บ้านเขาเรียนพยาบาลออนไลน์
|
ความคิดเห็นที่ 1 บ้านเขามองเห็นอินเตอร์เน็ทเป็นโอกาส ถ้าไม่แน่ใจเขาก็วิจัย (วิจัยแล้วว่าเรียนกายวิภาคศาสตร์ในห้องแล็บกับศพ ได้ผลการเรียนเท่ากับเปิดซีดีดู) บ้านเรามองทุกอย่างเป็นอุปสรรค แล้วก็นั่งเฉยๆ รอเรียตู ด ฝรั่ง มันจูงจมูกก็เดินตามมัน เท่ห์ อยากไปเรียนเมืองนอก พยาบาลเขาเรียนออนไลน์ อีกหน่อยคนไทยสมัครเรียนสหรัฐได้ คนไทยจ่ายตังค์ สหรัฐรวย วิชาแพทย์คงได้เรียนออนไลน์เร็วนี้แบบพยาบาล | โดย: ควายเรียกพี่ [6 พ.ค. 53 7:35] ( IP A:58.8.12.66 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 ผมจะบอกให้นะว่า หมอทั่วโลกก็ส่งไกลไปทั่วโลก สมัยสงครามเวียตนาม สหรัฐ รับไม่อั้น หมอไทยเหมาเครื่องบินไปทั้งรุ่น (เขาว่ารามารุ่นอะไรรุ่นหนึ่งไปเกือบทั้งรุ่น) พวกนี้ที่ผมรู้จักหลายคนก็กลับมาพร้อมความรู้และประสบการณ์ แต่มันก็มีวันเต็ม เขาก็งดและบีบให้เข้าสหรัฐยาก ตัดงบอบรม การส่งออกก็มีประโยชน์ ดังนั้นก็ต้องมีบ้าง แต่หากว่าผลิตจนพอ ภายในก็ไม่น่าจะมีปัญหา การจำกัดโดยวงการแพทย์ จึงเป็นตัวปัญหา แม้กระทั่งสหรัฐเอง สมาคมแพทย์เขาก็ออกมารับว่ามองพลาดไปจนเป็นปัญหาหมอขาดแคลน เมืองไทยก็น่าจะขยับตัว อย่าเดินตามแก้ปัญหา ต้องแก้ให้เกินปัญหา ซึ่งการผลิตคนโดยเฉพาะหมอพยาบาลซึ่งไม่เคยมีปัญหาตกงาน ก็ควรผลิตให้ล้นไว้ และผลิตไม่ยาก เพราะพวกนี้เรียนดี มีปัญญาเรียน ปัญหาส่งออกหมอนี้เป็นปัญหาที่อ้างและกลัวกันมาตลอด ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่ากลัวเท่ากับไม่มีหมอพยาบาลใช้ แม้ให้คนที่ไป ตปท ทุกวันนี้กลับมาก็ไม่พออยู่ดี อีกหน่อยอินเตอร์เน็ทจะแก้ปัญหาหมอขาดแคลนได้ด้วย | โดย: ฟฟ [13 พ.ค. 53 8:00] ( IP A:58.8.240.210 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 -อะไร คือ แรงจูงใจ ในการคิดเปิด หลักสูตรนานาชาติ ??? (การเพื่อให้ได้ Ranking ระดับโลกเช่นนั้นหรือ)
- ต้องใช้ทุน เหมือนใน หลักสูตรนานาชาติสิงคโปร์หรือไม่ และเหมือนนักศึกษาแพทย์ในหลักสูตรปกติหรือไม่
- แพทยสภาคิดเกณฑ์ที่จะรับรอง คณะแพทย์ ที่จะเปิดหลักสูตรนานาชาติแล้วหรือยัง ถ้าคิดแล้วมันคืออะไรบ้าง ได้คิดถึงบริบทของสังคม คุณภาพระดับนานาชาติ และ ผลกระทบหรือไม่
- มีการรับรองคุณภาพในระดับนานาชาติหรือไม่ เพราะถ้าไม่ได้รับรองก็เท่ากับได้เรียนหลักสูตรแพทย์ที่เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ต้องไปสอบ อะไร ต่ออะไรใหม่เองหมด
- จริง ๆ แล้วมีความพร้อมหรือไม่ คนไข้พูดภาษาอะไร กับ คนบรูไน คนอินโดนีเชีย ที่จะมาเรียน ต้องพูดภาษาอะไร
- การฝึกปฏิบัติในชุมชนทำอย่างไร
- อาจารย์แพทย์ เจ้าหน้าที่สนับสนุน และ ระบบรองรับต่อนักศึกษาต่างชาติเป็นอย่างไร
- ระบบการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมเป็นอย่างไร
- จะส่งผลกระทบต่อระบบการผลิตแพทย์ในหลักสูตรปกติทั่วไปหรือไม่
- ใช้โรงพยาบาลใด ผลิต รัฐหรือเอกชน
- เห็นด้วยที่จะเริ่มด้วยระดับบัณฑิตศึกษา (ป.โท ป.เอก) ก่อน - เห็นด้วยถ้าแพทย์ไทยเริ่มอิ่มตัวแล้ว - เห็นด้วยถ้ามีการเริ่มสอนเป็นภาษาอังกฤษในหลักสูตรปกติก่อนจนเกิดความเชี่ยวชาญแล้วขยายออกไปสู่เป็นหลักสูตรระดับ นานาชาติ
"การมุ่งสู่นานาชาติทั้งหลายทั้งปวง สถาบันการศึกษากำลังตอบสนองใคร เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการจริง ๆ หรือ หรือเืพื่อตอบสนองชื่อเสียงคนในสถาบันตัวเองเพื่อรายได้ โดยไม่ได้คิดถึง สังคมผู้เป็นเจ้าของเงินงบประมาณที่ใช้กันอยู่"
ไม่มีสถานศึกษาใดในประเทศไทย ที่บอกว่า "การศึกษาคือสินค้า" แต่ผุ้บริหารต่างหากที่กำลัง "เสนอขายการศึกษา" | โดย: ..... [13 พ.ค. 53 13:39] ( IP A:58.9.246.62 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 -อะไร คือ แรงจูงใจ ในการคิดเปิด หลักสูตรนานาชาติ ??? (การเพื่อให้ได้ Ranking ระดับโลกเช่นนั้นหรือ)
ผมไม่สนใจหรอกว่าอะไร เพียงแต่หากผลิตคนมีความรู้ขึ้นมาได้ผมว่าไม่ขาดทุน คุณได้คน ส่วนผมก็ได้แหล่งผลิต
****
- ต้องใช้ทุน เหมือนใน หลักสูตรนานาชาติสิงคโปร์หรือไม่ และเหมือนนักศึกษาแพทย์ในหลักสูตรปกติหรือไม่
ผมว่าการใช้ทุนก็ให้ใช้แบบเก่า แต่ถ้าจ่ายทุนเรียนเอง ก็ไม่ต้องไปให้เขาใช้ทุน
****
- แพทยสภาคิดเกณฑ์ที่จะรับรอง คณะแพทย์ ที่จะเปิดหลักสูตรนานาชาติแล้วหรือยัง ถ้าคิดแล้วมันคืออะไรบ้าง ได้คิดถึงบริบทของสังคม คุณภาพระดับนานาชาติ และ ผลกระทบหรือไม่ ผมว่า เกณฑ์มันมีอยู่เก่าแล้ว การสอบวัดผลเป็นเกณฑ์ที่ดีที่สุด **** - มีการรับรองคุณภาพในระดับนานาชาติหรือไม่ เพราะถ้าไม่ได้รับรองก็เท่ากับได้เรียนหลักสูตรแพทย์ที่เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ต้องไปสอบ อะไร ต่ออะไรใหม่เองหมด
เกณฑ์เก่าก็มีอยู่แล้ว แหล่งผลิตก็ไม่ยาก ตอนนี้ ก็เล็คเช่อร์ที่เดียว เรียนออนไลน์ได้ทั่วประเทศ ระดับประถมก็ทำอยู่ อายเด็กเปล่าๆ
**** - จริง ๆ แล้วมีความพร้อมหรือไม่ คนไข้พูดภาษาอะไร กับ คนบรูไน คนอินโดนีเชีย ที่จะมาเรียน ต้องพูดภาษาอะไร ก็ใช้ภาษาอังกฤษปนภาษาไทย
- **** - การฝึกปฏิบัติในชุมชนทำอย่างไร ส่งไปตาม รพ ตจว มีมากจนเหลือเฟือ ทั้งคนไข้ทั้งหมอ ระบบคอนเฟอร์เรนท์จะช่วยแก้ปัญหาคนสอนที่มีคุณภาพ ร่วมกับหมอในตจว ที่จะได้เรียนรู้ด้วย (เขาก็ต้องเรียนรู้และควรจะเรียนรู้ ไม่งั้นเดี๋ยวโดนฟ้อง) *****
- อาจารย์แพทย์ เจ้าหน้าที่สนับสนุน และ ระบบรองรับต่อนักศึกษาต่างชาติเป็นอย่างไร
ไม่น่าจะมีปัญหา มีเงินมา คนก็มาเอง
*****
- ระบบการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมเป็นอย่างไร
เรียนไม่ได้หรือในห้องเรียน ต้องไปฝึกกับคนไข้ อยู่กับคนไข้ คุณธรรมก็มาเอง ไม่มาเขาก็ร้องเรียน
***** - จะส่งผลกระทบต่อระบบการผลิตแพทย์ในหลักสูตรปกติทั่วไปหรือไม่ ไม่หรอก คนรวยก็เรียนมหาวิทยาลัยเอกชน คนจนก็เรียนราม เรียนมสธ เรียนมหาวิทยาลัยของรัฐ
***** - ใช้โรงพยาบาลใด ผลิต รัฐหรือเอกชน ทุกโรงที่ให้ความร่วมมือ
***** - เห็นด้วยที่จะเริ่มด้วยระดับบัณฑิตศึกษา (ป.โท ป.เอก) ก่อน อันนี้ผลิตให้ดียากกว่าแพทย์ และใช้เงินมากกว่า **** - เห็นด้วยถ้าแพทย์ไทยเริ่มอิ่มตัวแล้ว ชาติหน้าตอนบ่ายๆจึงจะอิ่ม ***** - เห็นด้วยถ้ามีการเริ่มสอนเป็นภาษาอังกฤษในหลักสูตรปกติก่อนจนเกิดความเชี่ยวชาญแล้วขยายออกไปสู่เป็นหลักสูตรระดับ นานาชาติ พวกเซนต์คาเบรียลคงหัวเราะ คนเรียนเขามีปัญญาเรียน อย่ามองอุปสรรค ปัญหาจะแก้ไม่ได้
***** "การมุ่งสู่นานาชาติทั้งหลายทั้งปวง สถาบันการศึกษากำลังตอบสนองใคร เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการจริง ๆ หรือ หรือเืพื่อตอบสนองชื่อเสียงคนในสถาบันตัวเองเพื่อรายได้ โดยไม่ได้คิดถึง สังคมผู้เป็นเจ้าของเงินงบประมาณที่ใช้กันอยู่" ผมว่าได้คนที่คุณประเมินว่าสอบผ่านมีคุณภาพ เป็นอันดับแรกก่อน สิ่งอื่นๆจะค่อยๆตามมา สมัยเปิดรามาธิบดี หรือขอนแก่น คนเขาก็เป็นห่วงว่ามันจะไหวหรือ
***** ไม่มีสถานศึกษาใดในประเทศไทย ที่บอกว่า "การศึกษาคือสินค้า" แต่ผุ้บริหารต่างหากที่กำลัง "เสนอขายการศึกษา" ชีวิตจริงทุกอย่างเป็นเรื่องของธุรกิจ ไม่มากก็น้อย ถ้าการศึกษาเป็นการซื้อขายก็ได้ เพียงแต่ว่าสินค้าต้องดี คนซื้อพอใจ ซื้อไปใช้แล้วกำไร | โดย: aa [14 พ.ค. 53 9:38] ( IP A:58.8.10.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 คำตอบสุดท้าย ชีวิตจริงทุกอย่างก็เป็นการค้า มาหรือน้อยอีกเรื่องหนึ่ง คนขายก็ต้องขายสินค้าดี ส่วนคนซื้อก็ได้ของดีที่เขาพอใจ เอาไปใช้ ไปทำกำไรได้ การค้ามิใช้เรื่องเสียหาย การค้าที่ไม่แฟร์ไม่ใช่การค้า | โดย: ฟฟ [14 พ.ค. 53 9:40] ( IP A:58.8.10.124 X: ) |  |
|