![]() |
| ![]() ![]() ![]() |
payaban-pladthin.pantown.com : พยาบาลพลัดถิ่น | [ลูกบ้านSignIn][เจ้าบ้านSignIn] |
   เห็บมหาภัย
ระวังนะคะ แถบนั้นอาจจะมีเจ้าเห็บมหาภัย (Zecke ) ซ่อนอยู่ก็ได้ เห็บพวกนี้จะหลบอยู่ตามขอนไม้ หรือใบหญ้า และคอยเกาะ ฝังตัว ดูดเลือด คน หรือสัตว์ที่ผ่านมา เจ้าเห็บเหล่านี้เป็นพาหะนำเชื้อ FSME - frühsommer-Meningoenzephalitis ( เยื่อหุ้มสมองอักเสบ) และ Borreliose ต้องระวังด้วยค่ะ ขอเล่าถึงโรคทั้งสองโดยคร่าวๆนะคะ เพื่อที่คุณแม่ๆจะได้ทราบว่าควรปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อ ลูกๆ หรือตนเองโดนเห็บเกาะ FSME เมื่อถูกเห็บกัดเกาะ เชื้อไวรัส ซึ่งอยู่ในต่อมนำลายในส่วนหัวของตัวเห็บ จะเข้าสู่ร่างกายทันที ระยะพักเชื้อจะกินเวลาประมาณ 1 อาทิตย์ หลังจากนั้น จะมีอาการขั้นแรกคล้ายอาการไข้หวัด Sommergrippe และหลังจากนั้นจะมีอาการคืบหน้าดังนี้ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ 50 %, เยื้อหุ้มสมองและสมองอักเสบ 40% และ กล้ามเนื้ออักเสบ 10% โรคนี้ยังไม่มีการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเนื่องจากเป็นเชื้อไวรัส ปรกติพบมากในแถบ Süddeutschland BORREILOSE เชื้อแบคทีเรีย Borrelia burgdorferi ในลำไส้ส่วนกลางของเห็บจะปล่อยเชื้อเข้าสู่ร่างกายของผู้ถูกกัด และจะเริ่มมีอาการประมาณ 12-24 ชั่วโมง หรือ 3 อาทิตย์ หลังถูกกัด อาการขั้นแรก จะมีผื่นแดงเป็นวงปรากฏตามร่างกาย หรือที่เรียกว่า Wanderröte, มีไข้ ปวดศีรษะ บางรายอาจไม่มีผื่นปรากฏ อาการขั้นที่สอง โดยมากจะมีอาการไข้สมองอักเสบ ปวดคอ คอแข็งหัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อใบหน้าเป็นอัมพาติ อาการขั้นที่สาม จะมีอาการ ข้ออักเสบ การรักษาโรคนี้จะมีการใช้ยาปฏิชีวนะเข้าช่วย แต่มีโอกาสที่อาการเหล่านี้จะปรากฏอีก ในหลายปีให้หลัง การป้องกัน 1. เมื่อเด็กๆออกไปเดินเล่นหรือเล่นตามที่รก ควรแต่งกายให้รัดกุมใส่เสื้อ กางเกงแขนยาว ถุงเท้าคลุมชายกางเกง เพราะเห็บมักจะซ่อนตัวตามขอนไม้ และเกาะตามใบหญ้า 2. หลีกเลี่ยง การเดินแถบที่มีหญ้าสูงๆ หรือห้ามเด็กไม่ให้ไปเล่นในที่ที่มีพงรก หญ้าสูง 3. หาซื้อ Lotion กันเห็บได้ตามร้านขายยา 4. หลังจากการเดินป่า ควรตรวจตามร่างกายว่ามีเห็บเกาะหรือไม่ หากพบว่ามีเห็บเกาะ ควรปฏิบัติตนดังนี้ -ไปหาแพทย์ เพื่อให้แพทย์เอาเห็บออก -ไม่ควรหยดนำมันลงที่ตัวเห็บ เพื่อให้เห็บหายใจไม่ออกและตาย เพราะเห็บอาจจะทุรนทุรายและคายพิษออกมาสู่ร่างกายผู้ถูกกัด -หากที่บ้านมีคีมพิเศษสำหรับคีบเห็บ ( หาซื้อได้ตามร้านขายยา) ควรดึงเห็บออกตามภาพ โดยสอดคีมอย่างระมัดระวังระหว่างหัวของตัวเห็บและผิวหนัง อย่าให้ ตัวของเห็บแตก และยกคีมคีบขึ้นอย่างระมัดระวัง เพื่อดึงเห็บออก หลังจากนั้นตรวจดูว่า หัวเห็บยังคาอยู่ในผิวหนังหรือไม่ -หากคุณไม่แน่ใจว่าส่วนหัวของเห็บคาอยู่ในร่างกายหรือไม่ ควรไปหาแพทย์ด่วนค่ะ วัคซีนป้องกัน ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันแบบระยะยาวคุ้มได้ 3-5 ปี ซึ่งภายในปีแรกแพทย์จะนัดท่านมารับการฉีดวัคซีน 3ครั้ง ครั่งแรก แพทย์จะฉีดให้และนัดฉีดเข็มที่สอง หลังจากฉีดเข็มแรกได้ 14 วัน ตอนนี้ร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันได้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ทีเดียว และหลังจากนั้น 9-12 เดือนต้องไปรับ วัคซีนคุ้มกันเข็มที่สาม ร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันได้ 3-5 ปี และหลังจากนั้นทุกๆ 3-5 ปีควรไปรับวัคซีนกระตุ้นเพื่อให้ภูมิคุ้มกันต่อเนื่อง
|