โดราเอม่อน ฉบับนักบริหาร
   โดราเอม่อนเวย์: โมเดลการเป็นผู้นำแบบโดราเอม่อน ( ตอนที่ 1)

เชื่อได้ว่าในสักช่วงหนึ่งของวัย คุณต้องมีโอกาสได้ชมการ์ตูนเด็กยอดนิยมและมีความเป็นอมตะ อย่างการ์ตูนเรื่องโดราเอม่อน บางท่านอาจจะเป็นแฟนการ์ตูนเรื่องนี้ตัวยงและบางท่านอาจเคยดูกับลูกหลานและเ มื่อเร็วๆนี้เอง รัฐบาลญี่ปุ่นเพิ่งจะประกาศให้โดราเอม่อนเป็นทูตวัฒนธรรมของญี่ปุ่น
เมื่อช่วงเดือนก่อนได้มีโอกาสระลึกถึงความทรงจำจากการดูการ์ตูนโดราเอม่อนอี ก พบว่า มุมมองเกี่ยวกับบทบาทของตัวโดราเอม่อนที่ตัวเองดูในครั้งนี้ แตกต่างออกไปจากที่เคยดูสมัยตัวเองยังเด็ก เสน่ห์ของการ์ตูนโดเราเอม่อนที่เคยดูในสมัยนั้นคือ ผู้ช่วยแสนมหัศจรรย์ที่คอยช่วยเหลือโนบิตะและเพื่อนๆได้ทุกเรื่อง จนอยากจะให้ตัวเอง มีโดราเอม่อนอยู่ใกล้ๆตัวบ้าง

ความมหัศจรรย์ของโดราเอม่อนที่พบในวันนี้ คือ หากมองบทบาท บุคลิกและลักษณะของโดราเอม่อน ผ่านมุมมองทางด้านการบริหารจัดการ โดราเอม่อน สะท้อนให้เห็นถึงแบบอย่างของ ผู้นำ สถานการณ์ต่างๆในการ์ตูนเรื่องนี้ไม่ว่า โดราเอม่อนจะทำงานกับโนบิตะผู้ที่เปรียบเสมือนผู้ตามของโดราเอม่อนโดยตรง หรือทำงานร่วมกับเพื่อนคนอื่นๆ อย่างชิซูกะ ไจแอนท์ ซูเนโอะ โดราเอม่อนก็มีการทำงานซึ่งแสดงถึงภาวะความเป็นผู้นำได้อย่างดีทีเดียว

มาลองดูด้วยกันว่าวิถีของการเป็นผู้นำและภาวะผู้นำแบบโดราเอม่อน ที่จะนำมาวิเคราะห์ในฉบับนี้จะเหมือนกับมุมมองที่คุณมองเห็นอยู่หรือไม่

ประการแรก ความมุ่งมั่นในการทำงาน ก่อนที่โดราเอม่อนจะถูกส่งมาช่วยโนบิตะนั้น โดราเอม่อนรู้แล้วว่าความไม่เอาไหนของโนบิตะนั้นเป็นอย่างไร งานที่ได้รับมอบหมายดูเหมือนว่าจะเป็น Mission Impossible จริงๆ แต่ว่าโดราเอม่อนเองแสดงความมุ่งมั่นในการที่จะทำงานนี้ให้สำเร็จ ซึ่งถ้าเราดูจากแต่ละตอน โนบิตะจะเอาปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ สากกะเบือยันเรือรบมาปรึกษาโดราเอม่อนเสมอ แม้บางครั้งโดราเอม่อนจะท้อแท้บ้าง เบื่อบ้าง แต่ก็ไม่มีตอนไหนเลยที่แสดงว่าโดราเอม่อนละเลยต่อการทำงานของตน

ผู้นำอย่างโดราเอม่อนนั้นแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำความฝันของ เซวาชิ หลานของโนบิตะผู้ที่เป็นคนมอบหมายภารกิจนี้ และทำให้ความฝันของผู้ตามอย่างโนบิตะที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงอนาคตของตัวเอง จากคนไม่เอาไหนให้ได้สำเร็จตามที่ฝันไว้ คนที่เป็นหัวหน้า ถูกจ้างมาแพงกว่าคนที่เป็นลูกน้อง เรียกได้ว่ามีแรงจูงใจในการทำงานมากกว่าโดราเอม่อนที่ไม่ได้ค่าตอบแทนอะไรเส ียอีก เป็นหัวหน้าอาจมีเหนื่อยบ้างท้อบ้าง แต่ว่าความมุ่งมั่นเป็นเป้าหมายสำคัญในการที่จะทำภารกิจที่คุณอาจคิดว่ายากแ สนยากให้สำเร็จลงได้

ประการที่สอง เข้าใจและยอมรับจุดอ่อนของผู้ตาม โนบิตะ เปรียบเสมือนคนที่ขี้แพ้ ทำอะไรก็ไม่ได้เรื่องซักที โดราเอม่อนเองแสดงให้เห็นว่า โดราเอม่อนเข้าใจว่าความสามารถของโนบิตะมีแค่ไหน อะไรคือจุดอ่อน แค่เข้าใจคงไม่พอ โดราเอม่อนนั้นยอมรับในจุดอ่อนของโนบิตะด้วยซึ่งการยอมรับนั้นเป็นเรื่องสำค ัญมาก เข้าใจแต่ทำใจไม่ได้ก็คงทำให้งานสำเร็จไม่ได้ บางตอนเราจะเห็นว่า จากการเข้าใจจุดอ่อนของโนบิตะ ทำให้โดราเอม่อนนั้นสามารถวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาที่คาดว่าโนบิตะจะต้องทำผิด พลาดได้ก่อนล่วงหน้า

นอกจากนั้นโดราเอม่อนเองก็แสดงให้เห็นว่าเข้าใจและยอมรับจุดอ่อนของเพื่อนคน อื่นๆในทีมด้วย ไม่ว่าจะเป็นความใจร้อน มุทะลุของไจแอนท์ หรือความเป็นคนช่างเอาแต่ใจตัวเอง อย่างลูกคุณหนูแบบซูเนโอะ ซึ่งทำให้โดราเอม่อน หยิบลักษณะนิสัยเหล่านี้มาเป็นจุดที่ระวังในการเตือนโนบิตะ รวมถึงเวลาที่โดราเอม่อนติดต่อกับไจแอนท์และซูเนโอะ นอกจากนั้นโดราเอม่อนเองยังมองให้เห็นในจุดดี ซึ่งโนบิตะด้วยความที่ดูเหมือนคนไม่เอาไหนก็มีจุดดีอยู่เหมือนกัน เช่น จิตใจที่มุ่งมั่นที่จะทำ และหาทางแก้ไขปัญหา แม้ว่าบางทีวิธีการแก้ไขปัญหาอาจดูไม่เหมาะสมก็ตาม แต่ว่าโดราเอม่อนเองก็ทำหน้าที่ผู้นำได้อย่างดีในการช่วย Support และ Coach โนบิตะเป็นอย่างดี

ประการที่สาม การให้โอกาสคนได้ทดลองและเรียนรู้ โดราเอม่อนเองแม้รู้ว่า เครื่องมือหรือคำแนะนำที่ให้โนบิตะไป แม้ตัวเองจะเตือนโนบิตะแล้ว แต่โนบิตะก็ฟังบ้างไม่ฟังบ้างตามเรื่อง แต่กระนั้นโดราเอม่อนก็ให้โอกาสโนบิตะได้ทดลองทำและได้เรียนรู้เสมอๆ ตัวอย่างเช่น

โนบิตะหลังจากได้ดูนินจาฮาโตริแล้วเกิดอยากจะเป็นนินจาขึ้นมาบ้าง จึงไปขอร้องให้โดราเอม่อนช่วยหาชุดฝึกนินจาให้ โดราเอม่อนเตือนโนบิตะว่า การอยากพัฒนาศักยภาพตัวเองเป็นเรื่องดี แต่ว่าการฝึกที่จะเป็นนินจานั้น ใช่จะทำกันได้ง่ายๆ แต่ก็ยอมให้โนบิตะเอาอุปกรณ์ชุดฝึกนินจาไปทดลองใช้

แล้วผลสุดท้ายก็เป็นอย่างที่คาดไว้ โนบิตะฝึกสำเร็จไปไม่กี่บทเรียนของการเป็นนินจา ถึงแม้ว่าโนบิตะจะทำได้ไม่สำเร็จแต่การที่จะประสบความสำเร็จนั้นหากโดราเอม่ อนไม่ให้โอกาสได้ลงมือฝึกฝนอย่างที่โนบิตะตั้งใจไว้ โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็เรียกได้ว่าเป็นศูนย์ตั้งแต่ต้น การให้โอกาสนี้เป็นเรื่องสำคัญมากในการพัฒนาศักยภาพของผู้ตามอย่างโนบิตะ
โดย: fri-13 [24 มิ.ย. 51 13:27] ( IP A:124.120.71.54 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
Counter : 2091 Pageviews
ความคิดเห็นที่ 1
   โดราเอมอน เวย์: โมเดลการเป็นผู้นำแบบโดราเอมอน (ตอนที่ 2)

กรณีศึกษาจากวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดลฉบับนี้ เรายังอยู่กับโมเดล การเป็น ผู้นำอย่าง โดราเอมอน เพราะยังมีอีกหลายองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการที่สอดแทรกอยู่ในการ์ตูนเร ื่องนี้ ซึ่งนักบริหารจัดการจะสามารถนำไปใช้อธิบายหรือเป็นแนวทางในการบริหารจัดการบ ุคลากรขององค์กรโดยเฉพาะเอสเอ็มอีได้ไม่เลวเลยทีเดียว
สัปดาห์ที่แล้วได้เล่าถึง แนวทางการปฏิบัติตัวในฐานะผู้นำของโดราเอมอนในประเด็นเรื่องของ ความมุ่งมั่นในการทำงาน การเข้าใจและยอมรับจุดอ่อนของผู้ตาม และการให้โอกาสผู้ที่อยู่ภายใต้การดูแลของตัวเองได้ทดลองและเรียนรู้ โดยโดราเอมอน ได้สะท้อนภาพคุณสมบัติและการปฏิบัติตัวในการเป็นผู้นำที่ดีดังนี้

ความเป็นนักวิเคราะห์ปัญหาและหาเครื่องมือ (tool) ที่เหมาะสม ซึ่งจะพบว่าในทุกๆครั้งที่เกิดปัญหาขึ้น โดราเอมอนจะไม่กระโดดเข้าใส่ปัญหาที่โนบิตะนำมาให้ แต่จะรับฟังเรื่องราวก่อน หลังจากนั้นถึงจะเลือกเครื่องมือจากกระเป๋าวิเศษต่างๆมาใช้ให้เหมาะสมกับสถา นการณ์ นอกจากนั้นโดราเอมอนจะแสดงให้โนบิตะดูก่อนว่า เครื่องมือนั้นใช้อย่างไร หลายๆครั้ง คนที่เป็นผู้นำในองค์กรลืมไปว่า การเป็นผู้นำก็ต้องทำหน้าที่เหมือนครูที่จะสอนผู้ตามด้วย

บางครั้งในบทบาทผู้นำเราเองหยิบยื่นแค่ tool ไม่มีคำอธิบายการใช้งานให้กับลูกน้อง หรือยิ่งไปกว่านั้นบางครั้งผู้นำเองไม่ได้ให้ทั้ง tool และคำแนะนำอะไรกับลูกน้องในการแก้ปัญหาเลย โดราเอมอนเองรู้ว่าโนบิตะไม่มีประสบการณ์ และความสามารถก็ยังอยู่ในระดับต่ำ ความอยากและความมุ่งมั่นอย่างเดียว ไม่พอในการที่จะแก้ไขปัญหา ดังนั้นผู้นำอย่างโดราเอมอนจึงต้องทำหน้าที่ครูและพี่เลี้ยงไปด้วยในตัว

การทำงานเป็นทีม โดราเอมอน เป็นตัวอย่างของผู้นำที่ไม่ได้นั่งอยู่บนหอคอยงาช้างแล้วปล่อยให้ผู้ตามอย่า งโนบิตะ หรือเพื่อนๆคนอื่นๆไปเผชิญปัญหาต่างๆ ตามลำพัง ตัวอย่างเช่น ตอนตะลุยดาวต่างมิติ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับโนบิตะและเพื่อนไปเที่ยวแล้วเกิดหลงเข้าไปในกลุ่มหมอ กสีชมพู แล้วพบว่าทั้งหมดได้หลุดออกมายังดาวเคลเฮน ซึ่ง พวกโดราเอมอนได้มาพบกับ ชิปโป สุนัขน้อยที่ชอบเล่นซนและต้องการไขปริศนาของป่าต้องห้ามซึ่งตั้งอยู่อีกฟากข องเมือง แต่สถานการณ์เลวร้ายเกิดขึ้นเมื่อ พวกนิบุเงะ ปีศาจจากดวงจันทร์ตามตำนานของชาวดาวเคลเฮนได้บุกมาทำลายดวงดาวเคลเฮน โดยที่พวกชาวดาวเคลเฮนไม่สามารถที่จะสู้กับปีศาจได้

โดราเอมอน โนบิตะ และเพื่อนๆ ได้หาทางช่วยเหลือและต่อสู้กับพวกนิบุเงะก่อนที่พวกชาวดาวเคลเฮนจะถูกขับไล่ ออกจากดาวดวงนี้ไป ลำพังโดราเอมอนเองมีของวิเศษ และความร่วมมือร่วมใจของชาวดาวเคลเฮนที่ต้องการแก้ไขปัญหา ก็จะไม่ยากเลยที่จะเอาชนะปีศาจได้ แต่ว่าโดราเอมอนไม่ได้ต้องการเป็นฮีโร่แต่คนเดียวแต่เลือกที่จะเอาความสามาร ถของคนแต่ละคนในทีม มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการต่อสู้กับพวกปีศาจจนชนะได้ ทั้งโดราเอมอนและทุกๆคนรู้สึกดีๆกับชัยชนะและ พลังแห่งการทำงานเป็นทีม ทำให้ทุกคนเห็นคุณค่าของทุกๆคนในทีมด้วย

เป็นผู้นำที่มีความศรัทธาในความดีงามของคนในทีม โนบิตะเองแม้จะทำเรื่องราวต่างๆมากมายมาให้โดราเอมอนได้ปวดหัวอยู่เรื่อยๆ แต่โดราเอมอนเองกลับเลือกที่จะมองโนบิตะในด้านดีงามที่โนบิตะมีอยู่ ตัวอย่างเช่นโนบิตะได้เขียนขอพร ในวันเทศกาลทานาบาตะ ว่า ขอให้เป็นคนฉลาด โดราเอมอนซึ่งเป็นผู้นำที่ใช้เวลาอยู่กับโนบิตะมากกว่าใครๆนั้นมองลึกเข้าไป เห็นว่า จริงๆแล้วโนบิตะมีความตั้งใจที่ดีและใฝ่ดี

การเจอปัญหาต่างๆแล้วมาพึ่งพาผู้นำอย่างโดราเอมอนนั้นก็เพียงเพราะโนบิตะเอง อยากมีศักยภาพในการเรียน การเล่นกีฬา หรือ การเล่นดนตรี ได้เหมือนๆกับเพื่อนๆคนอื่นๆ ก็เท่านั้นเอง และผู้นำอย่างโดราเอมอนเลือกที่จะมองลึกซึ้งลงไปและศรัทธาในความดีงามที่โนบ ิตะเองมี ไม่ใช่ ตราหน้าโนบิตะที่พยายามพัฒนาปรับปรุงตัวเองว่า เป็นไอ้ขี้แพ้ ซึ่งหากปราศจากผู้นำที่เลือกจะมองและเชื่อมั่นในด้านดีๆของลูกน้องอย่างโดรา เอมอนแล้ว เราคงไม่มีโอกาสได้เห็นความสำเร็จของโนบิตะแน่นอน
โดย: fri-13 [24 มิ.ย. 51 13:28] ( IP A:124.120.71.54 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   โดราเอมอนเวย์: โมเดลการเป็นผู้นำแบบโดราเอมอน ( ตอนจบ)
โดราเอมอนในบทบาทของผู้นำหรือ ผู้นำในแบบฉบับโดราเอมอนที่ นำเสนอทั้ง 3 ตอนนี้ เป็นเรื่องที่อยากจะนำมาร่วมแบ่งปันกับ คนที่เคยอยู่ในโดราเอมอนเจเนอเรชันด้วยกัน รวมถึงหลายๆท่านที่อาจจะดูการ์ตูนร่วมกับบุตรหลาน ให้ได้มองเห็นในอีกมุมมองหนึ่ง หรือ มีอารมณ์ร่วมกับการ์ตูนเรื่องนี้ในอีกรูปแบบหนึ่งนอกเหนือไปจาก สงสารโดราเอมอน หรือ โนบิตะ ในบางตอน หรือสะใจนิดๆที่โนบิตะเอาคืนไจแอ้นท์กับซูเนโอะได้ เพราะเรื่องราวของการ์ตูนโดราเอมอนที่ผ่านมาแต่ละตอนมีทั้งความสนุกและข้อคิดดีๆ ให้เราได้เรียนรู้ในต่างมุมมองได้อยู่เสมอ


ในสองฉบับที่ผ่านมาได้นำเสนอแนวทางการปฏิบัติตัวในฐานะผู้นำของโดราเอมอนในประเด็นเรื่องของความมุ่งมั่นในการทำงาน การเข้าใจและยอมรับจุดอ่อนของผู้ตาม และการให้โอกาสผู้ที่อยู่ภายใต้การดูแลของตัวเองได้ทดลองและเรียนรู้ ความเป็นนักวิเคราะห์ปัญหาและหาเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับแต่ละสถานการณ์ การทำงานเป็นทีม และความศรัทธาในความดีงามของคนในทีม


คุณสมบัติความเป็นผู้นำที่ดีซึ่งปรากฏออกมาผ่านการแสดงออกของโดราเอมอนที่พบอยู่เสมอๆ ยังมีอีกดังนี้คือ


โดราเอมอนแตกต่างแต่ไม่แตกแยก โดราเอมอนคือหุ่นยนต์แมวไร้หูที่ถูกส่งมาจากโลกอนาคตและ มีรูปร่างหน้าตา แนวคิด และวิถีชีวิตต่างกับคนในยุคโนบิตะอย่างสิ้นเชิง แต่ความแตกต่างนั้นไม่ได้เป็นอุปสรรคในการอยู่ร่วมกันระหว่างโดราเอมอนกับโนบิตะหรือคนอื่นๆรอบข้างเลย เพราะว่าโดราเอมอนไม่ได้อวดตัวว่าวิเศษและพิเศษกว่าคนอื่นๆ รวมทั้งไม่ได้เรียกร้องให้คนอื่นๆต้องปรับตัวเข้าหาตน โดราเอมอนเป็นฝ่ายที่เรียนรู้และปรับตัวเข้าหาคนอื่นๆ สังเกตได้ว่า


มีหลายตอนที่เราจะเห็นโดราเอมอนร่วมทำกิจกรรมต่างๆกับครอบครัวของโนบิตะ ไม่ว่าจะเป็นนั่งดูทีวีกับครอบครัว ช่วยคุณแม่ทำงานบ้านต่างๆ รวมถึงออกไปซื้อของที่ตลาดให้คุณแม่ หรือเวลาที่โดราเอมอนต้องอยู่ร่วมกับคนอื่น เช่น ไจแอ้นท์ผู้ที่อยากจะเป็นนักร้องแต่ร้องเพลงไม่ได้เรื่องเลย โดราเอมอนเองยอมนั่งทนฟังไจแอ้นท์ที่ร้องเพลงจนจบ


สำหรับโนบิตะ ซึ่งโดราเอมอนสนิทด้วยที่สุดนั้น จะเห็นได้ว่าโดราเอมอนไม่เคยอวดอ้างบุญคุณ แต่กลับอยู่ร่วมกับโนบิตะทั้งยามสุขยามทุกข์ และที่สำคัญคือทั้งสองคนจะทำงานร่วมกัน


โดราเอมอนรู้จักที่จะเดินไปข้างหน้าอีกหนึ่งก้าวอยู่เสมอ หากมีการสังเกตการนำเสนอของการ์ตูนเรื่องนี้จะพบว่าโดราเอมอน มักมองไปข้างหน้าแทนโนบิตะอยู่เสมอ เพราะรู้ดีว่านิสัยของโนบิตะเป็นอย่างไร มีจุดอ่อนและขาดความรอบคอบระมัดระวังในเรื่องใด ดังนั้นเราจะเห็นว่าบางครั้งโดราเอมอนให้โนบิตะนำของวิเศษไปใช้นั้น จะเตือนก่อน และวางแผนในการแก้ไขเผื่อไว้เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายหรืออันตรายที่ยากเกินแก้ไข เช่นในโดราเอมอนตอน "บันทึกการร่อนเร่ของโนบิตะ"


ในตอนนี้โนบิตะ เกิดอยากออกไปเผชิญโชคจากแรงบันดาลใจที่ได้อ่านเรื่องของโรบินสัน ครูโซ ด้วยการสร้างแพจากตะเกียบแล้วออกไปสำรวจเกาะ โดราเอมอนได้เตือนถึงความยากลำบาก แต่เมื่อเห็นว่าโนบิตะมีความตั้งใจจริงก็ปล่อยให้โนบิตะได้ทดลองทำอย่างที่ตั้งใจไว้ หลังจากที่โนบิตะออกจากบ้านไป โดราเอมอนก็รอจนคิดว่าโนบิตะนั้นออกทะเลไปเรียบร้อยแล้ว จึงได้ดึงมอนิเตอร์เพื่อจะได้เฝ้ามองโนบิตะ ผลปรากฏว่าแพของโนบิตะนั้นยังลอยเคว้งคว้างกลางทะเล เนื่องจากโนบิตะไม่ได้วางแผนการเดินทาง โดราเอมอนจึงแอบเอาเครื่องช่วยหาเกาะไปติดไว้ที่ใต้แพ เพื่อให้แพของโนบิตะไปถึงฝั่งได้


โดราเอมอนเองเมื่อแอบตาม ไปยังเกาะแห่งนั้นก็เอาขนมปังไปติดที่ต้นไม้ไว้ให้โนบิตะที่กำลังจะหมดแรงเดินเพราะไม่มีอาหาร และโดราเอมอนรู้ดีว่าจะต้องเกิดปัญหานี้ขึ้น เนื่องจากก่อนที่โนบิตะจะออกจากบ้านมา โดราเอมอนเตือนให้โนบิตะเอาเป้เสบียงมาด้วย แต่โนบิตะก็ไม่ยอมฟัง การที่ผู้ตามอย่างโนบิตะมีความกล้าที่จะทำอะไรที่ท้าทายได้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความช่วยเหลือจากมือที่มองไม่เห็นอย่างโดราเอมอนที่มองไปข้างหน้าอีกก้าวนั่นเอง


และสุดท้ายซึ่งสำคัญที่สุดคือ โดราเอมอนรู้จักคำว่าขอโทษ มีหลายๆตอนเลยที่เราพบว่า โดราเอมอนเอ่ยปากขอโทษ ไม่ว่าจะเป็นการลืมที่จะทำตามที่คุณแม่ขอ หรือกับโนบิตะ เช่นในตอน "เครื่องใช้บังคับให้พูดความจริง" ในเนื้อเรื่อง โนบิตะถูกโยโกยาม่า ซึ่งเป็นเพื่อนอีกคนหนึ่งของ โนบิตะ ใส่ร้ายว่าเป็นคนทำกล้องของ ซูเนะโอะ หายไป ไม่มีใครๆเชื่อที่ โนบิตะ พูดเลยเพราะนิสัยขี้ลืมของ โนบิตะ โดราเอมอนจึงให้ โนบิตะ ยืมเครื่องบังคับให้พูดความจริงไปใช้ ซึ่งแน่นอนโนบิตะลองใช้กับโดราเอมอนเป็นคนแรก และพบว่าโดราเอมอนเองยังไม่เชื่อร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าโนบิตะไม่ได้ทำกล้องหายไปจริงๆ ทำให้โนบิตะเสียใจ


โดราเอมอนจึงขอโทษโนบิตะทันทีพร้อมให้เหตุผลว่าทำไมโดราเอมอนจึงคิดอย่างนั้น ทำให้โนบิตะเข้าใจและรู้สึกมั่นใจในตัวเองและโดราเอมอนเหมือนเดิม จนสุดท้ายทั้งสองพบว่าจริงๆแล้ว โยโกยาม่านั่นเองที่เป็นคนทำกล้องของซูเนโอะพังแล้วมาโทษโนบิตะ จริงๆหลายๆครั้งที่คนเป็นผู้นำ ไม่กล้าที่จะเอ่ยปากขอโทษเวลาทำอะไรผิดไป เพราะกลัวว่าจะเสียฟอร์ม หากโดราเอมอนนึกถึงจิตใจของโนบิตะ และเป้าหมายที่ตั้งไว้ จึงไม่ลังเลที่จะขอโทษผู้ตามอย่างโนบิตะ


ในฐานะผู้นำ หากลองเอ่ยปากขอโทษสักครั้งเพื่อทำให้ทั้งเราและลูกน้องทำงานร่วมกันได้อย่างดีและบรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ ก็น่าจะลองดูสักครั้ง แล้วครั้งต่อไปคงไม่ยากอย่างที่คิดไว้นะคะ


เกี่ยวกับผู้เขียน: ดร.พัลลภา ปีติสันต์ cmphallapa@mahidol.ac.th อาจารย์ประจำสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล


https://www.thannews.th.com/detialNews.php?id=M3223102&issue=2323
โดย: fri-13 [24 มิ.ย. 51 13:29] ( IP A:124.120.71.54 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ไม่มีการเมือง เป็น วิชาการ
อ่าน แล้ว ประเทืองปัญญา นะครับ
ใครผ่านเข้ามาบ้านหมี จะได้มองว่า เราสนุก และ มีสาระ จริงมั้ย ทุกคน แล้วสมาชิกก็จะมากขึ้น เป็นห้องที่หน้ามาแชร์สาระ
โดย: fri-13 [24 มิ.ย. 51 13:34] ( IP A:124.120.71.54 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   แวะซักนิด เพิ่มมุมมองสักหน่อย...

การให้โอกาสไม่เพียงให้แต่ผู้ตามเท่านั้น...ยังหมายถึงการให้โอกาสกับผู้นำด้วยเช่นกัน...ที่จะได้เรียนรู้ความสามารถ ที่เราอาจจะมองข้ามไปในตัวบุคคลนั้น และบางโอกาสเรามองเห็นศักยภาพของบุคคลนั้นทั้งที่เจ้าตัวไม่ทันมองเห็นเลยก็ได้...


ขอบคุณค่ะที่นำมุมมองใหม่ ๆ มาแบ่งปัน
โดย: tantawan [24 มิ.ย. 51 19:17] ( IP A:124.121.175.4 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
    ...... เป็นบทความที่วิเคราะห์ได้ดีจริงๆครับ ขอบคุณที่นำมาฝากกันนะครับ ถ้าเมืองไทยมีผู้บริหารแบบโดราเอมอน ในบทวิเคราะห์นี้เยอะๆก็คงดีสินะ ตั้งแต่ทำงานมาสิบกว่าปี ยังไม่เคยเห็นผู้บริหารแบบโดเรมอนสักที มีแต่พวกเอาดีเข้าตัว เอาชั่วให้คนอื่น กับพวกเลื่อยขาเก้าอี้กัน สวะทั้งนั้น
โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [25 มิ.ย. 51 11:52] ( IP A:202.57.132.197 X: )
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน