ความคิดเห็นที่ 1 ผมว่าวงการแพทย์เราปัญญาอ่อน เราหาเงินจากฝรั่งโดยการรักษาโรคได้ ทำไมเราจะหาเงินจากการสอนแพทย์ไม่ได้ ทั้งๆที่แพทย์เมืองนอกขาดแคลนทุกประเทศ ค่าเรียนแพง โรงพยาบาลเรามีทั่วประเทศ ศักยภาพสอนแพทย์ได้ เราควรเปิดหลักสูตรอินเตอร์ ไม่ใช่หลักสูตร์ภาษาอังกฤษ ใครจะต่อต้านช่าง แม่มัน การเปิดเรียนหลักสูตรอินเตอร์ไม่ใช่ยาก 1 ตำราทุกชนิดไม่ต้องแต่ง มันมีอยู่แล้ว สบายไปอย่างแล้ว 2 คนสอน ก็จ้างฝรั่งที่แต่งตำราเล็กเช่อร์ ออนไลน์ 3 ทำแต่การสอบ และการสอนในโรงพยาบาลซึ่งก็ไม่ใช่ยาก โรงพยาบาลไหนสอนแล้วเด็กผ่าน ก็ให้ค่าแรงแพง สอนแล้วสอบตกก็ให้ค่าแรงน้อยๆ แบบนี้จะมีคนเรียนทั่วโลกมากมาย ที่เขามีศักยภาพเรียนจบ เขาก็มาเรียน(ราคามันถูก) รับแต่คนไทย ก็ชิบหายกันพอดี รับครึ่งๆซิ คนไทยครึ่งหนึ่ง ฝรั่งครึ่งหนึ่ง เอาซักหมื่นคน เก็บคนละ 5 แสน ก็ได้ 5 พันล้าน | โดย: อย่าเป็นอีแอบ กล้าๆหน่อย [5 ก.พ. 53 19:27] ( IP A:58.8.10.106 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 ผมไปเรียนกฎหมาย ที่รามคำแหง และมสธ เรียนกับเด็ก ไม่กล้าเรียนภาคพิเศษ เดี๋ยวเขาว่าเอาเงินฟาดหัวได้ปริญญามา ผมมีศักยภาพเรียนอะไรก็เรียนจบ ในโลกนี้มีคนแบบผมเป็นล้านๆ ถ้าเขาอยากเรียนแพทย์เขาก็เรียนจบ เช่นพวกจบวิทยาศาสตร์ชีวภาพทั้งหลาย ตั้งแต่ชีวเคมี ชีววิทยา สรีรวิทยา กายวิภาค พยาบาลฯลฯ พวกนี้เรียนแพทย์จบได้ทุกคน ถ้าคิดเขาปีละ แสนเขาน่าจะเรียนได้ ผมเคยพูดกับเพื่อนเวลานั่งกินเหล้า บอกอยากเป็นอธิการ มสธ จะเปิดแม่งออนไลน์ทุกวิชา ตำราไม่ต้องแต่ง ใช้ของฝรั่งมันมีทุกวิชา อาจารย์ไม่ต้อง ใช้คนที่แต่งตำราจ้างมันเล็กเช่อร์ชั่วโมงละ 5 ล้าน ออนไลน์เก็บไว้ ทำแต่ข้อสอบและประเมินผล ให้สอบได้ออนไลน์ทุกวัน สอบตกพรุ่งนี้สอบใหม่ได้ สอบจากโง่ไม่รู้เรื่องจนสอบได้ก็แล้วกัน เก็บคนละ 5 หมื่น ต่อปี มีคนเรียนสัก 2 ล้านคน ก็ได้แสนล้าน นักเรียน 2 ล้านนี้กะว่าจะจบได้สัก 1 ล้านคน (คนมาเรียนมันพวกมีศักยภาพ เรียนจบแน่) คิดดูว่าจะเป็นไง หาก มสธ หาเงินได้ปีละ แสนล้าน คนไทยอยากเรียนก็ได้หลักสูตร์อินเตอร์ แต่จ่ายแพงนะราคาต้องเท่ากัน ไม่งั้นไม่แฟร์ | โดย: ฟฟ [5 ก.พ. 53 19:35] ( IP A:58.8.10.106 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 วันที่ 04 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เวลา 14:26:55 น. มติชนออนไลน์ หมอชนบทออกแถลงการณ์ต้านมศว.เปิดหลักสูตรแพทย์ภาษาอังกฤษ ชี้ส่งผลขาดหมอในท้องถิ่น
แถลงการณ์ชมรมแพทย์ชนบท ต่อกรณี มศว.จะเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์ภาคภาษาอังกฤษ อันจะส่งผลในทางลบต่อการแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในชนบท
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2553
โดยนายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท
สืบเนื่องจากการที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้มีความพยายามที่จะเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติ โดยให้เหตุผลเพื่อให้การแพทย์ไทยสามารถก้าวทันกระแสโลกได้ โดยได้ผลักดันผ่านสภามหาวิทยาลัยไปแล้ว และอยู่ระหว่างขั้นตอนการอนุมัติขั้นสุดท้ายจากแพทยสภา ซึ่งหากอนุมัติก็จะสามารถรับนักศึกษาแพทย์ได้ในปีการศึกษา 2553 นี้
ท่ามกลางการคัดค้านของกลุ่มคณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ และความคลุมเครือไม่ชัดเจนต่อนโยบายการผลิตแพทย์นานาชาติของประเทศไทย ไม่ถึงหนึ่งเดือนต่อมาแพทยสภาก็ได้อนุมัติหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเป็นที่เรียบร้อยอย่างเงียบ ๆ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2553 และจะมีการรับรองมติการประชุมในเดือนกุมภาพันธ์2553 นี้ โดยมีการเปลี่ยนชื่อเรียกจากหลักสูตรนานาชาติมาเป็นหลักสูตรโปรแกรมภาษาอังกฤษ (English program) เพื่อลดแรงต้านจากสาธารณะ อย่างไรก็ตาม หลักสูตรนี้ก็จะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของนโยบายการผลิตบัณฑิตแพทย์ในสถาบันของรัฐของประเทศไทย
แม้ว่าในเบื้องต้นหลักสูตรดังกล่าวจะระบุว่าผลิตบัณฑิตแพทย์เพียงแค่ปีละ 20 คน รับเฉพาะสัญชาติไทย เรียนจบต้องใช้ทุน 3 ปี เช่นเดียวกับแพทย์ในหลักสูตรอื่น อย่างไรก็ตามด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า ค่าเล่าเรียนต่อปีของหลักสูตรนี้ที่มีราคาสูงถึงคนละ 1.2 ล้านบาทต่อปี ตลอด 6 ปีต้องใช้เงินเป็นค่าเล่าเรียนกว่า 7.2 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งย่อมจะสะท้อนให้เห็นว่า หลักสูตรนี้จะมีก็แต่ลูกหลานของคนมีเงินเท่านั้นที่มีโอกาสได้เข้าเรียนได้
ประกอบกับมาตรการปกติในปัจจุบันที่บังคับให้ใช้ทุน 3 ปีนั้น หากบัณฑิตแพทย์คนใดไม่ประสงค์จะใช้ทุน ก็สามารถใช้เงินเพียง 4 แสนบาทเท่านั้น จ่ายคืนรัฐบาลเป็นการชดใช้ทุนแทน ซึ่งคิดเป็นปริมาณเงินที่จ่ายเพื่อที่จะไม่ต้องใช้ทุนเพียง 5% ของค่าเทอมตลอดหลักสูตรภาษาอังกฤษนี้เท่านั้น ซึ่งก็พอจะทำนายได้ว่า ยากที่บัณฑิตแพทย์ที่พ่อแม่ผู้มีอันจะกินลงทุนลงเงินมามากขนาดนี้จะให้ลูกหลานบัณฑิตแพทย์ไปใช้ทุนยังโรงพยาบาลที่มีความขาดแคลนในชนบท ใช้เงินอีกเพียง 4 แสนบาทในการชดใช้ทุนแทนการออกไปปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนก็เป็นเรื่องที่ไม่ยากเย็นเลย
และที่สำคัญกว่านั้น การผลิตบัณฑิตแพทย์ด้วยการเก็บค่าเทอมสูงถึง 1.2 ล้านบาท/ปีนั้น เป็นเงินที่สูงมากนั้น น่าจะเป็นการมุ่งเน้นการทำรายได้ให้กับคณะและผู้บริหารของคณะมากกว่าที่จะเกิดประโยชน์ใดๆกับสังคมไทย การเรียนแพทย์ต้องมีการฝึกเย็บแผลผ่าตัดจริงกับผู้ป่วย ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่ได้มีฐานะร่ำรวยที่มาเป็นเสมือนผู้เสียสละให้นักศึกษาแพทย์ฝึกฝนความเชี่ยวชาญ จนเมื่อเก่งแล้วจบการศึกษาแล้วก็หวังว่าจะได้เป็นที่พึ่งของประชาชนคนธรรมดาต่อไป แต่การเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์โปรแกรมภาษาอังกฤษครั้งนี้ กลับเป็นการตอบสนองกระแสการผลิตแพทย์เพื่อการพานิชย์อย่างชัดเจน
มศว.เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ เป็นองค์กรที่ควรจะเป็นแบบอย่างในการผลิตแพทย์เพื่อดูแลคนไทย โดยเฉพาะคนไทยในชนบทที่ยังขาดแคลนแพทย์อยู่อีกมาก มศว.มิต้องเป็นห่วงการแพทย์เชิงพานิชย์ว่าจะไม่มีแพทย์ที่เก่งภาษาอังกฤษมาเข้าสู่ระบบ เพราะสภาวะที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก็มีภาวะสมองไหลจากชนบทสู่เมือง จากโรงพยาบาลรัฐสู่โรงพยาบาลเอกชน และจากประเทศไทยสู่ประเทศตะวันตกอยู่แล้ว โดยที่มีต้องไปผลิตแพทย์เป็นการเฉพาะเพื่อป้อนตลาดระดับบน
มศว.ในอดีตได้ผลิตแพทย์ที่มีอุดมการณ์ในการดูแลประชาชนในชนบทอย่างทุ่มเทหลายคน ที่โดดเด่นมากคือ นายแพทย์วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ แพทย์มศว.รุ่น 1 ซึ่งจบแล้วก็อาสาไปทำงานดูแลประชาชนที่ยากไร้ในพื้นที่ชายแดนที่กันดารที่วสุดที่โรงพยาบาลอุ้มผาง จังหวัดตาก จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 20 ปี นี่คือต้นแบบและภารกิจที่ คณะแพทย์ มศว. ควรทำมากกว่าหลักสูตรแพทย์ภาษาอังกฤษที่ไม่ได้มีไว้เพื่อการตอบสนองความต้องการของสังคมไทย
ชมรมแพทย์ชนบทเห็นว่า การเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์โปรแกรมภาษาอังกฤษดังกล่าว มีความรีบเร่งในการอนุมัติหลักสูตรโดยขาดความรอบคอบและขาดการตรวจสอบจากสาธารณะถึงข้อดีข้อเสียอย่างถี่ถ้วน การผลิตแพทย์เพื่อตอบสนองการแพทย์พานิชย์นั้นจะส่งผลในเชิงลบต่อระบบการกระจายแพทย์ในระยะยาว และการอนุมัติในครั้งนี้จะส่งผลให้มหาวิทยาลัยอื่นๆเอาเป็นแบบอย่างได้ จนเชื่อว่าจะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง ต่อไปในอนาคตมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ของรัฐอาจสนใจผลิตแพทย์หลักสูตรภาษาอังกฤษมากกว่าหลักสูตรปกติก็เป็นได้ เพราะมีผลประโยชน์และสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัยมากกว่าหลักสูตรการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ซึ่งรัฐบาลสนับสนุนค่าเทอมเพียงปีละ 3 แสนบาทเท่านั้น
ชมรมแพทย์ชนบทขอเชิญชวนคณาจารย์ชาวศรีนครินทรวิโรฒ ศิษย์เก่าของ คณะแพทย์ มศว. รวมทั้งนิสิตแพทย์ทุกคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นคัดค้านการตัดสินใจที่มุ่งประโยชน์ของคนส่วนน้อยในครั้งนี้ และขอเชิญร่วมชื่นชมและเป็นกำลังใจกับอาจารย์ 6 ท่านที่กล้าออกมาสะท้อนความไม่ชอบธรรมในครั้งนี้ต่อสาธารณะ
ดังนั้นชมรมแพทย์ชนบทจึงขอเรียกร้องต่อสภามหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ทบทวนการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรนี้ และขอให้แพทยสภายุติการอนุมัติหลักสูตรดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายในระยะยาว
วันนี้แพทยสภามีแนวทางในการแก้ปัญหาสมองไหลจากชนบทสู่เมือง และการแก้ปัญหาความขาดแคลนแพทย์ในชนบทอย่างไร สิ่งนี้คือภารกิจของแพทยสภามากกว่าการไปผลิตแพทย์เพื่อตอบสนองการแพทย์พานิชย์อย่างเช่นหลักสูตรนี้ | โดย: อันนี้ผมก็ไม่เห็นด้วย [5 ก.พ. 53 20:04] ( IP A:58.8.10.106 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 ผมเห็นว่า แพทยสภามีหน้าที่เพียงอนุมัติหลักสูตร์ และสอบวัดผล ส่วนใครจะเปิดสอน เปิดติว ไม่ใช่หน้าที่ สมัยก่อนมีหลักสูตรอะไร ก็เห็นเป้นหมอดีดีกันมากมาย หลักสูตรเข้มมากมันก็ฆ่าตัวเอง ชาติไม่พัฒนา สมัยก่อนก็ว่าโรงเรียนแพทย์ ตจว มันจะไหวหรือ | โดย: ฟฟ [5 ก.พ. 53 20:06] ( IP A:58.8.10.106 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 ก็มันมีเบื้องหลังกันอยู่มังครับ ตอนอนุมัติหลักสูตรใครได้รับเป็นผลประโยชน์ต่างตอบแทนอะไรบ้างหรือเปล่า | โดย: เจ้าบ้าน [7 ก.พ. 53 23:25] ( IP A:124.121.144.90 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 กลียุคแบบนี้ มือใครยาวสาวได้สาวเอา ไม่มีใครสนใจแก้ไขปัญหาเรื้อรัง มันไม่ได้ตังค์ คงรีบหาเงินใช้ ก่อนโลกจะแตก | โดย: พวกหน้ามืดตามัว แต่ดันมีอำนาจใครเลือกมันฟะ [8 ก.พ. 53] ( IP A:58.9.197.104 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 ผมว่านะ งานนี้มีผลประโยชน์แอบแฝงเฉพาะกลุ่มอยู่มากมายเหลือคณา โดยเฉพาะกับแนวร่วมกลุ่มเมดิคอลฮับสามาน
เหตุผลของกลุ่มแพทย์ชนบทที่ออกมาคัดค้าน มีน้ำหนักเต็มเนื้อเลย
เหตุผลของนายกฯแพทยสภาเนี่ย อ่อนหัดมากๆเลยเมื่อเทียบกับผลประโยชน์สาธารณะทางการสาธารณสุขของประเทศไทยนี้ ไม่สมกับที่อุตส่าห์ได้ทุนเล่าเรียนหลวงไปจบแพทย์มาจากเมืองนอกเมืองนาเล้ย
หลักสูตรแพทย์อินตงอินเตอร์เนี่ย ลงทุนไป 5-6 ปีปีละกว่าหนึ่งล้านบาท ถามตาสีตาสาที่สติดีทั้งหลาย ก็ต้องพากันตั้งเป้าว่า ลงทุนแล้วก็ต้องถอนทุนคืนแหงๆอยู่แล้ว หมอที่จบหลักสูตรราคาแพงระยับแบบนี้ ขืนจบมาแล้วคงรับอาสาไปอยู่โรงพยาบาลชุมชน ไม่โง่ก็คงเสียจริตไปแล้ว หมอแบบนี้ ถ้าพ่อแม่ไม่ใช่พระใช่ชีที่ถือศีลมาก่อน ที่มีประวัติเสียสละเพื่อสังคมมา สอนลูกหลานให้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม
รับรองว่าผมไม่เอาชีวิตไปฝากไว้กับหมอที่จบในหลักสูตรนี้ แล้วยังอาสาไปใช้ทุนคืนตามบ้านนอกอีก
เฮ้อ ท่านนายกฯ + ท่านเลียขาฯ น่ะ พวกท่านกรรมการแพทยสภาทั้งก๊กทั้งแก๊งค์นั่นน่ะ แค่ทำงานในหน้าที่ที่กฎหมายนี้กำหนดให้น่ะ
ทำได้ดีครบถ้วนหรือยัง ????!!!!!
ไอ้พวกแผลทุจริตที่ทำไว้เป็นสิบปี กับคนเป็นร้อยเป็นพันคนน่ะ
กลบเกลื่อนหรือทำลายหลักฐานเอกสารจนสิ้นตอสิ้นใยให้สาวได้หมดหรือยัง?????
เฮ้อ | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง (เรื่องหมอ) [10 ก.พ. 53 8:13] ( IP A:58.8.101.227 X: ) |  |
|