watprayathum.pantown.com : วัดพระยาทำ
[ลูกบ้านSignIn][เจ้าบ้านSignIn]

   รายนามเจ้าอาวาสวัดพระยาทำ ตั้งแต่อดีต ถึงปัจจุบัน

เจ้าอาวาสผู้ครองวัดนี้เท่าที่สามารถหาหลักฐานได้มีดังนี้

1. พระธรรมเจดีย์
ไม่ทราบนามสกุลและภูมิลำเนาเดิม ทราบแต่ว่าเกิดวันอังคารขึ้น 9 คํ่า เดือน 3 ปีขาล พ.ศ.2277 ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เมื่อราว พ.ศ.2313 พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้อาราธนาขึ้นไปจัดการคณะสงฆ์ทางเหนือ และให้อยู่สอนพระธรรมวินัยที่พิษณุโลก ถึงราว พ.ศ.2323 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนขึ้นเป็นพระพิมลธรรม และโปรดให้ย้ายไปครองวัดโพธาราม (วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม) ในตอนปลายสมัยธนบุรี พระพิมลธรรมร่วมกับสมเด็จพระสังฆราช (ศรี) และ พระพุฒาจารย์ได้รับพระราชอาญาถูกถอดสมณศักดิ์และถูกเฆี่ยนตี ถูกกักขัง เพราะถวายพระพรว่า พระสงฆ์ปุถุชนไหว้นบเคารพคฤหัสถ์ผู้เป็นพระโสดาบันนั้นไม่ควร แต่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์คืน และไปครองวัดเดิมในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยยกย่องว่า มีสันดานสัตย์ซื่อมั่นคงพระพุทธศาสนาโดยแท้ มิได้อาลัยแก่กายและชีวิต ควรเป็นที่นับถือไหว้นบเคารพบูชา แม้นมีข้อสงสัยสิ่งใดใน พระบาลีภายหน้า จะได้ประชุมพระราชาคณะไต่ถาม ถ้าพระผู้เป็นเจ้าทั้งสามพระองค์ว่าอย่างนี้แล้ว และ พระราชาคณะอื่น ๆ จะว่าอย่างหนึ่งไปก็คงจะเชื่อถือถ้อยคำ พระ ผู้เป็นเจ้าทั้งสาม และทรงปฏิบัติตาม พระราชดำ รัสนี้เรื่อยมา เช่น เมื่อคราวโปรดฯให้ขุดลอก คลองหลอดออกจากคลองคูเมืองเดิม ไปออกบรรจบกับคลองคูใหม่นอกเมือง ให้ทำ สะพานช้างและสะพานนนทรีข้างคลองภายในพระนคร หลายแห่ง และให้ขุดคลองใหญ่เหนือวัดสระเกศพระราชทานนามว่าคลองมหานาค เพื่อให้ชาวพระนครเล่นเพลงสักว่าในเทศกาลนา้ํ เหมอื นครงั้กรงุเกา่ แลว้ทรงพระราชดำ ริให้ให้สร้างสะพานช้างข้ามคลองคู เมืองที่เหนือคลองมหานาคนั้น พระพิมลธรรมทราบเรื่องออกไปเจริญพรห้ามไว้ด้วยเหตุผลว่า เมื่อมีสงครามข้าศึกจะรุกเข้ามาถึงชานเมืองได้ง่ายประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งจะเป็นที่กีดขวางกระบวนแห่ เรือรอบพระนคร ปรากฏว่าทรงเห็นชอบตามพระพิมลธรรม ในคราวทำ สังคายนาพระไตรปิฎกเมื่อพ.ศ.2331 พระพิมลธรรมเป็นผู้อ่านคำ ประกาศ..ในท่ามกลางสังฆสมาคม 281 รูป และได้ระบุหน้าที่เป็น แม่กองชำ ระพระอภิธรรมปิฎก และในรัชกาลที่ 1 นี้เอง พระพิมลธรรมได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็น สมเด็จ พระวันรัตนพิพัฒน ญาณอดุลยสุนทรนายก ปิฎกธรามมหาคณิศร บวรทักขิณาคณะสังฆราม คามวาสี เป็นพระกรรมวาจาของสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส และได้แต่งหนังสือภาษาบาลีหลายเล่มเช่นสังคีติยวงศ์ พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา มหาภารตยุทธการ (ว่าด้วยพระราชพงศาวดาร) หนังสือพระราช พงศศาวดารพิมพ์ 2 เล่ม เป็นต้น ท่านได้มรณภาพในแผ่นดินรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

2. พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี
ไม่ทราบนามและภูมิลำ เนาเดิม เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อจากพระธรรมเจดีย์ในสมัยกรุงธนบุรี ต่อมาในต้นรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325) ได้รับพระราช ทานเลื่อนเป็นพระครูศรีสุนทรากษรวิจิตร ตำ แหน่งพระคู่สวดในสมเด็จพระสัฆราช และโปรดให้ย้าย ไปอยู่วัดกลาง

3. พระนิกรมุนี (ทองดี เปรียญเอก)
เดิมอยู่วัดหงส์รัตนาราม ได้รับพระราชทานแต่งตั้ง สมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ และย้ายมาครองวัดนี้สืบแทนพระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี เมื่อ พ.ศ.2325 แต่ ต่อมาถูกอธิกรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้พระยาพระเสด็จชำระอธิกรณ์ได้ความเป็นจริง จึงโปรดให้ถอดสมณศักดิ์และให้ลงปัพพานียชกรรม (ขับออกจากวัด) ไปอาศัย อยู่วัดบางย่เีรือใน แต่ในบันทึกประวัติวัดพระยาทาํวา่ไดร้บั พระราชทานเลอื่นสมณศักดิ์เ์ิป็นพระพุฒาจารย์และอยู่มาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 2

4. พระธรรมกิติ (อยู่)
คือพระพุฒาจารย์ วัดบางหว้าใหญ่ที่เคยคัดค้านไม่ให้วัดนาคกับวัดกลาง มีพัทธสีมาแยกกันและถูกพระราชอาญาให้ถอดสมณศักดิ์เสียดังกล่าวแล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระมหาอยู่ (อดีตพระพุฒาจารย์) เป็นพระธรรมกิติมาครองวัดนี้สืบแทน สันนิษฐานว่าคงเป็นรูป เดียวกับพระธรรมกิติผู้เป็นพระอนุสาวนาจารย์ของสมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อครั้งเสด็จออกผนวช ณ วันพุธขึ้น 15 คํ่า เดือน 8 พ.ศ.2338 และคงเป็นรูปเดียวกับ พระพุฒาจารย์ในบันทึกประวัติ วัดนี้ที่ว่าอยู่มาจนถึงรัชกาลที่ 2 และเป็นผู้สร้างเจดีย์ยักษ์ เพราะท่านเคยเป็นพระพุฒาจารย์มาก่อน

5. ท่านเจ้าพม่า
ไม่ทราบประวัติ ทราบแต่ว่ามีนามเดิมว่า “อิน” เป็นเจ้าอาวาสวัดนี้จนมรณภาพ คำ ที่ใช้เรียกว่า “ท่านเจ้าพม่า” นี้คงเป็นคำ ที่ชาวบ้านเรียกไม่ใช่ราชทินนามสมณศักดิ์ เพราะตรวจดูแล้วไม่พบชื่อนี้ในทำเนียบสมณศักดิ์สมัยใดเลย จะว่าท่านเป็นพระพม่าก็ไม่น่าจะเป็นไปได้เพราะชื่อเดิมก็บอกว่าเป็นคนไทย

6. พระสมุห์ศุก
ย้ายมาจากวัดกลาง (นางกลาง)ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสุนทรากษรวิจิตร ต่อมาได้ย้ายกลับไปเป็นเจ้าอาวาสวัดกลาง และได้เลื่อนเป็นพระราชาคณะที่พระศรีสมโพธิ์

7. พระนิกรมุนี (เบญจวรรณ)
เป็นบุตรของเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์(กุน) ผู้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้ย้ายมาจากวัดสุวรรณารามคลองบางกอกน้อย เป็นเจ้าอาวาสในรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

8. พระธรรมสารโสภณ (อยู่)
เปรียญธรรม 3 ประโยค เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ยังเป็นพระใบฎีกาจนถึงมรณภาพ

9. พระศรีสมโพธิ (สิน)
เปรียญธรรม 5 ประโยค บ้านเดิมอยู่ตำบลบ้านเขาสบาบ จันทบุรี ย้ายจากวัดราชบูรณะมาเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้ในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 อยู่จนถึงมรณภาพ

10. พระครูสุนทรากษรวิจิตร (อยู่)
บ้านเดิมอยู่คลองบางแวก เป็นเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ.2432 ขณะเป็นพระปลัด เป็นเจ้าอาวาสอยู่จนถึงมรณภาพ

11. พระครูสุนทรากษรวิจิตร (แจ้ง)
แต่ชาวบ้านนิยมเรียกท่านว่าพระครูแจ้ง ภูมิลำ เนาเดิมอยู่อำเภอหันตรา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาอยู่วัดพระยาทำ เมื่อ พ.ศ.2428 พรรษาที่ 8 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 3 ประโยค เมื่อ พ.ศ.2431 เป็นเจ้าอาวาสใน พ.ศ.2432 อยู่จนมรณภาพ เป็นรูปแรกที่บันทึกประวัติวัดไว้ เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2458

12. พระครูสุนทรากษรวิจิตร (เจียม)
ภูมิลำเนาเดิมอยู่สวรรคโลกบวชที่วัดครุฑ บางกอกน้อยมาอยู่ที่วัด พระยาทำ เมื่อ พ.ศ.2453 เป็นเจ้าอาวาสต่อจากพระครูสุนทรากษวิจิตร (แจ้ง) ท่านได้บันทึกประวัติวัดไว้เป็นรูปที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2474 ได้ลาสิกขา

13. พระครูสารธรรมจารย์ (ทอง)
ภูมิลำ เนาเดมอยู่ที่บ้านเนินหอม ตำ บลนนทรี อำ เภอกบินทร์บุรีจังหวัดปราจีนบุรี ย้ายออกจากวัดสุวรรณาราม บางกอกน้อย มาอยู่วัดนี้เมื่อ พ.ศ.2478 ดำ รงตำ แหน่งเจ้าอาวาสจนถึงมรณภาพ หลังจากที่พระครูสารธรรมาจารย์มรณภาพไปแล้ว วัดพระยาทำ ก็ว่างเจ้าอาวาส พระมหาหอม วัดนาคกลางเป็นผู้รักษาการณ์แทนเจ้าอาวาส เมื่อลาสิกขาไป พระมงคลสุธี (เหลียง ฉัตรมงคล) วัดนาคกลางเป็นผู้รักษาการณ์แทนเจ้าอาวาสต่อมา

14. พระครูสุนทรสาธุกิจ (ตันติ์ หรือธนินทร์)
มีภูมิลำ เนาเดิมเช่นเดียวกับพระครูสารธรรมาจารย์(ทอง) มาอยู่วัดพระยาทำ ตั้งแต่ พ.ศ.2475 เป็นเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ. 2512 จนมรณภาพ

15. พระศรีสุธรรมมุนี มีภูมิลำ
เนาเดิมอยู่บ้านศรีมงคล ต.ดงบัว อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี มาอยู่วัดพระยาทำ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2496 เป็นเจ้าอาวาสเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2540 จนมรณภาพ ปี

16. พระครูสุธีสุตกิจ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

Pantown.com ใช้คุกกี้ (cookies) หรือไฟล์ข้อมูลขนาดเล็กเพื่อจดจำการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา จดจำความชอบและความสนใจเพื่อการแสดงผลให้สอดคล้องกับความชอบและความสนใจของผู้เข้าใช้งาน เพื่อเร่งความเร็วในการแสดงผลของข้อมูล เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอโฆษณา รวมถึงเพื่อความสะดวกในการให้บริการต่างๆในเว็บไซต์ของเรา โดยคุกกี้นี้จะถูกดาวน์โหลดเก็บไว้ในอุปกรณ์ของผู้เข้าใช้งานเพื่อระบุอุปกรณ์การใช้งานของผู้เข้าใช้ แต่จะไม่ระบุตัวบุคคลผู้เข้าใช้งาน ทั้งนี้การวิเคราะห์อาจทำโดยบุคคลอื่นที่ให้บริการหรือได้ รับมอบหมายให้กระทำการแทนในนามของ Pantown.com เช่น Google Analytics เป็นต้น