== พม่าเสียเมือง ฉบับ " คนพม่า " บันทึก ==
   ==ประวัติศาสตร์พม่า พม่าหรืออังกฤษเขียนกันแน่===

ข้าพเจ้าขออธิบายถึงสาเหตุที่พม่าเสียกรุง โดยอิงข้อมูลจากการบันทึกของพม่าโดยตรง มิใช่ประวัติศาสตร์ฉบับที่ต่างชาติบันทึก นักศึกษาประวัติศาสตร์ชาวต่างชาติส่วนใหญ่ไม่มีข้อมูลของพม่าให้ศึกษามากนัก เพราะการบันทึกของพม่าส่วนใหญ่เป็นภาษาพม่าหมด จึงเข้าใจและเป็นที่รับทราบกันเฉพาะในหมู่คนพม่าเท่านั้น และในสมัยที่อังกฤษเข้ายึดครองพม่า สื่อต่างๆอาทิ หนังสือพิมพ์ก็ตกอยู่ในมือชาติตะวันตกแต่เพียงผู้เดียว จะบิดเบือนข้อมูลอย่างไรก็ได้ จะเผยแพร่ให้ชาวโลกได้รับทราบแบบไหนก็ได้ ฉะนั้น คนนอกจึงไม่มีโอกาสที่จะรู้ข้อมูลและได้ศึกษาเรื่องราวพม่าเสียกรุงอย่างแท้จริง ได้เพียงแค่ศึกษาจากการบันทึกที่เขียนโดยชาวอังกฤษทั้งนั้น
โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [15 ต.ค. 52] ( IP A:118.172.194.78 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
Counter : 43097 Pageviews
ความคิดเห็นที่ 1
   ==รัชกาลพระเจ้ามินดุง==

ในรัชกาลพระเจ้ามินดุง ดูเหมือนว่า รัฐบาลอังกฤษและรัฐบาลพม่าไม่มีปัญหาต่อกันอย่างเป็นทางการ แต่ลึกๆแล้วรัฐบาลอังกฤษก็ระแวงพม่าไม่น้อยทีเดียว สิ่งที่รัฐบาลอังกฤษกังวลมากที่สุดก็คือพระเจ้ากะนอง พระเจ้ากะนองทรงเป็นพระมหาอุปราช ในรัชกาลพระเจ้ามินดุง พระองค์ได้ทรงส่งนักเรียนจำนวน 90 คน ไปเรียนวิชาอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ที่ประเทศอิตาลี ฝรั่งเศส และเยอรมนี นอกจากนี้ ยังทรงสร้างโรงงานผลิตอาวุธขึ้นถึงสามโรง สามารถผลิตระเบิดใต้น้ำได้สำเร็จ

พระเจ้ากะนองทรงเข้าพระทัยดีว่า การที่พม่ารบแพ้อังกฤษ ก็เพราะอาวุธยุทโธปกรณ์ของอังกฤษล้วนแล้วแต่ทันสมัย พิสัยยิงก็ไกลกว่าอาวุธพม่ามาก เรือรบอังกฤษล่องมากลางแม่น้ำ ปืนที่กองทัพพม่ามีอยู่ก็ไม่สามารถยิงไปถึง แต่ปืนใหญ่ของอังกฤษยิงถึงฝั่งได้สบายเลย ต่อให้กองทัพพม่าเข้มแข็งเพียงใดก็ตายอยู่ดี ฉะนั้น อาวุธที่จะพิชิตเรือรบกลางแม่น้ำได้ก็คือระเบิดใต้น้ำ

รัฐบาลอังกฤษเล็งเห็นว่า หากปล่อยให้พม่าเป็นแบบนี้ โดยรัฐบาลอังกฤษไม่ลงมือทำอะไรสักอย่าง อาจจะเป็นภัยบั่นทอนรัฐบาลอังกฤษในอนาคตได้
โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [15 ต.ค. 52] ( IP A:118.172.194.78 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ==เจ้าชายเมียนกุนกับเจ้าชายเมียนกุนไต...กบฎเพื่อใคร==

แต่ทุกอย่างก็ดำเนินไปอย่างสงบ ไม่มีลางบอกเหตุร้ายใดๆ จนถึงวันพฤหัสบดี แรม 7 ค่ำ เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2409 เวลาบ่าย 2 นาฬิกา เจ้าชายเมียนกุนกับเจ้าชายเมียนกุนไตสองพี่น้อง พระโอรสในพระเจ้ามินดุงก็ก่อกบฎ ยึดราชบัลลังก์รัตนะบุญ และประหารชีวิตพระเจ้ากะนอง พระมหาอุปราชาผู้เป็นอาที่รัฐสภาได้สำเร็จ แต่เข้ายึดพระราชวังไม่ได้ จึงหนีออกจากเมือง ลงเรือไปขอลี้ภัยอยู่กับรัฐบาลอังกฤษที่เมืองย่างกุ้ง หลังจากนั้นรัฐบาลอังกฤษได้ส่งต่อไปให้ประทับที่บังกาลอร์

เหตุการณ์ที่พระโอรสในพระเจ้ามินดุงก่อกบฏครั้งนี้ สาเหตุมาจากแรงยุยงภายนอก แต่ไม่ทราบอย่างเป็นทางการว่าเป็นฝีมือของฝ่ายไหนเท่านั้น ก่อนหน้านั้น มีข่าวลือแพร่สะพัดออกมาว่า องค์รัชทายาทองค์น่าจะเป็นพระโอรสของพระเจ้าแผ่นดินมากกว่าพระอนุชา ทำให้เหล่าบรรดาโอรสพระเจ้ามินดุงก็หวั่นไหวไปว่า ตำแหน่งรัชทายาทควรเป็นของเขามากกว่าพระเจ้าอา ข่าวลือนี้มีต้นตอมาจากนอกวัง หลังจากนั้นไม่นาน ก็เกิดกบฏขึ้น ทั้งๆที่เจ้าชายเมียนกุนหนึ่งผู้ก่อกบฏเป็นพระชามาดา (ลูกเขย) ของพระมหาอุปราช จะสังเกตว่าจุดประสงค์แท้จริงที่แอบแฝงอยู่ ก็คือการสังหารพระเจ้ากะนองเพื่อหยุดยั้งการผลิตระเบิดใต้น้ำอานุภาพสูงให้ได้ และก่อนหน้านี้ ก็มีเหตุการณ์ที่น่าสงสัยเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น ก็คือหลังจากพระมหาอุปราชทรงทดลองระเบิดใต้น้ำที่ทะเลสาบอ่องเปนแลได้สำเร็จ สมเด็จพระสังฆราชได้ประท้วงไม่รับภัตตาหารที่พระเจ้าแผ่นดินถวาย โดยอ้างว่าพระเจ้าแผ่นดินเป็นคนบาป เพราะการอนุญาตให้ผลิตอาวุธผิดศีลข้อปาณาติบาต หลังจากนั้นไม่นาน พระมหาอุปราชาก็ถูกกบฏปลงพระชนม์ และรัฐบาลอังกฤษก็อนุญาตให้นักโทษกบฏลี้ภัย ไม่ยอมส่งตัวให้รัฐบาลพม่าไต่สวน แถมยังส่งไปให้อยู่ในที่ที่ปลอดภัย ถ้าเช่นนั้น เรื่องราวที่เกิดขึ้น น่าจะเป็นฝีมือของใคร?
โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [15 ต.ค. 52] ( IP A:118.172.194.78 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ==พม่าเริ่มเจรจาการค้ากับฝรั่งเศส==

หลังจากพระมหาอุปราชสวรรคต การทดลองผลิตอาวุธทุกชนิดก็หยุดชะงักไป องค์พระเจ้ามินดุงเองก็ไม่ทรงดำเนินการอะไรต่อ แต่อังกฤษก็ยังไม่เลิกระแวงพม่า เพราะเหตุว่าเกงหวุ่นเมงจีซึ่งเป็นนายกเสนาบดีคณะรัฐบาลพม่าเข้าไปพบรัฐบาลอิตาลีและฝรั่งเศสเพื่อเปิดการค้าระหว่างประเทศ หลังจากการไปเยือนประเทศอังกฤษตามคำเชิญของรัฐบาลอังกฤษ ผลที่ตามมาคือ ท่านทูตจากอิตาลีและฝรั่งเศสได้เข้าเฝ้าพระเจ้ามินดุงและขอลงนามในสนธิสัญญาการค้ากับประเทศพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2415 แต่สุดท้ายฝรั่งเศสไม่ได้ตกลงในสนธิสัญญาการค้ากับพม่า เพราะในสนธิสัญญาการค้าข้อหนึ่งที่รัฐบาลฝรั่งเศสต้องการ ก็คือขอทำการค้าเหมืองอัญณี ซึ่งข้อนี้เป็นเอกสิทธิ์ของพระเจ้ามินดุง
โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [15 ต.ค. 52] ( IP A:118.172.194.78 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   ==พระเจ้ามินดุงสวรรคต==

รูปอัฐิเจดีย์ของพระเจ้ามินดุง

โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [15 ต.ค. 52] ( IP A:118.172.194.78 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   ==เหตุการณ์หลังพระเจ้ามินดุงสวรรคต==

พระเจ้ามินดุงสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2421 ซึ่งพระเจ้าสีป่อพระโอรสองค์หนึ่งของพระองค์ขึ้นครองราชย์สืบต่อ แต่การขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าสีป่อไม่สู้จะดีนัก เพราะมีพระโอรสกับพระธิดาถึงกว่าสี่สิบพระองค์ของพระเจ้ามินดุงถูกประหารชีวิต เหตุร้ายที่เกิดขึ้นนั้นไม่พ้นความรับผิดชอบของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ ทั้งๆที่พระองค์ไม่ทรงทราบเรื่องเลย และประชาราษฎร์บางส่วนไม่เชื่อว่าพระองค์เป็นคนสั่งประหาร เพราะต่างรู้กันดีว่าพระองค์เคยทรงผนวชมาก่อน และทรงเป็นคนธรรมะธัมโมมาก ประชาชนจึงพากันเชื่อว่าการกระทำเช่นนี้ต้องเป็นคำสั่งมาจากอัครมเหสีของพระองค์คือพระนางศุภยาลัตเป็นแน่

ถ้าตามความเห็นของนักประวัติศาสตร์พม่า มองว่าบุคคลที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์สั่งฆ่าโอรสธิดา ร่วมบิดากับพระเจ้าสีป่อนั้น ไม่น่าจะใช่พระนางศุภยาลัต ธิดาองค์กลางในพระเจ้ามินดุงและพระนางอะแลนันดอว์ (มเหสีกลาง) แต่น่าจะเป็นฝีมือของพระนางอะแลนันดอ กับเกงหวุ่นเมจี อัครเสนาบดี คบคิดกันเสียมากกว่า เพราะพระนางอะแลนันดอเอง มีแต่พระธิดาสามคน คือพระนางศุภยาจี ธิดาองค์โต (ภาษาพม่า จี แปลว่าใหญ่) พระนางศุภยาลัต และพระนางศุภยาเล

และตนเองก็ไม่ใช่ตำแหน่งอัครมเหสีใหญ่เสียด้วย ดังนั้น การจะเป็นใหญ่ได้ ก็ต้องผลักดันให้ลูกสาวแต่งงานกับกษัตริย์สักองค์ ซึ่งกษัตริย์องค์นั้น ย่อมต้องอยู่ในอาณัติของพระนางด้วย พูดง่ายๆก็คือเป็นหุ่นเชิดนั่นเอง

และใครเล่าจะเหมาะเท่ากับพระเจ้าสีป่อ ซึ่งในเวลานั้นเป็นรัชทายาทลำดับท้ายๆ เกิดแต่พระมารดาซึ่งเป็นเพียงพระสนมเท่านั้น ทั้งหมดนี้เป็นการวางแผนอย่างรอบคอบของพระนางอะแลนันดอว์

ตรงนี้ขอนอกเรื่องเล่าถึงพระนางอะแลนันดอว์สักเล็กน้อยหลายท่านเข้าใจว่าอะแลนันดอ นั้นคือชื่อ แท้จริงแล้วคือชื่อตำแหน่งมเหสีกลาง

พม่าแบ่งตำแหน่งมเหสีออกเป็น 3 ตำแหน่งคือ มเหสีใต้ มเหสีเหนือและมเหสีกลาง โดยตำแหน่งมเหสีใต้ คือตำแหน่งที่ใหญ่ที่สุด เรียกได้ว่าเป็นอัครมเหสี
โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [15 ต.ค. 52] ( IP A:118.172.194.78 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   พระนางอะแลนันดอว์เองนั้น ถึงแม้ว่าพระองค์จะเป็นเพียงมเหสีกลาง แต่ท่าน"ทรง"อิทธิพลในรัตนปุระ มัณฑเลย์มิใช่น้อยเลย เห็นได้จากการร่วมมือกับเสนาบดีเกงหวุ่นเมงจี เพื่อผลักดันพระเจ้าสีป่อ เป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ได้สำเร็จ
ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากรัชทายาทองค์อื่นๆที่มีความสำคัญเหนือกว่า อยู่ในลำดับที่สูงกว่า แต่ท่านก็ก้าวผ่านข้อครหานั้นมาได้

จริงๆแล้ว พระธิดาองค์ที่ถูกวางตัวไว้ให้เป็นมเหสี คู่กับพระเจ้าสีป่อ คือพระนางศุภยาจี ธิดาองค์โต เพราะตามธรรมเนียม พี่ก็ต้องออกเรือนก่อนน้อง แต่เมื่อพระนางศุภยาลัตทอดพระเนตรเห็นพระเจ้าสีป่อ ก็เกิดอาการ"ตกหลุมรัก"เข้าอย่างจัง ถึงขนาดเอ่ยปากกับพี่สาวว่า ฉันนี่แหละ ที่อยากแต่งงานกับพระเจ้าสีป่อ พี่อย่าขัดฉัน
(พระนางศุภยาลัต ทรงมีอุปนิสัยที่เด็ดเดี่ยว ไม่ยอมใคร มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์) สุดท้าย พระนางก็เป็นฝ่ายยึดพระเจ้าสีป่อเป็นพระสวามีได้สำเร็จ และได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์และมเหสีแห่งมัณฑเลย์ ถัดจากพระเจ้ามินดุง

ท่ามกลางเสียงไม่พอใจดังอื้ออึง พระนางอะแลนันดอว์ จึงมีคำสั่งให้ประหารพระโอรสและพระธิดาของพระเจ้ามินดุงทั้งหมด โดยเหตุการณ์นี้พระเจ้าสีป่อและพระนางศุภยาลัตมิได้ล่วงรู้เลย

เหตุการณ์นี้ ทำให้รัฐบาลอังกฤษมีโอกาสโจมตีพระเจ้าแผ่นดินพม่าได้อีกครั้ง โดยนายชอว์ (Mr. Shaw) ผู้แทนรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งอยู่ที่เมืองมัณฑเลย์ ส่งจดหมายมาขอให้มีการอธิบายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากคณะรัฐบาลพม่า อัครเสนาบดีเกงหวุ่นเมงจี ได้ส่งจดหมายอธิบายว่า การกระทำเช่นนี้ก็เพื่อปกป้องชีวิตประราษฎร์ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ซึ่งอาจะต้องตายมหาศาล หากการชิงราชบัลลังก์นั้นลุกลามใหญ่โตจนต้องเปิดศึกรบกัน จึงยอมแลกกับสี่สิบชีวิตของพระโอรสและพระธิดาจะดีกว่า แต่รัฐบาลอังกฤษก็ไม่พอใจคำอธิบายของเกงหวุ่นเมงจี และสั่งให้ผู้แทนของตนถอนออกจากกรุงมัณฑเลย์ทันที
โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [15 ต.ค. 52] ( IP A:118.172.194.78 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   ==รัชกาลพระเจ้าสีป่อ==

การปกครองบ้านเมืองในรัชกาลพระเจ้าสีปอ ถือว่ามีเจริญความก้าวหน้าและพัฒนาขึ้นมากทีเดียว โดยการปกครอง จะแบ่งออกเป็น ๑๔ กระทรวง ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน คือ
1.กระทรวงเกษตร
2.กระทรวงแรงงาน
3.กระทรวงกลาโหม (ทหารบก)
4.กระทรวงการค้า
5.กระทรวงศาสนา
6.กระทรวงการคลัง
7.กระทรวงสรรพากร
8.กระทรวงยุติธรรม
9.กระทรวงไต่สวนอาชญากรรม
10.กระทรวงกลาโหม (ทหารเรือ)
11.กระทรวงต่างประเทศ
12.กระทรวงการปกครองชาวต่างชาติ
13.กระทรวงมหาดไทย
14.กระทรวงโรงงานอุตสาหกรรม

นอกจากนี้ พระเจ้าสีป่อยังทรงรับสั่งให้บรรดาเสนาอำมาตย์ทั้งหลายเขียนรายงานวิจัย ว่าจะทำอย่างไร จะเปลี่ยนแปลงวิธีการปกครองแบบไหน จึงจะทำให้ประเทศพัฒนาได้ทุกด้านมาถวาย

ในรัชกาลนี้ มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับชาวยุโรปเป็นอย่างดี โดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศสและอิตาลี มีการส่งทูตานุทูตไปเยือนประเทศฝรั่งเศส อิตาลี และอินเดีย มีการจ้างครูฝึกทหารจากอิตาลีและฝรั่งเศสมาสอนวิชาการรบ และเทคโนโลยีต่างๆให้แก่ทหารพม่า
โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [15 ต.ค. 52] ( IP A:118.172.194.78 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   ==ภาพถ่ายรัฐสภาหน้าพระราชวังมัณฑเลย์==

โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [15 ต.ค. 52] ( IP A:118.172.194.78 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   ไม่ค่อยมีใครพูดถึงคุณงามความดีของพระเจ้าสีป่อมากนัก ทั้งๆที่ในรัชกาลพระองค์ มีความเจริญก้าวหน้าในเมืองมัณฑเลย์หลายด้าน อาจเป็นเพราะ"ผู้ดี"ได้สร้างภาพ ตั้งธงไปเสียแล้วว่าพระเจ้าสีป่อ อ่อนแอ ขี้ขลาด ไม่เอาไหน กลัวเมีย ฯลฯ ทั้งๆที่ในสมัยพระองค์นั้นมีการลงนามในข้อตกลงการค้าและการพัฒนาขึ้นมากมาย

ในเวลานั้น พระเจ้าสีป่อทรงมีความสนิทสนมกับรัฐบาลฝรั่งเศสมากกว่า จึงได้ทรงลงพระนามในข้อตกลงว่าด้วยการพัฒนาประเทศระหว่างรัฐบาลพม่ากับรัฐบาลฝรั่งเศส เช่น การสร้างทางรถไฟระหว่างเมืองมัณฑเลย์กับเมืองโตงกิน (Tongkin) การเปิดธนาคารที่เมืองมัณฑเลย์ และขอให้พระเจ้าสีป่ออนุญาตให้ฝรั่งเศลทำการค้าอัญมณีกับสิทธิการปลูกชา โดยรัฐบาลฝรั่งเศสให้เงินรัฐบาลพม่ากู้เพื่อสร้างทางรถไฟเป็นข้อแลกเปลี่ยน ส่วนการคืนหนี้นั้น ฝ่ายรัฐบาลพม่าอนุญาตให้รัฐบาลฝรั่งเศสเก็บภาษีอากรจากการค้าน้ำมันจนกว่าจะคืนเงินกู้ได้หมด และจะขายอาวุธให้แก่รัฐบาลพม่าด้วย

รัฐบาลอังกฤษได้ทราบเรื่องนี้ จึงพยายามขัดขวางทุกอย่างไม่ให้รัฐบาลฝรั่งเศสกับรัฐบาลพม่าทำสำเร็จ ส่วนสมาคมหอการค้าอังกฤษในพม่าก็พยายามผลักดันรัฐบาลอังกฤษให้ยึดพม่าให้เร็วที่สุด เพราะเกรงว่าจะเสียสิทธิทางการค้าให้แก่ฝรั่งเศส จึงพยายามทุกวิถีทางให้เปิดศึกกับพม่าให้ได้
โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [15 ต.ค. 52] ( IP A:118.172.194.78 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   ==ผู้ดีแผลงฤทธิ์==

ในห้วงเวลานั้นเอง เจ้าหน้าที่กรมการตรวจสอบการตัดไม้ของพม่า ตรวจพบว่าบริษัทบอมเบย์เบอร์มา (Bombay Burma Company) ซึ่งได้รับสัมปทานตัดไม้ในเขตตองอูจากรัฐบาลพม่า ได้ตัดไม้จำนวนกว่า 80,000 ต้นในระยะเวลาสองปี แต่ทางบริษัทได้ส่งรายงานถึงเจ้าหน้าที่พม่าว่า ได้ตัดไปเพียง 30,000 ต้น จึงจะจ่ายภาษีเพียงแค่จำนวนสามหมื่นต้นที่ได้ตัดไปเท่านั้น เจ้าหน้าที่เห็นว่าไม่ถูกต้อง จึงแจ้งทางบริษัทว่า จะต้องจ่ายค่าปรับในการตัดไม้เกินเป็นเงิน 2,300,000 รูปี

ทางบริษัทไม่พอใจที่รัฐบาลพม่าสั่งปรับ จึงไปฟ้องรัฐบาลอังกฤษว่ารัฐบาลพม่ารังแกบริษัท ลอร์ดดัฟฟรินซึ่งเป็นข้าหลวงใหญ่ (Lord Dufferin, Chief Governor) จึงส่งสาส์นมาถึงรัฐบาลพม่าว่า
1.สำหรับคดีไม้นั้น รัฐบาลพม่าจะต้องรอผู้แทนที่ข้าหลวงใหญ่จะส่งมาไต่สวน
2.ห้ามไต่สวนคดีก่อนผู้แทนมาถึง
3.รัฐบาลพม่าต้องอนุญาตผู้แทนที่ข้าหลวงใหญ่จะส่งมา เข้ามาในเมืองมัณฑเลย์พร้อมอาวุธครบมือ
4.รัฐบาลอังกฤษจะขอเป็นผู้ควบคุมดูแลการติดต่อระหว่างประเทศของพม่าแต่เพียงผู้เดียว
โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [15 ต.ค. 52] ( IP A:118.172.194.78 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   เมื่อพระนางศุภยาลัต อัครมเหสีทรงทราบเรื่อง ก็ทรงกริ้วอย่างยิ่ง พระนางตัดสินพระทัยอย่างแน่วแน่ว่าจะต้องรบกับอังกฤษ โดยพระนางทรงให้เหตุผลว่า การกระทำเช่นนี้เห็นได้ชัดว่าอังกฤษจ้องจะรังแก และกอบโกยผลประโยชน์จากประเทศเรา หากเราไม่รบ และยอมอังกฤษ เขาก็จะไม่เกรงใจเรา จะปฏิบัติต่อเราเหมือนเป็นทาส หากเป็นเช่นนั้น เรายอมตายในศึกก็ยังมีศักดิ์ศรีดีกว่ายอมตายอย่างเป็นหมา

แต่เสนาบดีเกงหวุ่นเมงจีไม่เห็นด้วยกับพระองค์ ที่จะรบกับอังกฤษ และทูลแนะนำให้เจรจากับอังฤษ เรื่องนี้เป็นเหตุให้พระนางศุภยาลัตกับเสนาบดีแตกกัน เพราะท่านเสนาบดีแค้นมาก ที่พระนางตำหนิเสนาบดีอย่างรุนแรงว่าเป็นคนขี้ขลาด ให้ไปหาลองยี (ผ้านุ่ง) มานุ่งเสีย (ประวัติศาสตร์พม่าบันทึกไว้แบบนี้จริงๆ) แต่สุดท้ายสมาชิกในรัฐสภาต้องยอมตกลงตามความเห็นของเสนาบดี เพราะนับถือท่านเกงหวุ่นเมงจี ฐานะผู้อาวุโส รวมถึงพระเจ้าสีป่อเอง ก็ค่อนข้างจะทรงเห็นคล้อยไปตามเกงหวุ่นเมงจี ด้วยทรงไม่อยากมีปัญหากับอังกฤษ
โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [15 ต.ค. 52] ( IP A:118.172.194.78 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   เสนาบดีเกงหวุ่นเมงจีมีจดหมายไปถึงรัฐบาลอังกฤษว่า

ข้อหนึ่ง พระเจ้าอยู่หัวยอมความในคดีไม้ ขอให้แล้วไป และไม่ต้องเสียค่าปรับใดๆ

ข้อที่สอง พระเจ้าอยู่หัวอนุญาตผู้แทนเข้ามาอยู่ในเมืองมัณฑเลย์เหมือนเดิม

ข้อที่สาม กรณีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีของพม่ากับนานาประเทศนั้น เป็นสิทธิส่วนพระองค์ของพระเจ้าอยู่หัว หากมีความจำเป็นต้องควบคุมการติดต่อของพระราชวังพม่ากับประเทศอื่น การควบคุมนี้น่าจะมาจากการตัดสินของประเทศมหาอำนาจทั้งหลาย ไม่ใช่รัฐบาลอังกฤษจะมาบังคับได้

แหม ฟังดูเกงหวุ่นเมงจีพูดแล้ว เหมือนจะเป็นคนดี แต่โปรดติดตามตอนต่อไปค่ะ
โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [15 ต.ค. 52] ( IP A:118.172.194.78 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   ==ชักศึกเข้าบ้าน พระเอกหลงโรง==

เมื่อรัฐบาลอังกฤษทราบความในจดหมายโดยเฉพาะข้อสุดท้ายก็ไม่พอใจยิ่ง จึงประกาศเปิดศึกกับพม่าอีกครั้ง ในเดือนพฤศจิกายน นายพลแปรนเดอร์กัสท์ (General Prendergast) เริ่มเดินทัพ พร้อมรบกับพม่า แต่การเผชิญหน้ารบกันนั้นยังไม่กระทำเต็มที่ เพราะมีสาเหตุสามประการที่กองทัพพม่ายังสับสนอยู่

หนึ่งก็คือยังไม่ได้รับคำสั่งอย่างเป็นทางการจากพระราชวังว่าจะให้รบกับอังกฤษหรือไม่ สองก็คือได้รับคำสั่งส่วนตัวจากเสนาบดีเกงหวุ่นเมงจีว่าไม่ให้กองทัพพม่ารบกับอังกฤษ สาม มีข่าวลือออกมาว่า รัฐบาลอังกฤษจะให้พระเจ้าญองรัม ซึ่งเป็นพระโอรสองค์หนึ่งของพระเจ้ามินดุง และลี้ภัยอยู่ที่ประเทศอินเดียในขณะนั้นขึ้นครองราชย์แทนพระเจ้าสีป่อ (ประชาชนส่วนใหญ่พากันเชื่อข่าวลือนี้ เพราะประชาชนได้เห็นชายคนหนึ่งแต่งกายลักษณะเหมือนพระโอรสของพระเจ้าแผ่นดิน นั่งอยู่ที่หัวเรือในกระบวนเรือรบของอังกฤษ ซึ่งล่องมาตามแม่น้ำอิระวดี จึงพากันเชื่อข่าวลือว่าชายคนนั้นคือเจ้าชายญองรัมจริงๆ

แม้แต่เสนาบดีเกงหวุ่นเมงจีก็เชื่อว่าเป็นเจ้าชายด้วย และเกงหวุ่นเมงจีเคยเจรจาตกลงกับนายพล Sladen ผู้ช่วยนายพลแปรนเดอร์กัสท์ว่าจะแต่งตั้งเจ้าชายญองรัมเป็นกษัตริย์หลังจากจับพระเจ้าสีป่อได้แล้ว ซึ่งเกงหวุ่นเมงจีก็เห็นด้วย เพราะกำลังไม่พอใจพระเจ้าสีป่อและพระนางศุภยาลัตที่กำลังมีข้อพิพาทกับตน
โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [15 ต.ค. 52] ( IP A:118.172.194.78 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   ทหารบางส่วนไม่ยอมอยู่เฉยๆ และแอบสู้กับกองทัพอังกฤษเท่าที่พอจะทำได้ ทหารส่วนนั้นล้วนแต่เป็นกองทัพส่วนพระองค์ของพระนางศุภยาลัต เมื่อกองทัพอังกฤษใกล้มาถึงเมืองสะไก กองทัพพม่าก็เตรียมพร้อมรบอย่างถวายชีวิต แต่ก็ยังไม่ได้เริ่มยิงปืนแม้แต่นัดเดียว เพราะได้รับคำสั่งอย่างเป็นทางการจากเสนาบดีเกงหวุ่นเมงจีว่าไม่สู้ ไม่ให้ยิง ถึงนาทีนี้ พระนางศุภยาลัตต้องทรงยอมตามเสนาบดีเกงหวุ่นเมงจี เพราะคณะรัฐมนตรีทั้งหลายพากันเห็นด้วยกับคำอธิบายของท่านเสนา

โดยเสนาบดีเกงหวุ่นเมงจีอ้างว่า “การที่กองทัพอังกฤษยกทัพมาครั้งนี้ มิใช่จะมาทำศึก แต่ตั้งใจจะมาเข้าเฝ้าขอเจรจากับพระองค์เท่านั้น ไม่ได้จะมายึดเมือง หากพระองค์สามารถให้สิ่งที่เขาต้องการได้ เขาก็จะกลับไปเอง พระองค์ก็ไม่ต้องเสียแผ่นดิน และเสียทหารกำลังทหารด้วย ฉะนั้น พระองค์อย่าไปต่อต้านอังกฤษเลย ยอมให้เขามาเจรจาดีกว่า”
โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [15 ต.ค. 52] ( IP A:118.172.194.78 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   "กษัตริย์และราชินีองค์สุดท้ายของพม่ากับบัลลังก์ที่ว่างเปล่า"

โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [15 ต.ค. 52] ( IP A:118.172.194.78 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   พระนางศุภยาลัตเองก็เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง จึงรีบทรงมีพระบัญชาให้สร้างหอสูงไว้สำหรับสังเกตการณ์ (ใครเคยไปเที่ยวพระราชวังมัณฑเลย์ คงเคยเห็นหอคอยอยู่หลังหนึ่ง ใครๆมักจะนึกว่าหอนี้มีไว้เพื่อพระเจ้าสีป่อและพระนางศุภยาลัตไว้ชมดาวเดือน แท้จริงแล้ว ท่านสร้างไว้เพื่อคอยดูความเคลื่อนไหวและการลาดตระเวนพลของฝั่งอังกฤษ) ท่านมักจะขึ้นไปบนหอนี้เสมอๆ เพื่อคอยประเมินสถานการณ์กับเหล่ากองทหารที่ถือข้างท่าน

คราใดที่เห็นกองทัพอังกฤษเคลื่อนประชิดมัณฑเลย์เข้ามาทุกทีๆ ก็ให้ใจเสียยิ่งนัก

ความที่ทุกฝ่าย "เชื่อ" อย่างที่เสนาบดีเกงหวุ่นเงจีนกล่าวอ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ จนถึงวันที่กองทัพอังกฤษ เดินทัพไปจนถึงภายในพระราชวังมัณฑเลย์อย่างง่ายดาย และล้อมกำแพงไว้ทุกด้าน ไม่มีใครล่วงรู้เลยว่า บัดนี้ ได้เสียแผ่นดินไปแล้ว ยังเชื่ออยู่ว่าอังกฤษจะเข้าเจรจากับพระเจ้าอยู่หัว

กองทัพอังกฤษเคลื่อนไปล้อมตำหนักพระเจ้าสีป่อและพระนางศุภยาลัต แม่ทัพได้เชิญทั้งสองพระองค์ลงมาเบื้องล่าง พร้อมกับกล่าวว่า "You are under arrested" เท่านั้นเอง

พระเจ้าสีป่อทรงประทับนิ่งด้วยความตกพระทัย ส่วนพระนางศุภยาลัต ทรุดลงกับพื้น ตีอกชกหัว ร่ำไห้ พร่ำรำพันว่า ข้าเสียแผ่นดินไปแล้ว ข้าเสียไปแล้ว....
โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [15 ต.ค. 52] ( IP A:118.172.194.78 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
   ==ภาพการวางอาวุธของทหารพม่า==

โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [15 ต.ค. 52] ( IP A:118.172.194.78 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
   ความคิดเห็นที่ 22

กระทั่งตอนเย็น กองทัพอังกฤษนำพระเจ้าสีป่อกับพระมเหสีศุภยาลัตลงเรือไปเมืองย่างกุ้งแล้ว ประชาชนก็ยังไม่รู้ว่าเสียแผ่นดินไปแล้ว คิดแต่เพียงว่าเดี๋ยวพระเจ้าญองรัมก็ขึ้นครองราชย์แทน แม้แต่เกงหวุ่นเมงจีก็ยังเชื่อแบบนั้น และตัวเองก็รู้อยู่แก่ใจว่าการจับพระเจ้าสีป่อและพระนางศุภยาลัตนั้นเป็นการวางแผนของตนเอง แต่เสนาบดีมารู้ภายหลังว่าเสียรู้อังกฤษเสียแล้ว เพราะบุคคลที่แต่งกายเป็นเจ้าชาย และนั่งมากับเรืออังกฤษนั้น ไม่ใช่เจ้าชายญองรัม แต่อย่างใด เป็นเพียงล่ามภาษา ชาวเมาะละแหม่งชื่อว่านายบะตัน

ทุกอย่างเป็นเพียงแผนการณ์หลอกลวงของรัฐบาลอังกฤษทั้งนั้น แท้จริงแล้ว พระเจ้าญองรัมสวรรคตไปก่อนหน้านั้นแล้ว ตามการบันทึกของพระธิดาพระเจ้าญองรัม นามว่าเจ้าหญิงถิปตินมะจี ได้กล่าวว่าพระเจ้าญองรัมสวรรคตที่เมืองกัลกัตต้า เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2428 ขณะพระชนมายุได้ 38 พรรษาเท่านั้น ในขณะที่อังกฤษยกทัพขึ้นมัณฑเลย์เมื่อเดือนพฤศจิกายน หลังพระเจ้าญองรัมสวรรคตไปแล้วประมาณ 6 เดือน
โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [15 ต.ค. 52] ( IP A:118.172.194.78 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
   ==ผู้ดีอังกฤษ==

หากวิเคราะห์อย่างตรงไปตรงมาโดยยึดตามข้อเท็จจริงที่มีการบันทึกไว้ จะพบว่าผู้ดีอังกฤษนั้นไม่ได้เป็นผู้ดีอย่างที่กล่าวอ้างเลย ในการรบกับพม่านั้น คุณภาพของอาวุธ ความยิ่งใหญ่ของกองทัพ รวมไปถึงกำลังทหารของอังกฤษเหนือชั้นกว่าพม่ามาก แต่วิธีการรบนั้นสกปรกจริงๆ

การยึดประเทศพม่าไม่ได้มีสาเหตุมาจากการที่พระเจ้าแผ่นดินพม่ากินเหล้าเมายา ทำร้ายราชานุวงศ์ ทำร้ายประชาราษฎร์ รวมถึงชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ที่มัณฑเลย์ รวมไปถึงการที่พม่าไม่ยอมเจรจาสงบศึกกับรัฐบาลอังกฤษ ดังที่อังกฤษกล่าวหาแต่อย่างใด และอังกฤษยังลงข่าวผิดๆดังกล่าวในหนังสือพิมพ์ที่ประเทศอินเดีย และอังกฤษด้วย

ในหนังสือ A Lord Randolf Churchill เขียนโดยวินสตัน ชาร์ชิล (Winston Churchill) ซึ่งเคยเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง กล่าวในหนังสือหน้าที่ 517 อย่างชัดเจนว่า “เตรียมทัพยึดประเทศพม่าโดยด่วน เพราะรัฐบาลฝรั่งเศสแทรกแซงขัดขวางผลประโยชน์ของรัฐบาลอังกฤษในประเทศพม่า” จะเห็นว่ารัฐบาลอังกฤษต้องการเปิดศึกกับพม่า ด้วยต้องการปกป้องผลประโยชน์ของตนเองทั้งนั้น แต่ทำเป็นอ้างเหตุผลต่างๆนาๆและโยนความผิดให้พม่า

หมายเหตุ ในสมัยนั้นลอร์ดรันดอล์ฟเชอร์ชิลเป็นข้าราชการ ตำแหน่งเลขาธิการรัฐอินเดีย (Lord Randolf Churchill, Secretary for the State of India) การบันทึกของนายเชอร์ชิลสอดคล้องกับข่าวในหนังสือพิมพ์รายวันซึ่งตีพิมพ์ในประเทศอังกฤษ และประเทศอินเดียว่าลอร์ดดัฟฟรินซึ่งเป็นข้าหลวงใหญ่ (Lord Arls Dufferin, Chief Governor) ส่งรายงานรัฐบาลอังกฤษทางโทรเลขว่า ณ เวลานี้มีเหตุการณ์สมควรยึดประเทศพม่าโดยการเปิดศึก เพราะพระเจ้าแผ่นดินพม่าปฏิเสธการขอเจรจาคดีป่าไม้อย่างสิ้นเชิง ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงรัฐบาลพม่าพยายามประณีประณอม โดยให้คำตอบไปว่า รัฐบาลพม่ายกเลิกค่าปรับจำนวนเงินสองล้านสามแสนรูปีให้แก่บริษัทบอมเบย์เบอร์มา
โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [15 ต.ค. 52] ( IP A:118.172.194.78 X: )
ความคิดเห็นที่ 20
   ==ภาพความเจริญทางวัฒนธรรมของพม่า วัดสวยในสมัยพระเจ้าสีป่อ==

วัดนี้ตั้งอยู่เชิงเขามัณฑเลย์

โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [15 ต.ค. 52] ( IP A:118.172.194.78 X: )
ความคิดเห็นที่ 21
   ==ที่ว่าฉบับ"คนพม่า"บันทึก ก็คืออ้างอิงมาจากฉบันนี้ค่ะ พงศาวดารโคนบ่องเซกมหาราชวงษ์หลวง เขียนโดยเจ้าชายมองติน==

โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [15 ต.ค. 52] ( IP A:118.172.194.78 X: )
ความคิดเห็นที่ 22
   ==สงครามระหว่างอังกฤษกับพม่าครั้งแรก==

สงครามระหว่างพม่ากับอังกฤษนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยของพระเจ้าสีป่อหรือพระเจ้ามินดุง แต่มีมาก่อนหน้านั้น

เริ่มตั้งแต่สมัยพระเจ้าบาจีดอว์ ถ้าเทียบแล้วก็อยู่ในราวรัชกาลที่ 1 ของไทยค่ะ เกิดข้อพิพาทเหนือดินแดนอัสสัมและแคว้นมณีปูร์ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศอินเดีย แต่ในอดีตเป็นเมืองในปกครองของพม่า มีหน้าที่ส่งบรรณาการให้พม่า อังกฤษสนใจดินแดนอัสสัมเป็นพิเศษ ด้วยว่าเป็นแหล่งปลูกชาชั้นยอด จึงพยายามที่จะยุให้เจ้าผู้ครองอัสสัมและมณีปูร์แข็งเมืองกับพม่า และมาเข้ากับฝ่ายตัวเอง

ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าแผ่นดินพม่ากับบริษัทอินเดียตะวันออกของรัฐบาลอังกฤษไม่สู้จะดีมาตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าปดุง เมื่อมาถึงรัชกาลพระเจ้าบาจีดอว์ เจ้าฟ้าจันทร์กันทราซิง (Chantra Kantra Singh) เจ้าผู้ปกครองแคว้นอัสสัม ซึ่งเป็นอาณานิคมของกรุงอังวะในเวลานั้น ได้เข้าไปมีไมตรีกับรัฐบาลอังกฤษ และขอความช่วยเหลืออังกฤษเพื่อต่อต้านพระเจ้าอังวะ พระเจ้าอังวะจึงทรงมีรับสั่งให้ยกทัพไปปราบ เจ้าฟ้าจันทร์กันทราซิงจึงหนีเข้าไปอยู่ในอาณาเขตอังกฤษ

เช่นเดียวกัน เจ้าฟ้ามาจิฟซิง (Marjif Singh) เจ้าผู้ปกครองแคว้นมณีปูร์ ซึ่งเป็นเจ้าฟ้าที่พระเจ้าปดุงทรงแต่งตั้งให้ครองมณีปูร์ อาณานิคมของอังวะเช่นเดียวกับอัสสัม ไม่ยอมส่งบรรณาการมาถวายพระเจ้ากรุงอังวะเป็นเวลานาน ส่งเจ้าหน้าที่ขึ้นไปทวงถามก็ไม่ยอมส่ง พระเจ้าอังวะจึงโปรดให้ยกทัพไปปราบ เจ้าฟ้ามาจิฟซิงจึงหนีออกจากแคว้นมณีปุระและเข้าไปตีแคว้นคาชา (Cachar) ที่โชจิฟซิง (Chojif Singh) ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระองค์ปกครองอยู่ และกลับมาโจมตีกองทัพพม่าซึ่งตั้งทัพอยู่แคว้นมณีปูร์ แต่ตีทัพพม่าไม่ได้จึงหนีกลับเข้าแคว้นคาชาอีกครั้ง

ทัพพม่าไล่ตามจับเจ้าฟ้ามาจิฟซิงในแคว้นคาชา จึงเผชิญหน้ากับรัฐบาลอังกฤษ เพราะแคว้นคาชาอยู่ใต้ปกครองของรัฐบาลอังกฤษ เมื่อเป็นเช่นนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษกับพระเจ้าอังวะก็ยิ่งเลวร้ายลงไปอีก
โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [15 ต.ค. 52] ( IP A:118.172.194.78 X: )
ความคิดเห็นที่ 23
   การเผชิญหน้ากันในครั้งนี้ เกิดเป็นสงครามย่อยๆระหว่างอังกฤษกับพม่า ดูจากรูปการณ์แล้ว พม่าน่าจะตกเป็นรองกองทัพอังกฤษ แต่พลิกล็อคค่ะ

เพราะกองทัพอังกฤษแพ้พม่าเสียยับเยิน ด้วยเหตุผลว่า ทัพอังกฤษเก่งการรบแบบกองเรือ ในขณะที่พม่าเก่งการรบทางบก พม่าภูมิใจกับชัยชนะครั้งนี้มาก หลงลำพองใจ คิดประมาทไปว่า กองทัพอังกฤษก็ไม่เท่าไหร่นี่นา

จึงรุกขับไล่อังกฤษต่อจนกระทั่งอังกฤษหนีไปตั้งหลักที่จิตตะกอง ฝ่ายอังกฤษก็พยายามล่อพม่ามาติดกับดัก เพราะรู้ดีว่าพม่าไม่ชำนาญทางเรือ

พม่ายังคงประมาทเตรียมทัพจะยกเข้าตีเมืองจิตตะกองต่อ แต่ทัพหลวงที่บัญชาการรบ ณ เมืองยะไข่สั่งให้ยกทัพกลับ เหตุเพราะพระเจ้าอังวะกังวลพระทัยว่า กองทัพเรืออังกฤษจะย้อนรอยมาตีรัฐหงสาวดี จึงมีรับสั่งให้ทัพหน้าทั้งหมดยกกลับมารวมกันที่เมืองย่างกุ้ง และก็เป็นไปดังที่พระองค์คาด ทรงเดาไม่ผิดเลย

วันที่ 5 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2366 (ค.ศ. 1824) Lord Amherst ซึ่งเป็นข้าหลวงใหญ่ของรัฐบาลอังกฤษได้ประกาศศึกกับพระเจ้าอังวะ ต่อมาในวันที่ 10 เดือนเดียวกัน กองทัพเรืออังกฤษ ได้ส่งกำลังทหารจำนวน 11,500 นาย นำโดยนายพล เซอร์ อาร์ชีบัลด์ แคมป์เบล (General Sir Archibald Campbell) บุกเข้าโจมตีเกาะเนเกร (Nagai Island) และเมืองย่างกุ้งอย่างรวดเร็ว เกินกว่าที่ทัพอังวะจะต้านรับไว้ได้ทัน เพราะทัพจากแคว้นอัสสัมกับมณีปุระลงมาช่วยไม่ทัน ส่งผลให้เมืองย่างกุ้งแตกทันที
โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [15 ต.ค. 52] ( IP A:118.172.194.78 X: )
ความคิดเห็นที่ 24
   ผลจากการแพ้สงคราม พระเจ้าอังวะจึงต้องทรงยอมให้พระอนุชา ส่งราชทูตไปเจรจาสงบศึกกับรัฐบาลอังกฤษที่หมู่บ้านรันตะโบ และได้ตกลงเซ็นสัญญาเมื่อ แรม 4 ค่ำ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2389 (ค.ศ. 1826) เรียกกันว่า สนธิสัญญารันตะโบ (Rantabo Treaty of Peace) ในสนธิสัญญา ระบุดังนี้

1.รัฐบาลกรุงอังวะต้องยอมให้แคว้นยะไข่กับรัฐตะนาวศรี เป็นอาณาเขตของบริษัทอินเดียตะวันออก ซึ่งเป็นของรัฐบาลอังกฤษ

2.รัฐบาลกรุงอังวะต้องจ่ายเงินจำนวน ๒๐ ล้านรูปี (ยี่สิบล้านรูปี) เป็นค่าปรับให้แก่บริษัทอินเดียตะวันออกของรัฐบาลอังกฤษ ในการที่รัฐบาลอังกฤษต้องเสียเวลาทำสงครามกับพม่า

3.รัฐบาลกรุงอังวะจะต้องไม่รุกรานแคว้นอัสสัม แคว้นคาชาและแคว้นมณีปูร์

4.รัฐบาลกรุงอังวะจะต้องยอมรับว่ากรุงสยามเป็นมหามิตรของรัฐบาลอังกฤษ
โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [15 ต.ค. 52] ( IP A:118.172.194.78 X: )
ความคิดเห็นที่ 25
   หลังจากตกลงในสัญญาสงบศึกเสร็จ กองทัพอังกฤษก็ถอยไปตั้งอยู่ที่เมืองย่างกุ้ง เพื่อรอเงินชดเชยค่าปรับในการทำสงครามจากฝ่ายพม่า ซึ่งฝ่ายพม่าตกลงจะจ่ายให้สี่งวด หลังจากพระเจ้ากรุงอังวะชำระงวดที่สองแล้วเสร็จ

กองทัพอังกฤษก็เคลื่อนออกจากเมืองย่างกุ้ง ไปตั้งอยู่ที่เมืองไจ้ขะมี และสถาปนาไจ้ขะมีเป็นเมืองหลวงครั้งแรกของบริติชพม่า (British Burma) โดยตั้งชื่อเมืองใหม่ว่า อัมมาร์สท์ (Amherst) หลังจากนั้น ได้ย้ายอีกครั้งมาอยู่ที่เมืองเมาะละแหม่ง จนค.ศ. 1830 (พ.ศ. 2373) รัฐบาลอังกฤษได้แต่งตั้งนายพลเฮนเนรี เบอร์เนย์ (Col. Hennery Burney) เป็นผู้แทนบริษัทอินเดียตะวันออก ให้ไปประจำอยู่ที่กรุงอังวะ

ครั้นเมื่อนายพลเบอร์เนย์อยู่ที่กรุงอังวะได้ระยะหนึ่ง รัฐบาลอังกฤษได้ยื่นข้อเสนอถึงพระเจ้าอังวะว่า รัฐบาลอังกฤษจะคืนรัฐตะนาวศรีให้ หากพระเจ้าอังวะมีอะไรที่มีมูลค่าพอจะแลกเปลี่ยนกับรัฐตะนาวศรีได้ รัฐบาลอังกฤษก็จะคืนให้ พระเจ้าอังวะตรัสตอบว่า "แผ่นดินนี้เป็นของเรามาตั้งแต่โบราณ พวกเจ้าบุกรุกเข้ามาปล้นยึดของของเรา ยังมีหน้ากลับมาขายคืนให้เราอีก ค่าปรับในการทำสงคราม เราก็ตกลงจ่ายให้แล้ว พวกเจ้าก็น่าจะคืนแผ่นดินนี้ให้เรา ไม่ใช่มาเสนอขายแบบนี้"

หลังจากนั้น พระองค์ก็ไม่เคยรับสั่งถึงเรื่องรัฐตะนาวศรีอีกเลย
โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [15 ต.ค. 52] ( IP A:118.172.194.78 X: )
ความคิดเห็นที่ 27
   โห....อ่านกันเพลินเลยน่ะเนี้ย เลยไม่รู้ว่าเรื่องไหนเป็นเรื่องจริงเลย แต่อ่านแล้วสนุกมากค่ะ แท็งคิ้งคุณจ๊อบน่ะค่ะ
โดย: ฟร้อน [15 ต.ค. 52 10:54] ( IP A:124.13.134.211 X: )
ความคิดเห็นที่ 28
    สวัสดีคุณฟร้อน
ผมก็ไม่แน่ใจหรอกนะครับว่า เวอร์ชั่นนี่เป็นเวอร์ชั่นที่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงทุกอย่าง อย่างว่าแหละครับ ประวัติศาสตร์อยู่ที่ใครเขียน และคนชนะมักจะเขียนประวัติศาสตร์ บางอย่าง ไม่สิ ผมว่าหลายอย่างก็ไม่ได้ถูกบันทึกตามความเป็นจริงนักหรอก โดยเฉพาะด้านเลวๆของผู้ชนะ ... แต่อ่านไว้หลายๆด้านก็ดีนะครับ แล้วมาประยุกต์ว่าอันใหนน่าจะเป็นอันที่ถูกต้อง ...

พม่าเสียเมือง เวอร์ชั่นของ หม่อมคึกฤทธิ์ ก็มีคำเตือนเอาไว้ว่า อย่าเชื่อท่านทั้งหมด ต้องใช้วิจารณญาณในการอ่าน ซึ่งเวอร์ชั่นนี้ก็คงจะต้องใช้คำเตือนแบบนั้นเช่นกันครับ

เอากันง่ายๆแค่ประวัติศาสตร์ชาติไทย หลายๆช่วง ยังไม่มีการบันทึก และไม่มีการบรรจุลงไปในบทเรียน ให้ลูกหลานได้รับทราบเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์เก่าๆ ยุคประเทศโดนพวกเจ้าอณานิคมรุกราน หรือว่า ช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือว่า เหตุการณ์ทมิฬหลายๆช่วง ที่มีแต่ความลึกลับดำมืด ...
โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [15 ต.ค. 52 11:13] ( IP A:125.25.215.21 X: )
ความคิดเห็นที่ 29
   เยอะไปหน่อย เลยเข้ามาทักทายไว้ก่อนครับ
ว่างจริงๆแล้วค่อยกลับมาลุย คงต้องใช้เวลาพอสมควร

ก็เพิ่งรู้ชื่อว่ามีพระเจ้ามินตุงนี่แหละ สมัยก่อนรู้แต่พระเจ้าบุเรงนอง
หรืออะแชวุ่นกี้ ไม่ก็เจ้ากรุงหงสาวดีเท่านั้น เดี๋ยวค่อยกลับมาติดตามต่อครับ
โดย: คนยูเอสเอ [16 ต.ค. 52 9:08] ( IP A:174.49.109.41 X: )
ความคิดเห็นที่ 30
    ยาวจัง ไม่มีเวลาอ่านอ่ะ ว้า
โดย: jenny [16 ต.ค. 52 11:50] ( IP A:125.25.44.210 X: )
ความคิดเห็นที่ 31
    กระทู้นี้ยาวนิดหน่อย แต่คัดมาเฉพาะส่วนเด็ดๆแล้วครับ
รับประกันว่าคุ้มค่าเสียเวลาอ่านแน่นอนครับ
ประวัติศาสตร์น่าสนใจแบบนี้ ไม่บ่อยนักที่จะมีคนหยิบมาเล่าแบบสนุกๆ แล้วที่สำคัญ เป็นเรื่องที่คนไทยแทบจะไม่เคยรู้ด้วยซ้ำ ทั้งที่ๆเหตุการณ์ผ่านมาไม่นานเลย แล้วก็เป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆๆๆ
โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [18 ต.ค. 52 8:10] ( IP A:118.172.188.16 X: )
ความคิดเห็นที่ 32
   ขอบคุณมากเลยค่ะ แวะมาอ่านค่ะ
โดย: chanel [18 ต.ค. 52 23:43] ( IP A:117.47.82.11 X: )
ความคิดเห็นที่ 33
   ชอบจังเลยพี่จ็อบค่ะ เข้ามานั่งอ่านจนจบเลยอ่ะ เค้าว่าประวัติเรื่องนี้ ทางเมืองไทยเมื่อก่อนมีคนนำมาสร้างเป็นหนังเรื่องเจ้านางรึงัยนี่แหล่ะ ใช่ป่าวหว่า จำมะค่อยได้ เดี๋ยวต้องไปหาหนังสือแบบเต็มฉบับมาอ่านมั่งและ ขอบคุณสำหรับเรื่องเล่าดีดีแบบนี้ค่ะ
โดย: รี่482 [19 ต.ค. 52 14:16] ( IP A:124.122.168.109 X: )
ความคิดเห็นที่ 34
   เข้ามาแก้ชื่อเรื่องใหม่นะคะ ไม่ใช่หนังเรื่องเจ้านางนะคะ แต่เป็นเรื่องเพลิงพระนางค่ะ :P
โดย: รี่482 [19 ต.ค. 52 14:21] ( IP A:124.122.168.109 X: )
ความคิดเห็นที่ 35
    ขอบคุณพี่คนยู พี่รี่ พี่ป็อป ที่แวะมาอ่านนะครับ
บางครั้งการอ่านเรื่องราวประวัติศาสตร์ ก็ทำให้คนรุ่นหลังได้เข้าใจอะไรต่อมิอะไรมากขึ้น มองอะไรได้ลึกซึ้งขึ้นกว่าก่อนนะครับ เหมือนเป็นบทเรียนให้เราได้นำไปปรับใช้ได้น่ะครับ .. นึกๆแล้วก็ไม่เข้าใจ คนพม่า คนไทย เหมือนเป็นบ้านพี่เมืองน้องกันแท้ๆ ราชวงศ์ก้อมีการสืบสายสัมพันธ์ สายเลือดปะปนกัน แต่บรรพบุรุษของเรา กลับสอนให้ลูกหลานเกลียดเพื่อนบ้าน แต่ไปยกย่องชาติตะวันตก ที่มันรุกราน ทำร้าย ทำลายประเทศเรา จนลูกหลานนึกว่าฝรั่งเป็นพระเจ้า แท้ที่จริงมันยิ่งกว่าเลวเลยด้วยซ้ำ !!
โดย: Job (พีอาร์ฯ ) [19 ต.ค. 52 21:10] ( IP A:125.25.55.150 X: )
ความคิดเห็นที่ 36
   ความรู้ทั้งนั้นเลยคะ ขอบคุณพี่จ๊อบนะคร๊ามีสาระดีดี มาให้อ่านบ่อยจัง อ่านอย่างเพลินเลยคะ
โดย: อุ๋ย (One people little Aui ) [23 ต.ค. 52 15:50] ( IP A:84.48.161.187 X: )
ความคิดเห็นที่ 38
   เข้าไปอ่านในกระทู้มาแล้วค่ะ เรื่องราวแต่ละบรรทัดอ่านแล้วตื่นเต้นชวนให้ติดตามอ่านเรื่อยๆ ปวดหัวแทนเลยค่ะ ทำไมเรื่องเยอะขนาดนี้เนี่ย
โดย: รี่482 [28 ต.ค. 52 8:23] ( IP A:124.120.83.102 X: )
ความคิดเห็นที่ 41
   ผมชอบมากครับเรื่องเหล่านี้ แต่ไม่ค่อยได้ซื้อหนังสือมาอ่าน
พอดีนึกอยากรู้อะไรก็ค้นหาในกูเกิล ได้เข้ามาอ่านวันนี้ได้รู้อะไรที่ควรจะรู้เยอะเลย จริงไม่จริงอย่างไรก็อีกเรื่องหนึ่ง สิ่งที่ได้รู้แน่ๆคืดความเป็นมาเป็นไปของเหตุการณ์ในสมัยนั้นครับ

โดย: man.law.kku@hotmail.com [29 ต.ค. 53 23:34] ( IP A:202.12.97.121 X: )
ความคิดเห็นที่ 43
   เป็นประเทศที่น่าสนใจมากครับ น่าจะมีภาพเยอะๆนะครับผมชอบมากโดยเฉพาะภาพในปวัติศาษ

โดย: เจี๊ยบ [2 ธ.ค. 53 21:48] ( IP A:182.232.163.206 X: )
ความคิดเห็นที่ 44
   nice +_=
โดย: jake [15 ก.ย. 54 12:50] ( IP A:118.175.70.161 X: )
ความคิดเห็นที่ 45
   เทงกิ้ว
โดย: ปปปปปปใสาทำพย [25 มิ.ย. 55 14:15] ( IP A:113.53.129.155 X: )
ความคิดเห็นที่ 46
   ขอบคุณค่า :)
โดย: guff [11 ก.ค. 55 12:35] ( IP A:27.130.128.192 X: )
ความคิดเห็นที่ 47
   อ่านประวัติศาสตร์พม่าแล้วยิ่งเห็นความเลวร้ายของอังกฤษ มันชั่วสุด ๆ เลยนะ มีหมดทั้งหลอกลวง คดโกง ปลิ้นปล้อน ปล้น แล้ว ฆ่า ! อย่างโหดร้ายและทารุณ จะให้ตายทันทีหรือตายอย่างช้า ๆ ทรมานหรือตายผ่อนส่ง ล้วนมาจากผลประโยชน์ของพวกล่าเมืองขึ้นทั้งสิ้น
คนไทยเจ็บปวดจากคนพม่าในสมัยประวัติศาสตร์มามากแล้ว ยังมาเจ็บปวดจากฝรั่งเศสที่ฉีกเอาสิบสองจุไทยไป เขมรส่วนนอกไป เอาปืนจี้บังคับเฉือนเอาลาวไปทั้งหมด ยังไม่พอ บังคับเอาไชยบุรี กับจำปาศักดิ์ไป
และยังเชือดเอาเขมรส่วนในไปอีก เจ็บปวด ช้ำใจสุด ๆ ในสมัยนั้น เราสู้มันไม่ได้อย่างเดียว คือ อาวุธพวกมันดีกว่าเท่านั้น นอกนั้นเราสู้ได้ เหนือกว่าด้วยซ้ำ
มรดกที่เหลือซากไว้ของพวกชาติชั่วฝรั่งเศส ก็คือความขัดแย้งระหว่างไทยกับลาว ไทยกับเมขร ส่วนมรดกของอังกฤษก็มี ไทยกับพม่า และไทยกับมาเลเซีย
หากจะมองดูพม่า เพื่อนบ้านของไทยนั้นอาจจะเจ็บช้ำกว่าไทย สมควรที่คนไทยน่าจะลืมเรื่องการเผากรุงศรีอยุธยาของพม่าเมื่อ 200 กว่า
ปีโน้น เพราะการสงครามในสมัยโบราณนั้นผู้ชนะมักจะเป็นผู้ทำลายบ้านเมืองให้พินาศ วอดวายไว้ก่อน ป้องกันการรวมกำลังกันขึ้นมา ไทยเองก็ใช่ย่อยเสียเมื่อไหร่ รบชนะก็เผาเมืองเหมือนกัน ทั้งลำพูน, เวียงจันทน์ก็โดนมาแล้ว
คนไทยเดิม
โดย: ่Jakapong99@hotmail.com [30 พ.ย. 55 23:34] ( IP A:27.145.34.153 X: )
ความคิดเห็นที่ 48
   มีประวัติตะละแม่มินตะยามั๊ยคะ อยากอ่าน
โดย: จันยนิษฐ์ [18 ธ.ค. 55 10:21] ( IP A:183.88.100.15 X: )
ความคิดเห็นที่ 49
   ขออนุญาติคุณเจ้าของกระทู้ วางลิ้งก์ เสริมภาคต่อหลังจากครอบครัวของพระเจ้าสีป่อโดนเนรเทศแล้ว
https://www.reurnthai.com/index.php?topic=2700.0
โดย: รี่ [4 ม.ค. 56 21:03] ( IP A:124.120.86.56 X: )
ความคิดเห็นที่ 60
   

คนพม่าทำนุบำรุงศาสนาพุทธ และมีศาสนาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตประจำวันขนาดนี้ 
ยังจะเชื่อกันอีกหรือว่า การเผาอยุธยาเผาวัดเพื่อเอาทอง ทำลายวัดวา เป็นฝีมือคนพม่า?
เคยมีใครมีหลักฐานไหมว่า การรบกันแต่ละครั้งนั้น กองทหารแต่ละฝ่ายจะใช้ทหารเชื้อชาติตนเอง ร้อยเปอร์เซ็นต์ เป็นไปได้ไหมที่มีทหารรับจ้าง ที่ไม่ใช่คนพุทธ ซึ่งพร้อมบู้สะบั้นเผาได้เป็นเผา เป็นผู้ลงมือ?
และเป็นไปไดหรือไม่ว่า ฝั่งไทยเองนี่แหละเป็นผู้เผาเองซะเลย เพราะไม่พอใจการปกครองบ้านเมืองสมัยนั้น ของกษัตริย์สมัยนั้นที่เขาว่ามัวแต่เสพย์สุข และเป็นไปได้ไหมว่า ฝ่ายไทยเองก็มีทหารรับจ้าง ตากต่างประเทศต่างศาสนาช่วยทำการรบด้วย เช่น มีหมู่บ้านญี่ปุ่น หมูบ้านชาวต่างชาติ หรือแม้กลุ่มคนอิสลามที่ปัจจุบันเรายังเห็นอยู่เขตเมืองอยุธยา ซึ่งทหารรับจ้างเหล่านี้เห็นท่าไม่ดีว่า จะแพ้แล้ว จึงเผาเอาทอง ทำลายวัด ทำลายพุทธรูปแล้วโยนความผิดให้พม่าไป ว่าพม่าเอาทองไปทำยอดเจดีย์(ซึ่งก็ทำเพื่อศาสนาอยู่ดีเห็นไหม) ซึ่งความจริงแล้ว ทองพม่านั้นเยอะอย่าบอกใครเชียวและคงไม่จำเป็นมาเอาจากไทยไป?

โดย: nut [12 มิ.ย. 57 18:42] ( IP A:49.49.27.189 X: )
ความคิดเห็นที่ 61
   
อ่านจนจบ จะหาเนื้อหาปวศพม่า เจอแต่ความสัมพันธ์กับอังกฤษ ช่วยขึ้นหัวข้อว่าเกี่ยวกับอังกฤษก็จะดีมากนะ อุตส่าห์อ่าน

โดย: bouquet_555@hotmail.com [18 ต.ค. 57 14:45] ( IP 1.46.11.62 X: )
ความคิดเห็นที่ 62
   

คุ้มกับการเสียเวลาอ่านจริงๆ ครับ แต่ก็สะเทือนใจไม่น้อย ผมชื่นชมกษัตริย์พม่าองค์ พระเจ้าบุเรงนองช้างเผือก ผู้ชนะสิบทิศ ถามว่าทำไมถึงได้ชอบ ถ้าตามที่ผมติดตามมา กษัตริย์ผู้นี้มีส่วนในการกอบกู้เอกราชของสยามไม่น้อยเลย จากไหนน่ะเหรอ ท่าน ชุบเลี้ยง ราชบุตร ของเจ้าเมืองพิศณุโลก สองแคว ท่านประสิทประสาทวิชา จนราชบุตรพระองค์นั้นเก่งกล้าสามารถ จนเติบใหญ่ ขึ้นมาได้ชื่อ "พระณเรศวร มหารราชแห่งสยาม"แต่เมื่อมาฟัง เรื่องขององค์สีแ่อแล้ว สะเทือนใจมากมากครับ นี้แหละเป็น บทเรียนชิ้นสำคัญ และชิ้นใหญ่ สำหรับ พม่า และเป็น อภิมหาตัวอย่างการ ไม่สามัคคีการมักใหญ่ไฝ่สูง และการเห็นแก่ได้ของคนในชาติแค่บางคนบางกลุ่ม อ่านสะท้อนใจนัก ถ้าหากแผ่นนี้เป็นเช่นนั้นขึ้นมา ชีวิตเราจะเป็นยังไงยังนึกไม่ออกเลยครับ

โดย: Jommanpor_01@hotmail.com [14 พ.ย. 58 3:04] ( IP A:223.207.74.16 X: )
ความคิดเห็นที่ 63
   
ทุกฝ่ายทำเพื่อผลประโยชน์ตนเป็นหลัก ความผิดความถูกต้องชอบธรรมจะเป็นเรื่องรอง เท่าที่ดูประวัติศาสตร์ทุกชนชาติจะเป็นเช่นนี้ บันทึกส่วนดีของตนเองและสร้างความไม่ชอบกับฝ่ายตรงข้าม ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์คงต้องค้นคว้าศึกษาหลายๆ ด้านมาประกอบกัน
โดย: somyotdp@anet.net.th [28 เม.ย. 59 16:01] ( IP A:182.232.9.142 X: )
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน