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
    อาวุธยุทโธปกรณ์หลัก ประกอบด้วย

รถถัง

รถถังหลัก Type 10 จำนวน 80 คัน ( JGSDF สร้างเองและทยอยเข้าประจำการเพื่อทดแทน Type 74)

รถถังหลัก Type 90 จำนวน 341 คัน ( JGSDF สร้างเองเป็นลูกผสมระหว่าง เลโอพาร์ดกับอัมบรามส์)

รถถังหลัก Type 74 จำนวน 561 คัน ( JGSDF สร้างเองใช้งานมาตั้งแต่ปี 1975)

โดย: ดร.เซมเป้ [29 ม.ค. 55] ( IP A:124.121.121.113 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
    ยานรบหุ้มเกราะ

ยานรบหุ้มเกราะ Type 89 จำนวน 69 คัน (IFV =infantry fighting vehicle คล้ายๆยานรบแบรดลีย์)

รถสายพานลำลียงพล Type 73 จำนวน 340 คัน (คล้าย รสพ.แบบ M113)

รถหุ้มเกราะลำเลียงพล Type 96 จำนวน 333 คัน (รถหุ้มเกราะล้อยาง พัฒนาแบบจาก LAV 25)

รถหุ้มเกราะขนาดเบา Komatsu LAV จำนวน 1,580 คัน(JGSDF สร้างผลิตเอง)

รถหุ้มเกราะบังคับการและสื่อสาร Type 82 จำนวน 250 คัน (JGSDF สร้างผลิตเอง)

รถหุ้มเกราะลาดตระเวน Type 87 จำนวน 100 คัน (JGSDF สร้างผลิตเอง)

โดย: ดร.เซมเป้ [29 ม.ค. 55] ( IP A:124.121.121.113 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
    ปืนใหญ่/จรวด

ปืนใหญ่อัตราจร Type 75 ขนาด 155 มม.จำนวน 140 คัน (ลิขสิทธิ์และพัฒนามาจาก M 109 )

ปืนใหญ่อัตราจร แบบ M 110 ขนาด 203 มม.จำนวน 90 คัน (ซื้อจากอเมริกา )

จรวดหลายลำกล้อง แบบ M 270 จำนวน 99 คัน (เป็นระบบ Multiple Launch Rocket System ของอเมริกา)

ปืนใหญ่ลากจูง แบบFH 70 ขนาด 155 มม.จำนวน 480 กระบอก (สามารถขับเคลื่อนด้วยตัวเองได้)


โดย: ดร.เซมเป้ [29 ม.ค. 55] ( IP A:124.121.121.113 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
    เครื่องยิงลูกระเบิด

เครื่องยิงลูกระเบิด แบบ RT ขนาด 120 มม.(สั่งซื้อจากฝรั่งเศส)

เครื่องยิงลูกระเบิด แบบ M 2 ขนาด 107 มม. (สั่งซื้อจากอเมริกา)

เครื่องยิงลูกระเบิด แบบ L 16 ขนาด 81 มม. (สั่งซื้อจากอังกฤษ)

เครื่องยิงลูกระเบิด แบบ Type 64 ขนาด 81 มม. (JGSDF ผลิตเองในประเทศ)

เครื่องยิงลูกระเบิด แบบ Type 96 ขนาด 120 มม. (JGSDF ผลิตเองในประเทศ)

โดย: ดร.เซมเป้ [29 ม.ค. 55] ( IP A:124.121.121.113 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
    อาวุธนำวิถีและจรวดต่อสู้รถถัง

อาวุธนำวิถีหรือจรวดต่อสู้รถถัง Type 01 จำนวน 1,073 ชุด (ขนาดเบาสำหรับต่อสู้รถถัง)

อาวุธนำวิถีหรือจรวดต่อสู้รถถัง Type 79 (สำหรับต่อสู้รถถังและเป้าหมายภาคพื้น)

อาวุธนำวิถีหรือจรวดต่อสู้รถถัง Type 87 (สำหรับต่อสู้รถถัง)

อาวุธนำวิถีหรือจรวดต่อสู้รถถัง Type 96 (ติดตั้ง รยบ.สำหรับต่อสู้รถถังและเป้าหมายภาคพื้น)

โดย: ดร.เซมเป้ [29 ม.ค. 55] ( IP A:124.121.121.113 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
    อาวุธนำวิถีต่อสู้เรือรบ

อาวุธนำวิถีหรือจรวดต่อสู้เรือรบ Type 88 จำนวน (สำหรับต่อสู้เรือรบและป้องกันฝั่ง)

โดย: ดร.เซมเป้ [29 ม.ค. 55] ( IP A:124.121.121.113 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
    ระบบป้องกันภัยทางอากาศ

ปตอ.อัตราจร Type 87 จำนวน 52 คัน (JGSDF ผลิตเองในประเทศ ติดปืน 35 มม.แท่นคู่)

อาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานพิสัยกลาง MIM 213 HAWK
อาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานพิสัยกลาง Type 03 (ติดตั้ง รยบ.เคลื่อนที่ขนาดใหญ่)

อาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานพิสัยใกล้ Type 81 จำนวน 57 ระบบ(ติดตั้ง รยบ.เคลื่อนที่ขนาดกลาง)
อาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานพิสัยใกล้ Type 93 จำนวน 90 ระบบ(ติดตั้ง รยบ.เคลื่อนที่ขนาดเล็ก)

อาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานประทับบ่า FIM 92 A สติงเจอร์ จำนวน 80 ชุด
อาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานประทับบ่า Type 91 จำนวน 210 ชุด (JGSDF พัฒนามาจากสติงเจอร์)

โดย: ดร.เซมเป้ [29 ม.ค. 55] ( IP A:124.121.121.113 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
   

โดย: ดร.เซมเป้ [29 ม.ค. 55] ( IP A:124.121.121.113 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
    รถยนต์บรรทุกทหาร(รยบ.)

รยบ.ขนาดเล็ก ½ ตัน Type 73 Shin (ผลิตโดยมิตซูบิชิ)

รยบ.ขนาดกลาง Type 73 Chugata(ผลิตโดยโตโยต้า)

รยบ.ขนาดหนัก Type 73(ผลิตโดยอีซูซุ)

รยบ.ขนาดเล็ก 2 ตัน โตโยต้า SUV สำหรับใช้งานทางทหาร สร้างคล้ายๆรยบ.ฮัมเมอร์

โดย: ดร.เซมเป้ [29 ม.ค. 55] ( IP A:124.121.121.113 X: )
ความคิดเห็นที่ 20
    อากาศยาน(เฮลิคอปเตอร์และเครื่องบิน)

เฮลิคอปเตอร์โจมตี OH 1 จำนวน 34 เครื่อง ( JGSDF พัฒนาและผลิตโดย Kawasaki)

เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH 64 DJP จำนวน 72 เครื่อง (ทยอยเข้าประจำการผลิตโดย Fuji)

เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH 1 S จำนวน 84 เครื่อง (ผลิตโดย Fuji)

โดย: ดร.เซมเป้ [29 ม.ค. 55 1:01] ( IP A:124.121.121.113 X: )
ความคิดเห็นที่ 21
   เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงขนาดใหญ่ CH 47 JA Chinook จำนวน 54 เครื่อง (ผลิตโดย Kawasaki)

เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง UH 60 JA Blackhawk จำนวน 29 เครื่อง (ผลิตโดย Mitsubishi)

เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง OH 6 D จำนวน 29 เครื่อง (ผลิตโดย Kawasaki แบบมาจาก ฮ.MD 500)

เฮลิคอปเตอร์สำหรับบุคคลสำคัญ EC 225LP จำนวน 3 เครื่อง (ผลิตโดย ฝรั่งเศส)

เฮลิคอปเตอร์ฝึก TH 480 B จำนวน 30 เครื่อง (ผลิตโดย อเมริกา)
เครื่องบินลำเลียงและธุรการ LR 1(MU-2) จำนวน 6๔เครื่อง (ผลิตโดย Mitsubishi)

เครื่องบินลำเลียง LR 2 จำนวน 6 เครื่อง (ซื้อจากอเมริกามาใช้งาน)

โดย: ดร.เซมเป้ [29 ม.ค. 55 1:03] ( IP A:124.121.121.113 X: )
ความคิดเห็นที่ 22
   จะสังเกตว่าอาวุธยุทโธปกรณ์ใน กองกำลังป้องกันตนเองทางบกของญี่ปุ่น(JGSDF) ส่วนใหญ่ผลิตขึ้นใช้เองในประเทศ เกือบร้อยละ 90 และเป็นอาวุธจากทางอเมริกาให้ลิขสิทธิ์ในการผลิตและพัฒนาสำหรับญี่ปุ่นโดยเฉพาะ ซึ่งมอบหมายให้บริษัทเอกชนต่างๆนำไปผลิตและส่งมอบให้ JGSDF นับว่าเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตอาวุธไว้ใช้งานเอง (ไม่สามารถขายให้ใครได้) ในส่วนที่เหลือก็สั่งซื้อจากทางยุโรปและอาจมีการพัฒนารูปแบบอาวุธยุทโธปกรณ์ให้เหมาะสมกับการใช้งานและสภาพภูมิประเทศของญี่ปุ่นเอง เราลองพิจารณาดูนะครับว่า กองกำลังป้องกันตนเองทางบก ทำไมถึงมีศักยภาพสูงมากทั้งกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ เห็นแล้วอยากเห็นกองทัพบ้านเราน่าจะพัฒนาคิดค้นอาวุธใช้เองมากขึ้น จะได้พึ่งพาคนอื่นเขาน้อยลง มันทำให้ดร.เซมเป้ คิดอยากถามหลายๆท่านว่าเราจะทำได้แบบญี่ปุ่นหรือเปล่ามันน่าคิดนะครับ

https://www.penguin-village.pantown.com/

โดย: ดร.เซมเป้ [29 ม.ค. 55 1:08] ( IP A:124.121.121.113 X: )
ความคิดเห็นที่ 23
   และคอยติดตามกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลและทางอากาศของญี่ปุ่นนะครับ ขอขอบคุณเวบต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ให้ข้อมูลในการที่ดร.เซมเป้ได้สามารถรวบรวมมาให้อ่านกันเพลิน คนที่ไม่ได้มีความรู้ด้านนี้ก็สามารถศึกษาและเข้าใจได้ง่ายนะครับ ถ้าแฟนๆท.ทหารอดทน เห็นว่ามีอะไรผิดพลาดและแก้ไขเพิ่มเติมก็ยินดีนะครับ

ฝากภาพสวยๆมาให้ชมกันตอนท้ายด้วยนะครับ

โดย: ดร.เซมเป้ [29 ม.ค. 55 1:13] ( IP A:124.121.121.113 X: )
ความคิดเห็นที่ 24
   

โดย: ดร.เซมเป้ [29 ม.ค. 55 1:14] ( IP A:124.121.121.113 X: )
ความคิดเห็นที่ 25
   

โดย: ดร.เซมเป้ [29 ม.ค. 55 1:15] ( IP A:124.121.121.113 X: )
ความคิดเห็นที่ 26
   

โดย: ดร.เซมเป้ [29 ม.ค. 55 1:17] ( IP A:124.121.121.113 X: )
ความคิดเห็นที่ 27
   

โดย: ดร.เซมเป้ [29 ม.ค. 55 1:18] ( IP A:124.121.121.113 X: )
ความคิดเห็นที่ 28
   

โดย: ดร.เซมเป้ [29 ม.ค. 55 1:20] ( IP A:124.121.121.113 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน