ตอนที่ 7 ลุงโอภาสคุยกับหลาน Sugar- 10 Very Easy Violin Collection
   ลุงเคยเปรยให้หนูฟังแล้วว่า การติดตามความรู้ต่างๆในเว็บ ไม่เหมือนกับในโรงเรียน ที่มีนักเรียนเริ่มต้นเรียนกันมาด้วยกัน และมีพื้นฐานความรู้มาเท่าๆกัน แต่ในเว็บใครๆก็เข้ามานั่งเรียนร่วมได้ ดังนั้นเราจึงมีผู้สนใจ ที่เพิ่งซื้อไวโอลินมาเมื่อสองเดือนที่แล้ว และเด็กๆ ที่พ่อแม่ส่งไปเรียนดนตรี คละเคล้ากับผู้ใหญ่สูงอายุ และนักไวโอลินระดับปรมาจารย์เข้ามานั่งร่วมอยู่ด้วย ดังนั้น วันนี้ เรากลับไปคุยกันเื่รื่องง่ายๆลงไปกว่าที่แล้วมา เพื่อให้คนที่ตามไม่ทันได้ตามทัน

ถ้าหนูเข้าไปใน Yahoo! Briefcase ที่ลุงเอาไฟล์เพลงไปฝาเก็บไว้...แล้วเข้าไปดาวน์โหลด ไฟล์เพลงนามสกุล PDF จะมีไฟล์ที่ชื่อว่า.....Violin_Collection_II ซึ่งเก็บรวมอยู่ในหมวดแฟ้ม Scores under PDF Format….(ยังมีต่อ...โปรดติดตาม)
โดย: ลุงโอภาส [7 มี.ค. 51 4:24] ( IP A:118.174.167.58 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   

โดย: ลุงโอภาส [7 มี.ค. 51 5:17] ( IP A:118.174.244.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   
เมื่อเปิดไฟล์หน้าปกทำสวยงามรูปร่างอย่างนี้....

โดย: ลุงโอภาส [7 มี.ค. 51 5:20] ( IP A:118.174.244.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   เลื่อนจอลงไปดูเนื้อในจะมีเพลง คลาสสิค ไพเราะทั้งนั้น เขียนโน้ตขึ้นใหม่ให้ผู้ที่กำลังเรียนไวโอลิน ได้ฝึกหัดปูทาง ไปสู่การเล่นเพลงคลาสสิค ผู้ฝึกจะได้คุ้นเคยกับจังหวะ คุ้นเคยกับทำนองเพลง เมื่อฝึกซ้อมโน้ตเพลงจริงๆ จะง่ายเข้า เพลงทั้งหมดในไฟล์นี้มี10 เพลงดังนี้....

Minuet ของ Mozart
Humoresque ของ Dvorak
Can Can ของ Offenback
Eine Kleine Nachtmusic ของ Mozart
Promenade ของ Mussorgsky
Symphony No. 5 ของ ฺbeethoven
La Companella ของ Paganini
Minuet ของ Boccherini
Air ของ Bach
Hours Dance ของ Ponchielli

ลุงจะยกเอาเพลง ลำดับที่หนึ่ง มาคุยกับหนูในวันนี้
คือเพลง.... Minuet ของ Mozart โน้ตเพลงสำหรับฝึกหัดสีไวโอลิน มีหน้าเดียว คือโน้ตที่เห็นข้างล่างนี้....

โดย: ลุงโอภาส [7 มี.ค. 51 5:27] ( IP A:118.174.244.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   
ถ้าคลิกที่รูปลำโพงข้างล่าง หนูจะได้ฟังทำนองเพลง และสามารถ save เป็นไฟล์มิดี้เอาไปให้ Notation Player เล่นเพลงข้างบนนี้ให้ฟัง และเราฝึกสีไวโอลิน ตามโน้ตบนจอคอมพิวเตอร์ได้

โน้ตข้างบนนี้ เป็นโน้ตสำหรับผู้ที่เรียนไวโอลิน..ระดับ พอสีโน้ตได้ครบทุกสายแล้วเล่นได้สบาย.... มีเครื่องหมาย เส้นคร่อมบอกคันชักขึ้น/คันชักลง เรียกว่า เครื่องหมาย Slur ครูเพลงเป็นผู้กำหนดคันชักให้ การกำหนดคันชักเหมือนการผ่อนหาจังหวะพักหายใจในการร้องเพลง จากเพลงห้องแรกถึงห้องสุดท้าย ที่สำคัญ เวลาสีร่วมกันหลายคนผู้เล่นจะได้ใช้คันชักขึ้นลงเหมือนๆกันดูแล้วสวย ไม่มีกฏเกณฑ์ การชักขึ้นชักลง แต่ในเพลง ¾ จังหวะวอลซ์ ลูกวงที่เล่นด้วยกันกับลุง สมัยหนุ่มๆที่วงธรรมศาสตร์ (อ้อ...โม้เสียหน่อย ท่านอดีตอธิบดีกรมการแพทย์... ชิน โอสถ... ท่านนั่งสีไวโอลินอยู่ด้วยกันกับลุง...ท่านเก่งกว่าลุง) เราจะตั้งกฎกันง่ายๆว่า ให้ใช้คันชักลง สำหรับโน้ตตัวแรกของห้องดนตรีทุกห้อง และให้ปฏิบัติเหมือนกันจนจบเพลงห้องสุดท้าย

Fingering คือตัวเลขกำกับบนหัวตัวโน้ต เป็นตัวเลข 1-2-3-4 บอกให้ใช้ปลายนิ้วชี้ – นิ้วนาง – นิ้วกลาง – นิ้วกอ้ย และ 0 สำหรับให้สีสายเปล่า เพลงข้างบนนี้ครูเพลง กำหนดให้เล่น โปสิชั่น 1 ตัวเลขนี้จึงง่าย เมื่อใต่ระดับไปเล่นเพลงนี้ในระดับนักไวโอลิน การใช้นิ้ว และกำหนดว่า ใ้ห้สีสายไหน จะยากขึ้นไป และบางครั้งยากมาก เล่นตามที่ครูบอกไม่ได้

ใต้บรรทัด มีรหัสตัวอักษร C D E F G A B สำหรับอ่านชื่อตัวโน้ต โด – เร – มี – ฟา – ซอล – ลา - ที ส่วนลุงนั้นเรียนดนตรีเริ่มแรก ด้วยโน้ตของ เชอร์เวย์ อ่านตัวโน้ต โดเรมีฟาซอลลาซี ด้วยตัวเลข 1 2 3 4 5 6 7 ถ้าเห็นโน้ตของเพลงใดเป็นตัวเลข ลุงจะสามารถฮัมเพลงนั้นได้ทันทีเลย โดยอัตโนมัติ ถ้าเป็นอักษรตามตัวอย่างข้างบนลุงไม่ค่อยถนัด

โปรดทำความเข้าใจอีกครั้ง...ขอย้ำกับหนูและสมาชิกทุกคนอีกครั้งว่า บรรดาเครื่องหมายที่พรรณนามาทั้งหมด ไฟล์มิดี้เก็บบันทึกไม่ได้ ไฟล์มิดี้เก็บได้แต่เสียงของ….ทำนองเพลง หรือ Melody เสียงดัง/ค่อย และจังหวะช้า/เร็วเท่านั้น ดังนั้นโปรแกรมเขียนโน้ตแต่งเพลงทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Encore - Sibelius หรือ Finale ผู้ใช้โปรแกรมต้องเอา ทำนองเพลงจากไฟล์มิดี้ ไปแต่งเติม ใส่เครื่องหมายที่ว่าเข้าไปเอาเองซึ่งผู้ผลิตเหล่านั้น เขาเตรียมเครื่องมือสำหรับแต่งเติมโน้ตเพลงให้กับผู้ใช้ไว้พร้อม... ไฟล์ที่ตบแต่งขึ้นใหม่เรียบร้อยแล้ว ถ้าเอาไป Save กลับเป็น Midi บรรดาเครื่องหมายที่ตบแต่งไ้ว้ ก็ลบหายหมด ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องเก็บ หรือบันทึกไฟล์ใหม่นี้เป็น... ไฟล์เพลง Enc หรือ Sib หรือ not ไฟล์อีกประเภทหนึ่ง...ที่เก็บรายละเอียดเหล่านี้ได้หมดจดและถาวร... คือไฟล์ ภาพ Graphic นามสกุล jpg... ซึ่งเปรียบเหมือนกับเอากล้องถ่ายรูป ถ่ายโน้ตต้นฉบับเก็บเอาไว้นั่นเอง ไฟล์ประเภทเีดียวกันนี้..ที่นิยมกันแพร่หลายคือ ไฟล์ PDF ที่ต้องเปิดดูด้วยโปรแกรม Acrobat Reader ไฟล์ PDF ดีตรงที่คอมพิวเตอร์ในระบบ Mac ระบบ Microsoft เอาไปใช้ได้

การบ้านในการฝึกสีไวโอลินที่หนูต้องทำในคราวนี้คือ.....

ขั้นที่ 1 Print โน้ตเพลง ทั้งสิบเพลง ลงบนกระดาษ หนูจะได้โน้ตเป็นแผ่นๆสวยงามเหมือนโน้ตที่วางขาย
ขั้นที่ 2 หนูฟังเพลงทั้งสิบเพลงที่ลุง ส่งไฟล์มาให้โดยคลิกที่เครื่องหมายลำโพงข้างล่างนี้ พร้อมกับ Save ไฟล์มิดี้แต่ละเพลงเอาไว้
ขั้นที่ 3 เป็นภาคปฏิบัติ หนูหยิบไวโอลิน มาฝึกสีเพลงทั้งสิบ จากจอคอมพิวเตอร์ โดยให้ Notation Player เล่นเพลงแต่ละเพลงให้ฟัง จนพอจะสีได้
ขั้นที่ 4 หยิบโน้ตแม่เพลงต้นฉบับตามขั้นที่ 1 ที่ถ่ายไว้ มาตรวจสอบดู และลองเอาไวโอลินสีดูตามโน้ตที่ถ่ายไว้ แก้ไข นิ้ว และคันชักขึ้นลงให้ถูกต้อง ในขั้นที่ 4 นี้ถ้าสามารถปรับวิธีการฝึกหัด...โดยให้หนูใช้หูฟังเสียงจาก Notation Player ในขณะที่ใช้ตาของหนูมองตัวโน้ตที่พิมพ์บนแผ่นกระดาษ จะยิ่งดี วิธีนี้ จะนำพาหนูไปสู่ความยิ่งใหญ่ เป็นนักไวโอลินมืออาชีพในอนาคต เพราะหนูจะสีไวโอลินได้ถูกจังหวะ และสีเสียงไม่เพี้ยน เพลงแต่ละเพลงที่หนูฝึก เหมือนมีครูเพลง คอยคุมเสียงและจังหวะ และนี่คือผลประโยชน์อันคุ้มค่า ในการฝึกหัดสีไวโอลิน ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ข้างล่างนี้เป็นไฟล์เพลงทั้งสิบ สำหรับ save แต่ละเพลงเอาไว้ ไปให้โปรแกรม Notation Player เล่นให้ฟัง
โดย: ลุงโอภาส [7 มี.ค. 51 5:34] ( IP A:118.174.244.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   
01 เพลง Minuet ของ Mozart

โดย: ลุงโอภาส [7 มี.ค. 51 5:38] ( IP A:118.174.244.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   
02 เพลง Humoresque Dvorak

โดย: ลุงโอภาส [7 มี.ค. 51 5:40] ( IP A:118.174.244.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   
03 เพลง Can Can ของ Offenbach

โดย: ลุงโอภาส [7 มี.ค. 51 5:42] ( IP A:118.174.244.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   
04 เพลง Eine Kleine Nachtmusik ของ Mozart

โดย: ลุงโอภาส [7 มี.ค. 51 5:44] ( IP A:118.174.244.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   
05 เพลง Promenade ของ Mussorgsky

โดย: ลุงโอภาส [7 มี.ค. 51 5:46] ( IP A:118.174.244.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   
06 เพลง Concerto No. 5 ของ Beethoven

โดย: ลุงโอภาส [7 มี.ค. 51 5:47] ( IP A:118.174.244.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   
07 เพลง La Campanella ของ Paganini

โดย: ลุงโอภาส [7 มี.ค. 51 5:49] ( IP A:118.174.244.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   
08 เพลง Minuet ของ Bocherini

โดย: ลุงโอภาส [7 มี.ค. 51 5:50] ( IP A:118.174.244.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   
09 เพลง Air ของ J.S. Bach

โดย: ลุงโอภาส [7 มี.ค. 51 5:51] ( IP A:118.174.244.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   
10 เพลง Hours Dance ของ Ponchielli

โดย: ลุงโอภาส [7 มี.ค. 51 5:53] ( IP A:118.174.244.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   ขอบพระคุณคุณลุงมากค่ะ
หนูได้ปฏิบัติตามคำสั่งของคุณลุงทุกประการค่ะ โน้ตเพลงที่ได้จากคุณลุงหนูพิมพ์เก็บไว้เป็นแฟ้มเลยค่ะ และได้พยายามสีตามคอมให้ทันด้วยค่ะ จะรายงานผลให้ทราบเรื่อยค่ะ
เคารพอย่างสูง
โดย: Sugar [11 มี.ค. 51 21:59] ( IP A:61.7.178.174 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   ขอขอบพระคุณคุณลุงมากค่ะ
โดย: จูน [20 ก.ย. 51 7:27] ( IP A:125.27.166.93 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน