อบรมวิทยากรแกนนำหลักสูตรและการจัดอบรมบูรณาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
|
ความคิดเห็นที่ 1 การวางแผนเพื่อจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน Planning Projects แนวทางการวางแผนโครงงาน ใช้แหล่งเรียนรู้เหล่านี้ในการพัฒนาโครงงาน
การวางแผนโครงงาน การประเมินโครงงาน เกณฑ์การประเมินโครงงาน รายการตรวจสอบสำหรับโครงงาน แนวคิดในการทำโครงงาน แหล่งเรียนรู้ในการประเมินการวางแผน แหล่งเรียนรู้ การประเมินโครงงาน มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ การนำไปใช้ และกระบวนการประเมินแบบอื่นๆ ในชั้นเรียน ศึกษาตัวอย่างเกี่ยวกับการประเมินที่สร้างโดยครูผู้สอนที่สอดแทรกลงในการทำโครงงานต่างๆ อย่างหลากหลาย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ > หน่วยการเรียนรู้ด้วยโครงงานจำเป็นต้องมีการวางแผนและการเตรียมการเป็นพิเศษ ครูจำเป็นต้องมีการวางแผนและเตรียมการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเป็นหลักประกันว่านักเรียนจะได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ซึ่งหากเป้าหมายขั้นสูงๆ ที่ต้องการให้นักเรียนบรรลุจำเป็นต้องมีการวางแผนและการเตรียมการณ์ที่เหมาะสม ไม่ว่าจะสอนด้วยวิธีการใดก็ตาม การเรียนรู้ด้วยโครงงานก็เช่นเดียวกัน
โครงงานควรมีการออกแบบโดยคำนึงถึงผลผลิตสุดท้ายเพื่อให้ประสบผลสำเร็จ หากไม่มีเป้าหมายที่วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เป้าหมายของโครงงานก็จะไม่ชัดเจนและผลการเรียนรู้คาดหวังของนักเรียนก็อาจไม่เกิดขึ้น ในการออกแบบโครงงานจำเป็นต้องมีหลักประกันที่แน่นอนว่ากิจกรรมที่วางแผนไว้จะช่วยให้นักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ในขณะที่วิเคราะห์เกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้ วัตถุประสงค์การเรียนรู้และเก้าหมายของหลักสูตรครูจะเป็นผู้เลือกว่าส่วนใดจะมีความสำคัญเป็นลำดับแรก โดยพื้นฐานทั่วไปแล้ว การวางแผนโครงงานจะมีขั้นตอน ดังนี้
กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่เฉพาะเจาะจง โดยอิงมาตรฐานการเรียนรู้และทักษะการคิดขั้นสูงที่คาดหวัง สร้างคำถามกำหนดกรอบการเรียนรู้ กำหนดแผนการประเมิน ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนเหล่านี้อาจดูไม่เหมือนจริงนัก เนื่องจากการวางแผนโครงงานไม่ได้เป็นแนวเส้นตรง มักจะมีการย้อนกลับไปมาเพื่อให้แน่ใจว่าสอดคล้องกัน การใช้คำถามกำหนดกรอบการเรียนรู้ควรสนับสนุนวัตถุประสงค์การเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้ของหน่วยโครงงานนี้ โดยตลอดทั้งการเรียนรู้ด้วยโครงงานนี้ควรมีโอกาสที่หลากหลายในการประเมินและกำกับดูแลเพื่อตรวจสอบความคืบหน้าในการเรียนรู้ของนักเรียน
ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับโครงงาน เมื่อเราได้ยินคำว่า การเรียนรู้ด้วยโครงงาน ก็มักจะมีแนวความคิดหรือคำจำกัดความที่แตกต่างกันเกิดขึ้นในใจ ซึ่งอาจรวมถึงความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อไปนี้
หน่วยการเรียนรู้ด้วยโครงงานต้องใช้เวลานานและยุ่งยากที่จะไม่ให้เบี่ยงเบนจากเป้าหมาย โครงงานจะเกี่ยวข้องกับภาระงานที่ซับซ้อนหลากหลายทั้งแบบ ลงมือทำ และแบบ ทำด้วยใจ ภาระงานนั้นอาจเป็นงานที่มีรายละเอียดและเกี่ยวพันกับโครงงานด้านบริการสาธารณะด้านมลภาวะหรือเรียบง่ายอย่างการอภิปรายโต้วาทีในชั้นเรียน โครงงานสามารถพุ่งตรงไปที่เป้าหมายได้นานเท่าที่วางแผนไว้ มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ตลอดจนผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ชัดเจน
การเรียนรู้ด้วยโครงงานหมายถึงการเปลี่ยนแปลงวิธีสอนโดยสิ้นเชิง การเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นวิธีการเรียนรู้ที่รู้จักกันดีว่าไม่เหมาะสมกับการเรียนรู้ที่เน้นความรู้ความจำหรือการพัฒนาทักษะพื้นฐาน โครงงานจะประกอบด้วยวิธีสอนที่หลากหลายสอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน และเป็นแนวทางที่จะเพิ่มประสบการณ์ในการเรียนรู้ตลอดจนการใช้เวลาอย่างคุ้มค่า โดยที่จุดเน้นด้านวิชาการของนักการศึกษาก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง เป้าหมายก็ยังคงเป็นการจัดการเรียนรู้เพื่อให้สิ่งที่นักเรียนจำเป็นต้องรู้และทำได้ ซึ่งการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการจะเป็นวิธีการใหม่ๆ ที่จะทำให้ไปถึงเป้าหมายอย่างง่ายดาย
การเรียนรู้ด้วยโครงงานต้องทำงานมากมาย ครูบางคนอาจเห็นว่าการเปลี่ยนไปสู่การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานอาจทำไม่ได้เพราะมีอุปสรรคหลากหลายแต่กับหลายคนอาจเห็นได้ว่าสามารถทำได้ หากจะเริ่มทำควรเริ่มจากงานที่มีขนาดเล็กจากสิ่งที่สามารถทำได้ดีอยู่แล้ว การเริ่มจากส่วนเล็กๆ ก่อนก็จะหมายถึงการมีวิธีสอนหนึ่งหรือสองอย่างในขณะเดียวกันกับที่มีการออกแบบและวางแผนเพื่อนำไปใช้ การเริ่มต้นจากงานเล็กๆ อาจหมายถึง
ภูมิปัญญาท้องถิ่น สถานการณ์สมมติที่ก่อให้เกิดโครงงาน เกณฑ์การประเมินที่ผู้เรียนสร้างเอง กลยุทธ์ในการเรียนรู้แบบร่วมมือ ในไม่ช้า ข้อดีของการเรียนรู้ด้วยโครงงานจะปรากฏทีละส่วนๆ และเมื่อการเปลี่ยนไปสู่การเรียนรู้ด้วยโครงงานได้รับการพัฒนาต่อเนื่องไป ก็จะนำไปสู่แนวคิดที่กว้างขึ้นและการออกแบบที่ดียิ่งขึ้น
| โดย: ... [1 เม.ย. 53 11:56] ( IP A:58.137.41.36 X: ) |  |
|