(6) เรื่องของกะทิ  |
สูตรทำน้ำกะทิค่ะ อัตราส่วน หัวกะทิ : หางกะทิ : น้ำตาลทราย คือ 1 : 2 : 3 ยกตัวอย่างเช่น หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง หางกะทิ 2 ถ้วยตวง น้ำตาลทราย 3 ถ้วยตวงหรือ 600 กรัม ส่วนผสม หัวกะทิ หางกะทิ น้ำตาลทราย เกลือป่นเล็กน้อย (ถ้าใช้เกลือไอโอดีนต้องน้อยมากๆ) กลิ่นวนิลา : กลิ่นนมแมว : กลิ่นมะลิ ในอัตราส่วน 2:1:1 (อย่าใส่มากนะคะเดี๋ยวจากใส่ให้หอมจะกลายเป็นเหม็น)
วิธีทำ 1. นำหางกะทิใส่น้ำตาลทราย เกลือป่น คนให้เข้ากัน ยกขึ้นตั้งไฟ คนจนกระทั่งน้ำตาลทรายละลายหมด แล้วหยุดคน รอให้เดือด 2. ใส่หัวกะทิ คนพอเข้ากัน (ห้ามคนนาน ตอนนี้ถ้าใครอยากให้สีสวยอาจใส่น้ำใบเตยไปเล็กน้อยให้น้ำกะทิดูเป็นสีเขียวใส แล้วยังหอมใบเตยอีกด้วยค่ะ หรือใส่สีเขียวก็ได้ค่ะ) รอให้เดือดฟู่ ดับไฟ 3. รอจนฟองยุบ เปิดไฟใหม่ให้ฟู่อีก แล้วดับไฟ 4. ทำซ้ำข้อ 3. คือให้ฟู่ 3 ครั้งค่ะ (หลังจากที่คนตอนใส่หัวกะทิแล้ว ห้ามคนอีกนะคะ) เสร็จแล้วยกลง รอให้เย็น (ไม่ควรทำให้เย็นด้วยการนำไปแช่น้ำเย็น เพราะจะทำให้น้ำกะทิตกผลึกค่ะ)
- พอเสร็จแล้ว น้ำกะทิจะดูไม่เหมือนน้ำกะทิเท่าไหร่ ดูเหมือนน้ำเชื่อมขุ่นๆมากกว่า ถ้าใส่น้ำใบเตยก็สีสวยดีค่ะ แต่ถ้าใส่น้ำแข็งแล้วก็จะเหมือนน้ำกะทิค่ะ
** ห้ามปิดฝาตอนร้อนนะคะ เพราะจะทำให้เป็นเหงื่อ น้ำหยด ทำให้เก็บไว้ได้ไม่นาน**
** เวลาตัก ต้องใช้ทัพพีที่แห้งสนิทนะคะ**
แถมค่ะ การใช้สีเขียวจากใบเตยในการทำซาหริ่ม หากใช้น้ำใบเตยข้นๆ จะใช้ในอัตราส่วน น้ำเปล่า : น้ำใบเตย : น้ำปูนใส คือ 4:2:1 (โดยประมาณค่ะ)
การคั้นสีชมพูจากดอกเฟื่องฟ้า ให้ใช้ดอกเฟื่องฟ้าสีชมพูเข้ม (ใช้จำนวนมากค่ะ ถึงจะออกสี) โดย ต้มน้ำให้เดือด ใส่ดอกเฟื่องฟ้า เคี่ยวพอสีเริ่มออก ปิดเตา คนไปเรื่อยๆ สีจะออกเข้มขึ้นค่ะ
เทคนิคการให้กะทิเดือดฟู่ แล้วปิดไฟ รอจนยุบ เปิดไฟ 3 ครั้ง เทคนิคนี้ใช้กับแกง หรือขนมที่ทำจะกะทิ จะทำให้เก็บไว้ได้นานขึ้นค่ะ (คนเฒ่าคนแก่ท่านสอนมาค่ะ)
|
คุณ P [ 26 ต.ค. 48 19:03 ]
|
 |
|
|