![]() |
| ![]() ![]() ![]() |
Catalogue-of-Fishes.pantown.com : ความหลากหลายของปลา | [ลูกบ้านSignIn][เจ้าบ้านSignIn] |
   Catalogue-of -fishes.
เพียงแต่ ประเทศที่ผมอยู่นี้องค์ความรู้ดังกล่าวมีเพียงบางส่วนที่ถูกถ่ายทอดออกมา ให้กับผู้ที่สนใจจริงๆ และผู้ที่ใฝ่หาเท่านั้น ด้วยเหตุผล ผู้แสวงหาเท่านั้นที่สมควรได้รับ หากแต่มุมมองส่วนตัวผม มีคนอีกมากมายที่สนใจ เพียงแต่มีปัจจัยอะไรหลายอย่างที่ทั้งคุณและผมไม่สามารถกำหนดได้ กลับมีความสำคัญเหนือกว่า หรือเป็นอุปสรรคในการค้นหา มีคนเคยกล่าวไว้ว่า หนังสือหนึ่งเล่มแม้จะถูกเขียนด้วยองค์ความรู้และวัตถุประสงค์ที่ต่างกันออกไป แม้นมีเพียงคนๆเดียวหยิบยกขึ้นมาอ่านไม่ว่าจะเพียงบางส่วนหรือจบเล่ม อาจารย์ท่านผู้เขียนถือว่าองค์ความรู้ถูกถ่ายทอดไปแล้วสมบูรณ์. "หากเขาไม่มอง ก็ทำให้เขาเหลียวมามองสิ" ผมยอมรับโดยดุษณีว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะชักชวนทุกท่านให้เดินตามหนทางที่ตนต้องการได้. แม้เส้นทางดังกล่าวหลายท่านอาจจะบอกว่าทำไมต้องพาวกวน หรือ จริงๆแล้วเราสามารถวิ่งเป็นเส้นตรงสู่จุดหมายปลายทางแห่งคำว่า "อนุรักษ์" ได้ง่ายนิดเดียว. หากเป็นเช่นนั้นแล้วทำไมช่วงระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา. สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ถึงมีจำนวนลดลง ก่อนอื่นเราควรจะยอมรับความจริงที่ว่ามนุษย์อย่างเรามองพวกเขาเหล่านี้ด้วยสายตาอีกแบบ หรือ ถือว่าเป็นเรื่องไกลตัว. การผลักดันแนวทางอนุรักษ์ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับประเทศนี้ เมื่อเวลาผ่านไปเพียงไม่นานสารัตถะดังกล่าวก็ถูกลืม. ขนาดนักวิชาการหลายท่านยังกล่าวว่า อนุรักษ์เป็นเพียงคำพูดที่ล่องลอยอยู่ในอากาศใครใคร่จะหยิบนำมาพูดก็พูดได้ทุกกาลเวลา. แนวความคิดดังกล่าวนี้กลับไม่ได้เพิ่มความหวังให้กับสิ่งมีชีวิตรอบตัวเรา แถมสร้างความน่าวิตกกังวลให้กับผู้ที่ได้ยินมากกว่า. มนุษย์เรามักกำหนด "ความถูกต้อง" ในความคิดตนเองขึ้นมาโดยใช้คำว่า "เหตุผล" เป็นร่างทรง. เช่นนั้นเป็นไปได้หรือเปล่าสิ่งที่เรากระทำในทุกเรื่องราวมักจะมีมุมกลับสำหรับการกระทำนั้นๆ. "การทำอาหารให้กับคนที่เรารัก หรือ ให้กับทุกคนได้ทาน ย่อมมีค่ามากกว่า การทำอาหารให้พ่อครัวระดับโลกได้ชิม." ในแง่ของการใช้คำบรรยายให้สละสลวยนั้น ผมต้องขออภัยทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วย เนื่องจากตนเองทราบดีว่าไม่มีพรสวรรค์ทางด้านงานเขียนเอามากๆ แถมไม่เคยเรียนหรือทำงานเกี่ยวกับปลามาก่อน. แต่สิ่งนึงที่ทำให้ผมมีความสุขมากมี่สุด คือ ณ เวลานี้ ผมรู้แล้วว่าผมชอบอะไร? อนุกรมวิธานเป็นอีกหนึ่งองค์ความรู้ ถึงแม้จะไม่เก่งหรือไม่มีทางที่จะสมบูรณ์แบบ แต่ทุกคนเป็นได้ครับ ประเด็นสำคัญอยู่ที่ องค์ความรู้ได้ถูกถ่ายทอดให้ใครนั่นส่วนหนึ่ง แต่อย่าไปคิดตามว่ามีแล้วเก่งหรือเหนือกว่าคนอื่น ถือว่าเป็นความคิดที่ผิดอันนั้นถือเราว่าลืมตัว แถมเอาเปรียบคนอื่น อันนั้นไม่ใช่องค์ความรู้ที่อาจารย์ท่านผู้สอนต้องการจะให้เป็นอยู่แล้ว ส่วนที่สำคัญคือ มีแล้วจะนำไปใช้อย่างไร ให้เหมาะสม ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากที่สุด ส่วนตัวผมดีใจมากที่ผมเข้าใจคำว่า อนุกรมวิธาน เพียงแค่ผิวเผิน ผมหวังว่าสิ่งที่ผมทำ จะไม่ทำให้จุดมุ่งหมายของนักอนุกรมวิธานทุกท่าน ที่ต้องการเผยแพร่เสียไป. ก่อนจบในส่วนนี้ ผมขออนุญาตหยิบยก บทแปล ขึ้นมาบทนึงครับ. " ในหลายๆทาง งานของนักวิจารณ์เป็นงานง่าย เราเสี่ยงเพียงเล็กน้อย แต่กลับสนุกในฐานะที่เหนือกว่า คนที่เสนอผลงานและตนเองให้กับคำตัดสินของเรา เราสร้างชื่อจากการวิจารณ์ผู้อื่นในทางลบ ซึ่งเป็นเรื่องที่สนุกสำหรับคนเขียนและคนอ่าน แต่ความจริงที่เจ็บปวดที่เหล่านักวิจารณ์ต้องเผชิญก็คือ เมื่อพิจารณาในทางอื่นแล้ว จากอาหารถูกสักจานก็อาจมีความหมายมากกว่า คำวิจารณ์ที่เราได้มอบให้แก่มัน" ผมตำหนิตนเองเสมอว่าทำไม กับคำเพียง3คำ ผมถึงทำไม่ได้ "เพื่อส่วนรวม" แล้วมันจะมีค่าอะไร หากคนส่วนใหญ่นับถือคน จากชื่อเสียงและความมั่งคั่ง จนลืมไปว่าความเป็นมนุษย์ และ คุณงามความดี ต่างหาก ผมอดขำไม่ได้ที่สื่อโฆษณาประเทศนี้ ยกย่องดารา หรือ เศรษฐีทำอะไรไป พวกคุณขนานนามว่าเทพ เช่นนั้นผู้คนอีกมากมายที่สละชีวิตเพื่อช่วยเหลือคนอื่น พวกคุณจะเรียกท่านเหล่านี้ว่าอย่างไร? จะนับถือเขาอย่างไร?. ความรู้ไม่มีวันสิ้นสุด ตัวผมเองก็มีเพียงความรู้ในมุมมองของผมที่อาจจะรับรู้เพียงด้านใดด้านหนึ่ง ยังต้องเรียนรู้ไปเรื่อยๆ ขาดตกบกพร่อง หรือ ผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยกระจกบานนี้ด้วยน่ะครับ.
การศึกษา : ชั้นประถมศึกษา-มัธยมศึกษาตอนปลาย (พ.ศ.2517-พ.ศ.2529) โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย. ระดับอุดมศึกษา : 3 ปี ในมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (Art-French) ก่อนย้ายมาเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาการเงิน อีก3ปี มีความจำเป็นต้องยุติการเรียนเพื่อทำงาน. ผลงานกับความภูมิใจ. Sitthi Kulabtong, Siriwan Suksri & Chirachai Nonpayom. A new species of genus Laubuca Bleeker, 1860 cyprinid fish from Bangladesh (Cypriniformes, Cyprinidae). Biodiversity Journal, 2012, 3(1): 93-95. Sawika Kunlapapuk, Sitthi Kulabtong & Chirachai Nonpayom. Two new records of freshwater fishes (Cypriniformes, Balitoridae and Atheriniformes, Phallostethidae) from Thailand. Biodiversity Journal, 2012, 3(2): 119-122. Sitthi Kulabtong, Siriwan Suksri & Chirachai Nonpayom. New data of the freshwater fish genera Laubuca Hamilton,1822 (Cypriniformes, Cyprinidae) and Phenacostethus Myers,1928 (Atheriniformes, Phallostethidae) in Thailand. Biodiversity Journal, 2012, 3(3): 157-162. |