tidn1amulet-uthaithanee.pantown.com : ทิดหนึ่งพระเครื่อง,คนดนตรี
[ลูกบ้านSignIn][เจ้าบ้านSignIn]
ยินดีต้อนรับสู่เมืองอุทัยธานี
ประวัติสมเด็จพระวันรัตน(เฮง เขมจารี)
ประวัติ หลวงปู่พลอย วัดห้วยขานาง จ.อุทัยธานี
วัดห้วยขานาง(หลวงพ่อพลอย)ในปัจจุบัน
ประวัติหลวงพ่อเคลือบ วัดหนองกระดี่
ประวัติ พระราชอุทัยกวี (พุฒ สุทตฺตะเถระ) อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี
พระครูอุทัยสังฆกิจ(หลวงพ่อรัง)วัดอมฤตวารี(หนองน้ำคัน)
หลวงพ่อเคน วัดดงเศรษฐี
ประวัติหลวงพ่อปลั่ง วัดห้วยรอบ
หลวงพ่อจู วัดดอนกลอย
วัตถุมงคลชุดหลวงพ่อพลอย
ให้บูชาวัตถุมงคลชุดหลวงพ่อสด,หลวงพ่อแอ๋ว,หลวงพ่อเคลือบ
ให้บูชาวัตถุมงคลคณาจารย์เมืองอุทัยธานี
พระเครื่องทั่วไป
ปรึกษา สนทนา เรื่องพระเครื่องเมืองอุทัยธานี




[63225]



   พระราชอุทัยกวี(พุฒ สุทตฺโต) อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี

พระราชอุทัยกวี (พุฒ สุทตฺโต) อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี พ.ศ. 2469-2533
ชาติภูมิ ท่านมีชื่อเมว่า พุฒ แจ้งอิ่ม เกิดเมื่อ 9 ธันวาคม 2439 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 5 ค่ำเดือน 1 ปีวอก ณ. บ้านหนองเต่า ต.ทุ่งใหญ่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี
ในวัยเยาว์ท่านต้องช่วยบิดามารดาทำนาและเลี้ยงน้อง แต่ท่านมีความสนใจในการปฏิบัติธรรม คือชอบสวดมนต์ก่อนนอนตามบิดาของท่านทุก ๆ คืน ทำให้สวดมนต์ได้ตั้งแต่อายุยังน้อย พ.ศ.2453 ดาจึงนำท่านมาฝากพระสุนทรมุนี (ใจ) เจ้าอาวาสวัดมณีธุดงค์สงฆ์มูลิกาวาส ( .ศ.2456 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สกลมหาสังฆปรินายก ได้ประทานนามใหม่ว่า “วัดทุ่งแก้ว” ) และเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนวัดมณีธุดงค์เชลยศักดิ์ ได้เรียนวิชา ภาษาไทย ภาษาขอม เลขะ วิชาลงรักปิดทอง
บรรพชา – อุปสมบท
พ.ศ.2454 ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดทุ่งแก้ว
6 มีนาคม พ.ศ.2458 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดทุ่งแก้ว โดยมีพระสุนทรมุนี(ใจ คงฺคสโร) เป็นพระอุปัชฌาจารย์ พระมหายอด อกฺกวํโส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้รับฉายาว่า “สุทตฺโต”
การศึกษา
เมื่อได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ได้ศึกษาธรรมบทและมูลกัจจายน์ตลอดจนธรรมพื้นฐานต่าง ๆ และเมื่อได้อุปสมบทแล้ว ในปี พ.ศ.2459 สอบได้นักธรรมดตรี จากสำนักเรียนวัดทุ่งแก้ว
พ.ศ.2460 พะสุนทรมุนี(ใจ) เจ้าสำนักเรียนวัดทุ่งแล้วและพระอุปัชฌาย์ ได้ส่งท่านไปศึกษาต่อในสำนักเรียนวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ คณะ 18 จังหวัดพระนคร
พ.ศ.2462 สอบได้นักธรรมโท
พ.ศ.2463 สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค
พ.ศ.2464 สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค
พ.ศ.2465 สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค
ในระหว่างศึกษาอยู่ที่สำนักเรียนวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์นี้ ท่านได้รับความเมตตาจาก สมเด็จพระวันรัต(เฮง เขมจารี) อบรมสั่งสอนธรรม จนมีความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง แตกฉาน และมีโอกาสปรนนิบัติรับใช้ สมเด็จพระวันรัต(เฮง) อย่างใกล้ชิด เนื่องจากความที่เป็นคนอุทัยธานีเหมือนกัน ประกอบกับท่านเป็นผู้มีความวิริยะอุตสาหะและปฏิบัติกิจทางศาสนาได้อย่างเข้ม แข็ง มีศีลาจารวัตรงดงาม จึงเป็นที่ชื่นชอบของสมเด็จพระวันรัต(เฮง)เป็นอย่างยิ่ง นับว่าท่านเป็นศิษย์ที่สมเด็จพระวันรัต(เอง) ให้ความเมตตาและไว้ว่างใจมากที่สุด
นอกจากการศึกษาด้านปริยัติธรรมแล้ว พระราชอุทัยกวี(พุฒ) ยังมีความสนใจด้านวิปัสสนากรรมฐาน เป็นอย่างมาก ดังนั้น ในปี พ.ศ.2496 จึงได้ไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับ พระภัททันตะ อาสภเถระ ธัมมาจริยะ ชาวพม่าที่เดินทางมาเผยแผ่ธรรมะด้านวิปัสสนากรรมฐานในประเทศไทย และได้นำความรู้มาอบรมสั่งสอนให้แก่ลูกศิษญ์ชาวอุทัยธานีและจังหวัดใกล้เคียงเป็นจำนวนมาก โดยเริ่มทำการสอนตั้งแต่ พ.ศ.2497 เป็นต้นมา และได้จัดตั้งวิปัสสนามูลนิธิวัดมณีสถิตกปิฏฐารามขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบำเพ็ญทานและการกุศลในพุทธศาสนา ได้แก่การบำรุงสำนักวิปัสสนา และสำนักเรียนปริยัติธรรมวัดมณีสถิตกปิฏฐาราม และส่งเสริมกิจการการกุศลสาธารณประโยชน์ทั่วไป
ด้านการปกครอง
พ.ศ.2469 เป็นผู้รักาการแทนเจ้าอาวาสวัดทหุ่งแก้ว
พ.ศ.2471 (19 กันยายน) เป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งแก้ว
พ.ศ.2476 (6 พฤศจิกายน) เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี
พ.ศ.2476 (26 กุมภาพันธ์) เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.2477 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี
พ.ศ.2478 เป็นเจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี
สมณศักดิ์
6 พฤศจิกายน 2476 เป็นพระครูสัญญาบัตรที่”พระครูศรีรัตนาภิรม”
19 กันยายน 2478 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ “พระสุนทรมุนี อุทัยธานี วรนายก สังฆปาโมกข์”
5 ธันวาคม 2500 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้น ราชที่ “พระราชอุทัยกวี สมาธินทรียสุนทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี”

มรณภาพ
พระราชอุทัยกวี (พุฒ สุทตฺโต) สภาพสังขารโดยทั่วไปมีสุขภาพอนามัยดี ปราศจากโรคภัยไขเจ็บประจำตัว โดยปรกติท่านจะใช้เวลาปฏิบ้ติวิปัสสนากรรมฐานในกุฏิเสมอ บางครั้งจะปฏิบัติติดต่อกันเป็นเวลานาน 1-2 วัน โดยไม่ออกมาฉันภัตตาหารเลย ท่านเป็นแม่แบบและเป็นที่เคารพ เป็นความภาคภูมิใจของชาวอุทัยธานีมาโดยตลอดทั้งทางด้านปกครองและทางด้านเป็นพระวิปัสสนา ผิวกายของท่านมีราศียิ่งนักมีผิวกายสีชมพู ดูแล้วงามตาและประทับใจเป็นอย่างยิ่ง และในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ.2533 เมื่อฉันภัตตาหารเช้าแล้ว ท่านก็ได้เข้ากุฏิปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเหมือนเช่นเคย จนกระทั่งเวลาประมาณ 10.00 น.เศษ มีผู้เข้าไปพบท่านได้มรณภาพอย่างสงบภายในกุฏิสนทรประมุข สังขารของท่านได้พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุลอย บริเวณหน้าโรงเรียนพระปริยัติธรรม “อุทัยธรรมสภา” เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2534 ยังความเศร้าโศกเสียใจ อาลัยยิ่งแก่เหล่าศิษยานุศิษย์และชาวอุทัยธานีทั้งปวง

ความรู้ด้านพุทธาคม
เป็นอีกส่วนหนึ่งที่อยู่ในความสนใจของพระราชอุทัยกวี (พุฒ) จึงได้แสวงหาและศึกษาจากผู้มีวิทยาคุณอีกหลายองค์ เท่าที่มีการบันทึกไว้มีดังนี้
1.พระธรรมไตรโลกาจารย์ (ยอด) วัดเขาแก้ว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์
2.หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์
3.หลวงพ่อเคน วัดดงเศรษฐี อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี
4.หลวงพ่อสิน วัดหนองเต่า อ.เมือง จ.อุทัยธานี
5.หลวงพ่อพลอย วัดห้วยขานาง อ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี
6.หลวงพ่อจิ๋ว วัดเนินเหล็ก อ.เมือง จ.อุทัยธานี
7.พระวิบูลวชิรธรรม(สว่าง) วัดท่าพุทรา จ.กำแพงเพชร
8.หลวงพ่อจ้อย วัดอมฤตวารี(หนองน้ำคัน) อ.เมือง จ.อุทัยธานี
9.พระอุดมธรรมภาณ(หลวงพ่อสม) วัดทัพทัน อ.เมือง จ.อุทัยธานี
สำหรับวัตถุมงคลที่ท่านสร้างนั้นมีหลายรุ่นด้วยกัน เริ่มตั้งแต่รุ่นแรก เป็นเหรียญปี 2502 ออกโดยกรมการศาสนา ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ ใต้รูปเขียนว่าเจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี พระราชอุทัยกวี(สุทตฺโต) นอกจากนั้นก็มีสมเด็จที่เรียกว่าสมเด็จฟองเต้าหู้ เหรียญอีกหลายรุ่น รวมถึงเชือกคาดเอวจะเข้ขบฟันที่ท่านเรียนมาจากหลวงปู่พลอย รวมถึงวัตถุมงคลอีกหลายรุ่นด้วยกัน

Pantown.com ใช้คุกกี้ (cookies) หรือไฟล์ข้อมูลขนาดเล็กเพื่อจดจำการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา จดจำความชอบและความสนใจเพื่อการแสดงผลให้สอดคล้องกับความชอบและความสนใจของผู้เข้าใช้งาน เพื่อเร่งความเร็วในการแสดงผลของข้อมูล เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอโฆษณา รวมถึงเพื่อความสะดวกในการให้บริการต่างๆในเว็บไซต์ของเรา โดยคุกกี้นี้จะถูกดาวน์โหลดเก็บไว้ในอุปกรณ์ของผู้เข้าใช้งานเพื่อระบุอุปกรณ์การใช้งานของผู้เข้าใช้ แต่จะไม่ระบุตัวบุคคลผู้เข้าใช้งาน ทั้งนี้การวิเคราะห์อาจทำโดยบุคคลอื่นที่ให้บริการหรือได้ รับมอบหมายให้กระทำการแทนในนามของ Pantown.com เช่น Google Analytics เป็นต้น