ความคิดเห็นที่ 1 ยินดีต้อนรับครับ ว่าแต่... จะไม่แนะนำตัวเองมากกว่านี้อีกสักนิดหรือครับ หุหุ ^^  | โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [15 มิ.ย. 54 21:27] ( IP A:125.27.5.114 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 ชอบเรื่องราวเกี่ยวกับอียิปมากเลย | โดย: pegasus [16 มิ.ย. 54 19:33] ( IP A:223.206.195.208 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 เรื่องราวที่ซับซ้อน แท้ที่จริงมันอยู่ใกล้เราแค่ลมหายใจ | โดย: pegasus [18 มิ.ย. 54 20:22] ( IP A:223.204.49.144 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 ถ้าเราอยู่ในยุคอียิป คุณอยากเป้นอะไรค่ะ | โดย: pegasus [21 มิ.ย. 54 18:52] ( IP A:223.207.105.167 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 ในหลักฐานที่ค้นพบเรื่องการแต่งงานเป็นเรื่องที่มีบันทึกอยู่น้อยมาก บันทึกที่พบก็ไม่มีส่วนไหนที่เรียก การแต่งงาน โดยเฉพาะ มีแต่คำใกล้เคียงที่หมายถึง สร้างภรรยา การยอมรับเป็นภรรยา (making a wife' or 'taking a wife')
หลังจากยุดที่ 3 (the Third Intermediate period) เราได้พบคำในเอกสารที่เกี่ยวกับจัดการทรัพย์สินในการแต่งงานคือ shep en shemet หรือค่าสินสมรส แต่จะพบเอกสารที่เกี่ยวกับการจัดการสินสมรสหลังจากหย่าร้างมากกว่า (เหมือนการทุกที่ไม่ว่ายุคไหนแยกกันเรื่องเงินทองสำคัญมาก ...เหอะๆ)
มีการใช้คำว่า hemet ซึ่งน่าจะหมายถึง ภรรยา แต่จริงๆ แล้วคำแปลตรงตัวคือ คู่ที่เป็นสตรี และคำนี้น่าจะมาจากคำว่า hi ซึ่งหมายถึง คู่ที่เป็นบุรุษ คำนี้พบจากงานบันทึกเกี่ยวกับงานศพที่เรียกสตรีที่เคยอยู่กับผู้ตายว่า hemet และ hi หมายถึงสามีของเธอ
Hebswt มีความหมายว่า คู่ที่เป็นสตรี เช่นกัน แต่มีความหมายในเชิงของภรรยาอันดับรอง ในยุคราชวงศ์ใหม่คำว่า hemet และ hebswt อ้างอิงถึงบุคคลเดียวกัน นั่นหมายความว่า hebswt หมายถึงภรรยาคนถัดมาหลังจากที่ภรรยาคนแรกเสียชีวิตหรือหย่าร้างแล้ว
เราคิดว่าการแต่งงานต้องเกิดขึ้นจากความผูกพันและความรัก แต่ในความเป็นจริงแล้วในยุคนั้นผู้มีบทบาทในการตัดสินใจที่จะให้มีการแต่งงานเกิดขึ้นหรือไม่คือพ่อ(หรือลุง)และแม่ของฝ่ายเด็กหญิง พ่อแม่จะเป็นผู้หมั้นหมายเด็กหญิงกับว่าที่สามีของเธอในอนาคต (คลุมถุงชนว่างั้นเถอะ...)จนกระทั่งราชวงศ์ที่ 26 เด็กหญิงหรือเจ้าสาวถึงมีสิทธิมีเสียงในการเลือกสามีของตนบ้าง
ข้อมูลเฉลี่ยอายุของเด็กหญิงที่แต่งงานในยุคนั้นคือ 12-13 ปี เด็กชายจะมากกว่า 15 ปีและต้องมีความพร้อมในการเลี้ยงดูภรรยาและบุตรก่อนจึงจะได้รับอนุญาตให้แต่งงานได้ แต่ก็มีข้อยกเว้นบางกรณีอย่างเช่น ฟาโรห์ตุตันคาเมนซึ่งมีการอภิเษกตอนพระชันษา 9 ปี มีหลักฐานในยุคโรมันเข้ามาในอียิปต์อายุของเด็กหญิงที่แต่งงานลดเหลือเพียง 8 ปี (- - จะเร่งมีลูกไปขนาดไหนนี่) นักวิชาการพยายามชี้แจ้งว่าเป็นเพียงไม่กี่กรณีเท่านั้นส่วนใหญ่แล้วเด็กหญิงจะสมรสเมื่ออายุ 12-13 ปีเช่นเดิม แล้วก็พบหลักฐานที่ Qenherkhepeshef (คืออะไรอะไอ้นี่แปลไม่ออกจริงๆ) ที่ Deir El Medina ว่ามีการแต่งงานข้ามวัยโดยฝ่ายชายอายุ 54 และฝ่ายหญิงอายุ 12
ทางหลักฐานที่เหลืออยู่พิธีการแต่งงานของชาวอียิปต์โบราณมีความเรียบง่ายมาก เจ้าสาวแค่ออกจากบ้านของตนไปสู่บ้านสามีซึ่งสามีอาจจะอยู่คนเดียวหรืออยู่กับพ่อแม่ก็ได้ ชุดที่เจ้าสาวสวมนั้นจะสวมกระโปรงลินินยาวหรือกระโปรงแบบมีผ้าคลุมบ่ายาว คลุมด้วยแหลูกปัดตั้งแต่หัวจนเท้า ถ้าเป็นคนมีฐานะก็จะประดับด้วยเงินและไพฑูรย์ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่เป็นพิธีกรรมทางศาสนาหรือทางกฎหมายเลย มีแต่ทางสังคมซึ่งจะจัดการเลี้ยงฉลองอาหาร การเต้นรำ ร้องเพลงอวยพรเพื่อเป็นเกียรติสำหรับคู่บ่าวสาว
การใช้ชีวิตคู่ของคนอียิปต์โบราณสามัญชนเป็นแบบผัวเดียวเมียเดียวจนชั่วชีวิตหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายไปก่อน หรือมีการหย่าร้าง แต่ในชนชั้นกษัตริย์พบว่าตั้งแต่ราชวงศ์ที่ 13 เป็นต้นมา ฟาโรห์จะมีสนมมากมายเป็นร้อยๆ คนเพื่อให้เกิดรัชทายาทสืบทอดบัลลังก์ เพื่อสมานไมตรีกับต่างประเทศ เพื่อฐานอำนาจทางศาสนา แต่จะยกสตรีเพียงคนเดียวขึ้นเป็นมเหสีหรือราชินีเป็นถูกดูแลสนมขึ้นอื่นๆ ทั้งหมด แต่ก็มีข้อยกเว้นในบางรัชสมัยที่มีการแต่งตั้งราชินีหลายองค์พร้อมกันและแนวปฏิบัติของฟาโรห์เช่นนี้ทำให้ขุนนางชั้นสูงบางคนรับพฤติกรรมนี้ไปด้วย
การแต่งงานในเครือญาติเช่น พี่น้อง พ่อลูก เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากความเชื่อทางศาสนาเฉพาะในเชื้อพระวงศ์เท่านั้น เนื่องจากมีตำนานการสมรสในวงศ์วานเดียวกันของเทพเจ้าทำให้ฟาโรห์จึงจำเป็นต้องรักษาสายเลือดของราชวงศ์ให้เข้มข้นที่สุด แต่ค่านิยมนี้ในหมู่ชาวบ้านเปลี่ยนแปลงไปมากในยุคที่กรีกเริ่มเข้ามามีบทบาทในอียิปต์พบการสมรสในหมู่เครือญาติสูงถึง 1 ใน 4 ของประชากร ทั้งที่ก่อนหน้านี้คนอียิปต์โบราณไม่ได้กีดกันเรื่องการสมรสข้ามเชื้อชาติหรือชนชาติเลยเพียงแต่ต้องแต่งงานในคนชนชั้นเดียวกันเท่านั้น
การหย่าร้างและสินสมรส ในแรกเริ่มฝ่ายชายต้องให้สินสมรสกับฝ่ายหญิงส่วนใหญ่จะเป็นทาสแรงงาน แต่ยุคต่อมากลับกันกลายเป็นพ่อของฝ่ายหญิงต้องให้ทาสไปอยู่รับใช้ที่บ้านฝ่ายชาย (- -) การหย่าร้างจะกระทำเมื่อทั้งสองฝ่ายไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้เป็นการตกลงอย่างสมัครใจ ฝ่ายหญิงสามารถย้ายออกจากบ้านฝ่ายชายมาอยู่ที่บ้านตนเองได้ทันทีโดยที่ฝ่ายชายจะต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูฝ่ายหญิงเป็นจำนวน 1 ใน 3 ของทรัพย์สินที่เขามีทั้งหมด และฝ่ายหญิงสามารถแต่งงานใหม่ได้ทันทีโดยที่ไม่ถูกสังคมตำหนิ (ยุคนั้นสิทธิของสตรีดีกว่ายุคนี้จัง...)
ในพิพิธภัณฑ์ยังแสดงรูปปั้นและรูปวาดของสามีภรรยาที่โอบกอดกันและมอบดอกไม้อาหารให้อีกฝ่าย มีรูปปั้นของครอบครัวพ่อแม่ลูกที่แสดงความสัมพันธ์อันอบอุ่น การแต่งงานที่เกิดขึ้นจึงจากความรักและการให้เกียรติอีกฝ่าย
เรียบเรียง : lilypixel อ้างอิง - https://www.touregypt.net/featurestories/marriage.htm https://www.historylink101.net/egypt_1/a-marriage.htm | โดย: pegasus [26 มิ.ย. 54 1:00] ( IP A:223.207.105.167 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 อ่า... ขอบคุณสำหรับเนื้อหานะครับ แต่คือ... คุณ Lilypixel หรือที่ตอนนี้เปลี่ยนชื่อเป็น Seal แล้วก็อยู่ในบอร์ดของเรานี่แหละครับ
และเนื้อหาเรื่องการแต่งงานที่นำมาลงนี้ก็อยู่ใน Exteen ของบอร์ดเราเช่นกันครับ
https://iyakoop.exteen.com/20080918/entry
เป็นการรวบรวมเรียบเรียงโดยคุณ Seal นั่นแหละครับ
แต่ยังไงก็ขอบคุณนะครับที่นำมาแชร์  | โดย: Detectiveoat13 (เจ้าบ้าน ) [26 มิ.ย. 54 10:07] ( IP A:124.121.228.5 X: ) |  |
|