ความคิดเห็นที่ 2 โปรดลบทิ้ง ความคิดเห็นที่ 1 ข้างบนนี้ ฟังเพลงสีไวโอลินหนึ่งในร้อย โปรดคลิกที่เครื่องหมาย สามเหลี่ยมเล็กๆ ในภาพข้างบนนี้ เพื่อเปิดฟังเสียงเพลงเพราะๆ และชมลีลา การเดี่ยวไวโอลิน ของอาจารย์สุวรรณ โดยที่ท่านมิพักต้องตะลอนไปดูวิดิโอ...ใน Youtube ในช่อง suwan 9119 เพลงนี้ ผู้ประพันธ์ทำนองเพลงคือ... สง่า อรัมภีร์ ผู้ประพันธ์เนื้อร้องคือ..แก้ว อัจฉริยะกุล และผู้ร้องอัดแผ่นเสียงคือ..สวลี ผกาพันธ์ ผู้เรียบเรียงเสียงประสานและดนตรีคือ...ปรีชา เมตไตรย์ ครูสง่า อรัมภีร์ เป็นศิลปินแห่งชาติปี 2531 ชื่อฉายา หรือชื่อเล่นคือ ครูแจ๋ว วรจักร์ เพื่อนรุ่นเดียวกันก็มี สุรพล แสงเอก ชูศรี โรจนประดิษฐ์ ไสล ไกรเลิศ สมัยหนุ่มๆเคยอยู่รับใช้ ศาตราจารย์ พระเจนดุริยางค์ เป็นที่รักใคร่ของพระเจนฯ ท่านได้เมตตาสอนวิชาจดโน้ตเพลงจากเสียงเปียนโน และสอนวิชาเล่นเปียนโนจนเล่นได้ดีเป็นหนึ่ง เคยเล่นเปียนโน คลอเสียงไวโอลิน กับครูสุทิน เทศารักษ์ ที่ห้องไอสครีม ศาลาเฉลิมไทยอยู่พักใหญ่ ครูสง่าเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมดนตรี แห่งประเทศไทย สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ได้ประพันธ์เพลงไว้ไม่น้อยกว่า 1000เพลง เช่นเพลง น้ำตาแสงใต้ นางแก้วในดวงใจ หนึ่งในร้อย วนาสวาท สีชัง หนี้รัก ระฆังทอง เป็นต้น ครูแก้ว อัจฉริยะกุล คุณพ่อของครูแก้วเป็นชาวกรีก ดังนั้นครูแก้วสมัยเด็กเข้าเรียนหนังสือ วนเวียนอยู่กับโรงเรียนที่ดำเนินการโดย คณะมิชชั่นนารีของคริสต์จักร์ เริ่มต้นเรียนที่โรงเรียน เยนเฮส์เมมโมเรียล ที่มีชื่อเสียง แล้วย้ายไปเรียนที่ โรงเรียน เซ็นต์ปีเตอร์ และจบม. 8 ที่ กรุงเทพคริสเตียน แล้วไปต่อที่คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ได้สมัครเข้ารับราชการที่กรมไปรษณีย์โทรเลข จนถึงปี 2497 จึงลาออกเป็นข้าราชการบำนาญ ระหว่างที่รับราชการอยู่นั้น ได้ร่วมงานกับครูเวส สุนทรจามร ตั้งคณะลคร สมัยหนึ่งครูแก้วได้รับเกียรติ์จากฮอลลิวู๊ด ได้รับรางวัล นาฬกาทองจากผลงานดีเยี่ยมในการโฆษณาภาพยนต์เรื่อง เบนเฮอร์ ครูแก้วเป็นนักประพันธ์ที่ดีเยี่ยม สาระของเนื้อเพลงที่ท่านประพันธ์ออกมา มีถ้อยคำที่่ไพเราะ ใช้ถ้อยคำสัมผัสนอกสัมผัสในเหมือนบทกวี ถูกต้องในความสูงต่ำของวรรณยุกต์ ซึ่งนักประพันธ์เนื้อร้องในยุคต่อมายึดถือเป็นแบบอย่าง ครูแก้ว ทำงานหนักตลอดชีวิต ท่านถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ด้วยโรค เส้นโลหิตในสมองแตก เมื่อปี 2524 รวมอายุได้ 66 ปี สวลี ผกาพันธ์ เกิด พ.ศ. 2474 ที่กรุงเทพมหานคร มีชื่อจริงแต่แรกเกิดว่า เชอร์รี่ ฮอฟแมนน์ เป็นลูกครึ่งที่เกิดแต่บิดาชาวเดนมาร์ก และมารดาชาวไทย นับอายุถึงปัจจุบัน 82 ปีแล้ว จึงขอใช้สรรพนามว่า..คุณป้า คุณป้าสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม เมื่อปี พ.ศ. 2490 จากนั้นได้เรียนต่อเพิ่มเติมทางด้านชวเลข และพิมพ์ดีด เมื่อเรียนจบแล้วได้เข้าทำงานเป็นเสมียนพิมพ์ดีดอยู่ที่เทศบาลนครกรุงเทพ และบริษัทสหไทยวัฒนา คุณป้าสนใจทางด้านการขับร้องและดนตรี เริ่มตั้งแต่สมัยเรียนชั้นมัธยม และด้วยความเป็นผู้มีน้ำเสียงดี จึงได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำในการร้องเพลงชาติทุกวัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2491 ขณะที่อายุได้ 17 ปี และกำลังทำงานที่บริษัทสหไทยวัฒนานั้น ครูสอนวิชาขับร้องที่โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม ได้ชวนไปดูการฝึกซ้อมละครของคณะผกาวลี ซึ่งเป็นของญาติ ทำให้มีโอกาสรู้จักกับ ครูลัดดา สารตายน (ศิลปะบรรเลง) ผู้ฝึกซ้อมและกำกับการแสดง และต่อมา คุณป้าก็เข้าสู่วงการ ขับร้อง และวงการละครเต็มตัวทำให้ มีชื่อเป็นที่รู้จักทั่วไปและได้แสดงนำภาพยนต์อีกหลายเรื่อง ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ บ้านทรายทอง บทประพันธ์อมตะตลอดกาลของ ก.สุรางคนางค์ โดยคุณป้า รับบทเป็น “พจมาน” คนแรก และได้ร้องเพลงไพเราะที่ผู้คนร้องกันเกร่อในสมัยนั้นคือเพลง... หากรู้สักนิด... ผลงานการประพันธ์ของ หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ เพลงนี้ยังเป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังได้ร่วมแสดงกับคณะเทพศิลป์ และคณะศิวารมย์เป็นครั้งคราว ตัวอย่างผลงานเพลงที่โด่งดังของคุณป้าคือ... จำเลยรัก เดือนดารา ปล่อยฉันไป ใครหนอ ดวงใจ สนามอารมณ์ บำนาญรัก รักในใจ บ้านของเรา ไฟรักรุมใจ อย่าทรมานอีกเลย คนใจดำ ฆ่าฉันให้ตายดีกว่า ฟ้ามิอาจกั้น รักเธอเสมอ ถ้าวันนี้ยังมีเขาอยู่ ผลงานภาพยนตร์ของคุณป้าคือ.... กฤษดาอภินิหาร (2493) พระเจ้ากรุงธนบุรี (2495) สามหัวใจ (2497) คำสั่งคำสาป (2497) - น้ำตาชาย (2497) เป็นต้น การถ่ายทำ วิดิโอประกอบเพลง กล้องแพนไปอยู่ที่ นิ้วมือของอาจารย์ ที่พลิ้วเลื่อนขึ้นลงอยู่บน Finger Board ใน position 1 กับ position 3 ใน position 1 อาจารย์ใช้นิ้ว 4 คือนิ้วก้อยกด แทนการสีโน้ตสายเปล่า ซอล--เร-- ลา -- มี อาจารย์เล่นเพลงไทย ตามระดับเสียงของโน้ต ในขณะที่นักไวโอลินของวงเพลงไทยสากล นิยมสีแบบยกเสียงสูงขึ้นไป 7 เสียงที่เรียกว่า อ๊อกเต็บ (Octave) โดยนิยมกันว่า ไพเราะ... ผมยึดถือตามแนวของอาจารย์สุวรรณตลอดมาครับ ผมว่าการสีไวโอลินด้วยเสียงสูงแหลม มันเหมือนเจ๊กสีซออู้ครับ ไม่ไพเราะ และไม่น่าจะถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ |