คู่มือองค์กร..คู่มือของคนที่กำลังอยากเป็นลูกจ้างบริษัท
   


เผอิญว่าผมเก็บหนังสือคู่มือของบริษัทใหญ่แห่งหนึ่งไว้ก็เลยมาเปิดอ่านแล้วเห็นว่าน่าจะถ่ายทอดให้ประชาชนทั่วไปที่กำลังจัดตั้งบริษัทอยู่และอยากมีกฎระเบียบของบริษัทที่จะแจ้งให้พนักงานปฏิบัติตามแต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรก็ลองนำไปประยุกต์ให้เข้ากับองค์กรของตนเองได้นะครับ

ประเภทการลา

พนักงานใช้สิทธิการลาทุกประเภทได้ในรอบระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี โดยมีประเภทของการลาดังนี้

1. ลากิจธุระอันจำเป็น
2. ลาป่วย
3. ลาคลอดบุตร
4. ลาเพื่อทำหมันและลาเนื่องจากการทำหมัน
5. ลาเพื่อรับราชการทหาร
6. ลาเพื่อการฝึกอบรม
7. ลาเพื่อการอุปสมบท
8. ลาเพื่อการสมรส
9. ลาเนื่องจากบุคคลในครอบครัวถึงแก่กรรม

การลาทุกประเภทยกเว้นการลาหยุดพักผ่อนประจำปี จะมีผลต่อการประเมินผลงานประจำปีของพนักงานทุกคน

 

โดย: สมนึก (เจ้าบ้าน ) [18 ก.ย. 56 12:19] ( IP A:101.108.34.12 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
Counter : 1209 Pageviews
ความคิดเห็นที่ 2
   
การลากิจธุระอันจำเป็น หมายความถึง กิจที่ไม่สามารถทำได้ในวันหยุดหรือมอบหมายให้คนอื่นทำแทนตนได้ ยกตัวอย่างเช่น

1. บิดา มารดา คู่สมรสหรือบุตรเจ็บป่วย จำเป็นต้องมีผู้ดูแล
2. ที่พักอาศัยประสบภัยธรรมชาติ ไฟไหม้ หรือทรัพย์สินมีค่าถูกโจรกรรม
3. งานอุปสมบทของบุตร
4. ร่วมกิจกรรมที่สถานศึกษาของบุตร-ธิดา
5. ติดต่องานราชการ รวมทั้งงานคดีทางศาลที่มิใช่คดีความกับบริษัทฯ
6. ภรรยาคลอดบุตร
7. การจัดการเรื่องที่อยู่อาศัย หรือการประกอบพิธีทางศาสนาที่จำเป็น
8. กรณีจำเป็นอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเห็นสมควรให้ลากิจได้

ทั้งหมดนี้รวมกันแล้วลาได้ไม่เกินปีละ 5 วันทำงานโดยได้รับค่าจ้างและต้องยื่นใบลาล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วันทำงาน

หมายเหตุ พนักงานชั่วคราวและพนักงานที่ได้รับการจ้างงานแบบมีระยะเวลาไม่สามารถใช้สิทธิลาประเภทนี้ได้


โดย: สมนึก (เจ้าบ้าน ) [18 ก.ย. 56 12:44] ( IP A:101.108.34.12 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   
การลาป่วย

1. ลาโดยได้รับค่าจ้างปีหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำงาน
2. ต้องแจ้งให้ทราบภายในวันนั้น หากไม่ได้ต้องแจ้งโดยเร็วที่สุด
3. ยื่นใบลาภายในวันแรกที่กลับเข้าทำงาน
4. ลา 3 วันขึ้นไป (มีหรือไม่มีวันหยุดคั่น) ต้องมีใบรับรองแพทย์
- ถ้าไม่สามารถแสดงใบรับรองแพทย์ได้ ให้ชี้แจงบริษัทฯ ทราบ
- บริษัทฯ สงวนสิทธิจะให้แพทย์ของบริษัทฯ ตรวจรักษาอีกครั้ง
5. การลาป่วยที่ไม่ถูกต้องถือเป็นการขาดงาน ไม่ได้ป่วยจริงถือเป็นความผิดที่ร้ายแรงและมีโทษทางวินัย

โดย: สมนึก (เจ้าบ้าน ) [18 ก.ย. 56 12:50] ( IP A:101.108.34.12 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   
การลาคลอดบุตร

1. ลาเพื่อคลอดบุตรก่อนรวม/หรือหลังคลอดได้ไม่เกิน 90 วันรวมวันหยุดโดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 45 วัน
2. หากมีใบรับรองแพทย์แสดงว่าไม่สามารถทำงานในหน้าที่เดิมได้ จะขอให้บริษัทฯ เปลี่ยนงานเป็นการชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอดก็ได้
3. พนักงานหญิงที่ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ จะต้องแจ้งให้หัวหน้างานและฝ่ายทรัพยากรบุคคลทราบทันที

โดย: สมนึก (เจ้าบ้าน ) [18 ก.ย. 56 12:59] ( IP A:101.108.34.12 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   
การลาเพื่อทำหมัน

1. สามารถลาเพื่อทำหมันและลาเนื่องจากการทำหมันโดยได้รับค่าจ้าง
2. จำนวนวันลาเป็นไปตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด
3. แจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน
4. ยื่นใบรับรองแพทย์ในวันแรกที่กลับเข้าทำงานตามปรกติ

โดย: สมนึก (เจ้าบ้าน ) [18 ก.ย. 56 13:02] ( IP A:101.108.34.12 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   
การลาเพื่อรับราชการทหาร

1. ลาได้ปีละไม่เกิน 60 วัน (รวมวันหยุด) โดยได้รับค่าจ้าง
2. แจ้งให้ทราบภายใน 3 วันนับวันที่ได้รับหมายเรียก และต้องกลับเข้าทำงานภายใน 3 วันนับจากวันที่หมดหน้าที่
3. หากพ้นกำหนดดังกล่าวและไม่ได้ติดต่อกลับหรือปฏิเสธที่จะเข้าทำงาน (ในตำแหน่ง/ค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม) ถือว่าพนักงานสละสิทธิที่จะทำงานกับบริษัทฯ และถือว่าพนักงานได้ลาออกโดยสมัครใจ

โดย: สมนึก (เจ้าบ้าน ) [18 ก.ย. 56 13:06] ( IP A:101.108.34.12 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   
การลาเพื่อการฝึกอบรม

1. ลาเพื่อเพิ่มทักษะความชำนาญ
2. โครงการฝึกอบรมต้องมีกำหนดช่วงเวลาชัดเจน / แน่นอน
3. ต้องแจ้งเหตุที่ลาและแสดงหลักฐานล่วงหน้า 7 วันก่อนลา
4. ไม่อนุญาตให้ลากรณีลาไปแล้วมากกว่า 30 วัน หรือ 3 ครั้ง หรือเป็นการลาที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทฯ

พนักงานจะไม่ได้รับค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ลา

โดย: สมนึก (เจ้าบ้าน ) [18 ก.ย. 56 13:11] ( IP A:101.108.34.12 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   
การลาเพื่อการอุปสมบท

1. ทำงาน 1 ปีขึ้นไปและไม่เคยบวชมาก่อน (ยกเว้นบวชหน้าไฟ)
2. อายุงาน 1-5 ปี ลาได้ 15 วัน / อายุงาน 5 ปีขึ้นไป ลาได้ 30 วัน
3. ได้รับค่าจ้างตามจำนวนวันที่อุปสมบทจริงเท่านั้น
4. ลาได้เพียงครั้งเดียวตลอดเวลาที่ทำงานกับบริษัทฯ
5. ยื่นใบลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน
6. แสดงหลักฐานการลา / ใบสุทธิการอุปสมบทจากวัด
7. ต้องกลับเข้าทำงานภายใน 3 วันนับจากวันที่ลาสิกขาบท หากไม่กลับภายใน 3 วันเป็นการขาดงาน / ละทิ้งหน้าที่และมีโทษทางวินัย

โดย: สมนึก (เจ้าบ้าน ) [18 ก.ย. 56 13:15] ( IP A:101.108.34.12 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   
การลาเพื่อสมรส

1. บรรจุเป็นพนักงานประจำแล้ว
2. ลาได้ 5 วันโดยได้รับค่าจ้าง ต้องยื่นใบลาล่วงหน้า 30 วัน
3. หลักฐาน ได้แก่ ทะเบียนสมรส หรือบัตรเชิญ หรือรูปถ่ายงาน
4. ยื่นหลักฐานการลาในวันแรกที่กลับเข้าทำงาน
5. ลาไม่ถูกต้องถือเป็นการขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่
6. ใช้สิทธิลาได้ครั้งเดียวตลอดเวลาที่อยู่กับบริษัทฯ

โดย: สมนึก (เจ้าบ้าน ) [18 ก.ย. 56 13:18] ( IP A:101.108.34.12 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   
การลาเนื่องจากบุคคลในครอบครัวถึงแก่กรรม

1. ลาหยุดงานเมื่อบุคคลในครอบครัว ได้แก่ บิดา, มารดา, พี่, น้อง, คู่สมรส และบุตร ได้ถึงแก่กรรม
2. ยื่นใบลาได้ทันทีที่เกิดเหตุการณ์
3. ลาได้ไม่เกิน 5 วันรวมวันหยุด
4. หลักฐาน ให้ใช้สำเนามรณะบัตร
5. ลาไม่ถูกต้องเป็นการขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่

โดย: สมนึก (เจ้าบ้าน ) [18 ก.ย. 56 13:21] ( IP A:101.108.34.12 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   
วันหยุดประจำสัปดาห์ ได้แก่ วันเสาร์และวันอาทิตย์ หรือ วันอาทิตย์ (วันเดียว) หรือ วันอาทิตย์และทุกวันเสาร์ของสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของทุกเดือน เป็นต้น

พนักงานบางสายงาน อาจกำหนดเป็นวันใดก็ได้โดยให้หยุดสัปดาห์ละ 1 วัน หลังจากทำงานไม่เกิน 6 วันติดต่อกัน และอาจต้องสับเปลี่ยนหมุนเวียนหยุดตามความเหมาะสม



โดย: สมนึก (เจ้าบ้าน ) [18 ก.ย. 56 13:26] ( IP A:101.108.34.12 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   
วันหยุดตามประเพณี

1. ปีละไม่น้อยกว่า 13 วันโดยต้องรวมวันแรงงานด้วยทุกปีและได้รับค่าจ้าง
2. อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
3. หากตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์จะเลื่อนไปหยุดในวันทำงานถัดไป
4. ถ้าไม่ได้หยุดจะให้หยุดวันอื่นชดเชยหรือจ่ายค่าทำงานในหยุดให้

โดย: สมนึก (เจ้าบ้าน ) [18 ก.ย. 56 13:30] ( IP A:101.108.34.12 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   
วันหยุดพักผ่อนประจำปี (โดยทั่วไปมักจะเรียกว่า "ลาพักร้อน")

1. ครบ 1 ปีลาได้ปีละ 10 วันทำงานโดยได้รับค่าจ้าง / ครบ 5 ปีได้ 15 วันทำงานโดยได้รับค่าจ้าง
2. จำนวนวันจะลดลงตามส่วนถ้าครบ 1 ปีเกิดขึ้นระหว่างปีปฏิทินและพนักงานจะได้จำนวนวันหยุดครบในปีถัดไป
3. ยื่นใบลาล่วงหน้า 3 วัน
4. ลาเกิน 5 วัน ต้องแจ้งสถานที่และเบอร์โทรศัพท์ที่จะติดต่อได้
5. บริษัทฯ อาจกำหนดวันหยุดให้พนักงานได้
6. วันลาไม่สามารถนำไปสะสมในปีถัดไปหรือเปลี่ยนเป็นเงินได้



โดย: สมนึก (เจ้าบ้าน ) [18 ก.ย. 56 13:35] ( IP A:101.108.34.12 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   
ค่าล่วงเวลา
- วันทำงานปรกติ จ่าย 1.5 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมง
- วันหยุด จ่าย 3 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมง

ค่าทำงานในวันหยุด
- พนักงานรายเดือน จ่าย 1 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมง
- พนักงานรายวันหรือรายชั่วโมง จ่าย 2 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมง

สำหรับพนักงานหญิงมีครรภ์ จะไม่อนุญาตให้ทำงานล่วงเวลาและทำงานในวันหยุด ระหว่างเวลา 22.00 - 06.00 น. ยกเว้น หญิงมีครรภ์ที่ทำงานในตำแหน่งผู้บริหาร / งานวิชาการ / งานธุรการ / งานบัญชี

โดย: สมนึก (เจ้าบ้าน ) [18 ก.ย. 56 13:41] ( IP A:101.108.34.12 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   
การปรับค่าจ้างประจำปี

กำหนดปรับค่าจ้างประจำปี ทุกวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี โดยพิจารณาจากผลดำเนินการของบริษัทฯ และผลการปฏิบัติงานของพนักงาน


เงินโบนัสประจำปี

บริษัทฯ อาจกำหนดจ่ายเงินโบนัสประจำปีโดยพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทฯ และผลการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล รวมทั้งความเหมาะสมในด้านอื่น ๆ ทั้งนี้จะประกาศให้พนักงานทราบเป็นรายปี

โดย: สมนึก (เจ้าบ้าน ) [18 ก.ย. 56 13:47] ( IP A:101.108.34.12 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   
การเกษียณอายุ
- บริษัทฯ กำหนดให้พนักงานทุกคนที่อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ (นับตามบัตรประจำตัวประชาชน) ถึงกำหนดครบเกษียณอายุในวันเกิดของพนักงาน
- บริษัทฯ อาจพิจารณาต่ออายุการทำงานจนถึงสิ้นปีนั้นหรือให้ทำงานต่อเป็นปี ๆ ไป
- พนักงานที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปอาจขอเกษียณอายุก่อนกำหนดก็ได้ ผู้มีอำนาจจะพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป

*********************************

จากหนังสือคู่มือพนักงานของบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่งซึ่งผมได้อ่านนั้น บางข้อมูลอาจจะไม่ Update แล้วเพราะบางองค์กรก็ไม่มีให้, กฎระเบียบของภาครัฐที่เปลี่ยนแปลงไปในการบังคับใช้กับภาคเอกชน, ค่าครองชีพและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, การประกันอุบัติเหตุ, การรักษาพยาบาล, เงินช่วยเหลือค่าทำศพ, กองทุนเงินทดแทน, กองทุนประกันสังคม, เงินให้กู้ยืม, รางวัลสำหรับการปฏิบัติงานเป็นเวลานาน และผลประโยชน์อื่น ๆ เช่น การตรวจสุขภาพประจำปี, ทุนการศึกษาสำหรับบุตร เป็นต้น

โดย: สมนึก (เจ้าบ้าน ) [18 ก.ย. 56 14:01] ( IP A:101.108.34.12 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน